๒๓๗.เทคนิคการอ้อนวอน-ต่อรองกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์


นั้นหมายความว่า คณะกรรมการใหญ่กว่าเจ้าพ่อ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดว่าในแต่ละปีจะทำอะไรถวายเจ้าพ่อดี ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าพ่อจะบรรดาลให้เกิดดินฟ้าอากาศให้กับชาวบ้านอุดมสมบูรณ์แค่ไหน? หากมองอีกแง่มุมหนึ่ง เจ้าพ่อก็คือผู้รับใช้สังคม ถ้าสามารถตอบสนองความต้องการของชาวบ้านได้ดีโดยทำอภินิหาริย์ให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์มาก ก็จะได้รับผลตอบแทนมาก หากได้น้อย ผลตอบแทนก็น้อยลงไปตามนั้น

 

     การต่อรอง การร้องขอ การแลกเปลี่ยน และการคิดเอาเองหรือคิดแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือว่าเป็นเรื่อง "ธรรมดา" สำหรับคนทั่ว ๆ ไป แต่ผู้เขียนไม่เข้าใจอยู่ประเด็นหนึ่ง คือสิ่งที่กล่าวมา คนธรรมดากระทำต่อองค์พระเจ้าตนหลวง

     ประเด็นมีอยู่ว่า วันนี้ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินขึ้นรถไปจังหวัดทหารบกพะเยา งานปฎิญาณตนและพิธีเคารพธงชัยเฉลิมพล (๑๕.๓๐ น.) ได้มีผู้ชายคนหนึ่งน่าตาตื่นมาถามพระที่อยู่ใกล้ ๆ สรุปได้ความว่า  ชายคนดังกล่าวแก บนพระเจ้าตนหลวงเอาไว้ว่า ถ้าชนะคดีความกันจะบวชให้ แต่เมื่อชนะคดีแล้ว ปรากฏว่าไม่พร้อมที่จะบวช จึงปรึกษาว่าควรจะทำอย่างไรดี? จะขอโทษองค์พระเจ้าตนหลวงอย่างไร? เพื่อต่อรองว่าจะไม่บวช

     มีพระอีกรูปหนึ่งบอกว่าให้ไปกราบพระเจ้าตนหลวง แล้วกราบเรียนท่านตรง ๆ ว่า บวชให้ไม่ได้เนื่องจากไม่พร้อม ผู้เขียนเห็นชายคนนั้นเดินไปพร้อมกับภรรยาพร้อมกับถือถังสังฆทานไปในพระวิหารเพื่อไปขอขมาพระเจ้าตนหลวงที่บวชให้ไม่ได้...อนิจจา เล่นของสูงกันเลยหรือนี้?

     หลายครั้ง ที่ผู้เขียนสังเกต ผู้ที่เดินทางมากราบองค์พระเจ้าตนหลวงแล้วอธิษฐานใจ บางกลุ่มก็มององค์พระเจ้าตนหลวงเป็น "เจ้าพ่อ" เพื่อขอในสิ่งที่ตนปรารถนา โดยการต่อรองว่าจะให้? (เหมือน สส.สท.สว.ฯลฯ จริงๆ) เช่น บางคนมาขอลูก บางคนมาขอให้ประสบความสำเร็จ บางคนมาขอให้ชนะการแข่งขัน ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนขอยกกรณีมาเล่า ดังนี้

     -บางคนไม่มีลูก มาขอต่อองค์พระเจ้าตนหลวง แล้วบอกต่อ ๆ กันมาว่า ขอเสร็จไม่ให้พูดจา ทักทายใคร ให้รีบกลับบ้านทันที โดยมีญาติเดินตามประกบเพื่อไม่ให้พูดและคอยดูทิศทางให้ ชนิดที่ว่าเดินก้มหน้ากลับบ้านกันเลยทีเดียว ฯลฯ

     -บางราย มาบนว่าจะถวายไก่ ๕๐๐ ตัว แต่เมื่อสำเร็จแล้ว ทำไม่ได้ ก็ถวายไก่แค่ตัวเดียว แล้วไข่อีก ๔๙๙ ฟอง โดยคิดว่า อีกทั้งหมดนี้เป็นไก่เช่นกัน แต่เป็นไก่ที่โตเต็มทีแล้ว และไก่กำลังอยู่ในช่วงฟักตัว ฯลฯ

     -บางราย มาบนว่าถ้าสอบได้ จะถวายประทัดและพลุไฟแก่ท่าน เมื่อสำเร็จแล้ว นึกขึ้นได้ ว่าองค์พระเจ้าตนหลวง ท่านชอบสงบ คงไม่ชอบเสียงอึกกะทึก จึงไม่ได้แก้บน ฯลฯ

     -บางราย บนว่าจะบวช เมื่อสำเร็จแล้ว ไม่สามารถบวชได้ จึงนำพระพุทธรูปและผ้าไตรมาถวายแทน โดยคิดเอาเองว่า นี้เป็นการบวชพระแล้วนะ ฯลฯ 

     ยิ่งร้ายไปกว่านั้น หลายกลุ่มบนแล้วก็รอรับเอาของเซ่นคืน คล้าย ๆ กับว่าองค์พระเจ้าตนหลวงเป็น "เจ้า" องค์หนึ่ง เท่านั้น เมื่อถวายแล้วให้เวลาท่านฉันสัก ๓๐ นาที-๑ ชั่วโมง ก็คิดว่าท่านน่าจะอิ่มแล้ว จึงยกหนี ฯลฯ

     -มีอีกหลาย ๆ ตัวอย่าง ที่ผู้เขียนเข้าไม่ถึงข้อมูล

     ทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ผู้เขียนมองว่า แท้จริงแล้ว คำว่า "ศรัทธา" นั่น อยู่ที่ความพอใจของตนเองเป็นหลัก คนเราเป็นคนตัดสินใจแทนสิ่งศักดิ์เลยทีเดียว โดยมักยัดเหยียดความคิดของตนเอง ความพึงพอใจของตนเองให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ๆ

          เรื่องของชายคนดังกล่าวที่เข้าไปกราบขอพรจากองค์พระเจ้าตนหลวง เมื่อสิ่งที่ปรารถนาสำเร็จแล้ว น่าแปลกว่าเมื่อตนเองทำไม่ได้ก็หาที่พึ่ง หรือหาสมัครพรรคพวกให้ช่วยคิด หากมองอีกแง่มุมหนึ่งก็คือการล็อบบี้และต่อรองกับองค์พระเจ้าตนหลวงนั้นเอง

        จากกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าก่อนมาก็ทุกข์ เมื่อทำสำเร็จแล้วก็ทุกข์ ผู้เขียนจึงให้ข้อคิดว่า แท้ที่จริงองค์พระเจ้าตนหลวงท่านคงไม่ติดใจอะไรหรอก เพราะท่านมีเมตตาสูง อย่างน้อยก็เพื่อให้โยมคนดังกล่าวได้คลายความกังวลใจที่มีอยู่ ให้จางลงไปบ้าง

    

หมายเลขบันทึก: 475186เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท