อนุสัญญาว่าด้วยการซื้อขายระหว่างประเทศทางออกของข้อขัดแย้งในทางระหว่างประเทศ


หลังจากที่ได้มีการตกลงกันระหว่างกลุ่มการค้าระหว่างประเทศเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาต่างๆในทางการค้าระหว่างประเทศและในที่สุดก็มีข้อสรุปเกี่ยวกับทางออกของข้อขัดแย้งต่างๆนั่นก็คือการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ

              หลังจากที่กลุ่มทางการค้าระหว่างประเทศได้พยามหาทางออกร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและลดข้อขัดแย้งต่างๆในทางการค้าระหว่างประเทศในที่สุดทางออกของปัญหาต่างก็ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งอนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศนี้ถือเป็นผลงานของหอการค้าระหว่างประเทศ

             ทั้งนี้เพราะในทางการค้าระหว่างประเทศ คู่ค้าแต่ละฝ่ายมักจะต่อรองวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการค้าร่วมกันแต่ก็มีกรณีที่ไม่อาจจะตกลงกันได้ หรือมีกรณีที่คู่กรณีไม่ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้าซึ่งผลก็คือคู่สัญญาแต่ละฝ่ายมักพยายามที่จะต่อรองให้อีกฝ่ายหนึ่งตกลงใช้กฏหมายหรือหลักเกณฑ์ที่ฝ่ายตนนั้นรู้จักดีเป็นเกณฑ์ในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ทำให้คู่สัญญาที่มีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องยอมจำนนตกลงใช้หลักเกณฑ์ที่อีกฝ่ายซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเป็นผู้เสนอ

            แต่เมื่อได้มีการจัดทำอนุสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศขึ้นก็ทำให้ประเทศต่างๆซึ่งต้องดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศอยู่นั้นเริ่มเห็นแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้บรรเทาลงได้โดยสาระสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้ได้วางหลักเกณฑ์ว่าด้วยการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขาย และหลักเกณฑ์ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของคู่กรณีไว้ในฉบับเดียวกันไม่ได้แยกออกเป็น 2 ฉบับเหมือนเช่นอนุสัญญาทางการค้าอื่นๆเช่น อนุสํญญากรุงเอก แต่ได้มีการแยกแบ่งเป็นหมวดหมู่แทน

             ซึ่งในอนุสัญญาฉบับนี้มีขอบเขตที่บังคับและหลักการทั่วไปคืออนุสัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับการซื้อขายระหว่างประเทศที่คู่สัญญามีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสมาชิกของอนุสัญญาต่างประเทศกันซึ่งคู่กรณีต้องรู้หรือควรได้รู้ถึงความแตกต่างทางภูมิลำเนานี้อยู่แล้วก่อนเข้าทำสัญญา และอนุสัญญานี้ไม่ใช้กับกรณีของการ ซื้อขายหุ้น เรือ เครื่องบิน หรือ กระแสไฟฟ้าอีกทั้งไม่ใช้กับกรณีการซื้อขายที่ผู้ขายรู้ว่าเป็นการบริโภคเฉพาะตัวของผู้ซื้อ อาจกล่าวได้ว่าอนุสัญญาฉบับนี้ม่งมีผลบังคับใช้เฉพาะกับการซื้อขายทางพาณิชย์เท่านั้นและยังหลีกเลี่ยงการขัดกับกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสมาชิก

             อนุสัญญานี้ไม่บังคับใช้กับกรณีความรับผิดของผู้ขายในกรณีที่สินค้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตหรือร่างกายทั้งนี้เพราะประเทศโดยมากต่างถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นกรณีของความรับผิดทางละเมิด และในกรณีของเรื่องความสมบูรณ์ของสัญญาอนุสัญญาฉบับนี้ก็ไม่ใช้บังคับตลอดถึงเรื่องความมีผลของปกติประเพณี ปัญหาการโอนกรรมสิทธิ์คือยกให้เป็นกรณีของกฏหมายขัดกันของแต่ละประเทศ

             คู่กรณีในสัญญาซื้อขายสามารถตกลงยกเว้นหลักเกณฑ์ในอนุสัญญาได้ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดส่วนกรณีเรื่องการใช้ปกติประเพณีการค้าประกอบการตีความสัญญานั้น อนุสัญญาฉบับนี้ได้วางหลักคุ้มครอคู่สัญญาที่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนาไว้โดยกำหนดให้ปกติประเพณีการค้ามีผลบังคับใช้แก่คู่กรณีเฉพาะที่เป็นที่รู้จักในทางการค้าระหว่างประเทศเท่านั้นผลก็คือทำให้คู่กรณีที่เป็นประเทศด้อยพัฒนาได้รับการคุ้มครองไม่ต้องตกอยู่ภายใต้ปกติประเพณีการค้าของประเทศกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะทำให้เสียเปรียบทางการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ    

                  ซึ่งผลจากการเกิดขึ้นของอนุสัญญาฉบับนี้น่าจะส่งผลดีแก่ประเทศด้อยพัฒนาในการที่มีกฏหมายที่เป็นลักษณะกฏหมายที่เป็นเอกรูปให้การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในทางการค้าระหว่างประเทศ            

หมายเลขบันทึก: 47643เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท