บทความ


การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน

ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรต้องเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เกิดมลพิษขึ้นเกือบทุกด้าน ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยก็คือ ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดมลพิษนั้นๆ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดการแย่งชิงเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่เหลืออยู่ สร้างปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคม ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ หากทุกคนในชุมชนร่วมในกันเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งที่ลงมือกระทำด้วยตนเองตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถฟื้นฟูบูรณะให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นกลับคืนสภาพมาอย่างเดิมได้

สิ่งแวดล้อมชุมชน
             ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่รวมตัวกันขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยร่วมกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันและมีความเอื้ออาทรต่อกันเป็นต้น ในแต่ละชุมชนนั้นควรจะมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถตอบสนองต่อการดำรงชีพของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ ความพอใจและความต้องการ 

การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันนั้นเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชน  ควรดำเนินตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำไว้ ซึ่งสามารถเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน เช่น  ใช้ชีวิตและความเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน พยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุด  รู้จักประหยัดในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด                                                                                                                                                           การจะทำกิจกรรมใดก็ตาม ต้องคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมกับอัตภาพหรือสิ่งแวดล้อมของตน                                                                                                         ในแต่ละชุมชน ควรจัดให้มีพื้นที่สาธารณประจำชุมชน เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจร่วมกันของคนในชุมชนโดยจะต้องร่วมมือกันในการดูแลรักษาพื้นที่เหล่านั้น จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะมีการดูแลไม่เกิดปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่

             - ช่วยกันรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความสมบูรณ์ไว้มากที่สุด
             - บูรณปฏิสังขรณ์แหล่งโบราณสถานอย่างถูกวิธี เพื่อให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป
             - รณรงค์ส่งเสริมและฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
             - รักษาศิลปหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของท้องถิ่น โดยอาจนำมาผลิตเป็นสินค้าที่ระลึก

การณรงค์ให้เกิดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน สามารถกระตุ้นให้ชุมชนเกิดจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและความสามัคคีในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง เช่น                                                                                                    

            - การรณรงค์ป้องกันปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน
            - การรณรงค์เพื่อปลูกต้นไม้และรักษาต้นไม้ในชุมชน
            - การรณรงค์รักษาแหล่งน้ำในชุมชน 

การมีส่วนร่วม (participation) มีความหมายว่า หมายถึง การทำงานร่วมกับกลุ่ม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความร่วมมือร่วมใจโดยกระทำการดังกล่าวในห้วงเวลาและลำดับเหตุการณ์ที่ทรงประสิทธิภาพคือถูกจังหวะและเหมาะสมกับทั้งกระทำงานด้วยความรู้สึกผูกพันให้ประจักษ์ว่าเชื่อถือได้แสดงว่าการมีส่วนร่วมเป็นผลของความร่วมมือร่วมใจ การประสานงานและความรับผิดชอบ (นิรัดร์ จงวุฒิเวศน์, 2527 : 185)แนวคิดการมีส่วนร่วมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชนบท ทั้งนี้ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5  ที่มุ่งเน้นคนเป็นสำคัญมากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ได้พยายามเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนาจากระดับบนลงล่าง  (Top - down)  มาเป็นจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom - up)  แนวทางดังกล่าวสอดรับกับแนวคิดของ  โอคเลย์  (Oakley. 1984 : 17)  ได้กล่าวว่า   แนวทางจากระดับล่างขึ้นบนนี้  เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน   ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายในกระบวนการพัฒนา  โคเฮนและอัฟฮอฟ  (Cohen and Uphoff. 1981 : 6)  ได้ให้ความหมาย  การมีส่วนร่วมของชุมชนว่า  สมาชิกของชุมชนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน  4  มิติ  ได้แก่                                                                                            

1.       การมีส่วนร่วมการตัดสินใจว่าควรทำอะไรและทำอย่างไร                                                                        

2.      การมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนา รวมทั้งลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ                                                                  

3.      การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน                                                                   

4.      การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ    

โดยสร้างโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือและเข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนา รวมถึงได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนานั้นอย่างเสมอภาค  องค์การสหประชาชาติ  (United  Nation. 1981 : 5)  และรีเดอร์  (Reeder. 1974 : 39)  ได้ให้ความหมายเจาะจงถึงการมีส่วนร่วม  ว่าการมีส่วนร่วมเป็นการปะทะสังสรรค์ทางสังคม  ทั้งในลักษณะการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคล  และการมีส่วนร่วมของกลุ่ม  การมีส่วนร่วมของชุมชน   เกิดจากจิตใจที่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง   เพื่อให้เกิดผล  ต่อความต้องการของกลุ่มคนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตทางสังคม  ทั้งนี้  ในการที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนั้น  การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมต้องคำนึงถึง  วิถีการดำเนินชีวิต   ค่านิยม  ประเพณี  ทัศนคติของบุคคล   เพื่อให้เกิดความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม   เพราะกลุ่มคนในชุมชนมีความแตกต่างกันในลักษณะส่วนบุคคล  ให้ความสำคัญโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหน่วยงานภาครัฐคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำหรืออำนวยความสะดวกเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

 

อคิน  รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข, 2547. 

นิรัดร์ จงวุฒิเวศน์. “กลวิธี แนวทาง วิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา”. 2527. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภาการพิมพ์

Cohen , J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation : Concept and Measures for

                   Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee

                   Center for International Studies , Cornell University , 1981.

Oakley , P. Approaches To Participation In Rural Development. Geneva : Internation Office, 1984.

 

 

หมายเลขบันทึก: 479931เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดความห่วงแหนในสิ่งแวดล้อมของชุมชนของตนเอง

ในการที่จะส่งเสริงคุณภาพของสิ่งแวดล้องจะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเองที่จะเข้ามาร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนในทุกด้านเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จและทำให้คนในชุมชนเกิดความหวงแหนทรัพยากรของชุมชนเองด้วย

เป็นบทความที่ดีครับ...เป็นนิมิตรหมายที่ดีครับการที่ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ผมคิดว่ายอมทำให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆขึ้นได้ครับ

คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม

ดีค่ะ การส่งเริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องมีการอนุรักษ์ไว้โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักในการทำให้ชุมชนยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท