Lesson study ครั้งที่ ๔


Lesson study ครั้งที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านโป่ง

     ครั้งนี้ครั้งที่ ๔ แล้วครับ Lesson study ที่โรงเรียนบ้านโป่ง  อำเภอเขาสมิง   เมื่อเช้านี้เองครับ  ประมาณ แปดโมงครึ่ง

 

                    

         ทั้งผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ และ คณะครู  คณิคศาสตร์   ครูผู้สอนชั้นป ๖  นำเสนอแผนก่อนสอน

 

  

 

   ผมได้ไปร่วมสนทนาแผนก่อนสอน วันนี้ สอนเรื่องการหา หรม. ชั้น ป๖    

 

        

                       บรรยากาศการสอนจริงสอนจริง                  

การสังเกตการสอน ผม ผู้บริหารและคณะครู    

 วันนี้ มีข้อสังเกตหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์เรื่องการเรียนการสอนครับ       

 ๑. จากผู้อำนวยการโรงเรียน   ท่านพูดถึงการบริหารกระดานดำ   บอกว่า  เรื่องที่เรียนไปแล้ว  ไม่น่าจะลบ  น่าจะเก็บไว้ให้เด็กอ่อน เด็กปานกลาง  ไว้ได้กลับมาทบทวนได้  ครูบอกว่าตัวอย่างมาก ถ้าไม่ลบ  จะไม่มีที่ให้เขียน  ผอ.บอกว่า ยังไงก็ขอให้บริหารกระดาน แบ่งไว้ส่วนหนึ่ง 

๒. จากท่าน รอง ผู้อำนวยการโรงเรียน  ท่านบอกว่า การหา ห.ร.ม.  หาได้ ๓ วิธี  ท้ายที่สุด น่าจะมีแนวทางว่า  จะใช้วิธีใหน ที่เหมาะที่สุด สำหรับเด็กแต่ละคน 

๓. จากครูผู้สอน  บอกว่าการหา หรม. โดยการหาร  ไม่จำเป็นต้องเอาตัวเลขน้อยที่สุดหาร  เอาเลขมากที่สุดเลย มาหารก็ได้  ถ้าหารลงตัวทั้งสามจำนวน เช่น  ๓๐   ๖๐   ๙๐   เอา ๑๐ มาหารเลยก็ได้  แต่คุณครูผู้สอนบอกว่า ในคู่มือ บอกให้เอาเลขน้อย มาหาร (เลขน้อย คือ เลขที่ไม่สามารถแยกตัวประกอบได้อีก)

๔. สำหรับตัวผมเอง  ผมก็ได้ให้ความคิดเห็นก่อนสอนไปว่า  ในกิจกรรมที่บอกว่า "ครูแนะนำ" ให้เปลี่ยนมาเป็น "ครูถาม"   คุณครูก็ทำตามที่ผมบอกไว้ครับ และพบว่า  ครูไม่แนะนำ แต่เปลี่ยนมาเป็น ถาม   เด็กก็สามารถตอบได้ครับ  และอีกประเด็นสำหรับผมหลังจากการสอนเสร็จ คือ  ฝากดูการคิดของเด็กอ่อน เด็กปานกลางด้วย เพราะรู้สึกว่า จะมีแต่เด็กเก่งเท่านั้นที่เรียนรู้  ไม่ทราบว่าเด็กอ่อน เขาคิดตามหรือเปล่า

๕. คุณครูผู้สอนบอกเป็นห่วงเรื่องสูตรคูณ  เด็กบางคนไม่ได้สูตรคูณ  ไม่สามารถเรียนเรื่อง หรม.ได้  ก็มีการพิจารณาเรื่อง การท่องสูตรคูณ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ครูเพื่อศิษย์
หมายเลขบันทึก: 472977เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2011 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชอบกิจกรรมแบบนี้ครับ เห็นการพัฒนาการเรียนการสอนจากชั้นเรียน ขอบคุณครับ...

กำลังอยากทบทวนเรื่อง หรม.อยู่พอดีค่ะอาจาย์ อยากให้อธิบายข้อ 3. เป็นวิทยาทานด้วยจักขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

อ.ขจิต ครับ ขอบคุณมากครับวำหรับกำลังใจ

น้องแม่น้ำครับ

   ข้ิอสาม  ขอตอบแบบความน่าจะเป็นก่อนนะครับ กรุณาอย่านำไปอ้างอิง  ในคู่มือครู  บอกให้นำเลขน้อยมาหาร  แต่วิธีทำจริงๆ นำเลขมากมาหารก็ได้ (เลขน้อยเลขมาก เป็นภาษาพูดของผมเองครับ) ถ้าหารลงตัวทั้งสามเลข

   เท่าที่สอบถามดู  กับคุณครูที่สอนบอกว่า ที่ต้องเอาเลขน้อยมาหาร   เพื่อ  ๑.  เพื่ือความรอบคอบ ความเข้าใจ  ความถูกต้อง  ๒. บางที มันมีอะไรซ่อนอยู่ในเลขน้อย  โจทย์บางอย่าง  ต้องใช้เลขน้อย ในการมองให้เห็นความแตกต่าง  ๓. ถ้านอกเหนือจาก ข้อ ๑  ข้อ ๒   ก็ใช้เลขมาก หารได้เลย

    ยังไม่ขอยืนยันความถูกต้องนะครับ  เพราะผมเองก็ไม่รู้จริง

                          ขอบคุณครับ

  • ได้เห็นภาพของจริง รวมทั้งข้อสังเกตของทุกท่านแล้ว ชื่นชมมากครับ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน การนิเทศ หรือการปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ถ้าจะให้ประสบผลสำเร็จอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการ อาจไม่ต้องคิดให้ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือใหญ่โตอะไรนักอย่างที่ผ่านๆมาดอกนะครับ 
  • ขอบคุณตัวอย่างการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อตัวผู้เรียนอันสำคัญนี้ครับ

ขอบพระคุณสำหรับความกระจ่างอีกมุมหนึ่งค่ะอาจารย์ สวัสดีปีใหม่พรุ่งนี้ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะท่านอาจารย์


อ.ธนิตย์ ครับ

   ขอบคุณมากเฃยครับสำหรับความคิดเห็นที่ว่า ถ้าจะปฎิรูปการศึกษา  ไม่ต้องไปคิดอะไรให้ยุ่งยากใหญ่โต ซับซ้อน

   การนิเทศแบบง่ายๆ เป็นกันเอง ไม่ต้องมีรูปแบบ  ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมาก ใช้ "ใจ" อย่างเดียวครับ

   ที่ผมกล้าทำตรงนี้  เพราะทำเพื่อ "เด็ก" ครับ  คุณครูบางท่่านถามว่า ทำเพื่ออะไร  ผมก็ตอบไปว่า  "ทำเพื่อเด็ก"   ทำเพื่อพัฒนาเด็ก   คุณครูถามว่า  ไม่ทำได้ไหม  ผมบอกว่า  ผมก็ตอบไปว่า  ถ้าไม่ต้องการพัฒนาเด็ก จะไม่ทำก็ได้ ๕๕๕  ขอบคุณครับ

คุณแม่น้ำครับ ยังไงแล้วผมจะเอาคำตอบที่ถูกต้องมาบอกอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณมนัสดา

    เป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่เลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท