Civil Society : สามารถจัดการกับภาวะวิกฤติได้ดีเพียงใด


ประชาสังคมกับการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

Civil Society :  สามารถจัดการกับภาวะวิกฤติได้ดีเพียงใด

(สรุปการเรียนรู้รั้งที่ 7 Roles of Civil Society Organization: CSO)
    

นั่งมองดูลูกที่บ้าน เห็นสุขสบายก็ดีใจ  เดินผ่านทีวี  เห็นคนอ่านข่าวที่ช่วงนี้ “แผ่ว” ลงบ้างเพราะวิกฤติ “มหาอุทกภัย” กลับสู่ภาวะฟื้นฟู  แต่ชั่วโมงเร่งด่วนของ “แม่บ้าน” ทำให้ต้องออกแรงขับเคี่ยวเพื่อสู้อากาศหนาว และตาม “เวลา”ให้ทัน

ขับรถออกจากบ้าน “รถติด” นิดหน่อย พอให้ได้ทบทวนภาพวันวาน ที่ได้รับรู้เรื่องราว “Autism made in the USA”  ( http://www.youtube.com/watch?v=Scl2rrq7hCY) จากวีดีโอที่ท่านอาจารย์ได้ตั้งเป็นโจทย์ให้เราได้คิดและแลกเปลี่ยนมุมมองต่อกัน ทำให้หลายคนพูดว่า ถ้ามีลูก จะกล้าให้ฉีดวัคซีนหรือไม่ และ “คนทำงาน” อย่างเรา ที่เคย  “ปั่น”ยอดสุดชีวิตในแตะละปี  เพื่อให้ทะลุเป้า ต้องใช้หลากหลายกลยุทธ แต่เมื่อมีประเด็นว่า “วัคซีนกับโรคออทิสติก มีความสัมพันธ์กัน” จากส่วนประกอบของวัคซีนที่มี “ปรอท” ซึ่งมีผลโดยตรงต่อระบบประสาท  หลักฐานเชิงประจักษ์มีมากมายแต่ไม่สามารถต่อยอด หรือเผยแพร่ให้สาธารณะได้รับรู้จาก “ผลประโยชน์ทางธุรกิจ” รู้สึกช็อคเล็กๆ และถามกันว่า จริงหรือ เป็นไปได้หรือ ทำไม  นี่คงเป็นอีกโจทย์หนึ่งที่นักศึกษาอย่างเราคงต้อง ตั้งเป็นคำถามที่ไม่เคยได้ยิน และหาคำตอบโดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ดี ชื่นชมวัฒนธรรมคนตะวันตกที่มีความพยายามจะสืบเสาะหาความจริง ต่อสู้ แต่ไม่เดียวดาย  โดยคิดถึงผลที่เกิดต่อ “สังคม” ในระยะยาว

        ในบ้านเมืองเราใช้ “ประชาสังคมสังคม”หรือ “Civil society” เข้ามาจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นประเด็น “สาธารณะ” อย่างน่าชื่นชมหลายครั้ง โดยบางครั้งอาจใช้พลังในทางที่นึกถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลบางกลุ่ม แต่ทำให้เห็นว่า หากมีบุคคล หรือกลไก หรือกระบวนการที่แสดงเอกลักษณ์ที่ทำให้เห็นหรือเชื่อว่า เป็นพวกเดียวกัน (นิธิ  เอียวศรีวงศ์) มีวัตถุประสงค์และอุดมคติร่วมกัน แสดงความเอื้ออาทรต่อกัน (ประเวศ  วะสี)  ทำให้สามารถจัดการปัญหาหรือข้อเรียกร้องต่างๆอย่างได้ผล ทำให้คิดต่อไปว่า ทำอย่างไร พลังเหล่านี้จึงจะเกิดจากแนวคิด อุดมการณ์ที่มีเจตนานึกถึง “ ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่” หรือ “การขับเคลื่อนที่เกิดจากประเด็นสาธารณะ การรู้เท่าทันสื่อ  มีการรวมตัวจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)  ที่มีจิดอาสาสาธารณะ  เพื่อร่วมกันทำในสิ่งที่ดี..อย่างแท้จริง “ 

ข่าวน้ำท่วม โคลนถล่ม พายุ แผ่นดินไหวผ่านสื่อมาเป็นระยะ ทำให้ต้องหากิจกรรมที่ช่วยกลบเกลื่อนความเศร้าไปด้วย  คำถามในใจที่ตอบโจทย์ลำบากเช่น “ทำไม..ไม่ให้ในสิ่งที่ดี มีคุณค่าต่อการจดจำต่อกัน ทำไมไม่รู้จักพอ  ..ทำไมไม่เรียนรู้เสียทีว่า..สิ่งที่เรากอบโกยโดยไม่นึกถึงผลเสียที่จะกระทบต่อสังคม..กำลังตอบสนองเราอย่างไม่ปราณี.... คงต้องมานั่งเตือนตัวเอง ครอบครัวหรือช่วยสังคมเท่าที่มีโอกาส และมีส่วนร่วมเพื่อเป็นกลไกเชิงสังคม ที่จะเคลื่อนไหวในสิ่งที่ควรจะเป็นต่อไป

ดย ราณี วงศ์คงเดช  24/12/2554

ถ่ายทอดและจุดประกายแนวคิดจาก ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์

คำสำคัญ (Tags): #civil society#ประชาสังคม
หมายเลขบันทึก: 472281เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท