Social Network อันตรายใกล้ตัว


Social Network

Social Network อันตรายใกล้ตัว

Social Network หรือ สังคมออนไลน์ ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว มีจำนวนประชากรบนโลกออนไลน์นี้ในระดับ 400 ล้านคนทั่วโลก กระจายไปยังผู้ให้บริการอย่าง Facebook, Hi5, Twitter, Blog, Space และอื่นๆ ในประเทศไทยเราถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้เฟสบุ๊ก (Facebook) รวดเร็วที่สุดอันดับ 2 ของโลก ชนะประเทศอื่นๆในแถบ            อาเซียน เครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นเป็นดาบสองคม เหรียญสองด้าน ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษพอๆ กัน หากไม่ระมัดระวังเพียงพอ โทษที่เราได้รับนั้นอาจถึงขั้นต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเลยทีเดียว

หลังจากที่มีผู้พยายามจะส่งเสริมให้นำเอาสังคมออนไลน์มาใช้ในทางการศึกษา โดยบอกเล่าถึงแต่สิ่งดีๆ ไม่บอกถึงผลกระทบที่อาจตามมาในภายหลังซึ่งเป็นการสูญเสียที่มากมายยากจะคาดถึง อาจเป็นเพราะไม่รู้ว่ามันมีโทษหรือรู้แต่ไม่บอก (กลัวอย่างแรกล่ะมากกว่า) วันนี้เลยต้องนำมาถกประเด็นให้ขยายความคิด รับรู้ถึงภัยที่จะตามมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์กัน รู้ไว้เพื่อป้องกันตัว ไม่ได้ห้ามใช้งานนะครับ...

แต่ถามว่าในบรรดาชาวเฟสบุ๊กนับล้านของไทยที่เพลิดเพลินกับการอัปโหลดรูปภาพ และข้อความ คอมเมนท์โต้ตอบในหมู่เพื่อน จะมีสักกี่คนที่รับรู้ว่าจะต้องเล่นเฟสบุ๊กอย่างไร? จึงจะไม่ต้องปวดหัวกับพิษภัยที่อาจตามมา ซึ่งในต่างประเทศเคยมีกรณีแล้วว่า เหยื่อฆาตกรรมรายหนึ่งถูกคร่าชีวิตสำเร็จเพราะเฟสบุ๊กเป็นเหตุ

นี่ไม่ใช่การโยนภาระหน้าที่ให้รัฐบาลแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เพราะในประเทศใหญ่ๆ อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือ สหราชอาณาจักรฯ นั้นต่างมีรัฐบาลเป็นแม่งานรณรงค์อย่างเป็นขั้นตอนและจริงจัง เนื่องจากฝรั่งนั้นมองว่า หากจัดระเบียบความปลอดภัยบนเครือข่ายสังคมได้ ปัญหาความมั่นคงของชาติก็จะหมดไปด้วย

หลายคนแย้งว่า "เฟสบุ๊กที่พวกเราโพสต์ข้อมูลส่วนตัวแบบไก่กาฮาเฮมันไปเกี่ยวอะไรกับความมั่นคงระดับชาติ" ตรงนี้อาจารย์ปริญญา หอมเอนก หัวเรือใหญ่สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศหรือ Thailand Information Security Association (TISA) ไขข้อสงสัยว่า "หากรัฐบาลไทยตื่นตัว และมีมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยของการใช้งานเครือข่ายสังคมอย่างจริงจัง รัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ และฆ่าตัดตอน การปล่อยข่าวลวงทางทหารได้"

อาจารย์ยกตัวอย่างว่า "ความไม่รู้ของชาวออนไลน์ทั่วโลกทำให้เฟสบุ๊กกลายเป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยม ของแฮกเกอร์จอมขโมยตัวตนในขณะนี้ วิธีการคือแฮกเกอร์จะเข้าไปศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัวของเหยื่อในเฟสบุ๊ก หรือเครือข่ายสังคมค่ายอื่นๆ จากนั้นจึงใช้ข้อมูลที่ได้มาในการตอบคำถามซึ่งเหยื่อตั้งไว้กรณีลืมรหัสผ่าน ทำให้ผู้ที่ตั้งคำถามง่ายๆ ประเภท ชื่อโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา หรือชื่อกลาง บิดรมารดา ถูกสวมรอยว่าลืมรหัสผ่าน และถูกขโมยรหัสผ่านไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งแฮกเกอร์สามารถปู้ยี่ปู้ยำตัวตนของเหยื่อได้ด้วยรหัสผ่านที่ได้มา เช่น การสวมรอยเข้าไปโพสต์ข้อความหมิ่นฯ หรือการปล่อยข่าวลวงที่สร้างความปั่นป่วน

อาจารย์บอกเลยว่า "รัฐบาลควรเข้ามารีเสิร์ชหรือวิจัยคนไทยที่ เล่นเฟสบุ๊กอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แล้วจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบแบบในมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่ภาครัฐตื่นตัวและเตรียมบุคลากรระดับด็อกเตอร์ พร้อมเงินทุนไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และให้ความรู้แก่ประชาชน ถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรทำบนเฟสบุ๊กหรือเครือข่ายสังคมค่ายใดก็ตาม"

"คนใช้เครือข่ายสังคมในไทยยังมีความรู้เรื่องนี้ระดับเบบี๋มาก ถ้าเทียบกับแคมเปญ "ให้เหล้าเท่ากับแช่ง" ที่ สสส .เคยทำมา เชื่อเด็กไทย 9 ใน 10 ไม่รู้ถึงโทษในเฟสบุ๊ก มันไม่มีสอนในโรงเรียนหรือการปฐมนิเทศแบบเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งน่าเป็นห่วง"

ความน่าเป็นห่วงของเด็กวัยรุ่นสาวกเครือข่ายสังคมทั่วโลกที่เกิดขึ้น ความไม่รู้ถึงโอกาสถูกติดตามและถูกคุกคามในโลกความจริง เพียงแค่รูปถ่ายหนึ่งใบที่โพสต์เข้าไปอวดเพื่อนก็สามารถเป็นข้อมูลติดตามตัวได้ง่ายดาย เช่น รูปถ่ายที่มีชื่ออพาร์ทเมนท์ หรือเลขที่บ้านปรากฏอยู่ ขณะที่อีเมล์แอดเดรสธรรมดา ก็สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาเบอร์โทรศัพท์บนโลกออนไลน์ได้

"ในสหรัฐฯ นั้นมองว่าเรื่องความปลอดภัยบนเครือข่ายสังคมเป็น Culture หรือวัฒนธรรมที่ต้องแก้ไข เช่นเดียวกับในอังกฤษที่เค้ามองว่าต้องให้ความรู้พลเมืองที่เป็นเจนเนอเรชัน Y หรือพวกที่ใจร้อนคลิกเร็ว โดยไม่ระวังภัยที่อาจเกิดขึ้น ของเราเองก็ควรทำให้คนไทยระวังตัวเรื่องขโมยตัวตน ซึ่งหากถูกแอบอ้างก็จะมีความผิดได้ต้องให้เด็กไทยรู้เป็นเรื่องเป็นราวว่ามันเป็นดาบ 2 คม ไม่ใช่ไม่ดีแต่ควรเล่นอย่างไรให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย ทำไมต้องจำกัดเฟสบุ๊ก แต่ไม่ต้องจำกัดทวิตเตอร์" ลองค้นหาข้อมูลกันดูจาก Google

เจ็ดสิ่งที่ควรหยุดทำทันทีใน Facebook

บท ความนี้เรียบเรียงจาก 7 Things to Stop Doing Now on Facebook 
by Consumer Reports Magazine Wednesday, May 12, 2010

  1. ใช้รหัสผ่านแบบง่าย ๆ
    หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อธรรมดา  หรือคำทั่วไปที่สามารถหาพบได้ในพจนานุกรม หรือแม้แต่ตัวเลขที่ลงท้ายรหัสผ่านดังกล่าว ควรใช้การผสมระหว่างด้านหน้า ด้านหลังตัวอักษร ด้วยตัวเลข  หรือสัญลักษณ์ รหัสผ่านควรมีแปดตัวอักษรเป็นอย่างน้อย เทคนิคที่ดีอย่างหนึ่งคือ การเพิ่มตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ระหว่างกลางรหัสผ่าน เช่นตัวอย่าง รหัสผ่าน  houses เป็น hO27usEs! หรือใช้คำไทยพิมพ์บนแป้นอักษรภาษาอังกฤษ จะจดจำได้ง่ายกว่า เช่น กูไม่บอก เมื่อพิมพ์จะได้ d^w,j[vd 
  2. ระบุวันเดือนปีเกิดในข้อมูลสาธารณะ 
    โจรภัยทางข้อมูลแบบเบื้องต้น ผู้ไม่หวังดีมักจะใช้ในการค้นหาข้อมูลเพิ่ม เติมเกี่ยวกับตัวคุณ เพราะมันจะมีประโยชน์อย่างมากในการเข้าถึงข้อมูล ธนาคารหรือบัตรเครดิต ถ้าคุณได้ระบุวันเกิด ให้กลับไปที่ข้อมูลส่วนตัว เข้าไปแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ระบุข้อมูลพื้นฐานคือ ไม่แสดงวันเกิดในข้อมูลส่วนตัว หรือแสดงเฉพาะวันและเดือนเกิดในหน้า ข้อมูลส่วนตัว 
    (การติดต่อสอบถามเกี่ยวกับบัตรเครดิต มักจะต้องตอบข้อมูลเรื่องนี้ด้วย)
  3. ตรวจสอบการใช้งานของข้อมูลส่วนตัว
    ข้อมูล ทั้งหมดใน Facebook คุณควรกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงของเพื่อน หรือเพื่อนของเพี่อน หรือตัวคุณเอง
    เช่น  การเข้าชมรูปภาพ วันเกิด ศาสนา และข้อมูลของครอบครัว หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณเอง เช่น ข้อมูลในการติดต่อ  เบอร์โทรศัพท์ สถานที่อยู่ ควรจำกัดสิทธิ์เฉพาะ บุคคลหรือกลุ่มที่สามารถจะเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว  
    หรือจัดการ บล็อก (ห้าม) บุคคลบางคน หรือไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
  4. ระบุชื่อบุตรหลาน โดยมีข้อความที่อธิบายหรือตำบรรยายใต้ภาพประกอบ
    ไม่ควรระบุชื่อบุตร หลานหรือป้ายกำกับ (tags) หรือ มีคำอธิบาย/บรรยายรายละเอียดใต้ภาพ และ ถ้าได้มีคนอื่นหรือเพื่อนคุณทำเช่นว่านั้น ก็ขอให้ช่วยแก้ไขหรือลบออก พร้อมกับป้ายกำกับด้วย
    แต่ถ้าชื่อบุตรหลานของคุณไม่ได้อยู่ใน Facebook  แต่ได้มีบางคนได้ระบุข้อมูลดังกล่าวไว้ใน
    ป้ายกำกับ (tags) หรือ หรือมีคำอธิบายหรือบรรยายรายละเอียดใต้ภาพก็ขอให้เจ้าของข้อมูล ดังกล่าวแก้ไข/ลบออกด้วย
    (เป็นช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีใช้ข้อมูล ดังกล่าว ในการก่ออาชญากรรมบางเรื่องได้ง่าย เพราะรู้ว่าเป็นลูกหลาน ของใครมีฐานะการเงินเป็นเช่นไร)
  5. การบอกว่า กำลังออกจากบ้าน
    เป็นนัยที่ สื่อความหมายว่า ไม่มีใครอยู่ในบ้าน หรือคล้ายเป็นการปิดป้ายว่า “ไม่ อยู่” ไว้ที่หน้าบ้านเช่นกัน ให้รอจนคุณกลับถึงบ้านแล้ว ค่อยบอกถึงการผจญภัยหรือความสนุกสนานในการเดินทางหรือการใช้วันหยุดพัก ผ่อน  โดยอาจจะไม่ต้องระบุวันเดือนปีที่เดินทางก็ได้ หรือระบุวันเดือนปีที่เดินทางให้คลุมเครือไม่ชัดเจน
  6. การปล่อยให้ Facebook ค้นหา พบคุณ
    เพื่อป้องกันคนแปลกหน้าเข้าถึงหน้าข้อมูลของคุณ ให้ไปที่การค้นหาของ Facebook ข้อมูลส่วนตัว และเลือกเฉพาะเพื่อนเท่านั้นของ Facebook ที่จะค้นพบข้อมูลดังกล่าว และให้มั่นใจว่ากล่องข้อมูลสาธารณะไม่ได้ระบุ ให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
  7. อย่าให้เด็กใช้ Facebook โดยไม่ตรวจสอบควบคุม
    แม้ว่า Facebook จะไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่าสิบสามขวบ หรือยังไม่ถึงเกณฑ์ใช้งาน แต่หลายคนก็ทำการปลอมอายุเข้าไปใช้ได้ ถ้าคุณมีเด็กหรือวัยรุ่นในความปกครองใช้  Facebook วิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจสอบและควบคุม คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่ม เพี่อนของเขา หรือให้ใช้ email ของคุณแทนในการติดต่อระหว่างบัญชีของเขา เพื่อที่คุณจะได้รับข้อความหรือตรวจสอบการใช้งานของเขา
    “เพราะสิ่งที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นไร ไม่มีอะไร  กลับกลายเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างง่ายดาย”
     

    เป็น คำกล่าวของ Charles Pavelites,  ผู้ชำนาญการพิเศษของหน่วยงาน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากอาชญากรรมทางอินเตอร์เนต 

ที่มา : http://www.krumontree.com

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 473999เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ ข้อมูล ความรู้ที่ ที่เท่าไม่ถึงการ

สุภาษิตกฎหมาย สิ่งยากๆทำให้ง่ายอันตรายในภายหลัง

สิ่งง่ายๆ ทำให้ยากไม่ลำบากในภายหลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท