กลัวประวัติศาสตร์ซ้ำรอย


ทักษะในศตวรรษที่ 21,สมรรถนะ

12 กุมภาพันธ์ 2555

                 หลังจากเปิดวงPLC เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในทักษะในศตวรรษที่ 21 ตรงกันไปแล้วพบว่า อันที่จริงทักษะในศตวรรษที่21 นั้น ในหลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551 นั้นมีพร้อมแล้ว ในสมรรถนะ ที่ครูต้องทำให้เกิดขึ้นกับเด็ก ถ้าเปิดดูแผนการสอนของครูพบว่าทุกหน่วยการเรียนบรรจุไว้เลยว่า ครูต้องการให้เกิดสมรรถนะใด

      เปรียบเทียบสมรรถนะกับทักษะในศตวรรษที่21

   สมรรถนะ                                     ทักษะในศตวรรษที่ 21

1.ความสามารถในการสื่อสาร              ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และเทคโนโลยี
                                                       ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
                                                       ความรู้ในวิชาหลักและความรู้เฉพาะสำหรับอนาคต
2.ความสามารถในการคิด                  ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
                                                       ความรู้ในวิชาหลักและความรู้เฉพาะสำหรับอนาคต

3.ความสามารถในการแก้ปัญหา          ความรู้ในวิชาหลักและความรู้เฉพาะสำหรับอนาคต
                                                       ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต    ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ
                                                       ความรู้ในวิชาหลักและความรู้เฉพาะสำหรับอนาคต
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี   ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และเทคโนโลยี

แต่ทำไมการพัฒนามีน้อย 

          คำตอบ(ส่วนตัวในแง่ลบ) ที่ได้คือครูส่วนมากไม่นำสู่การปฎิบัติจริง มีแผนการสอนไว้ตรวจ  จากการเปิดเวทีPLC;PBL ที่เชียงยืน ทำให้ข้าพเจ้าเกิดวิตกกังวลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งว่า  เมื่อครูไม่ชัดแจ้งและขาดความตระหนักอาจเกิดผลเสียตามมา  อย่าลืมว่าเราผลาดมาแล้วครั้งหนึ่ง จากคำว่าให้เด็กเป็นศูนย์กลาง พบว่าครูเข้าไป ก็แจกใบงาน ใบความรู้ แล้วครูก็หนีไปทำธุระส่วนตัว เหตุผลก็คือให้เด็กเป็นศูนย์กลาง อ่านเอง ทำเอง ผลก็คือเด็กอ่อนมากอย่างเห็นได้ชัดเจน  นั้นคือข้อผิดพลาดจากการเข้าใจผิด

         ในครั้งนี้ก็เหมือนกัน

          ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจาก “ครูสอน” (teacher) มาเป็น “ครูฝึก” (coach) หรือครูผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน (learning facilitator) ห้องเรียนต้องเปลี่ยนจากห้องสอน (class room) มาเป็นห้องทำงาน (studio) 

        กลัวมาก  กลัวจะเหมือน  ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง

       กลัวการโยนงานหรือข้อคำถามให้เด็ก แลัวก็ ทำธุระส่วนตัว

       กลัวครูลืมไปว่าต้องเอื้ออำนวยและดูแลอย่างใกล้ชิด

 

     กลัวประวัติศาสตร์ ซ้ำรอย จริงๆ

 

"เป็นความคิดส่วนตัว ในแง่ลบเกินไป" ขออภัยคุณครูที่มีความตั้งใจมุ่งมั่น

หมายเลขบันทึก: 478396เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับการมองเชิงวิพากษ์ในตามบันทึกนี้ครับ.... แสดงว่าผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบมองว่าตนเอง "ชอบมองในแง่ลบ"....ฮา

กลัวเหมือนกันค่ะจึงต้องมาช่วยกันกำกับทิศทางหา best practices ดีๆ เป็นต้นแบบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท