เรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ "เรียนรู้สถิติที่โรงอาหาร" (2)


ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงและเห็นคุณค่าของการเรียนคณิตศาสตร์ว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

นำเรื่องเล่าครูเพื่อศิษย์จากเวทีที่ 1 มาลงต่อนะค่ะ เป็นเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม 

"คุณครูผู้สอนสาระคณิตศาสตร์ชั้น ม.5  หน่วยสถิติ  ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยากแก่การเข้าใจต่อผู้เรียน  คุณครูมองเห็นปัญหาจากโรงอาหาร ซึ่งจะมีการรับประทานอาหารเหลือในจาน ทำไมจึงรับประทานไม่หมด ? ปล่อยให้สุนัขมาเลียจานอาหาร ทั้งยังมีนกพิราบมาจิกกินตลอดเวลา

คุณครูจึงออกแบบจัดการเรียนรู้โดยการจัดกลุ่มเด็กออกสำรวจ และเด็กให้คำแนะนำแก่เพื่อนๆ แต่ก็พบอุปสรรคเพราะเด็กพูดแนะนำ เด็กไม่ยอมฟังกัน ครูจึงแนะนำให้ถ่ายภาพสุนัขเลียจาน, นกจิกกินอาหาร ฯลฯ ฉายภาพให้นักเรียนดู จึงเกิดการยอมรับ

จากการผ่านอุปสรรคมาได้ เด็กจึงเรียนรู้จากกิจกรรมอย่างสนุก  โดยมีคุณครูคอยเชื่อมโยงเนื้อหา ให้คำแนะนำ สอบถาม และบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

เมื่อครบหน่วยการเรียนรู้ ครูและเด็กร่วมสรุป เชื่อมโยงสู่สถิติในสาระคณิตศาสตร์ ทำให้การเรียนรู้ในหน่วยสถิติจบลงอย่างภาคภูมิใจ  ซึ่งเป็นการเรียนรู้สถิติที่ยาก แต่คุณครูได้จัดการเรียนรู้แลชะออกแบบการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและนักเรียนได้เรียนรู้เสมือนการเรียนรู้ด้วยการวิจัย  ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ อ.วาริน ภาคภูมิใจที่ได้จัดการเรียนรู้และได้ดูแลเอาใจใส่เด็กเป็นแบบอย่างที่ดีแถมยังแก้ปัญหาเรื่องนกพิราบและสุนัขมารับประทานอาหารได้"

 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบนี้

 

                1 อยากให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสาระสถิติโดยแทรกซึมในกระบวนการทำงาน

                2 ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์จริง และเห็นคุณค่าของการเรียนคณิตศาสตร์ว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

                3 ให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

ผู้บันทึกเป็นคุณครูจากโรงเรียนวัดหัวฝาย จังหวัดลำปาง

จากการที่คุณครูคณิตศาสตร์ท่านนี้ ให้นักเรียนได้ลองเชื่อมโยงปัญหารอบตัวกับสาระวิชาคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของทักษะในศตวรรษที่ 21  การที่นักเรียนได้ลองฝึกการคิดนอกกรอบที่สามารถนำมาเรียนรู้รวมกับสาระวิชาหลัก เป็นการเรียนรู้ที่สามารถนำปัญหาหรือกิจกรรมรอบตัวมาปรับใช้พร้อมทั้งเรียนรู้ที่จะนำสาระวิชามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมไปถึงการเรียนรู้ที่จะทำงานกับเพื่อนๆ ได้รู้จักการแก้ปัญหาเมื่อเจออุปสรรค การเก็บข้อมูลต่างๆ ฯลฯ

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพียง 1 กิจกรรม สามารถทำให้นักเรียนได้ทักษะและประสบการณ์จริงติดตัวที่จะนำไปใช้ได้ในอนาคต ที่เด็กในศตวรรษที่ 21 ต้องมี  

หมายเลขบันทึก: 472847เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2011 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ถ้ากระบวนการเรียนรู้นั้น เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง นักเรียนจะสนุก และให้ความสนใจเป็นพิเศษเลยนะครับ 
  • ขอบคุณตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ดีๆนี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท