ปฏิบัติธรรมนอกคอก (ตอน..ท่านั่งสมาธิ)


การนั่งแบบเอาขาทับกันนั้น... ทำให้นน.ตัวลงที่แก้มก้นข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง ส่งผลให้เกิดเหน็บที่ก้นข้างนั้นได้ง่าย

ปฏิบัติธรรมนอกคอก (ตอน..ท่านั่งสมาธิ)

 

การทำสมาธิให้เกิดเร็วนั้น (หรืออย่างน้อยก็เกิดบ้างนานๆครั้งก็ยังดี)  มีกลเม็ดเล็กๆน้อยๆที่ค้นพบ จากการลองผิดลองถูกเอาด้วยตนเอง (เพราะส่วนใหญ่เราไม่มีอาจารย์สมาธิเป็นตัวตน อีกทั้งในตำราส่วนใหญ่ก็ไม่มีเขียนไว้ในเรื่องเหล่านี้)  จึงขอฝากไว้ให้สหายธรรมผู้สนใจลองนำไปปฏิบัติดู

 

1) ฐานการนั่งต้องมั่นเสถียร (ไม่เอียงโอน) ดังนั้นผมไม่เอาทั้งขาขวาทับซ้ายหรือซ้ายทับขวาทั้งสิ้น (ตามที่อาจารย์สมาธิทั้งหลายสอน)  แต่เอาขาทั้งสองข้างวางขนานกันบนพื้น โดยซ้ายหลังขวา หรือ ขวาหลังซ้ายก็มั่นพอกัน วิธีการนี้คืองอขาหนึ่งเอาฝ่าเท้ามาแนบขาอ่อน แล้วเอาขาอีกข้างหนึ่งงอมาแนบด้านนอกโดยไม่ก่ายซ้อนกัน แต่ว่าเรียงแนบกันบนพื้น จากการลองปฏิบัติดู พบว่าฐานนั่งมั่นคงดีมาก ไม่ค่อยเกิดเหน็บชาเหมือนวิธีที่เอาขาทับกัน  ทำให้นั่งได้ทนนานกว่า

 

2) นอกจากนี้การนั่งแบบเอาขาทับกันนั้น ฐานนั่งจะเอียงซ้ายหรือขวาแล้วแต่กรณี  ทำให้นน.ตัวลงที่แก้มก้นข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง ส่งผลให้เกิดเหน็บที่ก้นข้างนั้นได้ง่าย  ส่วนการนั่งแบบขัดสมาธิ”ราบ” แบบที่นำเสนอนี้ แก้มก้นทั้งสอง และ ขาทั้งสองข้าง ร่วมกันเฉลี่ยแรงรับน้ำหนักตัว เมื่อมีพื้นที่รับนน.มากขึ้น แรงกดต่อพื้นที่ก็ลดลงตามหลักวิทยาศาสตร์ ทำให้นั่งได้ทนกว่าระบบเอาขามาซ้อนกัน

 

3) หน้าตัดกระดูกสันหลังทุกข้อต่ออาการกันเต็มหน้าตัดกระดูก อันนี้เป็นหลักวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าข้อกระดูกสันหลังต่อกันไม่ตรง จะทำให้เกิดจุดสัมผัส เกิดแรงกดที่จุดนั้นมาก  จะทำให้ล้าที่จุดนั้นได้ ซึ่งการล้ากายจะกระทบต่อจิต ทำให้เกิดสมาธิได้ยาก (ลองคิดดูว่าการยืนเต็มฝ่าเท้า กับยืนแบบเขย่ง (เป็นจุด) อย่างไหนเมื่อยเร็วกว่ากัน และมีสมาธิมากกว่ากัน)  การนั่งแบบขาทับกันที่นิยมนั้น ทำให้เกิดการเอียงตัว ส่งผลให้กระดูกสันหลังไม่ตรงโดยอัตโนมัติ แต่การนั่งวิธีนี้ (ขัดสมาธิราบ) จะทำให้กระดูกสันหลังตรง ข้อต่อกระดูกรับน้ำหนักเต็มหน้าตัดกระดูก เมื่อยยากและเกิดสมาธิได้เร็วขึ้น  ทั้งนี้ต้องไม่งอหลังด้วยนะ ต้องเหยียดหลังและลำคอให้ตรงด้วย

 

 

4) หัวแม่โป้งมือทั้งสองข้างชนกัน...หมายถึงมือทั้งสองที่ประสานกันอยู่บนหน้าตักน่ะครับ ...เรื่องนี้เลียนแบบท่านอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง มา ไม่เคยได้ยินท่านสอนแบบนี้หรอก แต่เห็นรูปถ่ายท่านนั่งท่านี้ หัวแม่โป้งชนกันเสมอ นิ้วเรียงชิดติดกันเป็นระเบียบแบบทหารอีกต่างหาก ก็เลยลองเอามาทำดู เอ..ดีแฮะ สงสัยมันมีหลักการอะไรสักอย่าง เช่น ต่อเชื่อมวงจรจิตประสาทให้เป็นวงจรปิด (ปกติผมไม่ชอบอะไรที่เป็นระเบียบมากนัก ชอบนอกคอก แต่กลเม็ดระเบียบตรงนี้รับรองว่าดีครับ)

 

ตอนนี้เอาท่านั่งก่อนนะครับ ตอนต่อไปจะมาโม้ต่อไป

 

ธรรมสวัสดิ์

...คนถางทาง (๒๐ มค. ๒๕๕๕)

คำสำคัญ (Tags): #ท่านั่งสมาธิ
หมายเลขบันทึก: 475520เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2012 02:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ไม่อยากใช้คำว่า "ไม่มีเวลาสำหรับการนั่งสมาธิ เพราะเชื่อว่า ถ้าเราให้ความสำคัญแก่สิ่งใด เราก็ต้องจัดสรรเวลาให้กับสิ่งนั้น ได้เสมอ"
  • เอาเป็นว่า แทบจะไม่ได้นั่งสมาธิด้วยตนเองมากกว่า (ขณะที่ลูกสาวนั่งทุกคืน) เพราะถ้าอยู่ในเมืองก็ทำงานในหน้าที่ครูแต่เช้ามืด จนถึงดึกๆ ดื่นๆ ทุกวัน อย่างที่อาจารย์จาก Australia คนหนึ่งกล่าวเมื่อปี 1999 ว่า "Light the candle both ends." ถ้าอยู่ที่ฟาร์มไอดินกลิ่นไม้ ก็ทำงานสวนทุกวันจนหมดแรงค่ะ เคยอ่าน-ฟังมาว่า เราสามารถฝึกสมาธิเมื่อใดก็ได้ ที่ใดก็ได้ ขณะทำกิจกรรมใดก็ได้ ตนเองจะได้ฝึกสมาธิแบบที่ว่านี้มากกว่า ดังเช่่นที่กำลังฝึกขณะจิ้มแต่ละตัวอักษร ณ ขณะนี้ค่ะ
  • แต่ก็สนใจจะนำข้อเสนอแนะท่านั่งสมาธิของท่านที่พยายามอธิบายตามหลัก Phisiology ที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยตนเองจากการปฏิบัติจริงมาแล้ว ไปใช้นะคะ เผื่อเวลาไปเยี่ยมลูกสาวจะได้นั่งสมาธิกับเธอบ้าง
  • ขอบคุณที่มาใหคำแนะนำในเวลาที่ใครๆ เขาหลับไหล ไม่ทราบว่าลงบันทึกก่อนเข้านอน หรือตื่นขึ้นมาลงนะคะ   

วันนี้ลงบันทึกก่อนเข้านอครับ เพราะเพิ่งกลับมาจากการประชุมที่กทม.

ผมเห็นด้วยครับว่า การทำสมาธิควรกระทำในทุกอิริยาบท แม้แต่ในขณะเข้าห้องสุขา

แต่การทำแบบเข้มข้นคือการนั่งสมาธิครับ (นอนก็ได้แต่มักหลับเสียก่อนครับ อิอิ)

ขอบคุณมากนะคะ ที่อุตส่าห์ลุกมาตอบ

จะมาขอบคุณที่ท่านตอบเกี่ยวกับต้นไม้ปริศนา แต่ก็มีข้อโต้แย้งค่ะ "แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก" ถ้าจะไปคุยในบันทึกนั้น...ก็กริ่งเกรงว่าท่านจะไม่ย้อนกลับไปดู เพราะเห็นเดินรุดหน้าไปเร็วมาก (ลงบันทึกใหม่) จนตามไม่ทัน ต้องใช้วิธีเดินทางลัด ข้ามบางบันทึกมาทั้งที่สนใจ

ข้อโต้แย้ง คือ ท่านบอกว่า พืชตระกูลเสี้ยว ดอกของเธอจะแหงนดูฟ้า ไม่ยอมก้มหน้าดูดิน แต่เคยสืบค้น ดอกโยธกา ซึ่งเป็นหนึ่งในไม้ตระกูลเสี้ยว เธอจะก้มหน้าดูดิน ดังภาพไม้ตระกูลเสี้ยวที่ฟาร์ม สงสัยว่า ไม้ตระกูลเสี้ยวจะมีอย่างน้อย 2 กลุ่มกระมังคะ (ถ้าแบ่งตามบุคลิกภาพ) คือ กลุ่ม "อหังการ์ท้าฟ้าดิน" กับ กลุ่ม "นอบน้อมถ่อมตน"

อุตส่าห์อวดว่า ฝึกสมาธิในขณะจิ้มตัวอักษร ที่ไหนได้ เพิ่งเห็นว่าพิมพ์ข้อความบรรยายภาพผิด พืช "ตระกูลชงโค" จริงๆ แล้วต้องเป็น "ตระกูลเสี้ยว" ค่ะ

สงสัยว่าจะถึงเวลามีความจำเป็นต้อง "ฝึกสมาธิแบบเข้มข้น" แล้วล่ะค่ะ

ใบหน้าท่านเป็นที่คุ้นตาของดิฉันมาก ไม่ทราบว่าคุ้นจากประสบการณ์ตอนไหน ท่านเคยออก TV ในรายการอะไร สนทนาเกี่ยวกับเรื่องอะไรไหมคะ ถ้าเคยกรุณาให้ข้อมูลด้วยนะคะ เผื่อจะช้วยกระตุ้นความทรงจำของดิฉันได้

ได้เวลาเตรียมตัวเข้าฟาร์มแล้วค่ะ (ที่ฟาร์มสมรรถนะในการใช้ Internet ประมาณ 25 % ของในเมือง แล้วในเมืองเราระบบ GTK มีปํญหาขนาดนี้ สงสัยที่ฟาร์มจะใช้ไม่ได้เลยกระมังคะ)

ทำสมาธิด้วยอ่ะ :-) ๕ 5 ๕ ตอนไหนเนี่ย! ดีนะคะ ชอบจังเลย ถึงแม้จะเป็นอะไรที่ นอกคอก

ปวดหมอง เรื่้องการเมือง อยู่นอกเหนือการควบคุม เฮ้อ

ขอตัวไป ทำสมาธิ ท่านอน ก่อนนะคะ พรุ่งนี้ต้องทำงานอีก (ล่ะ) ค่ะ

อยากไป เล่น มากกว่า .. เพราะเอาแต่ (เล่น การเมืองจึง เละ? 5 5 )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท