Psychoeducation: สร้างห้องเรียนในรพ.จิตเวช


ขอบคุณทีมผู้เรียนสหวิชาชีพในสโมสรวิชาการ รพ. ศรีธัญญา จำนวน 200 คน ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ดร.ป๊อป ในหัวข้อ "การประยุกต์ Psychoeducation ในผู้ป่วยจิตเวช" เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 55

งานนี้ ดร.ป๊อป ได้สาธิตการจัดการเรียนรู้แบบ Low complexity ตามงานวิจัย Active Learning Inventory Tool (ALIT) โดย Copyright2006 Van Amburgh, Devlin, Kirwin, Qualters ได้แก่

  1. บรรยายเนื้อหาไม่เกิน 40 นาที ตามด้วยการถามตอบแบบเรียกชื่ออย่างเยือกเย็น
  2. การจัดกลุ่มสร้างสัมพันธภาพ กลุ่มละอย่างน้อย 10 คน และให้เสนอชื่อผู้นำกลุ่มที่จดจำชื่อเพื่อนสมาชิกกลุ่มให้ได้มากที่สุด
  3. ให้แต่ละกลุ่มร่วมคิด/แลกเปลี่ยน/จับคู่ พร้อมเลือกตัวแทนมานำเสนอ 2 คนต่อกลุ่ม ตอบโจทย์ "หลักการสำคัญของ Psychoeducation คืออะไร" และเขียนคำถามถามดร.ป๊อป กลุ่มละอย่างน้อย 3 ข้อ
  4. ให้ผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่มเขียนข้อความใส่กระดาษแบบอิสระ 1 ย่อหน้า ตามด้วยเขียนว่า "ผู้เรียนรู้อะไรมาก่อนที่จะฟังบรรยายจากดร.ป๊อป"
  5. จากนั้นได้สรุปบทเรียนโดยการวาดรูปสาระที่ได้รับเป็นรูปภาพ/Mind Map/คำคม

เนื้อหาสาระที่ดร.ป๊อป พยายามถ่ายทอดในวันนี้ค่อนข้างท้าทายผู้เรียน แต่ภาพสรุปบทเรียนมากกว่า 80% ของผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจชัดเจน เช่น

  • เนื้อหาบนสไลด์เป็นภาษาอังกฤษและบรรยายเป็นภาษาไทยที่ค่อยๆ สรุปคำสำคัญอย่างช้าๆ ซ้ำๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้คิดจาตำราเรื่อง Psychoeducation ที่มีต้นแบบจากต่างประเทศ
  • แก่นสำคัญของ Psychoeducation หรือ จิตศึกษา คือ การสร้างบรรยากาศการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดจิตจดจ่อกับความรู้ความเข้าใจในการฝึกทักษะชีวิต ไม่ใช่การบำบัด บุคลากรทางการแพทย์กลายเป็นผู้สอน ผู้ป่วยกลายเป็นผู้เรียน มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายตรงกับจริตและรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน (ชอบทฤษฎี ชอบปฏิบัติ ชอบคิดก่อนทำ ชอบสังเกตก่อนทำ) ตลอดจนจัดสื่อการเรียนรู้ด้วยศิลปะ ดนตรี กลอน ฯลฯ รวมทั้งมีการบ้านและการประเมินผลการเรียนรู้ก่อนและหลังอย่างต่อเนื่อง เช่น 6-12 สัปดาห์ต่อหนึ่งชั้นเรียน เป็นต้น
  • จิตศึกษา เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่สามารถนำมาประยุกต์กับเทคนิคการฟื้นฟูจิตสังคมในสหวิชาชีพ ในคนทั่วไปและคนที่ต้องการพัฒนาทักษะชีวิตหลังจากมีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือจิตใจ
  • จิตศึกษา ต่างจาก สุขศึกษา ในแง่เนื้อหาการเรียนรู้เน้นการพัฒนาทักษะชีวิตควบคู่กับความรู้และผลกระทบจากโรคที่อยู่กับผู้เรียน ดังนั้นสุขศึกษาสามารถปรับเป็นจิตสุขศึกษาได้เช่นกัน

สรุปรูปแบบจิตศึกษา คือ

  •  Educational nature
  •  Behavioral change
  •  Multi-professional educators
  •  Skills improvement
  •  Direct teaching & training
  •  Classroom courses (Objectives, Learning activities, Homework)

ตัวอย่างหลักสูตรจิตศึกษาของนักกิจกรรมบำบัด

  • Life Skills Program (LSP)
  • Pretest and Postest
  • Real life & Simulated training environments
  • A Task Checklist (TCL) 

ตัวอย่างหลักสูตรจิตศึกษาของแพทย์ - The psychoeducation program for affective disorders; Six sessions, 90–120 min per session (once a week): Groups of 10–12 persons; Each session consisted of two parts (45–50 min a part) + a 10–15 minute break + Case reading, role playing & problem-solving exercises

เนื้อหา บทนำ, ผลกระทบของโรคจิตเวช, การรักษาและผลกระทบของการทานยา, การสังเกตและรู้ทันผลกระทบของโรค และการจัดการความเครียดและการประเมินตนเอง

ตัวอย่างหลักสูตรจิตศึกษาของพยาบาล - 6 ชม.ต่อหัวข้อ

  • การบันทึกความเครียดประจำวันและการวางแผนจัดการความเครียด
  • การเรียนรู้กลไกความเครียดและการฝึกหายใจผ่อนคลาย
  • การใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
  • การฝึกสำรวจและวางแผนสร้างความสุขรอบตัว

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 480115เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ด้วยความเคารพอย่างสูง

  • สวัสดีครับท่านรองคณบดีคนใหม่
  • นอกจากรูปแบบกับกระบวนการจะเป็นระบบมาก ที่เห็นแล้วก็เชื่อว่าจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ความเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อน และมีส่วนร่วมในการประกอบสร้างทักษะเฉพาะตนหลายอย่างขึ้นในตนเองได้แล้ว ศิลปะการสอนและสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของ ดร.ป๊อบ ก็คงมีส่วนมากที่ทำให้ทุกเรื่องสามารถเป็นกระบวนการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติและดูแลรักษาตนเองของผู้เรียน

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.วิรัตน์ ผู้เป็นต้นแบบหนึ่งแห่งการมีส่วนร่วมศึกษาชีวิตของ ดร.ป๊อป ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท