การศึกษาทางไกล


เทคโนโลยีการศึกษา

การศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กล่าวถึงการศึกษาทางไกลไว้ในมาตรา 37 วรรคสอง (4) โดยสรุปว่า กระทรวงศึกษาธิการสามารถจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่ เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาทางไกลเป็นวิธีการจัดการศึกษาที่ได้รับการยอมรับให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา และจากการศึกษาสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทางไกลจะพบว่า มีความสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาทางไกล

สามารถตอบสนองหลักการและความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ในมาตรา 6 และ 7 ที่ว่า "การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เคารพกฎหมาย ความเสมอภาค มีความภูมิใจในความเป็นไทย ส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบสนองความมุ่งหมายและหลักการเกี่ยวกับการใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักการของการจัดการศึกษาทางไกล

สามารถตอบสนองหลักการจัดการศึกษา ตามมาตรา 8 โดยกำหนดให้การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็น หลักการพื้นฐานของการจัดการศึกษาทางไกล เนื่องจากการศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาในระบบเปิด ทั้งโอกาสที่เปิดให้กับทุกคนและหลักสูตรที่เน้นความหลากหลาย รวมทั้งเป็นการจัดการศึกษา มุ่งใช้เครือข่ายส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารและจัดบริการทางการศึกษา
ผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาทางไกล

มาตรา 37 กำหนดว่า "การบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชาชน วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่น ๆ เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามมาตราวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้ ดังนี้
1) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ/ทุพพลภาพ
2) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัย
3) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายพื้นที่การศึกษา
ดังนั้นการจัดให้มีหน่วยงาน/องค์กร รับผิดชอบในการจัดการศึกษาทางไกลจึงเป็นไปตามมาตรา 37(4)
แนวทางการจัดการศึกษาทางไกล
1) ด้านเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องและเป็นไปตามมาตรา 23 ที่กำหนดว่า "การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ/นอกระบบ/ตามอัธยาศัย ต้องเน้นทั้งความรู้และคุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการเนื้อหาต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมแต่ละระดับการศึกษา
(1) ความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสังคมไทย การเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
โดยเนื้อหาหลักสูตรเหล่านี้สามารถจัดและพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษาทางไกลได้ ทั้งในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2542 และการศึกษาต่อเนื่องที่กำหนดหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาอาชีพและพัฒนาสังคม/ชุมชน
2) ด้านกระบวนการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดความรู้ จะสอดคล้องและเป็นไป
ตามมาตรา 24 ซึ่งกำหนดว่า "การจัดกระบวนการเรียนรู้" ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
(1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติ ให้ คิดเป็นทำเป็น เกิดการใฝ่รูต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริมให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้และสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน จากสื่อและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

กำหนดไว้ในหมวด 9 ตั้งแต่มาตรา 63-69 สรุปได้ว่า ต้องการให้มีการนำสื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและเรียนรู้สำหรับประชาชน ดังนั้นการจัดการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาทางไกลที่มีหลักการของการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ทิศทางและแนวทางของการจัดการศึกษาทางไกลนั้น สอดคล้องตามสาระที่ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ตามมาตรา 8(1) การ ส่งเสริมสิทธิและโอกาสทางการศึกษาสำหรับประชาชน มาตรา 10 ในส่วนของการบริหารและ จัดการศึกษา มาตรา 37(4) ที่กำหนดให้กระทรวงสามารถจัดการศึกษาทางไกล เพื่อเสริมการบริหารและจัดการของเขตพื้นที่การศึกษา และการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาในหมวด 9

ความหมายของ “การศึกษาทางไกล”
การศึกษาทางไกล หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสมโดยการใช้สื่อต่างๆ

ความเป็นมาของการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลเริ่มมีขึ้นครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2393 คือระบบไปรษณีย์ ผู้เรียนที่ได้รับประโยชน์จากการเรียนทางไปรษณีย์นี้ได้แก่ ผู้พิการ ผู้หญิงที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในสถาบันของผู้ชาย บุคคลที่ทำงานตอนกลางวัน บุคคลที่อยู่ห่างไกลที่ไม่มีโรงเรียนตั้งอยู่
พ.ศ. 2463-2472 มีการประดิษฐ์คิดค้นวิทยุขึ้น และโทรทัศน์ช่วง พ.ศ. 2483-2492
พ.ศ. 2443 ก็พัฒนาระบบโทรศัพท์หลักการของการศึกษาทางไกล


1. การศึกษาตลอดชีวิต
2. การให้โอกาสเท่าเทียมกันในการศึกษา
3. ส่งเสริมการศึกษามวลชน

สื่อในการศึกษาทางไกล
ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่มีการเสริมแรงให้กำลังใจ และผู้เรียนสามารถรู้ความก้าวหน้าของตนเองได้ สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลนี้แยกออกได้เป็น
สื่อหลัก คือ สื่อที่บรรจุเนื้อหารายละเอียดตามประมวลการสอนของแต่ละหลักสูตร
สื่อเสริม คือ สื่อที่จะช่วยเก็บตก ต่อเติมความรู้ให้มีความกระจ่าง
การเลือกใช้สื่อหลักอาจจัดได้หลายแนว คือ
1. แนวที่ยึดสิ่งพิมพ์ ในลักษณะตำราเรียน
2. แนวที่ยึดโทรทัศน์
3. แนวที่ยึดวิทยุ
4. แนวที่ยึดคอมพิวเตอร์ ในลักษณะการสอนใช้เว็บเป็นฐาน
และต้องใช้สื่อเสริมเพื่อเพิ่มความรู้และประสบการณ์ในลักษณะ“สื่อประสม”และ”สื่อบุคคล”
การจัดการศึกษาทางไกล
การจัดการศึกษาทางไกลนี้สามารถจัดได้ในรูปแบบ และวิธีการต่างๆ กันดังนี้
อักโพ
เป็นการจัดการศึกษาทางไกลในประเทศโคลอมเบียในรูปแบบของการศึกษานอกระบบโดยการใช้สื่อวิทยุ สิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล และการรวมกลุ่มการเรียน เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2490 โดยพระสอนศาสนาคริสต์ชื่อ โฮเซ โฮอาชิน ซัลคาโด เป็นผู้เริ่มการใช้วิทยุและเครื่องรับวิทยุอีก 3 เครื่อง
การจัดการศึกษาของอักโพเป็นการผสมผสานขั้นพื้นบ้านสำหรับชาวชนบททุกวัย โดยจัดให้เนื้อหาบทเรียนให้สัมพันธ์กับสภาพและปัญหาของชีวิตชนบท มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ การอ่านออดเขียนได้ เศรษฐกิจการอาชีพ เลขคณิต สุขภาพอนามัย และศาสนา
มหาวิทยาลัยเปิด
มหาวิทยาลัยเปิดจะสอนทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี บางวิชาจะสอนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสอนในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ผู้เรียนมีอายุระหว่าง 25-45 ปี และสามในสี่จะเป็นผู้ทำงานแล้วแต่มาศึกษาต่อ
โรงเรียนทางอากาศ
เป็นบริการทางการศึกษาทางไกลขอประเทศออสเตรเลียตั้งในปี พ.ศ. 2494 เน้นการสอนโดยการฟังบทเรียนและการติดต่อกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนจะใช้เฉพาะทางเสียง โดยผู้เรียนจะเรียนเพียงบทเรียนเดียวในเวลาครึ่งชั่วโมง
โปรแกรมการศึกษาทางไกลในสหรัฐอเมริกา
มีการสอนทั้งด้านวิชาทั่วไปและวิชาชีพแก่ผู้เรียน เช่น เครือข่ายการประชุมทางไกลมหาวิทยาลัยแห่งชาติ เป็นการรวมของวิทยาลัยประมาณ 260 แห่งเพื่อเสนอการสอนในแทบทุกวิชา จะมีการสอนระดับปริญญาผ่านการประชุมด้วยคอมพิวเตอร์
เครือข่ายการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
มีการจัดการศึกษาในโปรแกรมการศึกษาภาคขายและการศึกษาต่อเนื่อง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อการสอนในรูปแบบของการประชุมทางไกลในลักษณะการสื่อสารสองทาง ซึ่งมีเครือข่ายมากมายหลายอย่าง เช่น
1. Education Teleconference Network : ETN เป็นการสอนที่ส่งเฉพาะเสียง เริ่มขึ้นปี พ.ศ. 2508 โดยแรกเริ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อการช่วยเหลือด้านการแพทย์ การสอนจะเป็นการสอนสดซึ่งผู้สอนจะนั่งอยู่ในห้องส่งหรือโทรศัพท์มาจากที่ใดก็ได้มายังสถานีส่งเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียน
2. WisView Audiographics Network เป็นการสอนที่รวมระบบการประชุมทางไกลด้วยการอัดเสียงเข้ากับคอมพวเตอร์กราฟิก โดยที่เสียง ข้อความ และกราฟิกจะถูกส่งไปยังสถานีที่เรียนทางสายโทรศัพท์
3. Wisconsin Compressed Videoconferencing Network เป็นการส่งภาพวีดิทัศน์แบบบีบอัดและเสียงไปพร้อมกับสายโทรศัพท์ในระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล
โครงการยูนิเน็ต
เป็นโครงการในประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยทบวงมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาระดับอุดมศึกษา และเป็นการกระจายการศึกษาไปยังสถาบันอุดมศึกษาทั่งประเทศ เป็นการใช้การประชุมผ่านคอมพิวเตอร์โดยใช้เครือข่ายเส้นใยนำแสง จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถโต้ตอบกันได้ทันที มีการเสนอเนื้อหาบทเรียนในรูปแบบสื่อประสมของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มสธ. จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2521 โดยหลักการของมหาวิทยาลัยเปิด เพื่อจัดการศึกษาระดับปริญยาตรีหรือประกาศนียบัตรในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการเผยแพร่ความรู่สู่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ การจัดหลักสูตรใช้หลักสูตรบูรณาการเนื้อหาวิชาเข้าด้วยกับในรูปของชุดการสอนเรียกว่า “ชุดวิชา” แบ่งออกเป็น 15 หน่วย
มสธ. ได้พัฒนาคุณภาพด้วยเท๕โนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการสอนทางไกลในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
• การประชุมทางไกลระหว่างประเทศด้วยเสียงพูดผ่านข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
• การเผยแพร่สารสนเทศของมหาวิทยาลัยบนข่ายงานอินเทอร์เตผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ
• การใช้ดาวเทียมในระบบการศึกษาทางไกล โดยการส่งสัญญาณออกอากาศจาก มสธ. ด้วยระบบไมโครเวฟไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม แล้วส่งสัญญาณโทรทัศน์สู่ดาวเทียมไทยคม
• บริการห้องสมุดอัตโนมัติ
• การลงทะเบียนเรียนทางโทรศัพท์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ระบบการสื่อสารในการศึกษาทางไกล


ระบบการสื่อสารที่ใช้ในการสอนทางไกลแบ่งได้เป็น 2 ระบบ ได้แก่
1. ระบบการสื่อสารทางเดียว แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 การใช้วิทยุและโทรทัศน์
1.2 การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์
2. ระบบการสื่อสารสองทาง
2.1 การประชุมทางไกล
2.2 ห้องเรียนเสมือน เป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน

การศึกษาทางไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
เป็นการสื่อสารในรูปแบบการแพร่สัญญาณด้วยวิทยุ โทรทัศน์ และการใช้คอมพิวเตอร์
วิทยุ
เป็นการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำการแพร่สัญญาณทางอากาศด้วยความถี่คลื่นวิทยุ AMหรือ FM จากเครื่องส่งมายังเครื่องรับ
โทรทัศน์
การสอนโดยการแพร่สัญญาณจากผู้สอนไปยังผู้เรียนตามสถานที่ต่างๆ
คอมพิวเตอร์
เป็นการใช้ในการสอนโดยใช้เว็บเป็นพื้นฐาน ผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ตในลักษณะ “มหาวิทยาลัยเสมือน” โดยผู้เรียนจะต้องสมัครเข้าเรียนการศึกษาที่เปิดสอน
การศึกษาทางไกลแบบการสื่อสารสองทาง
การศึกษาทางไกลในลักษณะนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การประชุมทางไกล ใช้เครือข่ายโทรคมนาคม
2. ห้องเรียนเสมือน ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ลักษณะการเชื่อมต่อในการสื่อสาร
จะมีการเชื่อมต่อการสื่อสารใน 2 ลักษณะ คือ
1. แบบจุดต่อจุด เป็นการสอนโดยการเชื่อมต่อระหว่างจุดผู้สอนไปยังจุดผู้เรียนนั่งรวมกันอยู่ภายในห้องเดียวกัน
2. แบบจุดต่อหลายจุด เป็นการสอนโดยการเชื่อมต่อระหว่างจุดผู้สอนไปยังจุดผู้เรียนนั่งรวมกันหลายจุด
การประชุมทางไกล
ระบบการประชุมทางไกลเป็นวิธีที่บุคคล 2 คนขึ้นไปอยู่ในสถานที่ต่างๆกันสามารถติดต่อกันในห้องเรียน อภิปราย ประชุมร่วมกันได้โดยอาศัยโทรคมนาคม หรือระบบสายโทรศัพท์ร่วมกับอุปกรณ์ขยายเสียง หรือโดยอาศัยระบบคลื่นไมโครเวฟหรือการส่งสัญญาณดาวเทียม
รูปแบบของการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษาทางไกล
1. การประชุมทางไกลด้วยเสียง เป็นการประชุมหรือการเรียนการสอนที่พูดคุยติดต่อกันด้วยเสียงแต่ไม่เห็นหน้า อาศัยระบบสายโทรศัพท์หรือการส่งสัญญาณดาวเทียม
2. การประชุมทางไกลด้วยเสียง/กราฟิก เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้แทนโทรศัพท์ขยายเสียงในสถานที่รับฟัง โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสาร
3. การประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ เป็นระบบการประชุมหรือการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยกล้องวีดิทัศน์ จอโทรทัศน์ และสายโทรศัพท์ในการรับส่งภาพและเสียง หรือต้องใช้การส่งสัญญาณดาวเทียมแทนสายโทรศัพท์ และยังใช้ได้อีก 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของการเสนอทั้งภาพและเสียง ในลักษณะภาพสองทาง เสียงสองทางผู้สอนและผู้เรียนจะได้ยินเสียงและเห็นภาพ ส่วนลักษณะภาพทางเดียว เสียงสองทางผู้เรียนจะได้ยินเสียงและภาพผู้สอน
ห้องเรียนเสมือน
ห้องเรียนเสมือน หรือห้องเรียนดิจิทัล เป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในสถานที่ต่างๆกันสามารถนั่งเรียนในห้องเรียนได้พร้อมกันเสมือนเรียนอยู่ในห้องเรียนจริงที่มีผู้สอนสดในขณะนั้นจากห้องเรียนในที่หนึ่งและส่งการสอนไปยังที่ต่างๆได้ทั่วโลก

หมายเลขบันทึก: 47570เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท