การบ้านส่งคุณพนัส มมส. (ต่อ 3)


เรียน คุณพนัส ที่นับถือ

สำหรับผลลัพธ์และภาพสะท้อนจากนิสิต อาจารย์/บุคลากร และชุมชน ขอสังเคราะห์จากประสบการณ์กับบ้านห้วยชัน ซึ่งได้เขียนเรื่องเล่าไว้แล้วทั้งหมดที่นี่ ไว้เป็นข้อๆ ดังนี้ 

1) นิสิตที่เดินทางไปร่วมกิจกรรม ที่บ้านห้วยชัน (และทั้งที่บ้านดอนยม) จำนวนประมาณ 200 คน แต่ละคนรู้จักแบบประจักษ์ด้วยตนเอง ว่า บ้านห้วยชันและบ้านดอนยม ตั้งอยู่ที่ไหน รับรู้สภาพความเป็นอยู่ บ้านเรือน ความเดือดร้อนของชาวบ้าน (บ้านห้วยชันอ่านได้ที่นี่ บ้านดอนยมอ่านได้ที่นี่)

2) มีการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของบุคลากรท่านหนึ่ง (สมมติชื่อ ก.) ที่เห็นได้ชัดเจน คุณ ก. ไม่ได้ร่วมในโครงการฯ ในหนึ่งปีที่ผ่านมา แต่ท่านรู้จักกับ อาจารย์ท่านหนึ่ง (สมมติชื่อ ข.) ที่เป็นทีมทำงานของเรา พอมาถึงปีนี้ คุณ ก. หันมาเสนอโครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน และประสบผลสำเร็จอย่างสวยงามยิ่ง ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการ (ไม่ตี)พิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ ซึ่งผมจะนำมาโพสท์ต่อไปครับ

3) บุคลากรจำนวน 5 ท่าน ได้เรียนรู้ร่วมกับชาวบ้านห้วยชัน จนรู้สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน ห้วยชัน เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้

     3.1) น้ำท่วม เนื่องจากหมู่บ้านห้วยชันอยู่ติดกับลำน้ำชี และช่วงบริเวณที่ลำน้ำชีไหลผ่านบ้านห้วยชันนั้น ไม่มีคันกั้นน้ำเลยซึ่งยาวประมาณ 20 กโลเมตร (ข้อมูลฟังจากชาวบ้าน) แต่เหนือบริเวณนี้ไป มีค้นดินกั้นน้ำ ทำให้น้ำปริมาณมากที่ไหลมาจากเขื่อนจฬาภรณ์ที่ชัยภูมิ และเขื่อนอุบลรัตน์ที่ขอนแก่น ล้นท่วมไร่นาเสียหายทั้งหมดติดต่อกัน 2 ปี และก่อนหน้านี้ก็ท่วมเกือบทุกๆ 2-3 ปี นอกจากนี้น้ำท่วมยังก่อนปัญหาตามมาอีกมากมาย อย่างหนึ่งที่คณะวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยเหลือ คือการจัดทำส้วมสาธารณะ 2 ห้อง ไว้ตรงเนินกลางหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าน้ำในปีถัดไปจะท่วมอีกหากไม่มีการสร้างคันกั้นน้ำ แต่ชาวบ้านก็จะมีที่ปลดทุกข์ที่ดีกว่าเดิมหลายเท่านัก

     3.2) ปัญหาหนี้สิน ความจริงแล้วปัญหานี้เป็นผลมาจากปัญหา 3.1) แต่การขาดอาชีพเสริมที่จะสามารถมาชดเชยความเสียหายจากน้ำท่วม หากส่งเสริมให้ดีน่าจะแก้บรรเทาหนี้สินลงได้บ้าง อย่างน้อยก็ไม่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี  อีกเหตุสำคัญอันหนึ่งหนี้สินคือขาดการจัดการและวินัยการเงินที่ดี ตรงนี้คณะวิทยาศาสตร์พยายามจะเข้าไปพาชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ...... ผมรู้แต่เพียงว่าชาวบ้านต้องทำ... แต่วิธีทำให้เขาทำด้วยตนเองยังไม่พบ

     3.3) ปัญหาขาดองค์ความรู้หรือหลักวิชาการในการทำนา หรือเกษตรกรรมอื่นๆ ในข้อนี้ อ.ดร.มัณฑนา กำลังลุยต่อไปในปี 2555 นี้ ในโครงการ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน

4) ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราทำมาทั้งหมดตลอดปี 2554 จะถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหมด แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นผลลัพธ์อันล้ำค่า คือ เรา "ได้ใจ" ชาวบ้านห้วยชัน โดยเฉพาะผู้ใหญ่นิคมและผู้ช่วยผู้ใหญ่ฯ ทั้ง 3 ท่าน ถึงแม้ว่า ความร่วมมือจากชาวบ้านจริงๆ จะยังน้อยอยู่

ผู้สนใจอยากจะลงไปช่วยเหลือชาวบ้านห้วยชัน สามารถติดต่อผู้ใหญ่นิคมได้ที่ 0810503409 โอกาสดีอาจจะพบกันที่เนินกลางบ้านครับ

หมายเลขบันทึก: 472830เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2011 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณครับ
ผมกำลังศึกษาและสังเคราะห์ สู่การเรียบเรียง ...

ขอบพระคุณมากๆ นะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท