ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๙๔. จิตวิทยาเชิงศีลธรรม


ผมมีความเชื่อว่า คนเราต้องฝึกสมองส่วนเหตุผลด้วย “แบบฝึกหัด” เชิงคุณธรรมจริยธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้สมองคล่องแคล่วที่จะวิ่งเข้าสู่วงจรแห่งแหตุผลเชิงจริยธรรมโดยไม่ต้องคิด และยิ่งถ้าฝึกให้รอไตร่ตรองได้ด้วย ก็ยิ่งดี.....

 

          บทความเรื่อง The Age of Immoralityโดย Casey Schwartz ลงในนิตยสาร นิวสวีก ฉบับวันที่ ๒๓ ม.ค. ๕๕ อ้างถึงผลงานวิจัยของ Joshua Greene ศาสตราจารย์ด้าน Moral Psychologyแห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ว่าตามปกติมนุษย์เราใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการตัดสินใจเชิงศีลธรรม

          เขาบอกว่า ในเรื่องการตัดสินใจเชิงศีลธรรม สมองทำงานใน ๒ มิติ คือมิติเหตุผล กับมิติอารมณ์ และ Greene พบว่า เมื่อตรวจสอบการทำงานของสมองเมื่อคนเราเผชิญปัญหาเชิงศีลธรรม จะพบว่าส่วนใหญ่สมองส่วนอารมณ์ทำงาน ไม่ใช้สมองส่วนเหตุผล

          ผลการวิจัยเกี่ยวกับสมอง บอกว่าสมองส่วนอารมณ์ทำงานสนองตอบอย่างรวดเร็วเมื่อเผชิญสถานการณ์ ในขณะที่สมองส่วนเหตุผลต้องการเวลา ซึ่งก็ตรงกับคำแนะนำสั่งสอนว่าคนเราต้องรู้จักยั้งคิด ไม่ตกอยู่ใต้บังคับของอารมณ์ชั่วแล่น

          ผมมีความเชื่อว่า คนเราต้องฝึกสมองส่วนเหตุผลด้วย “แบบฝึกหัด” เชิงคุณธรรมจริยธรรมอยู่เสมอ เพื่อให้สมองคล่องแคล่วที่จะวิ่งเข้าสู่วงจรแห่งแหตุผลเชิงจริยธรรมโดยไม่ต้องคิด และยิ่งถ้าฝึกให้รอไตร่ตรองได้ด้วย ก็ยิ่งดี นี่คือการฝึกสมองส่วน EF (Executive Function) ที่ผมเคยบันทึกไว้ที่นี่

 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ม.ค. ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 478618เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Ummh, so, when a Thai government has moral issues, it tries to blast its way out with raw "emotion", is that it?

ปัญหา กระทบอารมณ์
ทนขื่นขม บ่มใจ ด้วยเหตุผล
เข้ามาเลย ให้สุด แรงบัดดล
เมื่อผ่านพ้น ใจสบาย หายไปเอง

ปัญหา คือแบบฝึกหัด
เส้นทางลัด ยกใจ ใฝ่เรียนรู้
ฝึกสมอง ไตร่ตรอง ลองทำดู
ตระหนักรู้ สุขทุกข์ ของคู่กัน.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท