นักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม (1) : Geber


جابر ابن حيان

Abu Musa Jabir ibn Hayyan

อะบูมูซา ญาบิร อิบนุ หัยยาน (บิดาแห่งวิชาเคมี)

ชาวยุโรปจะรู้จักในนาม "Geber"

 

25550107-095801.jpg

(รูปนี้เป็นรูปในจินตนาการ อาจจะไม่ตรงกับความจริง)

  อิบนุหัยยาน มีชื่อจริงว่า อะบูมูซา ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน อับนุอับดุลลอฮฺ อัล-อัซดี (أبو موسى جابر بن حيان بن عبد الله الأزدي)เป็นที่รู้จักกันในนาม อัล-อัซดี (الأزدي)เป็นชื่อของเผ่าดังเดิมของเขา "อัล-อัซดฺ" ครอบครัวของเขาได้อพยพหลังจากเขือนมะอฺริบ(1)ในเยเมนได้ล้มสลายไป ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน เกิดที่เมืองตูซ(Tus:طوس) ประเทศอิหร่าน เมื่อปี ฮศ.101 (คศ.720) บิดาของเขาเป็นเภสัชกร เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มอับบาซีและได้อพยพจากคูฟะฮฺไปยังเมืองตูสเพื่องานเผยแพร่ ศาสนาและงานของกลุ่มชาวอับบาซียะฮฺ สุดท้ายได้ถูกทหารของอะมะวียะฮฺจับไปประหารชีวิต ญาบิรจึงเดินทางกลับไปยังอิรัก ผลงานทางเคมีของ ญาบิรฺ  ก่อนญาบิรอิบนุหัยยาน วิชาการทางเคมีนับเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการ เช่นประสบการการทำให้เป็นมัมมี การฟอก การย้อม และอื่นๆ การเล่นแร่แปรธาตุ การทำกระจก การเคลือบสื การสกัดน้ำมันและ้น้ำหอม โดยเฉพาะความพยายามสร้างวัตถุจากวัตถุที่มีค่าน้อยแปรให้เป็นวัตถุที่มีค่ามาก เช่น แปรธาตุเหล็กและตะกั่วเป็นเงิน แปรทองเหลือให้เป็นทองคำ ต่างๆเหล่านี้สร้างแรงจูงใจให้ญาบีรฺศึกษาและค้นคว้าทางด้านเคมีจนประสบผลสำเร็จในหลายเรื่อง เช่น

  • คิดค้นและสร้างอุปกรณ์ทางเคมี เช่น สร้างแก้วโลหะ เป็นต้น
  • สามารถผสมระหว่าง ไฮโดรคลอไรด์ (HCl) กับกรดดินประสิว(HNO3) กลายเป็นสารเคมีที่เรียกว่า น้ำทอง หรือ น้ำพระราชา ที่สามารถละลายทองได้ สามารถกลั่นสารประกอบ เกลือแกง(NaCl)กับสารละลายเฟอร์รัสซัลเฟต FeSO4H2O ออกจากกันได้ และญาบิรเป็นผู้ได้บ่งบอกคุณสมบัติของกรดว่าเป็นน้ำที่คมและสามารถละลายโลหะได้
  • เป็นผู้ค้นพบกรดอินทรีย์ เช่น กรดซีตริก(Citric acid) กรดน้ำส้ม(กรดแอซิติก : Acetic acid ) และกรดตาร์ตาริก (tartaric acid)
  • สามารถเตรียมสารโซเดียมไฮดรอกไซ์ด(NaOH) และโซเดียมคาร์บอเนท(Na2Ca3)
  • ค้นพบ ตะกั่วขาว (Lead carbonate) ซิลเวอร์ไนเทรท (Agno 3)
  • แยกสารหนูจาก Arsenic trisulfide (As2S3) แยกพลวงจาก สติบไนต์ (Sb2S3)
  • แยกสารที่เป็นกรดและสารที่เป็นด่าง และกล่าวว่าทั้งสองจะทำปฎิกริยาต่อกันจะทำให้เกิดเกลือ

ผลงานในทางอุตสาหกรรม ญาบิรฺ อิบนุรรัยยาน ไม่เพียงแค่ศึกษาและค้นคว้าทางเคมีบริสุทธิเท่านั้น เขายังได้นำความรู้ทางเคมีไปปรับใช้ในชีวิตเชิงอุตสาหกรรมด้วย เช่น

  • สร้างวิธีการสกัดแร่ธาตุ
  • เตรียมโลหะแข็งให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการสร้าง
  • ป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิม
  • คิดค้นและสร้างวิธีการทำหมึกจากเหล็กซัลไฟด์ที่มีลักษณะเป็นสีทองแทนที่น้ำหมึกทองคำ เพราะหมึกทองคำมีราคาที่แพงมาก
  • ฟอกหนังด้วยกรรมวิธีที่โดดเด่น โดยใช้กระบวนการทางเคมีที่คิดค้นได้
  • เคลือบเงาและเคลือบผิวด้วยสารเคมีให้ได้ผลดีและโดดเด่น
  • หาวิธีการย้อมผมและสิ่งจำเป็นทางเคมีอื่นๆอีกมากที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน กับการศึกษา

  • ญาบิรฺ ให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้าด้วยการทดลอง เขากล่าวแก่นักเรียนของเขาว่า "สิ่งแรกที่ต้องทำคือปฎิบัติและดำเนินการทดลอง เพราะผู้ใดที่ไม่ปฎิบัติและไม่ทำการทดลองเขาไม่บรรลุถึงระดับต่ำสุดของความจริง(ความรู้) ลูกรักเจ้าจงทำการทดลองแล้วเจ้าจะได้ความรู้" และเขาบันทึกในหนังสือของเขาตอนหนึ่งว่า "..ความรู้จะไม่ได้มานอกจากด้วยการทดลอง"
  • นับได้่ว่าญาบิรฺเป็นคนแรกเริ่มเขียนรายงานการทดลองอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ เขาได้ตักเตือนแก่ลูกศิษย์ของเขาว่า "นักวิชาการ (อุลามาอฺ)รู้สึกภาคภูมิใจในผลงานที่เขาได้ประสบผลสำเร็จ เพราะเขาเหล่านั้นได้จัดการด้วยการจัดการที่ดีเยี่ยม .. ดังนั้นเจ้าจงตรึกตรองอย่างรอบคอบและอย่ารีบเร่ง และยึดตามผลที่ได้มาในทุกๆสิ่ง"
  • ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าญาบิรฺ อิบนุหัยยาน ได้ทำการศึกษาวิจัยมาในรูปแบบที่สมบูรณ์แล้วอย่าง อิบนุฮัยษัมและอัลไบรูนี ซึ่งทั้งสองนี้มาหลังจากอิบนุหัยยานกว่าสามศตวรรษ แต่นั้นก็หมายถึงระบบและระเบียนการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้องได้เริ่มมาแล้วในกลุ่มคนมุสลิมในยุคต้นๆ เมื่อ 1300 ปีมาแล้ว
  • ญาบิรฺ ได้ให้แนวคิดทางการศึกษา เขาเก็นว่า ความรู้จะบังเกิดขึ้นจากสัญชาตญาน และผู้รู้หรือนักวิชาการจะยึดติดกับธรรมชาติที่เป็นความรู้ ดังนั้นผู้เรียนหรือนักศึกษาหาความรู้จะต้องเตรียมพร้อมธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเองเพื่อพร้อมที่จะรับความรู้ก่อนที่จะแสวงหามันด้วยการศึกษา ด้วยเหตุนี้ญาบิรฺจึงได้ตักเตือนแก่ครูและลูกศิษย์ว่า
    "หน้าที่ของครูต่อลูกศิษย์.. ครูจะต้องทดสอบความพร้อมของลูกศิษย์ในเรื่องที่ครูจะสอน ความสามารถในการรับฟัง ความสามารถในการจดจำ เมื่อได้แล้วครูจะต้องสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเขา..." "หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อครู นักเรียนจะต้องยืดหยุ่น พร้อมที่จะน้อมรับทุกคำพูดทุกแง่มุม อย่าได้ขัดคำสั่งครู กระสุนของครูคือความรู้ และความรู้นี้จะไม่แสดงออกมานอกจากเมื่อลูกศิษย์เงียบสงบและน้อมรับ ฉันไม่ได้หมายความว่าให้ลูกศิษย์เชื่อฟังครูในทุกการงานของชีวิต แต่ให้เชื่อฟังในที่นี้หมายถึงเชื่อฟังในความรู้ที่ครูสอน.."

หนังสือและตำราของญาบิรฺ อิบนุหัยยาน ญาบิรฺ ได้เขียนหนังสือมากมาย ว่ากันว่าเขาได้เขียนหนังสือทางเคมีมากกว่า 500 เรื่อง นอกจากนั้นเขาได้เขียนในหนังสือที่เกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ตรรกและบทกวี มุหัมมัด อิบนุซะอีด อัซซัรกุซฏี (รู้จักในชื่อ อิบนุมะชาฏ อัล-อัซฏุรลาบี) กล่าวเขาได้เห็นงานเขียนของญาบิรฺที่อิยิปต์เกี่ยวกับแอสโตรเลบซี่งไม่เคยเห็นคนอื่นเขียนเหมือนเขา และเป็นที่รู้จักเช่นกันว่าญาบิรฺได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับกระจกและการมองเห็น หนังสือที่สำคัญๆของเขามีมากมาย เช่น

  • หนังสือ"้الخواص الكبير"(คุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่) เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ฉบับเขียนด้วยลายมือมีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในปรเทศอังกฤษ
  • หนังสือ "كتاب سبعين"(คัมภีร์เจ็ดสิบ The Seventy Books) "كتاب الرحمة"(คัมภีร์เมตตา) ทั้งสองเล่นได้ถูกแปลเป็นภาษาลาตินในยุคสมัยตอนกลาง
  • หนังสือ "الجمل العشرون"(ยี่สิบประโยค) เป็นหนังสือรวบรวมยี่สิบบทความทางเคมี
  • หนังสือ "الأحجار"(อัคนี Book of Stones ) มีฉบับเขียนด้วยมือเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในกรุงปารีส
  • หน้งสือ"اسرار الكيمياء"(ความลับของเคมี)
  • หนังสือ"أصول الكيمياء"(หลักเคมี)
  • หนังของญาบิรฺมีในภาษาลาตินมากมาย แต่หาต้นฉบับที่เป็นภาษาอาหรับไม่พบ เช่น หนังสือ "Summa perfectionis البحث في الكمال"

ญาบิรฺ อิบนุหัยยาน กับข้อกล่าวหา

  • บางคนกล่าวหาว่า ญาบิรฺ เป็นชาวกรีก(ยูนาน)โดยกำเนิดและเข้ารับอิสลาม ซี่งตามที่ได้ตรวจสอบแล้ว ญาบิรฺเป็นคนอาหรับโดยกำหนด โดยมีต้นตระกูลจากเผ่า อัล-อัซดฺ เยเมน ตามที่กล่าวมาข้างต้น
  • นักเคมีชาวฝรังเศษชื่อ Marcelin Pierre Eugène Berthelot (25 October 1827 – 18 March 1907) ได้กล่าวอ้างงานเขียนของญาบิรฺเป็นของเขา ด้วยเหตุไม่พบต้นฉบับที่เป็นภาษาอาหรับ ในเวลาเดียวกันมีคนอื่นได้เขียนหนังสือเดียวกันและได้อ้างว่าได้แปลจากหนังสือของญาบิรฺ

ญาบิรฺในสายตาของคนตะวันตก ญาบิรฺ นับว่าเป็นคนวางรากฐานทางวิชาเคมีสมัยใหม่และทันสมัย และเป็นที่ยืนยันจากนักปราชญ์และนักวิชาการในยุโรปหลายคน เช่น

  • Francis Bacon (22 January 1561 – 9 April 1626) นักปรัชญา นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า "ญาบิรฺ เป็นคนแรกที่สอนวิชาเคมีแก่ชาวโลก เขาเป็นบิดาวิชาเคมี"
  • Marcelin Berthelot (25 October 1827 – 18 March 1907) นักเคมีและนักการเมืองชาวฝรังเศษ ได้กล่าวว่า "วิชาเคมีเป็นของญาบิรฺ วิชาตรรกเป็นของอริสโตเติล"
  • Max Meyerhof (21 March 1874 - 1945) จักษุแพทย์ เชื้อสายยิว ชาวเยอรมันกล่าวว่า "การพัฒนาวิชาเคมีในยุโรปสามารถอ้างถึงญาบิรฺ เพราะคำศัพท์ทางเคมีหลายคำของญาบิรฺยังใช้จนถึงทุกวันนี้"
  • Gustave Le Bon (7 May 1841 – 13 December 1931) นักจิตวิทยาสังคม นักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศษได้กล่าวว่า "จากการที่ได้อ่านสารานุกรมทางวิทยาศาสตร์ของญาบิรฺ พบว่า ได้รวบรวมวิชาการทางเคมีในหมู่คนอาหรับในสมัยของเขา หนังสือของเขาได้บรรยายถึงสารประกอบทางเคมีที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีใครรู้จัก และเป็นการอธิบายครั้งแรกถึงการกลั่น การกรอง ผลึก การดูซึม และการเปลี่ยนแปลงของสาร"

 

--------------------------------------------

(1)เขือนมะริบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งเขือน อัล-อัลอะริมิ อยู่ระหว่างหุบเขาสามลูกในประเทสเยเมน สร้างขึ้นปี 1750-1700 ก่อนคริสต์ศตวรรษ และเขื่อนนี้ได้ถูกกล่าวถึงอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ ซะบะอฺ อายะห์ที่ 15-16 ว่า

:« لَقَدْ كَانَ لِسَبَأٍ فِي مَسْكَنِهِم آيةٌ جَنَّتاَنِ عَن يَمِينٍ وَشِمَالٍ كُلُوا مِن رِّزْقِ رَبِّكُم واشْكُرُوا لَهُ بَلْدَةٌ طَيِّبَةٌ وَرَبٌّ غَفُورٌ فَأَعْرَضُوا فَأَرْسَلْنَا عَلَيْهِمْ سَيْلَ العَرِمِ وَبَدَّلْناَهُم بِجَنَّتَيْهِمْ جَنَّتَيْنِ ذَوَاتَيْ أُكُلٍ خَمْطٍ وَأَثْلٍ وَشَيءٍ مِّن سِدْرٍ قَلِيلٍ» (سبأ: 15-16).

ความว่า : 15. โดยแน่นอน สำหรับพวกสะบะอฺนั้นมีสัญญาณหนึ่งในที่อาศัยของพวกเขา (*1*) มีสวนสองแห่งทางขวาและทางซ้าย พวกเจ้าจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระเจ้าของพวกเจ้า และจงขอบคุณต่อพระองค์ อันเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ (*2*) และมีพระเจ้าผู้ทรงอภัย 16. แต่พวกเขาได้ผินหลัง ดังนั้น เราจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนให้ท่วมพวกเขา (*3*) และเราได้เปลี่ยนให้พวกเขาสวนสองแห่งของพวกเขา แทนสวนอีกสองแห่ง (*4*) มีผลไม้ขมและต้นไม้พุ่ม และต้นพุทราบ้างเล็กน้อย

  1. (1) ในประเทศเยเมน คือมีสัญญาณอันยิ่งใหญ่ที่ชี้บ่งถึงเดชานุภาพของพระองค์ ในการตอบแทนผู้กระทำความดีและความชั่วตามผลงานของเขา เมื่อชาวเมืองสะบะอฺได้เนรคุณต่อความโปรดปรานของอัลลอฮฺ พวกเขาจึงถูกทำลายอำนาจให้หมดสิ้นไป และกระจัดกระจายไป
  2. (2) ก้อตาดะฮฺกล่าวว่า สวนสองแห่งของพวกเขาเป็นต้นไม้ที่ร่มรื่น และมีดอกผลอย่างมากมายงดงามเมื่อสตรีเดินผ่านไปโดยมีกระจาดทูนอยู่บนศีรษะ ผลไม้จะหล่นลงมาเต็มกระจาดโดยไม่ต้องเก็บเกี่ยว เพราะความสุกงอมของมันและความที่มันมีอย่างมากมาย
  3. (3) คือ เมื่อพวกเขาไม่เชื่อฟัง ไม่จงรักภักดี ไม่ขอบคุณต่ออัลลอฮฺ และไม่ปฏิบัติตามข้อใช้ข้อห้ามของบรรดาร่อซูลของพระองค์ เราจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนไปทำลายเรือกสวนและบ้านช่องของพวกเขา
  4. (4) คือเราได้เปลี่ยนสวนสองแห่งที่อุดมสมบูรณ์เป็นสวนสองแห่งที่แห้งแล้ง เป็นต้นไม้พุ่มเล็ก ๆ และผลของมันขม

 

คัดจาก : http://tawasau.yiu.ac.th/almustofa/archives/552

หมายเลขบันทึก: 473812เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท