อากาศหนาว ปลากินอาหารน้อย ชะลอการให้อาหาร


เศษอาหาร เศษอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อจะค่อยๆบูดเน่าย่อยสลายกลายเป็นก๊าซของเสีย อย่างเช่น ก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า),ก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซมีเทน

สภาพอากาศที่หนาวเย็น บนบกว่าหนาวแล้วในน้ำก็คงหนาวกว่าหรือก็ไม่แตกต่างกันเลย (สงสัยต้องถามน้องปลา)อุณหภูมิของน้ำที่เย็นลงตามสภาพของฤดูกาลจะส่งผลกระทบให้ปลาหยุดกิจกรรมต่างๆรวมถึงการกินอาหารด้วย เมื่อพลังงานถูกใช้น้อยลง พลังงานก็สูญเสียน้อย การเติมพลังงานหรือการกินอาหารของปลาก็น้อยตามลงไปด้วย แต่ถ้ายังมีการให้อาหารอยู่เท่าเดิมเศษอาหารก็จะตกค้างสะสมบูดเน่าอยู่ที่พื้นบ่อมากเกินไป เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไปต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้อาหารในจำนวนที่น้อยกว่าเดิมในสภาพอากาศหนาวเย็น หรือแม้กระทั่งบรรยากาศฟ้าหลัวฟ้าปิด หรือจะใช้วิธีการสังเกตุโดยการเช็คหรือตรวจสอบจากยอ ว่ามีเศษอาหารเหลือตกค้างในยอมากน้อยเป็นอย่างไร แล้วปรับปริมาณการให้อาหารตามความเหมาะสมจากเศษอาหารที่เหลือในยอ จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร ช่วยลดจำนวนปลาตาย ช่วยลดภาวะน้ำหนืดสีน้ำเขียวเข้มจากแพลงค์ตอนบลูมได้มาก เศษอาหาร เศษอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อจะค่อยๆบูดเน่าย่อยสลายกลายเป็นก๊าซของเสีย อย่างเช่น ก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า),ก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซมีเทน ก๊าซต่างๆเหล่านี้ถ้ามีการสะสมจนเพิ่มปริมาณมากขึ้น ก๊าซอ๊อกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตในน้ำรวมทั้งปลาใช้ในการดำรงชีวิตจะถูกแทนที่ด้วยก๊าซของเสีย ทำให้มีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก ปลาจะลอยหัวฮุบอากาศที่ผิวน้ำเกิดภาวะเครียด เบื่อไม่กินอาหาร ถ้าปริมาณก๊าซของเสียมากโดยเฉพาะแอมโมเนียจะส่งผลให้ปลาตาบอด ขับถ่ายของเสียออกมาได้ยากเนื่องจากปริมาณก๊าซแอมโมเนียในน้ำมีสูงกว่า ถ้าปล่อยทิ้งไว้ยาวนานปลาจะมีการเจริญเติบโตช้า จำนวนการตายเพิ่มสูงยิ่งขึ้น ต้องวิดบ่อจับก่อนกำหนดปลาไม่ได้ขนาด ราคาเสีย ส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จขาดทุนจากการประกอบอาขีพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การบรรเทาแก้ไขปัญหาสามารถทำได้โดยส่วนหนึ่งให้ทำการเพิ่มระดับน้ำให้สูงอยู่ที่ระดับ 1.8 - 2.0 เมตรพยายามรักษาระดับของน้ำให้คงที่อย่าให้ลดต่ำลงกว่านี้ คือจะได้ช่วยบรรเทาก๊าซพิษให้เจือจาง ลดปริมาณการปล่อยปลาให้น้อยลงอย่าปล่อยหนาแน่นมากเกินไป เพราะจะยิ่งดูแลเลี้ยงดูลำบาก ให้อาหารแต่พอดีอย่ามีเศษอาหารเหลือตกค้างมาก โดยเฉพาะในฤดูกาลนี้ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ควรเพิ่มจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายโปรตีนโดยตรงอย่างเช่น บาซิลลัสMT ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการย่อยสลายวัสดุที่ตกค้างจากอาหารปลาโดยตรง ไม่ใช่จุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์ที่เต็มไปด้วยยีสต์ รา โปรโตซัว ฯลฯ ที่ส่วนใหญ่จะย่อยสลายได้แต่กลุ่มของแป้งอ่อนๆ และอินทรีย์วัตถุทั่วไปเหมาะต่อการนำไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ไม่ทำงานเฉพาะเจาะจงโดยตรงไปที่ขี้ปลาและเศษอาหารที่ผลิตมาจากวัสดุที่คัดเลือกมาอย่างดีมีโปรตีนสูงมากจนกระบวนการย่อยสลายของปลาไม่สามารถย่อยสลายได้ทั้งหมด ประชากรปลาที่มีมากกว่าปรกติต่างจากแม่น้ำลำคลองเมื่อเทียบกันจำนวนหัวต่อตารางเมตรของเสียย่อมมากเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงควรต้องเพิ่มประชากรทำความสะอาดให้เท่าเทียมกันด้วยจึงจะเหมาะสม จุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายต้นเหตุของของเสียให้น้อยลง แต่ในรูปของก๊าซจุลินทรีย์ไม่สามารถจับตรึงได้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องไม่ลืม สเม็คโตไทต์ หินแร่ภูเขาไฟที่มีรูพรุนมหาศาลผ่านการเดือดพล่านจากอุณหภูมิเป็นล้านๆองศาจะช่วยจับสารพิษ จับตรึงก๊าซของเสียไม่ให้เป็นอันตรายต่อปลา (ในอดีตเป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาคาร์ฟ) จะช่วยลดอัตราการตายของปลาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในฤดูกาลที่หนาวเย็นนี้ มนตรี บุญจรัส ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 474495เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2012 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท