การประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติ "รักเห็ด รักษ์โลก"


แนวโน้มการผลิตเห็ดของไทยในอนาคต คือการผลิตเห็ดที่มีคุณสมบัติเป็นยา และการผลิตเห็ดญี่ปุ่นต่างๆซึ่งเป็นที่ต้องการทั่วโลก

      เมื่อวัที่ 14-17 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านสมาคมนักวิจัยและนักเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ร่วมกับหลายหน่วยงาน อธิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ,สำนักงานพัฒนาวิทยาสาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูงสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ,สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ  เป็นต้น จัดการประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติ "รักเห็ด รักษ์โลก" ณ โรงแรมเชียงหม่ ออร์คิด อ.เมือง จ.เชียงใหม่

     ขออนุญาตสรุปบรรยากาศมาฝากสมาชิกครับ

    -เปิดพิธีโดย นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี

     -มีการบรรยายพิเศษจาก ดร.กฤกษ์ ศยามานนท์ "สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยอดีต สู่ ปัจจุบัน"

     -มีการนำเสนอผลงานวิชาการ เรื่องเห็ด จากนักวิจัยจากสถาบัย องค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  มีผลงานวิจัยจำนวนกว่า 50 เรื่อง อธิ

          ความก้าวหน้าในหารเพาะเห็ดถั่งเช่า(เห็ดราคาแพงที่เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น ซุปไก่สกัด ฯลฯ)

          การใช้วัสดุเหลือทางการเกษตรจากข้าวโพด(ต้นและเปลือก)เพื่อการผลิตเห็ดถั่ว

         การใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสง

          การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟางให้มีผลผลิตสูงด้วยรังสีแกรมม่า

          การจัดการศัตรูเห็ดโดยวิธีผสมผสานในการเพาะเห็ดหอม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

     น่าเสียดายที่มีผลงานวิชาการเข้านำเสนอผลงานวิชาการมากมายทำให้ต้องแบ่งห้องเสนอผลงานวิชาการ ถึง 3 ห้องทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลงานวิจัยทั้งหมดมาบอกต่อกับเพื่อนสมาชิกที่สนใจได้

     -นอกจากนั้นยังมีการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "อนาคตเห็ดไทย" โดยนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดของเมืองไทย ได้แก่ อ.อานนท์ เอื้อตระกูล ,ดร.อุษา กลิ่นหอม,ดร.กิตติ วิฑูรวิทยลักษณ์ (เจ้าของผักดอกเตอร์ ที่ปัจจุบันกำลังเปิดตลาดด้านเห็ดปลอดสารพิษ ) โดยมี อ.อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ทำให้บรรยากาศการเสวนาเป็นกันเอง และสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง นักวิจัยและนักเพาะเห็ดที่เข้ารับฟังได้รับประโยชน์ และความรู้ทั้งด้านความเป็นมาของการเพาะเห็ดในอดีต สถานการณ์การผลิต ตลาดเห็ดในปัจจุบัน และสถานการณ์การผลิตเห็ดในอนาคต ที่ เน้นการผลิตเห็ดเป็นยา เน้นการผลิตเห็ดคุณภาพ เห็ดญี่ปุ่นชนิดต่างๆที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลกมากขึ้น เช่น เห็ด โคนญี่ปุ่น(ยานางิ) เห็ดเออรินจิ(นางรมหลวง) เห็ดเข็มเงิน-เข็มทอง เห็ดไมตาเก๊ะ เป็นต้น

     -การเสวนา สาธิตการแปรรูปอาหารจากเห็ด ดร.ภัทรา อะหมะดี พีรซะหีด คุณโฉมสุดา หาญศิริชัย คุณสมเพชร วงศ์เรียน คุณอุดมลักษณ์ กาญจนอร่ามกุล และมีการสาธิตการทำอาหารจากเห็ด  โดยเชฟกิตติมาศักดิ์ ดร.กฤษ์ ศยามานนท์

    -นอกจากนั้นยังมีการจัดแสดงนิทรรศการวิชาการ ควมก้าวหน้าในการผลิตเห็ด และการแปรรูปอาหารจากเห็ด  แนะนำการผลิตเห็ดเศรษฐกิจชนิดใหม่ เช่น การเพาะเห็ดในกระโจมประดิษฐ์ขนาดเล็กสำหรบครัวเรือน  น้ำจากเห็ดสามอย่าง  เห็ดแดดเดียว เห็ดสวรรค์ ลูกชิ้นเห็ด ข้าวเกรียบเห็ด และอื่น นอกจากนี้ยังมีเห็ดสายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น เห็ดโคนดำ มาแนะนำเป็นต้น

     วันสุดท้ายของการเสวนามีการศึกษาดูงานฟาร์มเห็ดกระดุม(แชมปิญอง) อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เห็ดกระดุมสีนำตาล เห็ดเมืองหนาว ณ ศูนย์วิจัยโครงการหลวงขุนวาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

     

บรรยากาศการเสวนา

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล นำชมนิทรรศการเห็ด

เห็ดเมืองหนาวของมูลนิธิโครงการหลวงที่เพาในจังหวัดเชียงใหม่สำเร็จแล้ว

เห็ดโคนดำ เพาะได้แล้ว

อาหารจากเห็ด

กระโจมเพาะเห็ดขนาดเล็ก

การสาธิตการทำอาหารจากเห็ด

เห็ดถั่งเช่า ท่เพาะได้ในเมืองไทย

    

ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ เชฟกิตติมาศักดิ์สาธิตการทำอาหารจากเห็ด

 

     นักวิจัยเห็ด และนักเพาะเห็ดในประเทศไทยสมควรอย่างยิ่งที่จะมีการรวมกลุ่ม ร่วมกิจกรรมกันในลักษณะนี้ให้มากๆยิ่งขึ้น เพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยน แก้ไขปัญหา สนับสนุน อันจะเป็นการขับเคลื่อนวงการเพาะเห็ด ให้มีความก้าวหน้า ทั้งด้านการผลิต และสำคัญยิ่งคือการตลาด เป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ โดยมีอาชีพที่มั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดี มีเกียรติ ซึ่งจะช่วยลดการทำลายป่าไม้ ลดหนี้สิน ลดความเสี่ยงจากอาชีพเกษตรกรรมอื่นๆ อย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 476107เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณมากนะคะ ที่นำสารสนเทศด้านการเพาะเห็ดมาแบ่งปัน น่าสนใจมากค่ะ ดิฉันเองสนใจศึกษาเรื่องเห็ด และอยากจะทดลองเพาะเห็ดที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ของดิฉันค่ะ
  • ที่ผ่านมา ฟาร์มไอดินฯ ยังไม่เคยเพาะเห็ด มีแต่เห็ดเกิดเองตามธรรมชาติค่ะ

         

 

 

 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท