หลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรค


หลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรค

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นำเสนอแนวคิดเพื่อสังคม
http://www.nature-dhrama.com

 

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมาจากสภาพการดำเนินชีวิตตามระบบ "วัตถุนิยม"
หากเราเปลี่ยนแนวคิดใหม่ที่ทรงด้วยคุณค่ายิ่ง โดยการดำเนินชีวิตตามระบบ "พอเพียงนิยม"
ปัญหาต่าง ๆ จักลดลง หรือแทบไม่มี
ด้วยความปรารถนาดีจาก "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

 

หลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรค

          "หลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรค" เขียนจากที่ถูกตอกย้ำ ของผู้แนะนำทางบนเรือท่องเที่ยวล่องแม่น้ำปากพนัง ก่อนอื่นขอชมความงดงามธรรมชาติแบบป่าชายแลนโดยเฉพาะต้นโกงกางสองริมฝั่ง  ดูเขียวขจี สดชื่นสายตามยามมอง พันธุ์ไม้อื่นก็แทรกแซมอย่างสวยงาม ถือว่ายังมีความสมบูรณ์ค่อนข้างมาก หากเจาะลึกมองย้อนอดีตน่าจะต้องติดใจในความงามของธรรมชาติป่าชายแลนปากพนังมากกว่านี้หลายเท่า  ปัจจุบันลิงแสมที่เคยมีมากกลับเบาบาง  ปูแสมที่ลิงแสมชื่นชอบก็ลดน้อยถอยลงไม่ชุกชุมตามที่คนในพื้นที่เล่าให้ฟัง สิ่งที่กล่าวนี้ผู้เกี่ยวข้องน่าสนใจ  น่าศึกษาหาข้อมูล เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาปรับปรุงต่อไป

          ผู้นำทางได้เล่าเรื่องราวสิ่งที่พบเห็นตลอดการเดินทาง  อธิบายได้อย่างดีเยี่ยม  ทำให้ผู้ล่องเรือรู้เรื่องทั้งอดีตและปัจจุบันในหลาย ๆ ด้าน หลาย ๆ แง่มุมเป็นอย่างดี ทุกคนรู้สึกประทับใจตรงจุดนี้พอสมควร

          เรือผ่านหน้าโรงพยาบาลที่กำลังสร้างอาคารใหม่ซึ่งได้งบประมาณเพิ่มเติมนี้เอง "หลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรค" จึงถูกเปิดเผย ผู้นำทางกล่าวว่า "โรงพยาบาลต้องขยาย เพราะคนป่วยเพิ่มมากขึ้น สาเหตุจากหลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรค"

          หลวงพ่อเงินที่กล่าวถึงคือ "ทรัพย์สินเงินทองนั่นเอง" เขาได้บรรบายให้เห็นว่า เรื่องเศรษฐกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันรุนแรง ทำให้คนต้องดิ้นรนหาเงินทองเพื่อความอยู่รอดในสังคมที่มีการแข่งขัน จนคนต้องเครียด ต้องเหน็ดเหนื่อยทั้งใจ และกาย เพราะการพักผ่อนทางกาย และจิตน้อยลง จนเป็นสาเหตุให้เกิดโรดได้ง่ายมีโรคแทรกแซงได้ง่ายขึ้น จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้น เพราะหลวงพ่อเงินเป็นพิษ

          เขายังพูดไปถึงเรื่องด้านอาหารการกินของคนยุคปัจจุบัน ที่มีปัจจัยทำให้ผู้คนเกิดโรคร้ายได้มากขึ้น ผลจากการเอาตัวรอดในการแข่งขันด้านซื้อขาย ทำให้คนหาช่องทางในเรื่องต้นทุนน้อยกำไรสูงมีมากขึ้น การมุ่งเป้าหมายไว้ตรงนี้จุดเดียว จนลืมเรื่องคุณธรรมแทบหมดสิ้น ยกตัวอย่างเช่นเรื่องอาหาร  สมัยก่อนเราจับปูแสมตามภูมิปัญญาชาวบ้านง่าย ๆ ได้มาแต่พอกิน พอแจกจ่าย แบ่งบันให้เพื่อบ้าง  เดี๋ยวนี้จับปูแสมเพื่อการค้าการขายจึงใช้วิธีทางลัด  ใช้วิธีทางมาร คือใช้ยาเบื่อเป็นตัวช่วยในการจับ  จับได้มาก จับได้เร็วขึ้นเป็นการประหยัดเวลา คนจับไม่ได้นึกถึงอันตรายจากสารเคมีที่ผู้บริโภคได้รับ  เมื่อพูดถึงตรงนีี้ ปูแสมที่ลุ่มน้ำปากพนังลดลงอาจจากการใช้สารเคมีก็ได้

          ขอยกเรื่องสารเคมีปนเปื้อนกับอาหารอีก 2 เรื่อง  เรื่องแรกปนเปื้อนกับปลาแห้ง  หรือของอะไรก็แล้วแต่ที่มีการผึ่งแดด การใช้สารเคมีคลุกเคล้า หรือราดลงบนปลา บนปลาหมึก บนกุ้งก่อนตาก เพื่อกันแมลงวันมาวางไข่ซึ่งจะออกลูกเป็นตัวหนอนที่เป็นศัตรูต่อของตากแห้งประเภทเนื้อทั้งหลาย เป็นสารตกค้างที่อันตรายไม่น้อย ผู้บริโภคเป้นผู้น่าสงสารที่สุด  อีกเรื่องคือการใช้ยาฉีดศพราด หรือดองปลาสดของเรือที่จับปลาน่านนำ้ลึก ที่กล่าวมาสามอย่างเป็นข้อมูลที่รับทราบมานาน และสอบถามอยู่ตลอดเวลา เพื่อต้องการทราบข้อมูลที่แท้จริง ทั้งสามเรื่องมีการทำกัน จะมากน้อยอย่างไรไม่แน่ชัด แต่ผลพวงของเรื่องนี้ก็เพื่อ "หลวงพ่อเงิน"

          ผู้ล่องเรือมองเห็นสภาพความเป็นจริง "หลวงพ่อเงิน"ทำให้เกิดโรค" ตามที่บรรยาย ผู้เขียนเองสนใจเรื่องนี้มานาน แสนนาน ด้วยเหตุที่ข้อคิดข้อเขียนในเว็บไซต์"ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ได้นำเรื่องต่าง ๆ ในสังคม มาชี้แจงให้ทราบ เพื่อให้ได้มองเห็นสัจธรรม และจะได้หวนกลับมาดำเนินชีวิตตามแบบเก่า หลายคนรวมทั้งผู้นำทางคนนี้ด้วยต่างมองเห็นสังคมในลักษณะที่ตรงกัน แต่เขาจะพูดไม่พูดเท่านั้น

          "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ต้องการอย่างยิ่ง ที่จะให้ทุกคนช่วยพูดช่วยคิด และสุดท้ายเราได้ปฏิบัติกันให้เป็นรูปธรรม ตรงนี้เองถึงเวลาที่รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต่าง ๆ และรวมทั้งประชาชน ต้องยอมรับความจริงในสภาพปัญหาสังคมปัจจุบัน  จากนั้นร่วมมือกันค้นหาสิ่งดีเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป กระผมผู้ประสานงาน "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" เป็นคนหนึ่งที่เสนอตัวเพื่อหาแนวคิด และวิธีการต่าง ๆ นำเสนอต่อสังคม เพื่อเป้าหมายให้ลูกหลาน และมวลมนุษยชาติดำรงชีพอย่างสันติสุขที่แท้จริง

            เมื่อพูดถึงหลวงพ่อเงิน ขอนำเรื่อง  "เราอยู่อย่างไรเมื่อไม่มีระบบเงิน"  ที่นำเสนอไปแล้วมา จะขอคัดบางส่วนมาสนับสนุนเรื่องนี้เผื่อเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น


          ด้วยการดำรงชีพตามแนว "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" ไม่ใช้ระบบเงิน ขอกล่าวเรื่องนี้แทรกให้เข้าใจ รวมทั้งแนวในการบริหารตามหลักของ
"ประชาธิปไตยระบบพอเพียงนิยม"

           หากไม่มีระบบการเงินเราก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้และอยู่ได้ด้วยความสงบสุขยิ่งกว่าระบบการใช้เงินเพราะระบบการใช้เงินนี้เองที่มีความวุ่นวายตามมาไม่จบสิ้น "แล้วเราจะอยู่อย่างไรเมื่อไม่มีระบบเงิน"

            ขอนำข้อความที่ท่านพระพุทธทาสแสดงธรรมไว้ในเรื่อง "วิวัฒนาการเพื่อวินาศนาการ" จากหนังสือเมื่อธรรมครองโลก"วินาศทางวิญญาณก็แปลว่ามนุษย์เสื่อมเสียทางศีลธรรม ศีลธรรมในหมู่มนุษย์นี้ เลวไปกว่ามนุษย์ยุคคนป่าสมัยโน้นเสียอีก ซึ่งเขาไม่เบียดเบียนกัน และไม่มีใครรู้จักเอาส่วนเกิน   แล้วยังโง่ๆง่ายๆเหมือนนกกับหนูอิ่มปากอิ่มท้องก็แล้วไปต้องการจะพักผ่อมากกว่า"ข้อความตอนนี้สามารถนำมาเป็นแนวที่จะขยายเรื่องนี้ให้แจ่มแจ้งได้เป็นอย่างดี

          มนุษย์เสื่อมเสียทางศีลธรรมก็เพราะเดี๋ยวนี้มนุษย์เรามีวิวัฒนาการทางวัตถุจากนั้นก็พัฒนาระบบการเงินควบคู่กันไป เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายต่าง ๆ นานาประการ อันเนื่องจากเกินความพอดี จึงเกิดกิเลส เห็นแก่ตัวคิดกอบโกยซึ่งแน่นอนทุกสิ่งเหล่านั้นที่กล่าวมาย่อมมีโอกาสสูงมากที่จะเบียดเบียนผู้อื่นผลจากการสร้างระบบเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจเพื่อการหาเงินและมีกลวิธีที่ละเอียดอ่อนในแนวทางการหาเงินควบคู่กันไป ยิ่งนับวันจะหลากหลายในธุรกิจ และยิ่งนับวันทวีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อชัยชนะ เพื่อความเหนือกว่า เพื่อโอกาสที่มากกว่า หรืออะไรทำนองนี้

          เมื่อการแข่งขันเกิดขึ้น และฝังหัวผู้คนเครื่องนี้ตลอดเวลา จะโดยเกิดความรู้สึกเองมาตั้งแต่เด็กจากการที่พบเห็น หรือถูกเสี้ยมสอนจากครอบครัวจากสังคมก็ดีจากการศึกษาก็ดีเป็นมูลเหตุหรือปัจจัยที่จะคิดหาช่องทางการได้เงินจากธุรกิจตามมา ธุรกิจเกิดใหม่จึงเกิดขึ้นมากมายตามด้วยเล่ห์อุบายเชิงธุรกิจที่ควบคู่กับการแข่งขัน ควบคู่กับผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึมลึก และเข้าพัวพันในทุกวงการ และที่สำคัญที่สุดคือเข้าสู่ในวง "การเมือง"ด้วยและจุดนี้ก็เป็นจุดใหญ่เพราะการบริการประเทศต้องดำเนินนโยบายตามสภาพสังคมกระแสสังคมตามความต้องการของสังคมเมื่อสังคมกำลังขับเคลื่อนด้านการแข่งขันเรื่องธุรกิจ การบริหารประเทศก็ต้องสอดคล้องตาม ยิ่งเมื่อทั่วโลกต่าง ก็ฝังหัวแต่เรื่องนี้ก็ยิ่งเห็นสอดคล้องกันไปด้วยกัน และต่างขับเคลื่อน ประสานกันโดยปริยาย

         ในการแข่งขันนี้เองมีการใช้เล่ห์กล เชิงได้เปรียบกันทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การชิงความได้เปรียบนี้เอง ที่ทำให้ศีลธรรมหายหดไปทุกวัน และยิ่งรุนแรงเพิ่มอย่างทวีคูณก็ว่าๆได้การแข่งขันในเรื่องธุรกิจ ซึ่งมีระบบเงินเข้ามาเกี่ยวข้องนี้เองที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ทำให้อยู่ร่วมกันดำรงชีพร่วมกันอย่างไม่มีความสงบสุข เราจึงควรถอยหลัง อย่างมีระบบ ตามแนวคิดของ "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก" เพื่อหาความสงบสุขให้ได้

           เรื่องแนวคิดการไม่ใช้เงิน ก็พอจะเห็นแนวทางแม้ว่ามันอยู่ในลักษณะคนละเรื่องกัน ก็คือในสมัยรัฐบาลนายกทักษิณ มีข่าวว่าท่านนายกทักษิณ
มีความคิดแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศโดยกำหนดค่าของสินค้าทั้งสองว่าจะแลกเปลี่ยนกันในปริมาณเท่าไร ไม่ต้องใช้เงิน นั่นคือการคิดที่นำระบบแบบคนยุคเก่ามาใช้ มันก็ใช้ได้ ลองตกลงกัน แลกเปลี่ยนกันตามความจำเป็นอาหารแลกกับเครื่องกรองน้ำหรืออี่น ๆ (ไม่ใช่อาหาร แลกกับอาวุธน่ะ)

         เมื่อห้าสิบปีที่ผ่านมาซึ่งยังไม่นานนัก ผมเองเคยพบเห็นระบบแลกเปลี่ยนมาแล้ว ดังรายละเอียดเขียนไว้ในเรื่อง "คนเหนือ-คนทุ่ง-คนทะเล" ขอขยายเพียงนิด ๆ คนที่อาศัยชายทะเลนำสิ่งของที่มีมาแลกเปลี่ยนกับคนที่อยู่ทุ่งนา และหรือคนที่อยู่ทางภูเขา ซึ่งเป็นสภาพของชาวใต้ คนทั้งสามถิ่นที่อยู่นี้จะไปมาหาสู่เหมือนเครือญาติ รักใคร่สนิทสนมเหมือนเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ช่วยเหลือกัน ไม่เบียดเบียนกัน อยู่กันอย่างมีความสุข มีน้ำจิตน้ำใจเผื่อแผ่กันตลอดเวลา เป็นยุคที่คนต่างถิ่นนิยมเป็น "เกลอกันมากที่สุด"

           การเป็นเกลอกัน คงเป็นกุศโลบายของภูมิปัญญาของคนสมัยนั้น เพื่อให้ลูกหลานมีความใกล้ชิดกันเหมือนพี่เหมือนน้อง การเงินไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ไม่มีต่อกัน ในความคิดที่เกิดในสายเลือดว่าเป็นเพื่อนกัน เป็นพี่น้องกัน ต่างต้องช่วยเหลือเจือจุนกัน

          นี่เพราะไม่มีการแข่งขันทางธุรกิจ ความวุ่นวาย จึงไม่เกิดขึ้น ระบบการเงิน หรือเงินจึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ศีลธรรมหดหาย แล้วความวุ่นวายเกิดขึ้นเรามาถอยหลังอย่างมีระบบ ช่วยกันคิด ช่วยกันหาแนวทาง ลองมาดูซิอย่างนี้เราทำได้ไหม เราหยุดกิจการด้านธุรกิจ หยุดการแข่งขัน หยุดเรื่องการเงินเราก็จะไม่มีจน ไม่มีรวย คงจะมีคำถามตามมาอีกว่าหยุดกันอย่างนี้แล้วจะทำกินกันอย่างไร จะเอาอะไรกิน เอาอะไรมาซื้อ เอาอะไรมาขายขึ้นมาทันที คำตอบคือ หลัก "ธรรมชาติธรรม"

           การมีกิน และการอยู่อย่างมีสุขของ "ธรรมชาติธรรม" ในหลักเก้าซึ่งกล่าวไว้ในเรื่อง "มนุษย์ต้องดำรงชีพอย่างนี้" นำมาบอกซ้ำอีกครั้ง

     1. เราศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องต้องใช้เนื้อที่ปริมาณเท่าไรสำหรับปลูกพืชพันธุ์เพื่อผลิตอาหาร แก่กลุ่มชุมชนขนาดนั้น ขนาดนี้ที่จัดไว้ รวมทั้งระบบน้ำที่นำมาใช้ในการเกษตร
     2. เรามาศึกษาค้นคว้า วิจัย เรื่องอาหารที่รับประทาน ประเภท ชนิดของอาหารที่มีคุณค่าด้านโภชนาการมากน้อยเพียงใด ปริมาณที่ต้องการ ตามเพศ ตามวัย อาหารในรูปแบบใด เพิ่มผลผลิตอย่างไร ฯลฯ
     3. เรามาศึกษา ค้นคว้า วิจัยว่า การออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือวิธีใด ใช้เครื่องมือชนิดใดบ้าง ความแตกต่างของเพศ วัย เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ฯลฯ
     4. เรามาศึกษาค้นคว้า วิจัยเรื่องนันทนาการที่ก่อให้เกิดความสุนทรีย์ต่อด้านจิตใจมากที่สุด เรามีงานศิลปะแขนงใดบ้างเพื่อการอยู่ร่วมที่มีสุข เช่น ร่ายรำ ละคร วาด ปั้น เพลง ฯลฯ
     5. เรามาศึกษา ค้นคว้า วิจัยเรื่องยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ สบู่ ผงซักฟอก เสื้อผ้า ฯลฯ จะจัดหาโดยวิธีใด ใช้อะไรเป็นวัตถุดิบเพื่อให้เกิดคุณภาพสูงสุด และเลี่ยงใช้สารเคมีให้มากที่สุด ฯลฯ
     6. เราศึกษา ค้นคว้า วิจัย เรื่องการสร้างที่อยู่อาศัยว่าควรใช้วัสดุอะไร รูปแบบด้านสุขาภิบาล ฯลฯ
     7. ด้านศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ควรบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
     8. เรามาศึกษาว่ารัฐบาลของเราจะบริหารวิธีใดให้สอดคล้องกับการอยู่ร่วมของคนในสังคมแบบ "ธรรมชาติธรรม"
     9. อื่น ๆ ที่เราจะต้องศึกษา วิจัยเพื่อการอยู่ร่วมอย่างมีคุณภาพ มีความสันติสุข ทียั่งยืนในรูปแบบสังคม "ธรรมชาติธรรม"

     ในเก้าข้อนี้กลุ่มชุมชนที่อยู่ร่วมกันไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องในเรื่องการแข่งขันด้านธุรกิจ ไม่ต้องหาเงินหาทอง แต่ทุกคนมีกินอย่างสมบูรณ์ และกินอย่างปลอดสารพิษ เพราะเรามีการค้นคว้า วิจัย ในเรื่องงานทั้งเก้างาน เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพของชีวิต

     หลักการสำคัญในการอยู่ร่วมที่ยึดหลักเก้าข้อ คือการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม โดยใช้หลักการ หรือเลียนแบบการอยู่ร่วมของสัตว์สังคม เช่น ปลวก ผึ้ง ตัวต่อ ที่รู้จักแบ่งหน้าที่กันอย่างลงตัว ต่างตัวต่างทำหน้าที่ของตนเอง ต่างตัวต่างรับผิดชอบ คิดว่าสัตว์สังคมที่มีมันสมองอย่างมนุษย์บริหารเรื่องนี้ได้ดีกว่าสัตว์หลายเท่า เพื่อให้เข้าใจ และเห็นแนวทางแจ่มชัดขึ้นขอเสนอแนวคิดเรื่องนี้ไว้พอสังเขปดังนี้(ขอกล่าวให้พิสดารโดยเฉพาะอีกครั้ง)

       หลักหารบริหาร แบ่งเป็นสี่ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหาร แยกเป็นสองส่วน คือส่วนกลาง และฝ่ายบริหารของกลุ่มชุมชน ฝ่ายที่สองคือฝ่ายวิชาการ ฝ่ายที่สามคือฝ่ายผลิต และสนับสนุน และฝ่ายที่สี่คือฝ่ายภาระงาน งานทั้งสี่ฝ่ายมีการผลัดเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยการคัดเลือกตัวแทนตามแนวของ"ธรรมชาติธรรม" (เรื่องการคัดเลือกตัวแทนจะกล่าวโดยละเอียดเฉพาะเรื่อง)

      ฝ่ายบริหารส่วนกลางทำหน้าที่เหมือนรัฐบาล ควบคุมดูแลกลุ่มชุมชนทั่วประเทศ ประสานงานกับฝ่ายบริการของกลุ่มชุมชน โดยบริหารในเก้าหัวข้อหลัก ซึ่งในแต่ละเรื่องประกอบด้วย ฝ่ายบริหารจัดการ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายผลิต และสนับสนุน

      ฝ่ายบริหารส่วนกลางมีภารกิจดำเนินการระหว่างประเทศเกี่ยวกับความต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ฝ่ายผลิตไม่สามารถดำเนินการได้ โดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า (ระบบแลกเปลี่ยนสินค้าจะนำกล่าวละเอียดเฉพาะเรื่องอีกครั้ง)

       นอกจากนี้ฝ่ายบริหารกลาง มีภาระการบริการสนับสนุนกลุ่มชุมชน รวบรวมปัญหา ประเมินผลงานการดำเนินงานของกลุ่มชุมชน และประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ฝ่ายผลิต และสนับสนุนของกลุ่มชุมชน

       ฝ่ายวิชาการจัดเป็นทีมงานโดยแยกเป็นเก้าทีม ส่วนกลางเก้าทีม ส่วนกลุ่มชุมชนชุมชนละเก้าทีม คอยกำกับดูแลค้นคว้าวิจัย หากมีสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ เครื่องจักร ฯลฯ ก็ส่งให้ฝ่ายผลิต และสนับสนุนต่อไป

       สำหรับฝ่ายผลิต และสนับสนุนรับงานจากฝ่ายวิชาการ โดยประสานงานกับฝ่ายบริหารจัดการ ฝ่ายผลิตส่วนกลางไม่มี มีเฉพาะฝ่ายผลิตกลุ่มชุมชน   ส่วนฝ่ายภาระงานก็มีเฉพาะกลุ่มชุมชน ภาระงานส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการผลิอาหาร ทำไร ทำนา ทำสวน งานอื่น ๆ เช่นสร้างที่พักอาศัยการชลประทาน ฯลฯ มีน้อยเพราะอาจจะมีเป็นครั้งคราว

       ที่กล่าวมาในเรื่องของการบริหารจัดการโดยสังเขป จะเห็นว่างานทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย เพราะไม่ใช่เรื่องการแข่งขัน แบ่งงานกันทำตามหน้าที่เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง มีความสุขที่แท้จริง หลักการของธรรมชาติธรรม เราไม่ได้อยู่เพื่อรวย เพื่อจน อยู่เพื่อดำรงชีพอย่างมีความสุข และเป็นความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่เป็นธรรมดา เป็นความสุขที่เป็นธรรมชาติ

       นี่เมื่อทุกคนเห็นด้วยสาเหตุ เหตุผล ทุกเรื่องดังที่กล่าวมา คงจะมองเห็นแล้วว่าการแข่งขัน และต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินทองที่มีความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เสมอภาค การเอารัดเอาเปรียบในสังคม เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจที่สุดของสังคมมนุษย์ วุ่นวายที่สุด เปลืองเปล่าที่สุด เหน็ดเหนื่อยที่สุด นี่คือผลตอบแทน แล้วทำไมไม่ถามตัวเองกันบ้างว่า "เกิดมาทำไม" หลวงพ่อเงินทำให้เกิดโรคอาจจะช่วยตอบโจทย์ข้อนี้ได้บ้าง


ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมาจากสภาพการดำเนินชีวิตตามระบบ "วัตถุนิยม"
หากเราเปลี่ยนแนวคิดใหม่ที่ทรงด้วยคุณค่ายิ่ง โดยการดำเนินชีวิตตามระบบ "พอเพียงนิยม"
ปัญหาต่าง ๆ จักลดลง หรือแทบไม่มี
ด้วยความปรารถนาดีจาก "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก

หมายเลขบันทึก: 479613เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาพลายเส้น เพื่อสังคม "ธรรมชาติธรรมค้ำจุนโลก"

http://www.nature-dhrama.com

พึงตอบคำถามสามข้อ
ที่ขอถามไว้หลายครั้ง
ชู้สาวคาวยุ่งรกรุงรัง
ทับซ้อนก็ยังเหมือนเดิม

อีกทั้งไม่ดีหนีงาน
ฟุ้งซ่านส่่วนลึกหึกเหิม
ทับซ้อนทับซ้อนยอ้นเติม
เหมือนเริมลุกลามปานปลาย เอย

แม่น้ำปากพนังแหล่งรวมธรรมชาติผืนสุดท้ายที่เป็นดั่งสายเลือดชาวปากพนัง เพราะป่าชายเลนกำลังจะเป็นแค่ชื่อ ที่ถูกเรียกว่า เคยมีอยู่ที่นั้น มันกำลังจะหมดไปทุกๆวัน ธรรมชาติ สิ่งที่มนุษย์ไม่ได้สร้าง แต่กลับเป็นผู้ครอบควรอง เมื่อก่อนก็น่าจะเป็นแหลมตะลุมพุกที่เป็นจุดขายของปากพนัง แต่ก็กลับกลายเป็นความทรงจำของชาวนคร และชาวไทยไปแล้ว ทุกคนยังไม่ลืม เราทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อทำลายเราเอง

วันก่อนเคยไปเที่ยวปากพนังตอนที่เป็นฤดูร้อน นากุ้งชาวบ้านอยู่ฝั่งซ้ายมือ หากมาจากหัวไทร อยู่ติดริมทะเลมาก ผมเห็นผมยังกลัวเลย หากคลื่นตีแตกแค่ 1 บ่อ ที่เหลือก็จบ ถนน บ้าน สิ่งปลูกสร้างต่างๆก็คงหมด เราเจอภัยพิบัติทุกปี นั่นคือ น้ำท่วม คลื่นลมแรง พายุ เราเจอทุกปี แล้วรู้ด้วยว่ามันต้องเกิด อันนี้ภาษาชีววิทยา เขาเรียกว่า พฤติแบบฝังใจ คือรู้ว่ามันต้องเกิดแน่ เสียหายแน่ เราก็ต้องทำยังไง ให้มันเสียหายน้อยที่สุด แต่เรากลับทำให้มันเป็นพฤติกรรมแบบเคยชิน คือ รู้ว่ามันมาแน่ แต่จะมีปฎิกิริยาตอนมันเกิด มันก็สายไปแล้ว รู้ว่ามันเกิดอย่างไร รู้ว่าทำอย่างไรถึงจะทุเลาความรุนแรง รู้ว่าป่าชายเลยดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่กลับไม่เคยปลูกแถมยังไปทำลายอีก

อย่าทำกรรมให้ลูกหลานท่านอีกเลย รุ่นของท่านไม่รุนแรงหลอก คนรับกับการกระทำของท่านคือคนที่อยู่ข้างหลังทั้งนั้น เราคือคนเดือดร้อน ท่านทำขยะไว้ให้ลูกหลานท่านทั้งนั้นแล้วมาพูดได้อย่างไร ว่าสร้างความเจริญ เจริญท่ามกลางภัยพิบัติ คงไม่ไหว

อย่าโทษ เทพ เทวดา น้าฟ้า นางสวรรค์ เจ้ากรรม นายเวร เขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง กรรม คือการกระทำ ที่เราทำกันมาเอง

สวัสดีครับ ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจ

สวัสดี Mr.Sakda ข้อคิดเห็นของคุณ ให้ความรู้สึกต่อผมพอสมควร เป็นพระคุณยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท