การแก้ปัญหาการสื่อสารของศูนย์พัฒนาคุณภาพ


ปัญหาเรื่องการสื่อสารจึงเป็นปัญหาประจำที่เราหาทางแก้ไขมานาน แต่เดี๋ยวก็ดีขึ้น....เดี๋ยวก็กลับไปเหมือนเดิม

          ในการประชุมเพื่อสื่อสารและพัฒนางานของศูนย์พัฒนาคุณภาพ เมื่อวันพุธที่ 30 ส.ค. 2549 ซึ่งพยายามจะประชุมน้องๆ ทุกวันพุธของสัปดาห์ แต่บางครั้งก็ข้ามๆ ไปเหมือนกัน และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ข้ามมา 2 - 3 สัปดาห์ เนื่องจากดิฉันหรือคุณปิ่งติดการประชุมข้างนอก จึงมีเสียงกระซิบบ่นๆ มาว่า

 

         "โทรศัพท์มาอีกแล้ว ถามเรื่องงานที่เอาไปเวียน.....ไม่รู้รายละเอียดเป็นยังไง คนรับงานมาก็ไม่อยู่ด้วยซิ" (เสียงใครบ่นนะเนี่ย)

 

         ตามประสางานพัฒนาบุคลากรและพัฒนาคุณภาพมีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับคนและหน่วยงานส่วนใหญ่หลายๆ หน่วยงานอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาเรื่องการสื่อสารจึงเป็นปัญหาประจำที่เราหาทางแก้ไขมานาน แต่เดี๋ยวก็ดีขึ้น....เดี๋ยวก็กลับไปเหมือนเดิม.....เฮ้อ !!!! เหนื่อยจริงๆ

 

          ในวันนี้หลังการประชุมชี้แจงหลายๆ เรื่องแล้ว จึงได้ระดมสมองน้องๆ ในทีมช่วยกันเสนอแนะวิธีการแก้ไข

 

          พันนิตา "ปัญหาน่าจะเกิดจากเวลามอบหมายงาน ซึ่งมีทั้งงานคุณภาพ งานความเสี่ยง&คำร้องเรียน งานอาชีวอนามัย งานชมรมจริยธรรม งานฝึกอบรมคุณภาพต่างๆ ที่เรามีส่วนเกี่ยวข้อง คนรับงานจะรู้อยู่คนเดียว เวลาคนรับงานไม่อยู่ ทำให้คนอื่นตอบคำถามไม่ได้"

          สุดารัตน์ "อ้อมอยากให้เวลามอบหมายงาน ให้บอกคนอื่นรู้ด้วย จะได้ช่วยกันตอบข้อมูล เวลามีคนโทรศัพท์มาถามค่ะ"

 

          ใช่เลยค่ะ เป็นกรณีเดียวกับที่ ผอ. เสนอแนะอยู่เสมอว่า "หนึ่งคนให้รู้สามงาน และหนึ่งงานให้รู้สามคน"   ซึ่งนำมาใช้ในการช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารเรื่องงานของเราด้วยก็ดีนะคะ เราลองทดลองปฏิบัติกันดู      

         

          ต้องขอชื่นชมน้องๆ ด้วยนะคะที่ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไข และขอให้ทุกคนร่วมมือกันต่อไป สิ่งสำคัญ คือ ผู้รับบริการของศูนย์พัฒนาคุณภาพ คือ ลูกค้าภายในของเรานี่เองค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #งานคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 47998เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
น้องๆมอมเริ่มลปรรแล้วค่ะ    ถ้าหนึ่งคนรู้สามงานหนึ่งงานรู้สามคนเมื่อไหร่จะตามมาให้รางวัลค่ะ    

เห็นด้วยครับ เรื่องการบอกต่อส่งงานนี่
ยังไกต้องมีการจดบันทึกไว้ครับ
คือ บอกปากต่อปากมันจะมีการผิดพลาดได้
ตอนนี้ที่ห้องยาในกำลังทำฟอร์มกรอกข้อมูลอยู่เหมือนกันครับ

มีหัวข้อคลุมให้ครบ แต่ละหน่วยคงต่างกันละครับของผมจะมีหัวข้อดังนี้ครับ

  • วัน/เวลาที่รับเรื่อง
  • เรื่องอะไร
  • รายละเอียด
  • รับเรื่องจากใคร
  • โทรกลับเบอร์


และสามารถใช้ใบนี้ไปส่งต่อเรื่องได้
ถ้าทำเรื่องเรียบร้อยแล้วให้คนแก้ปัญหาหรือรับเรื่องต่อลงวิธีแก้ไว้ด้วยแล้วหย่อนลงตะกร้าไว้ครับ

เก็บรวบรวมปัญหาไว้เผื่อทำเรื่องอื่นๆ ต่อไป

ปล. วิธีนี้ไม่เหมาะกับคนสายตาไม่ดีและขี้เกียจเขียนครับ

  • ขอบพระคุณท่าน "ผอ." และท่าน "จันทร์เมามาย" นะคะ
  • เรื่องการลงบันทึก เห็นด้วยว่าเป็นหลักฐานที่ดี ในการประชุมทุกครั้งก็ลงบันทึกให้รับทราบ แต่อาจจะยังขาดการติดตามผลการแก้ไขนั่นเอง
  • จะลองพยายามพัฒนาต่อไปค่ะ
  • มีคนกล่าวว่าการบอบหมายงานเป็นสิ่งที่สำคัญ
  • การทำงานตามแผนงานกำกับก็สำคัญ
  • แต่เล็กว่าการติดตามประเมินผลงานน่าจะสำคัญยิ่งกว่านะคะ จะทำให้รู้ว่าอะไรที่ต้องทำต่อไป
ขอบคุณ "น้องเล็ก" ค่ะ เรื่องการประเมินผลงานเป็นสิ่งที่เราขาดมากๆ และหาทางดำเนินการ แต่ก็ยังไม่ประสบผลเท่าที่ต้องการค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท