เทคนิคการเพิ่มขีดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ (ตามโครงการ English Speaking Year 2012)


การพัฒนาทักษะและความสามารถในการฝึกฝนทักษะในการพูดและสนทนาภาษาอังกฤษ สนองโครงการ พ.ศ.2555 ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ หรือ English Speaking Year 2012

หลังจากที่ดีใจหลังจากปีใหม่มาไม่นาน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้คลอดโครงการใหม่อันเป็นที่ฮือฮาในแวดวงการศึกษาของไทยอย่างจังงัง คือ โครงการ “ พ.ศ. 2555 ปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ (English Speaking Year 2012) ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์" โดยเน้นไปที่การปฏิบัติจริง พูดจริง และนำองค์ความรู้มาใช้ได้จริง ....

จากการสังเกตการณ์การปฏิบัติการวันแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 9 มกราคม ที่ผ่านนั้น              พบว่านักเรียนส่วนมากยังคงใช้ภาษาไทยในการสื่อสารมากกว่า 70% โดยสาเหตุดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

1) นักเรียนขาดความรู้ที่เพียงพอต่อการสื่อสารโดยภาษาอังกฤษ

เนื่องจากนักเรียนไทยส่วนใหญ๋ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่เพื่อการสื่อสารจึงเป็นการยากที่บางครั้งเด็กนึกถึงคำศัพท์ที่จะพูดไม่ได้จึงส่งผลให้ไม่กล้าที่จะเอ่ยปากพูด (อย่าว่าแต่นักเรียนเลยครับ ... ครูบางท่านยังนึกคำศัพท์ไม่ออกด้วยซ้ำครับ)

 

2) นักเรียนไทยมี "ความเขินอายมาก"
และ "ความกล้าแสดงออกน้อย"

นักเรียนไทยในแถบต่างจังหวัดหรือชานเมืองนั้นส่วนใหญ่มักจะมีความเขินอายมากและมีความกล้าแสดงออกค่อนข้างน้อย อาจเป็นเนื่องมาจากรากฐานทางวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเรา แต่ถึงอย่างไรก็ตามครูคือบุคคลสำคัญที่จะต้องผลักดันให้นักเรียนกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น ....

3) สื่อการเรียนการสอนที่ขาดแคลน และ
บุคลากรทางการศึกษายังมีความพร้อมไม่เพียงพอ

ต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาของไทยนั้นยังขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาหรือว่าครูผู้สอนเองนั้นก็มีความเชี่ยวชาญและความชำนาญที่แตกต่าง ดังนั้นอาจจะต้องอาศัยระยะเวลาในการบ่มเพาะและฝึกฝนให้กับครูสักระยะเวลาหนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไปในอนาคต

จากสาเหตุดังกล่าว ...... อาจจะต้องอาศัยระยะเวลา 1-5 ปีในการพัฒนาโครงการนี้ให้สำเร็จตามที่คาดหวังเอาไว้ ....

แต่เราลองมาดูกันสิว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพการพูดหรือสนทนาภาษาอังกฤษ ... ผมขอเสนอแนวทางดังต่อไปนี้ครับ

1. บังคับให้การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ
"ต้องสอนเป็นภาษาอังกฤษ" เท่านั้น

ซึ่งการวางรากฐานแบบนี้จะเป็นการปูพื้นฐานให้กับครูผู้สอนและนักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไม่น่าเบื่อ หลังจากการเรียนการสอนในรูปแบบภาษาอังกฤษประสบความสำเร็จแล้วก็จะสามารถนำครูผู้นั้นมาถ่ายทอดประสบการณ์การสอนและเป็นครูต้นแบบในการใช้ภาษาอังกฤษอีกด้วย

2. เน้นการฝึกปฏิบัติจริงในทุกช่วงโอกาส ...

เพราะเพียงแค่เฉพาะการพูดในวันจันทร์นั้นคงไม่เพียงพอ อาจจะต้องออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ชมรมหรือชุมนุม)ให้สอดรับกับกิจกรรมดังกล่าว อาทิ ชมรมข่าวภาษาอังกฤษรุ่นเยาว์, ชมรมละครภาษาอังกฤษ หรือ ชมรมสนุกกับภาษาอังกฤษ เป็นต้น

3. เน้นการฝึกตนให้เป็นยอดคน

เน้นการฝึกทักษะการฟัง, การพูด, การอ่าน และ การเขียนภาษาอังกฤษจากสื่อต่างๆ อาทิ การรับชมและรับฟังข่าวภาษาอังกฤษ, การชมภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ตลอดจน การอ่านข่าวหรือฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้อีกด้วย

4. จัดให้มีการอบรมครูและนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ทางสถานศึกษาควรเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวและให้การอบรมหรือติวเข้มให้กับครูหรือบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งอาจจะต้องหาผู้ที่มีความสามารถมาร่วมกันจัดประสบการณ์ทางการศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษให้นักเรียนในสถานศึกษาอีกด้วย

 

5. ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนและที่บ้าน

นอกจากการใช้ภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้สามารถใช้ภาษาอังกฤษที่บ้านหรือชุมชนของนักเรียนอีกด้วย เพื่อจะได้เป็นการต่อยอดทางความคิด ขยายกรอบความรู้และมโนทัศน์ของนักเรียน แถมผู้ปกครองยังได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษร่วมกับนักเรียนอีกด้วย

 

เหล่านี้คือข้อเสนอแนะที่ผมรวมรวมมาเพื่อเป็นการพัฒนาตัวบุคลากรทางการศึกษา,
ครูผู้สอน, ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งนักเรียน ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชมอีกด้วย      ...ลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ

เผื่อว่าสามารถเป็นอีก “แนวทางหนึ่งในการร่วมกันพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยต่อไป” ....

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาอั
หมายเลขบันทึก: 476588เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2012 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กำลังจะเขียนเรื่องนี้เหมือนกัน แต่งงว่าทำไมกระทรวงต้องบังคับเฉพาะวันจันทร์ 555

  • น่าสนใจมากค่ะ ดิฉันเองก็อยากจะเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนนักศึกษาไทย และต้องการเห็นการพัฒนาที่ตรงจุดดังที่เขียนไว้ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/457133 ค่ะ
  • ดิฉันเองไม่มีโอกาสเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ เพราะเหตุปัจจัยด้านการบริหารสถานศึกษา แต่ก็รักการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และกำลังส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพูดให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากประมาณ 29 สาขาวิชาค่ะ 
  • ในด้านการอ่านการเขียน ให้บันทึกการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รอบตัว เป็นเวลา 2 เดือน ด้านการฟังการพูดก็ให้หาโอกาสไปสื่อสารกับชาวต่างชาติในสถานการณ์จริงหลังการฝึกในชั้นเรียนค่ะ เพราะส่วนใหญ่แม้จะพอพูดได้ในชั้นเรียน แต่ในสถานการณ์จริงมักจะตื่นเต้นจนพูดไม่ได้ หรือฟังไม่เข้าใจ ทำให้สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ที่สำคัญคือต้องไปกันหลายๆ คนจะได้ช่วยกันค่ะ

 

การเรียนรู้ภาษาอังกฤษระดับประถมยังด้อยพัฒนา ผมต้องพูดอย่างนี้ เพราะดูจากการเรียนรู้ของลูกสาวผม แล้วก็การเสริมทักษะจากผม แล้วเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ ผมจะเน้นให้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากความเข้าใจ และอ่านออก เขียนได้ ไม่ใช่ท่องจำ

ผมเห็นเด็กหลายคนไปเรียนพิเศษแล้วกลับมาบ้านพ่อแม่ภูมิใจคือสามารถพูดประโยคภาษาอังกฤษพื้นฐานได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อไปเจอประโยคที่ไม่เคยเรียนก็ไปไม่เป็น อย่าว่าแต่ความหมายเลย อ่านออกเสียงยังไม่เป็น

ผมเน้นให้ลูกสามารถสะกดคำได้ อ่านได้ ถึงแม้ไม่รู้ความหมายก็เน้นให้อ่านเองก่อนแล้วค่อยเปิดดิก ห้ามเปิดดิกเพื่อหาคำอ่าน แนะนำให้เรียนรู้จักสระ และการผสมคำ เรียนจากแบบเรียนภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน

ทุกวันนี้ลูกสาวผมอ่านได้ ถึงแม้จะแปลไม่ได้ แต่เด็กสนุกกับการพยายามค้นหาความหมายจากการอ่าน

นี่เป็นอีกมุมมองหนึ่งนะครับ ที่สามารถนำไปค้นหาและคิดพัฒนาต่อยอดได้

การรับชมและรับฟังข่าวภาษาอังกฤษ, การชมภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ตลอดจน การอ่านข่าวหรือฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้อีกด้วย..

ขอบคุณคะ

เห็นด้วยทุกประการ อยากให้โครงการนี้ขยายผลถึงระดับมหาวิทยาลัยด้วยจัง

สร้างสิ่งแวดล้อมใช้ทักษะภาษาอังกฤษเท่าที่จะทำได้

ตอนนี้ก็พยายามอยู่คะ ที่ทำงานไม่ได้ใช้ เมื่อกลับมาบ้าน เข้าอินเตอร์เนต ฟังเพลง ฟังข่าว ดูหนัง ภาษาอังกฤษ

สวัสดีค่ะIco64 แวะมาชื่นชมเทคนิคการเพิ่มขีดความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษค่ะ...

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะครับ ^_*

@ คุณขจิต ฝอยทอง : อันนี้ผมก็ไม่ทราบสาเหตุครับ อาจจะเป็นการนำร่องมั้งครับ ... ปี 2556 อาจเพิ่ม จ - พ - ศ นะครับ

@ ผศ. วิไล แพงศรี: ผมคิดว่าสิ่งที่อาจารย์ช่วยผลักดันอยู่นั้นก็เสมือนเป็นการสอนเด็กไปในตัวแล้วละครับ ...

@ คุณโยธินิน: จริงๆแล้วการเรียนที่โรงเรียนกับการสอนพิเศษ ค่อนข้างมีความแตกต่างกันพอสมควรครับ ... รวมทั้งเด็กนักเรียนแต่ละคนก็มีความหลากหลายและศักยภาพเหมือนกันครับ ... การที่คุณช่วยอบรมและเอาใจใส่นั้นเป็นสิ่งที่ดีมากครับ .... อีกทั้งการเรียนแบบเข้าใจคอนเซ็ปต์ และ การเรียนแบบท่องจำ ต้องทำไปควบคู่กันอย่างลงตัวครับ .... เพราะเด็กบางคนท่องแต่ไม่เข้าใจคอนเซ็ปต์ก็ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ครับ ...

@ คุณ ป. : ถ้ายังไงลองเอาไปใช้ในที่ทำงานสิครับ ... ^^

@ ดร. พจนา แย้มนัยนา : ขอบคุณมากครับ

เห็นด้วยกับการส่งเสริมให้ใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนและที่บ้านนะคะ

เห็นด้วยว่าครูและผู้ปกครอง เป็นกองกำลังสำคัญในการผลักดันนักเรียน และบุตรหลานให้เขาได้มีโอกาสได้ฝึกฝน และนำไปปฏิบัติจริง ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านต้องสร้างโอกาส สนับสนุนอย่างเต็มที่ค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท