สมาชิกเครือข่ายภาคใต้เรียนรู้ GotoKnow และ ClassStart (จบ)


การ Upload ไฟล์ เป็นการแชร์ไฟล์ upload ทีเดียวใช้ได้ตลอด จะใช้กี่ครั้งก็ได้ นำไปใช้ที่ไหนก็ได้ เหมือน flickr ดีกว่า facebook

ตอนที่

GotoKnow ในอนาคตจะเป็นอย่างไร – อาจารย์จันบอกว่าเป็นเครื่องมือ KM สำหรับองค์กร ทำไปใช้ไป (User-Centered Agile System Development) ตอนนี้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้ติดต่อมา บอกว่าอยากจะทำเรื่อง E-participation

แม้จะใช้ GotoKnow มานาน แต่ดิฉันได้เรียนวิธีการใช้จากอาจารย์จันเมื่อตอนเปิดระบบใหม่ๆ ครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นก็ใช้ไปเรียนรู้ไป บางอย่างก็ไม่รู้เหมือนเส้นผมบังภูเขา วันนี้จึงมีโอกาสได้สอบถามอาจารย์จันตรงตัวชัดๆ เลย บางทีสอบถามกันทาง e-mail ก็อาจเข้าใจไม่ตรงกัน

คำถามที่มีในใจก็ได้รับความกระจ่างเสียที เช่น ทำไมบันทึกของบางคนเช่นของอาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด ของคุณหนูรี ตัวหนังสือจึงมีขนาดใหญ่ ดิฉันเคยลองคลิกดูที่ Format พบว่ามี Heading 1, 2…. ขนาดต่างๆ ก็คิดไปเองว่าเป็นการจัดหัวข้อ ความจริงตรงนี้แหละที่กำหนดขนาดตัวอักษร ถ้าเปลี่ยนจากคำว่า “Heading” ไปใช้คำว่า “Font size” น่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ความต้องการที่อยากให้รูปภาพที่เราใส่เรียงกันมีขอบขาวๆ ก็ได้แสดงให้อาจารย์จันได้เห็น ได้บอกปัญหาที่เจอคือเวลาที่เราเพิ่มบันทึกแล้วลืมเลือก Blog ที่ต้องการให้บันทึกนั้นอยู่ (เลือกบล็อกผิด) เมื่อแก้ไขบันทึกเปลี่ยนชื่อบล็อกแล้ว แต่บันทึกนั้นก็ยังอยู่ใน planet เดิม (เมื่อ copy ไปใส่ facebook ยังแสดงชื่อบล็อกที่ผิด)

เมื่อเราอ่านบันทึกใดบันทึกหนึ่งอยู่แล้วต้องการให้ดอกไม้หรือแสดงความเห็น เราต้องเข้าระบบ ปรากฏว่าจะเข้าไปอยู่ในหน้าแรกของเราทุกครั้ง ต้องไปค้นหาบันทึกที่เราอ่านอยู่ใหม่ ทำอย่างไรเมื่ออยู่ตรงไหน เข้าระบบแล้วก็อยู่ตรงนั้น

ความรู้ที่ดิฉันได้เพิ่มเติมคือ
o ระบบของ GotoKnow จะย่อรูปให้โดยอัตโนมัติ
o การติดตาม และผู้ติดตาม การติดตามใคร เราต้องไปคลิกที่รูปของคนๆ นั้น แล้วคลิก “ติดตามความเคลื่อนไหว” (เดิมไม่รู้วิธีว่าทำอย่างไร)
o การ Upload ไฟล์ เป็นการแชร์ไฟล์ upload ทีเดียวใช้ได้ตลอด จะใช้กี่ครั้งก็ได้ นำไปใช้ที่ไหนก็ได้ เหมือน flickr ดีกว่า facebook สร้าง folder ได้ไม่จำกัด ใส่ไฟล์ได้ทุกประเภทไม่จำกัด ทำตอนไหนก็ได้ และได้รู้วิธีการใส่ไฟล์ VDO
o การสร้าง CoPs จะมี CoPs Webboard มีการรับสมาชิก ติดตามความเคลื่อนไหวของสมาชิกได้ การพัฒนาในอนาคตจะมีระบบตรวจสอบ KPIs ระบบสร้างชุดความรู้ ระบบ Portal กำลังพัฒนาระบบสกัดความรู้เหมือน Delphi technique สามารถสร้างแบบสอบถามให้ตอบได้

นอกจากนี้ยังได้รู้ว่าอาจารย์ JJ ใช้ Photoscape ในการจัดรูปภาพ

ทีมผู้มาเรียนรู้สามารถสมัครเป็นสมาชิก GotoKnow เอารูปขึ้น เปิดบล็อก เขียนบันทึกกันได้ เช่น , , ...ดิฉันขอให้ช่วยกันเขียนบันทึกเล่าเรื่องการทำงานสัปดาห์ละ ๑ บันทึก พวกเราช่วยกันเสนออาจารย์จันว่าในการให้ดอกไม้ ต่อไปให้ทำเป็นรูปดอกไม้เลย ให้เลือกดอกไม้ได้ด้วยยิ่งดี

อาจารย์จันแนะนำ Healthy.in.th ด้วย ภญ.นุชนาฏบอกว่าได้ใช้อยู่แล้ว ต่อจากนั้นจึงแนะนำชั้นเรียนออนไลน์ ClassStart.org ที่ทุกคนฟังและดูแล้วเห็นว่าใช้ได้ง่าย ภญ.นุชนาฏ ตัสโต มีความคิดจะเอาไปใช้ใน รพ.ท่าศาลา บ้าง

ClassStart เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มี users กว่า ๑๕,๐๐๐ คนแล้ว ทั้งผู้ใช้ที่อยู่ในโรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษา มีภาษาไทยและอังกฤษ กำลังจะทำภาษาอินโดนีเซีย ใช้ง่าย ไม่ต้องติดตั้งระบบอะไรเพิ่มเติม เปิดให้บริการฟรี (เป็นระบบเดียวของประเทศไทยที่ฟรี) ทำขึ้นเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (โลกเปลี่ยนเป็น Flipped Classroom แล้ว)
ช่วยลดภาระงานของอาจารย์ เป็นระบบ paperless

ระบบนี้อาจารย์จันทำขึ้นเพื่อใช้เอง ไม่มีใครให้ทุน ทำขึ้นเพราะไม่ชอบใช้ Moodle เนื่องจากใช้ยาก ใช้สอนข้ามโรงเรียนก็ได้ น้ำท่วมก็ยังเปิดสอนได้ ไม่ต้องปิด server… พบว่า สรพ.นำไปใช้ในงาน project management

ClassStart มีกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นระบบที่ทำให้ผู้เรียนเรียนเอง

จุดเด่นของ ClassStart
o ตอบสนองการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทย
o ใช้งานฟรี ไม่มีต้นทุน แค่สมัครสมาชิกก็ใช้ได้เลย
o ไม่จำกัดพื้นที่ข้อมูล ไม่จำกัดขนาดไฟล์ ไม่จำกัดปริมาณไฟล์
o ไม่จำกัดจำนวนชั้นเรียนที่สอน ไม่จำกัดจำนวนชั้นเรียนที่เรียน
o ไม่จำกัดจำนวนนักเรียนในชั้น
o รองรับปริมาณการใช้จำนวนมากได้พร้อมๆ กันอย่างมีประสิทธิภาพ
o ใช้งานง่าย เรียนรู้ง่าย เน้นพัฒนาเพื่อผู้ใช้เป็นสำคัญ
o ไม่ต้องติดตั้งและดูแลเว็บไซต์และเครื่องแม่ข่ายเอง (server อยู่ที่อเมริกา)
o เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
o ทีมพัฒนาเป็นมืออาชีพ

สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนได้รวดเร็ว ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ดูแลเป็นรายคนได้ ให้งานให้คะแนนได้ง่าย... มีการนำไปใช้ในการแนะแนวหรือดูแลนักศึกษาที่ปรึกษาได้

ผู้ประสานงานรายวิชาสร้างชั้นเรียน add ทีมผู้ร่วมสอน ส่งข่าวประกาศ ใส่เอกสารการสอน (ทั้งไฟล์และ VDO จะ upload ทีเดียวหรือค่อยๆ upload ก็ได้)  พูดคุยกับผู้เรียนผ่านกระดานข้อความ ให้การบ้าน ให้คะแนน ผู้เรียนเขาร่วมชั้นเรียน พูดคุยกันเองและพูดคุยกับผู้สอนผ่านกระดานข้อความ ส่งการบ้าน... ชั้นเรียนเป็นระบบปิด ต้องเป็นสมาชิกก่อน

หน้าตาของชั้นเรียนเป็นอย่างไร ผู้สอนทำอะไรเห็นอะไรบ้าง ผู้เรียนทำอะไรเห็นอะไรบ้าง ที่ดีอีกอย่างคือมีส่วนที่เป็นบันทึกการเรียนรู้ (Reflective journal หรือ AAR) เอกสารต่างๆ ไม่ต้อง download ช่วยป้องกันไวรัส การให้คะแนนต่างๆ พอสิ้นเทอมกดให้ download ไฟล์ออกมาเป็น Excel อาจารย์จันบอกว่ากำลังทำให้คำนวณเกรดได้อัตโนมัติ และทำระบบให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมได้

คุณแหม่ม รัตนากร ประทับใจ อยากให้อาจารย์ของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มาเรียนรู้และนำไปใช้ในการเรียนการสอนบ้าง

เราจบการเรียนรู้ในวันนี้ที่เวลา ๑๕.๐๐ น. ได้ของแถมเป็นเสื้อยืด GotoKnow กันทุกคน

ทีมของดิฉันแวะซื้อขนมทองเอกและอื่นๆ ที่ร้าน ณ ถนนนางงาม ที่สงขลา แล้วเดินทางกลับทางถนนเส้นที่ผ่านระโนด ถึงนครศรีธรรมราชก็ค่ำพอดี

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 473769เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านไปอ่านมาชอบตอนสุดท้ายมากที่สุด คือทองเอก อร่อยคุ้นลิ้นผ่านครั้งใดต้องแวะซื้อไปฝากคนไกล้ชิด

ชอบทองเอกเหมือนคุณวอญ่าเช่นกัน ชอบกินด้วย (ทีละห่อสองห่อก็พอ)และชอบเอาไปฝากเพื่อนๆ

อาจารย์คะ..อยากเรียนปรึกษา ทำงานอยู่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้บริหารให้รับผิดชอบ KM ปีนี้ประเด็นร่วมคือ DM.ก็คิดถึงอาจารย์ทันทีเลยค่ะอาจารย์พอจะมีคิวว่างบ้างไม๊คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท