ชาวนาไทยถูกเวียดนามเบียด เมียนมาร์บีบ เพราะประเทศขาดความสามัคคี


เพื่อเป็นทั้งฐานทัพและนักรบต่อสู้กับสงครามรูปแบบใหม่ที่อาจจะไม่ใช่การรบราฆ่าฟันก็เป็นได้ แต่เป็นการแข่งขันกันผลิตและส่งออกอาหารไปจำหน่ายทั่วโลกแทน

 

เหตุการณ์ความวุ่นวายในหลายๆด้านทั่วทั้งประเทศ ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้ง โจรใต้และการขาดความสามััคคีของคนในชาติ ส่งผลกระทบที่เป็นด้านลบในหลายๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคม ขาดโอกาสในการพัฒนาโดยเฉพาะภาคการเกษตรและการตลาด จนประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รายรอบๆเริ่มเห็นความแตกต่างระหว่างความร่วมมือและความแตกแยกรัฐบาลทหารพม่าเริ่มให้ความสำคัญกับนางออง ซาน ซูจีร่วมไม้ร่วมมือให้มีส่วนร่วมในการเมืองและการพัฒนาประเทศมากขึ้น เพื่อให้ต่างชาติเห็นภาพประชาธิปไตยเบ่งบานดึงดูดนักลงทุนให้เข้า อเมริกาที่เคยกดดันแซงชั่นคว่ำบาตรก็หันมาให้ความเป็นมิตรมีไมตรีจิตขึ้นมาอย่างกระทันหันร่วมไม้ร่วมมือส่งเสริมตอกย้ำความเป็นประชาธิปไตยเข้าเยี่ยมคารวะนางออง ซาน ซูจีโดยมีผลประโยชน์ก้อนใหญ่ทางด้านเศรษฐกิจและอำนาจทางทหารอยู่เบื้องหลังเพื่อคานอำนาจยักษ์ใหญ่อีกตัวที่กำลังโตวันโตคืน เท่าที่สังเกตุของแต่ละประเทศจะเป็นการให้ความร่วมไม้ร่วมมืออดเปรี้ยวไว้กินหวาน แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาวถ้าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักคิดอย่างนี้ท่าจะดีไม่น้อย
 

ผลจากการที่พม่าเร่ิมนิ่งมากขึ้นบวกกับภาพของความร่วมมือในหลายๆภาคส่วนส่งผลให้ยอดการส่งออกข้าวของเมียนมาร์ หรือพม่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวถึง 1.5 ล้านตันในปีนี้ และอาจเพิ่มเป็น 2 ล้านตันในปีหน้า ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เมียนมาร์กำลังจะกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ที่มีศักยภาพในการแข่งขันไม่แพ้ไทย เวียดนาม และอินเดีย สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ (เอ็มอาร์ไอเอ) ระบุว่า ในปี 2011 ที่ผ่านมา เมียนมาร์สามารถส่งออกข้าวไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ทั้งสิ้น 700,000 ตัน แต่ในปีนี้ ทางการตั้งเป้าเพิ่มการส่งออกข้าวให้ได้อีกเท่าตัวเป็น 1.5 ล้านตัน และจะเพิ่มปริมาณการส่งออกเป็น 2 ล้านตันในปีหน้า ก่อนจะส่งออกให้ได้ปีละ 3 ล้านตัน ภายในปี 2015 ซึ่งจะส่งผลให้เมียนมาร์กลายเป็นหนึ่งในชาติผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เช่นเดียวกับไทย เวียดนาม และอินเดีย ข้าวจากเมียนมาร์จะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับข้าวไทย เวียดนามและอินเดีย และอาจแย่งตลาดข้าวของทั้ง 3 ประเทศ โดยเฉพาะตลาดในทวีปแอฟริกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.biothai.net/news/11626)

 
ชาวนาไทยควรเร่ิมให้ความสนใจกับสมรรถนะของตนเอง และควรเพ่ิมหรือหาทักษะใหม่ๆเพื่อการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรหรือการปลูกข้าวให้มีความมั่นคงแข็งแกร่งโดยยึดหลักจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทมีที่ดินปลูกพืชและสัมผัสกับวิถีธรรมชาติและทรัพยากรมากที่สุดของประเทศ ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างฐานที่มั่นภาคเกษตรให้มั่นคง สามารถปลูกพืชได้โดยไม่อิงอาศัยปัจจัยภายนอกมากเกินไป นำทรัพยากรรอบๆตัวมาปรับใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ควรโน้มนำแนวทางพระราชดำริด้านเกษตรทฤษฏีใหม่ใช้แนวทางเกษตรพอเพียงของในหลวงมาปรับใช้ให้เหมาะสม เพื่อที่จะทำให้ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่มมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาอารยะประเทศ ไม่ถูกเขาแซงหน้าไปแบบสุดกู่ทั้งๆที่ประเทศเรามีการเจริญเติบและพัฒนาล่วงหน้ามาเป็นระยะเวลานานด้วยความภาคภูมิใจที่เราไม่เป็นเมืองขึ้นหรือประเทศราชของใคร ในขณะที่อีกไม่กี่ปีจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พี่น้องลูกหลานเกษตรกรไทยควรใส่ใจช่วยกันสร้างฐานที่มั่นที่แข็งแรงให้กับประเทศโดยการพัฒนาผลผลิตภาคเกษตรให้มีศักยภาพโดยอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนความคิด สะสมความรู้มุ่งสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องสมดุลย์กับสถานการณ์แวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อเป็นทั้งฐานทัพและนักรบต่อสู้กับสงครามรูปแบบใหม่ที่อาจจะไม่ใช่การรบราฆ่าฟันก็เป็นได้ แต่เป็นการแข่งขันกันผลิตและส่งออกอาหารไปจำหน่ายทั่วโลกแทน
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com


 
 
หมายเลขบันทึก: 477972เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2012 06:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท