จิตเภท - ชีวิตใหม่


ขอบคุณกรณีศึกษา ย. และครอบครัว ที่ฟื้นสุขภาพจิตตามโมเดลพลังชีวิต (Recovery Model of Mental Health) และมีความก้าวหน้าทางการประเมินกิจกรรมบำบัดจิตสังคมอย่างน่าประทับใจ

1. ประเมินความก้าวหน้าทางจิตสังคม (การปรับตัวสู่กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีความหมายและคุณค่าที่หลากหลาย) เน้นการบันทึกผ่านอีเมล์ระหว่าง ดร.ป๊อป และผู้รับบริการกับครอบครัว

15 ต.ค. 54 - 11 พ.ย. 54

  • กิจกรรมภายในบ้าน ได้แก่ งานบ้าน เลี้ยงหลาน ดูแลตนเอง ดูแลสัตว์เลี้ยง อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูทีวี หางานนอกเวลา เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 5.5/10
  • กิจกรรมนอกสถานที่ ได้แก่ ไปดูหนัง ทำบุญ ลอยกระทง ร่วมพิธีกรรม และให้อาหารปลาที่วัด เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 8.5/10

12 พ.ย. 54 - 12 ธ.ค. 54

  • กิจกรรมภายในบ้าน ได้แก่ งานบ้าน เลี้ยงหลาน ดูแลตนเอง ดูแลสัตว์เลี้ยง อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูทีวี หางานนอกเวลา เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 6/10
  • กิจกรรมนอกสถานที่ ได้แก่ ไปดูหนัง 2 เรื่อง เดินทางไปหาหมอเอง (ทดลอง 2 ครั้ง และทำได้เองในครั้งที่ 2) เข้ากลุ่มสายใยครอบครัว เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 9.5/10

13 ธ.ค. 54 - 15 ม.ค. 55

  •  กิจกรรมภายในบ้าน ได้แก่ งานบ้าน เลี้ยงหลาน ดูแลตนเอง ดูแลสัตว์เลี้ยง อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูทีวี จ่ายตลาดและทำอาหารกินเอง เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 5.57/10
  • กิจกรรมนอกสถานที่ ได้แก่ เที่ยวเขาใหญ่กับครอบครัวพี่สาว ไหว้พระ 2 วัด เที่ยวสยามฯ เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 8.67/10
  • กิจกรรมฝึกทักษะการทำงาน ได้แก่ เรียนคอมพิวเตอร์ 5 วัน/สัปดาห์ (วันละ 5 ชม.) ซักผ้าให้พี่สาว (500 บาทต่อสัปดาห์) เฉลี่ยความมั่นใจและพอใจ 10/10

จากเนื้อหาที่เป็นสีแดง แปลผลว่า กรณีศึกษามีความมั่นใจและพอใจในการสร้างรูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลายมากขึ้น (ค่าเฉลี่ยมากกว่า 50%) และมีความสนใจและมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวอย่างต่อเนื่องจนเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและความสุขความสามารถในการดูแลตนเองมากขึ้น (สีหน้าสดใส พูดคุยรู้เรื่อง และการแสดงออกท่าทางเป็นธรรมชาติขึ้น)

2. การประเมินความก้าวหน้าทางความคิดความเข้าใจ

21 ส.ค. 54

14 ต.ค. 54

24 ม.ค. 55

จากข้อมูล Sensory Profile Test ทั้ง 3 ครั้ง แปลผลว่า การทำงานของสมอง (ความคิดความเข้าใจและจิตสังคม) มีความชอบในกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากขึ้นในหลายความรู้สึก (อย่างน้อยมากกว่าหรือเท่ากับ 50%) และมีความไวต่อความรู้สึกมากขึ้น นั่นคือ เข้าใจความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น ภายหลังจากโปรแกรมการจัดการตนเองด้วยเทคนิคการผ่อนคลายทางกิจกรรมบำบัดและการฝึกทักษะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต รวมทั้งมีการรับประทานยาจากจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่มีอาการหูแว่วแล้ว มีความคิดฟุ้งซ่านไม่เกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อมีความคิดฟุ้งซ่าน กรณีศึกษาสามารถรับคำแนะนำกับพี่สาวได้

3. ประเมินความสนใจและการมีส่วนร่วมทางกิจกรรมยามว่าง

กรณีศึกษามีความถี่ในกิจกรรมยามว่างเพื่อร่างกาย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ กิจกรรมยามว่างเพื่อสังคม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ กิจกรรมยามว่างเพื่อสร้างสรรค์ 0.6 ครั้งต่อสัปดาห์ และกิจกรรมยามว่างเพื่อผ่อนคลาย 3.33 ครั้งต่อสัปดาห์ แปลผลว่า กรณีศึกษาต้องการเทคนิคการผ่อนคลายผ่านการสั่งการจิตใต้สำนึก (เช่น การทำสมาธิบอกตัวเองในใจกับส่งเสียงเบาๆ ผ่านจุดสนใจกระหม่อม-คิดดี หน้าผาก-คิดดี คอ-พูดดี และหัวใจ-ใจดี) และการออกกำลังกาย (เช่น เดินเร็ว 6 นาที) มากขึ้น จึงได้แนะนำและลองปฏิบัติจริงดู

กรณีศึกษามีความสนใจและถนัดในกิจกรรมการใช้มือ 8.33% กิจกรรมกีฬา 27.27% กิจวัตรประจำวัน 25% กิจกรรมการศึกษา 41.67% และกิจกรรมสังคม 46.43% แปลผลว่า กรณีศึกษาน่าจะฝึกทักษะการศึกษาในการเรียนคอมพิวเตอร์ พร้อมค้นหาความสนใจในการเรียนต่อ ป.โท (จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกรณีศึกษาและพี่สาวของกรณีศึกษา) เพื่อขจัดปมที่เคยเกิดขึ้นในอดีตก่อนมีอาการทุกขภาวะทางจิต คือ ความไม่พร้อมและความกดดันในการทำงาน

ดังนั้น กรณีศึกษาจึงคิดว่า ควรเรียนให้พร้อมแล้วค่อยทดลองทำงานใน 3 เดือน นับจากปัจจุบัน และมีความมั่นใจที่จะบอกคนรอบข้างว่า "ดีขึ้นแล้ว จะเรียนรู้ทักษะทางสังคมนอกบ้านมากขึ้น หากเครียดก็จะจัดการความเครียดผ่านกิจกรรมบำบัดที่ ดร.ป๊อป แนะนำ"

หมายเลขบันทึก: 476116เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท