ปิดทองก้นพระด้วยฟางเส้นเดียว


มีบันทึกปลายเท้า (foot note) ว่า มีพราหมณ์อีกคนเอาหญ้ามาปูถวายให้เป็นที่นั่ง ...ซึ่งพราหมณ์คนนี้ได้รับความสำคัญน้อยมากในชาดกว่าด้วยการช่วยให้พพจ.บรรลุธรรม

ศาสนาพุทธตั้งอยู่บน “ฟางเส้นเดียว”

 

เราท่านคงเคยได้ยินภาษิตฝรั่งว่า “ฟางเส้นสุดท้ายที่หักหลังอูฐ” (The last straw that broke  the camel’s back)  ...ลองไปค้นเน็ตหาอ่านความกันเอาเด๊อขรับ

 

 

วันนี้ผมจะพลิกประเด็นว่า ฟางเส้นเดียว อาจเป็นพื้นฐานที่มีคุณูปการต่อสูงศาสนาพุทธก็เป็นได้

 

ลองทบทวนวิชาศีลธรรมที่เราเรียนมาสิครับ ว่า พพจ. ตรัสรู้ได้เพราะอะไร ...ก็ร้อยแปดปัจจัย เช่น บำเพ็ญเพียรมานานเป็นปีชาติ  สิบ ร้อย กระทั่งพันชาติ ...แล้วแต่เวอร์ชั่น

 

บ้างก็ว่า เพราะเทวดาเสด็จแปลงกายลงมา เป็นสิ่งต่างๆ เพื่อให้เห็นโทษของการเกิด แก่ เจ็บตาย คราวที่หนีโดดรั้ววังออกไปเสด็จประพาสบ้านเมืองยามหนุ่ม

 

บ้างก็ว่าพระดาบสลัทธิพราหมณ์ต่างๆ ที่ให้การสอนเป็น prerequisite ไม่งั้นคงไม่ผ่านไปสู่ขั้นสูงได้

 

พวกพราหมณ์ขี้ตู่บูชาพระเจ้าแขกก็ว่าเป็นอวตารปางที่ ๙ ของพระกฤษณะไปโน่น

 

โดยที่กระแสหลักของชาวพุทธถือว่า การตรัสรู้นั้นเกิดจากความเพียรของพระองค์เอง

 

ส่วนฝ่ายสนับสนุก็ไม่วายขุดคุ้ยต่อไปว่า ทรงเพียรบำเพ็ญทุกขกิริยาเจียนจะตายอยู่แล้ว จนผอมแห้งเหลือแต่หนังห่อกระดูก เป็นเพราะนางสุชาดาแท้เทียวที่เอาข้าวปลาอาหารมาประเคน และสุดท้าย  อ้าหา...ข้าวมธุปายาส (แปลว่าข้าวต้มนมวัว) ในคืนวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะนั้น

 

สุดท้ายมีบันทึกปลายเท้า (foot note) ว่า มีพราหมณ์อีกคนเอาหญ้ามาปูถวายให้เป็นที่นั่ง ...ซึ่งพราหมณ์คนนี้ได้รับความสำคัญน้อยมากในชาดกว่าด้วยการช่วยให้พพจ.บรรลุธรรมใต้ต้นโพธิแห่งพุทธคยา

 

แต่ถ้าคิดให้ดี ผมว่าเส้นฟางแต่ละเส้นของพราหมณ์ท่านนี้มีอานิสงส์มากยิ่ง เพราะมันทำให้เกิดผลดีทางสรีวิทยา ที่ทำให้พพจ.นั่งสบาย (นุ่ม) ส่งผลให้เกิดสมาธิดี จนตรัสรู้ได้ในที่สุด

 

ถ้าพระอาสน์ไม่นุ่มเสียแล้ว ตามหลักสรีรศาสตร์  ปุ่มกระดูกในจุดต่างๆ จะเกิดการกดทับมาก  ทำให้เลือดเดินไม่สะดวก ทำให้เกิดเหน็บชา  เกิดเวทนาแรง  ก็จะนั่งสมาธิได้ไม่นาน  ก็อาจนำไปสู่การไม่ตรัสรู้ก็เป็นได้นะ

 

ผมเห็นว่าแรงงานของพราหมณ์คนนี้ที่หยิบฟางแต่ละเส้นมาเรียงร้อยให้เป็นอาสน์ของพพจ. นั้น ล้วนมีบุญคุณล้นพ้นต่อศาสนิกชนไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆที่เรานิยมชมชื่นตามการนำเสนอของกระแสหลัก

 

ถือเป็นการปิดทอง “ก้นพระ” ที่ยิ่งกว่าปิดหลังพระมากยิ่งนักแล

 

...คนถางทาง (๑๘ มกราคม ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 475017เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 04:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เมื่อวานคุยเรื่อง "ปิดทองฐานพระ" กับคุณโอ๋-อโณ วันนี้ได้มาอ่านเรื่องเกี่ยวกับ "การปิดทองก้นพระ" งานเขียนของคนถางทาง
  • เพิ่งจะได้อ่านภาคพิศดารของที่มาแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ก็คราวนี้แหละ รวมทั้งการคิดแนวข้าง (Lateral Thinking) ที่เป็นการคิดต่างของคนถางทาง บนพื้นฐานของการใช้ Phisiology ในการวิเคราะห์
  • ไม่รู้ล่ะค่ะ เรื่องนี้อาจดูไม่เกี่ยวกับฟางเส้นเดียวในเรื่องนี้ แต่เป็นฟางเส้นเดียวที่มองเห็น ณ ขณะนี้ ว่า คุณถางทางน่าจะไขข้อข้องใจให้ได้ ดังที่เกริ่นไว้ในบันทึกก่อนของคุณถางทางนะคะว่า ต้นไม้ที่นำมาให้ดูในภาพมันคือต้นอะไร ดูใบแล้วก็คล้ายไม้ตระกูลเสี้ยว พิมพ์คำค้น "เสี้ยว" เลือกค้น "ภาพ" ผลลัพธ์ก็ไม่มีภาพไหนที่มีดอกแบบนี้ ข้องใจข้ามปี ถ้ารู้กรุณาบอกด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ  

เรียน อาจารย์วิไลครับ ...ผมไม่ทราบว่าพันธุ์อะไร ดูใบ และสีกิ่ง แล้ว คล้ายตระกูล เสี้ยว มาก แต่ดอกนี่สิ ผมยังงงอยู่ แล้วผมจะเก็บเอาไปฝันนะครับ เผื่อจะมีรุกขเทวดามาเข้าฝันเฉลยให้ทราบ อิอิ (หน้าบ้านผมมีทั้งเสี้ยวและชงโค วันหลังต้องไปจ๊อคกิ้งวนดูรอบๆสักหน่อยให้ละเอียดกว่าเดิม)

ไม่ต้องรอนอนฝัน เพราะไปเคาะหา "ดอกเสี้ยว" ดูแล้ว ทำให้ระลึกชาติได้ว่า ดอกเสี้ยวจะมองดูดาวเสมอ ไม่หันมองดินแบบในรูปที่นำขึ้นมาครับ

http://www.google.com/search?q=%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7&hl=th&rls=com.microsoft:th:IE-SearchBox&prmd=imvns&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=T9wWT-3tCIOJrAfk28U6&ved=0CDkQsAQ&biw=1024&bih=520

ดังนั้นผมว่าคงไม่ใช่เสี้ยวหรอกครับ อาจเป็นพี่น้องห่างๆ เพราะว่าลักษณะใบเหมือนกันอยู่ และ สีกิ่งก้านก็ขาวหม่นๆ คล้ายกันครับ

อ่านหัวข้อแล้วก็ขำ ปิดทองก้นพระ... คุณ ทวิช เค้ามีแต่ ปิดทองหลังพระ

คิดไม่ถึงเลยนะคะ เรื่องฟางของพราหมณ์ ที่กล่าวให้ความสำคัญน้อยมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท