เปรียบเทียบต้นทุน สูตรการผลิตก้อนเชื้อเห็ด เมื่อเติมหินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ตั้งแต่ตอนเตรียมก้อน


สูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดของเกษตรกรผู้เพาะเห็ดส่วนใหญ่จะมีความหลากหลายไม่ยึดติดตายตัว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพและปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน

 

สูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดของเกษตรกรผู้เพาะเห็ดส่วนใหญ่จะมีความหลากหลายไม่ยึดติดตายตัว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพและปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรรู้จัดคิดค้นดัดแปลงต่อยอดให้เกิดการพัฒนาที่ก้าวหน้าเป็นลำดับ (C & D) ไม่จมปลักอยู่กับที่จะช่วยให้ก่อเกิดการพัฒนาการด้านการผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ คนไทยก็จะมีโปรตีนในรูปของเห็ดไว้บริโภคด้วยความเต็มเปี่ยมด้านคุณภาพทางโภชนาการและความปลอดภัยไร้สารพิษ
 
สูตรการทำก้อนเชื้อโดยปรกติจะใช้ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม รำละเอียดประมาณ 10 กิโลกรัม ถ้าจะเพิ่มแป้งข้าวเหนียวหรือกระถินป่นก็อาจจะลดรำลงเหลือเพียง 7 -  8 กิโลกรัมแล้วเติมแป้งและกระถินป่นเสริมเข้าไปอีก 2 -  3 กิโลกรัม ใช้ปูนขาวหรือแคลเซียม ประมาณ 2 กิโลกรัม ใช้ดีเกลือหรือแมกนีเซียมซัลเฟต 200 กรัม ใช้ยิปซั่มหรือแคลเซียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม ภูไมท์ 1 กิโลกรัม และน้ำตาลทราย 1กิโลกรัม
 
       1. ขี้เลื่อย                           100 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   2.00 บาท = 200.00 บาท
       2. รำละเอียด.                        10 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   5.00 บาท =   50.00 บาท
       3. ปูนขาวหรือแคลเซียม              2 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   4.00 บาท =     8.00 บาท
       4. ดีเกลือหรือแมกนีเซียมซัลเฟต 200 กรัม.     กรัมละ.       0.01 บาท =     2.00 บาท
       5. ภูไมท์.                                1 กิโลกรัม  กิโลกรัมละ   8.50 บาท =     8.50 บาท
       6. ยิปซั่มหรือแคลเซียมซัลเฟต.      2 กิโลกรัม   กิโลกรัมละ  4.00 บาท =     8.00 บาท
       4. น้ำตาลทราย                         1 กิโลกรัม  กิโลกรัมละ 25.00 บาท =   25.00 บาท
                                              รวม                                                 301.50 บาท
 

รวมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตามสูตรดังกล่าวก็จะอยู่ที่ 301.50 บาทต่อวัตถุดิบการผลิตเห็ดทั้งสิ้น 114.2 กิโลกรัม เมื่อนำไปอัดก้อนในขนาด 800 กรัมเราจะได้จำนวนก้อนประมาณ 142 ก้อน ตกเฉลี่ยต้นทุนต่อก้อนอยู่ที่ 2.12 บาท และถ้ามรวมกับค่าพลังงานน้ำมัน แก๊ส ถ่าน ฟืน ถุงพลาสติก จุกสำลี คอขวด กระดาษหนังยางต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อยอาจจะ 1-2 บาทตามแต่ราคาในท้องตลาดของในแต่ละท้องถิ่นก็ถือว่ายังเป็นราคาที่พอรับได้ เมื่อเทียบกับคุณภาพของก้อนเชื้อที่เรียกได้ว่า "จัดเต็ม" ถึงไม่ใช่ก็ใกล้เคียง   ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสูตรของก้อนเชื้อเห็ดนั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความต้องการของแต่ละปัจเจกบุคคลเพิ่มเติมเสริมแต่งได้ตามใจชอบ แต่ถ้าเราทำพื้นฐานของก้อนเชื้อให้ดีมีคุณภาพเสียแต่เริ่มแรก กระบวนการเพาะเห็ดเราก็อาจไม่ต้องเสียสตางค์ไปซื้อฮอร์โมนหรืออาหารเสริมมาฉีดให้สิ้นเปลืองเพิ่มขึ้นง่ายต่อการบริหารจัดการดูแลบำรุงรักษา

 
ทีนี้เราลองมาเปรียบเทียบกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟกลุ่มตระกูล ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์ กันดูบ้างนะครับว่าจะมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใด สูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดถุงแบบใช้กลุ่มหินแร่ภูเขาไฟก็ไม่ได้แตกต่างจากสูตรดั้งเดิมเพียงแต่เราจะลดการใช้แคลเซียม ดีเกลือ ภูไมท์และยิปซั่มออกไปเพื่อประหยัดเวลา ขั้นตอนการผลิตและต้นทุนให้ลดลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ให้เทียบเท่าจากเดิมหรือมากกว่าโดยอาศัยแหล่งอาหารจากตัว พูมิชซัลเฟอร์ ซึ่งมีแร่ธาตุสารอาหารที่ได้จากแร่ภูเขาไฟที่ผ่านอุณหภูมิความร้อนเป็นล้านๆองศาพร้อมต่อการละลายย่อยสลายกลายเป็นอาหารของเห็ด โดยพูมิชซัลเฟอร์ประกอบไปด้วยแร่ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิดินั่ม ฯลฯ และแร่ธาตุที่สำคัญโดดเด่นในตระกูลหินแร่ภูเขาไฟคือ ซิลิสิค แอซิดหรือซิลิก้านั่นเองที่ช่วยให้เส้นไยเจริญเติบเดินเร็ว แข็งแรง อีกทั้งช่วยเพิ่มอรรถรสที่นุ่มเหนียวพอประมาณที่รู้สึกได้ถึงการขบเคี้ยวเหมือนทานสเต๊กรสนุ่มประมาณนั้นเชียว!  เพราะนี่คือประโยชน์ของซิลิก้าที่โดยทั่วไปที่ใช้ในการปลูกพืชจะทำหน้าที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์ป้องกันโรคแมลงราไรที่จะเข้ามาทำลายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อนำมาใช้ในการเพาะเห็ดจึงโดดเด่นมากในเรื่องรสชาติที่สัมผัสได้
 
       1. ขี้เลื่อย                           100 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   2.00 บาท = 200.00 บาท
       2. รำละเอียด.                        10 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   5.00 บาท =   50.00 บาท
       3. พูมิชซัลเฟอร์                        3 กิโลกรัม  กิโลกรัมละ   9.00 บาท =   27.00 บาท                                                               
                                             รวม                                                277.00 บาท
 
รวมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตามสูตรดังกล่าวก็จะอยู่ที่ 277บาทต่อวัตถุดิบการผลิตเห็ดทั้งสิ้น 113 กิโลกรัม เมื่อนำไปอัดก้อนในขนาด 800 กรัมเราจะได้จำนวนก้อนประมาณ 141 ก้อน ตกเฉลี่ยต้นทุนต่อก้อนเชื้อเห็ดอยู่ที่ 1.96 บาท เมื่อเทียบกับวิธีแรกก็ถือว่าประหยัดลงมาได้ถึง18% และยังได้ช่วยลดขั้นตอนกระบวนการผลิตไปอีก 4 ขั้นตอน การเตรียมก้อนเช้ือให้เพียบพร้อมไปด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ช่วยให้ไม่ต้องเสียเงินซื้อฮอร์โมนหรืออาหารเสริมเห็ดฉีดพ่น พร้อมทั้งช่วยให้ก้อนเชื้อเห็ดมีคุณภาพหรือสารอาหารเต็มก้อนเต็มประสิทธิภาพเปิดดอกเก็บได้นาน เป็นที่ต้องการของตลาด
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 480106เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2012 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท