เรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ "พระเอกในหัวใจครู" (7)


ให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งที่เขาสนใจ

มาเล่าเรื่องเวทีครูเพื่อศิษย์ ครั้งที่ 1 ที่เป็นเรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ทุกท่าน วันนี้เป็นทักษะความคิดริเริ่มและการกำหนดชีวิตตนเอง ในทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 

เรื่องเล่าวันนี้เป็นของคุณครูจากโรงเรียนอนุบาลพระบรมราชานุเคราะห์ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี และผู้ที่บันทึกเรื่องเล่า คือคุณครูจากโรงเรียนศรีวิชัย จ.นครปฐม

ครูนิภา โรงเรียนอนุบาลพระบรมราชานุสรณ์ จ.สุพรรณบุรี สอนนักเรียนชั้น ป.1 ขณะสอนอ่านคำในมาตราตัวสะกด “แม่กน” นั้น เด็กชายเต้ย ไม่สนใจเรียน เดี๋ยวก็ลุกเดินเล่น ชวนเพื่อนคุยบ้าง ไม่สนใจเรียน ทำให้เพื่อนๆ ในห้องพลอยไม่สนใจเรียนรู้ด้วย จริงๆแล้วครูนิภารู้มาก่อนแล้วว่า ดช.เต้ย เป็นเด็กมีปัญหามากๆ ไม่ตั้งใจเรียน ก่อกวนจากคำบอกเล่าของเพื่อนครูที่บอกต่อๆกันมา และรับรู้มาว่าเด็กๆของครูนั้นชอบเล่นคอมพิวเตอร์

ครูนิภาจึงปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องล่อ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ เรื่องตัวสะกดแม่กน ด.ช.เต้ย ก็ยังไม่สนใจ  ครูจึงถามความต้องการ ด.ช.เต้ยบอกอยากไปเรียนที่พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครูนิภาจึงเกิดความคิดว่าที่นั่นก็มีคำต่าง ๆ ตามป้ายประวัติ จึงเปลี่ยนแผนนำนักเรียนไปเรียนรู้ที่ลานพระบรมรูปซึ่งมีคำบรรยายใต้ภาพ  ถึงประวัติชีวิตและผลงาน จึงได้ให้นักเรียนศึกษาคำต่างๆในป้ายความรู้เหล่านี้โดยเน้นคำที่มีตัวสะกดแม่กน และใช้ “การแข่งขันหาคำสะกดแม่กน” เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้

ผลจากการเรียนรู้ครั้งนี้ครูพบว่า ด.ช.เต้ย สามารถรวบรวมคำได้มากที่สุดจึงชมเชยและให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคำเหล่านั้นเพื่อจะได้รวบรวมเป็นสมุดเล่มน้อยเรื่องคำในมาตราตัวสะกดแม่กน  แต่นักเรียนทุกคนอยากให้ผลงานของตัวเองอยู่ด้านหน้าห้องสมุด ครูนิภาจึงตกลงว่าเราจะนำผลงานของนักเรียนทุกคนมาต่อเรียงกัน เพื่อให้ผลงานของนักเรียนทุกคนได้อยู่ข้างหน้า เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของครูนิภาและนักเรียนที่ได้มีส่วนร่วมกันสร้าง “หนังสือเรียนรู้ คำ ในมาตราสะกดแม่กนที่มีความยาวที่สุด...” อาจจะยาวที่สุดของประเทศก็ได้นะ ครูเล่าด้วยความภาคภูมิใจเพื่อให้หัวใจน้อยๆของเด็กๆได้เบ่งบานใจ นี่แหละคือความสำเร็จของครูที่เปิดโอกาส ไม่ซ้ำเติมนักเรียน  ให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งที่เขาสนใจ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ครูนิภาภาคภูมิใจที่สุด

 เป็นการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือการนำนักเรียนที่เป็นปัญหามาแก้ปัญหาจนเกิดวิธีการที่ดีในการจัดการเรียนรู้

การออกแบบการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามความสนใจของนักเรียนหรือให้เรียนตามสถานที่จริง ทำให้ได้เห็นความสามารถของนักเรียนบ้างคนที่ไม่ค่อยพูด เกเร ไม่สนใจเรียน หันมาสนใจเรียนและสามารถทำได้ดีกว่านักเรียนที่ตั้งใจเรียนในห้องตามปกติ เพราะนักเรียนแต่ล่ะคนมีความสามารถในการรับรู้ การเรียนรู้และความเข้าใจไม่เท่ากัน

คุณครูผู้ออกแบบการเรียนรู้ต้องพัฒนาตนองให้มี Learning Skills และช่วยเป็น Facilitateหรือเป็นโค้ช ในการเรียนของนักเรียน  ครูที่เก่งและเอาใจใส่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ลึกและเชื่อมโยงรอบด้าน

หมายเลขบันทึก: 475468เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2012 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 05:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท