กิจกรรมศึกษาดูงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


พัฒนาคุณภาพครู

วันที่ ๑๖ -๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ กศน.อำเภอเสนาจัดการศึกษาดูงาน “โครงการศึกษาดูงาน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อพัฒนาศักยภาพครู ปี ๒๕๕๕ ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ ดังนี้

                   วันจันทร์ ๑๖ ที่มกราคม ๒๕๕๕ สถานที่ศึกษาดูงานได้แก่

                   ๑.กศน.อำเภอสิรินทร จ.อุบลราชธานี

                   ๒.แหล่งเรียนรู้ผาส้วม ประเทศลาว

                   ๓.แหล่งเรียนรู้ช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี

                  

วันอังคาร ที่๑๗ มกราคม ๒๕๕๕ สถานที่ศึกษาดูงานได้แก่

๑.แหล่งเรียนรู้เสาเฉลียง จ.อุบลราชธานี

๒.แหล่งเรียนรู้ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี

๓.แหล่งเรียนรู้สามพันโปก จ.อุบลราชธานี

๔.กศน.อุบลราชธานี

วันพุธ ที่๑๘ มกราคม ๒๕๕๕ สถานที่ศึกษาดูงานได้แก่

๑.กศน.จ.อุบลราชธานี

๒.ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี จ.อุบลราชธานี

๓.กศน.แสนสุข จ.อุบลราชธานี

๔.กศน.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

๕.กศน.ตำบลหญ้าปล้อง จังหวัดศรีสะเกษ

๖.แหล่งเรียนรู้วัดพระธาตุเรืองรอง จังหวัดศรีสะเกษ

๗.สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จังหวัดศรีสะเกษ

 

วันพฤหัสบดี ที่๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ สถานที่ดูงานได้แก่

๑.กศน.อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

๒.ห้องสมุดประชาชน

๓.ห้องสมุดรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

๔.กลุ่มอาชีพทอเสื่อจากใบเตย บ้านตาอุด จ.สุรินทร์

๕.กลุ่มอาชีพทอผ้าใหญ่ บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์

๖.กลุ่มอาชีพเครื่องเงิน และทอผ้าไหม ตำบลเขวาสีนรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

๗.ห้องสมุดประชาชน จังหวัดสุรินทร์

๘.กศน.จังหวัดสุรินทร์

วันศุกร์ที่๒๐ มกราคม ๒๕๕๕ สถานที่ศึกษาดูงานได้แก่

๑.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพชายแดน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

๒.แหล่งเรียนรู้ด่านชายแดนเขมร และบ่อนคาชิโน

๓.แหล่งเรียนรู้ตลาดช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

๔.แหล่งเรียนรู้ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

 

 สรุปผลการศึกษาดูงานได้ดังนี้

กิจกรรม : ศึกษาดูงาน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อพัฒนาศักยภาพครู ปี ๒๕๕๕

จุดเด่น : การศึกษาดูงานในครั้งนี้เปรียบเสมือนการเรียนรู้ โดยการได้ไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้จริง ซึ่งก็คือ กศน.ตำบล , กศน.อำเภอ , สำนักงาน กศน.จังหวัด ที่คณะได้ไปเรียนรู้ วิธีคิด วิธีทำงาน รูปแบบ กระบวนการ การบริหาร การจัดการ ของคนในภาคอีสาน ที่มีลักษณะภูมิประเทศ วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตแตกต่างจากภาคกลาง เราได้เรียนรู้ แต่ไม่ได้หมายความจะนำมาเลียนแบบ แต่นำมาเป็นนำทางทางความคิดและต่อยอดเพื่อกลับมาพัฒนา กศน.ตำบลเจ้าเจ็ด ต่อไปเพื่อค้นหาอัตลักษณ์และการพัฒนาตามรูปแบบที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง

           จุดเด่นที่สุดของคนอีสานในการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ คือ ความจริงจังและจริงใจ ความมีน้ำใจในการทำงาน ทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับ การนำเสนอ เป็นในลักษณะเป็นเอกเทศมีทิศทางการนำเสนอชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สะท้อนให้เห็นการทำงานเป็นทีมและมีความจริงใจในการทำงานและ งานวิชาชีพที่มีฝีมือและเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

ประโยชน์ที่ได้รับ

           การได้ศึกษาจากของจริง ทำให้ต่อยอดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้วัสดุท้องถิ่นมาตกแต่ง กศน.ตำบล หรือ นำมาทำเป็นสื่อการเรียนรู้ช่วยสร้างอัตลักษณ์ให้งาน กศน.ตำบลและท้องถิ่นได้ ตรงจุดนี้จึงน่าเลียนแบบและประยุกต์ใช้

           การทำวีดีทัศน์นำเสนอจะสังเกตว่าทุกที่ที่คณะไปศึกษาดูงานจะมีการฉายวีดีทัศน์นำเสนอเนื้อหาของแต่ละชุมชน แต่ล่ะหน่วยการก่อนตรงส่วนสมควรเลียนแบบนำมาปฏิบัติ เพราะทำให้ผู้มาดูงานมีความสนใจมากขึ้นและเป็นการสรุปและถอดความรู้ให้กับผู้ศึกษาดูงาน โดยเป็นการประหยัดเวลาและดึงดูดความสนใจได้ด้วย

 

 ภาพกิจกรรม

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 476497เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2012 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แต่ละวันดูงานหลายแห่งเลยนะครับ ( ไม่มีภาพมาโชว์กันบ้างหรือ )

 

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการทำงานครับ. อย่าง อ.เอกชัยแนะนำ ถ้ามีภาพด้วยจะดีมากเลยครับ

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.ดิสกุล เกษมสวัสดิ์ และ อจ.เอกชัย ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่มาให้กำลังใจเสมอ ดูภาพแล้วหมดหวง ผอ.ดิศกุล มีลูกน้องสาวๆดูแลรอบๆเต็มไปหมด แถมยังฝึกเป็นมือปืนอีก สงสัยจังปืนจริงหรือปืนปลอมค่ะ แต่ดูแล้วมีความสุขกันดี รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท