ติดความรู้ให้กับแผนและการขับเคลื่อนภาคประชาสังคม


Strategic planning and Civil society organization

จากสัปดาห์ที่แล้วที่ได้พูดถึงเรื่องนโยบายสาธารณะ กับการพัฒนาระบบสุขภาพคนไทย สัปดาห์นี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและองค์กรภาคประชาสังคม   จากเดิมทิศทางการพัฒนา   ถูกกำหนดโดยระดับโลก  ทุนนิยมในโลก กลไกตลาด  คนในยุโรปอเมริกาที่รู้ทัน กำลังพยายามหาทางเลือก และใช้การตลาดทุนนิยมที่ควบคุมได้โดยประชาชน  ต้องเริ่มหาสาเหตุแห่งความสูญเสีย  ข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนจะต้องน่าเชื่อถือ แหล่งที่มาชัดเจน และเก็บข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เพราะการเปลี่ยนแปลงของระบบบริโภคในโลก ทำให้การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น  เกิดภัยพิบัติ และภาวะโลกร้อน  และมีการเจ็บป่วยเกินความจำเป็น  เพราะการพัฒนาที่ไม่สมดุล ไม่ยั่งยืน ทำลายทรัพยากร ทำลายสังคมมีนโยบายสาธารณะที่ไม่ดี  ทางออกของปัญหา ต้องเริ่มตั้งแต่ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ  Individual lifestyle factors  Social  and community  เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม  สร้างสมดุลการพัฒนา และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง  นำไปสู่ทางสายกลาง  และเศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน อาศัยเงื่อนไขความรู้  รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง  เงื่อนไขคุณธรรม  ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน เพียร มีสติ ปัญญา

สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

           จะเห็นได้ว่าเหลี่ยมแรกจะเริ่มด้วยความรู้  เมื่อเราต้องการขับเคลื่อนการพัฒนา หรือสร้างแผนยุทธศาสตร์ จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเป็นจุดเริ่มเสมอ ปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันก็คือ การได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง แยกส่วน เฉือนเอาประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการค้า หรือเศรษฐกิจเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์   ดังนั้นเมื่อสร้างความรู้ได้แล้ว  ก็จะเลื่อนไปที่เหลี่ยมที่สองก็คือ การเคลื่อนไหวทางสังคม  ใช้องค์กรภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนช่วย การพัฒนาที่ผ่าน ประสบความสำเร็จมากมายจากการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่ การปฏิรูประบบสุขภาพ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ก่อให้เกิดองค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็งขึ้นมากมายในยุคนั้น  เหลี่ยมที่สาม หลังจากเคลื่อนไหวทางสังคม จำเป็นที่จะต้องมีอำนาจทางการเมือง ในการที่จะใช้สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาต่างๆในประเทศ 

House of Number  เป็นวีดีโอที่นำมาเรียนรู้ในคาบเรียนนี้  คำถามที่น่าตกใจคำถามแรกก็คือ  HIV  คืออะไร  โรคเอดส์คืออะไร?  แล้ววิธีการที่เรากำลังรักษาอยู่นี้มันถูกต้องหรือไม่? สาระสำคัญก็คือการพยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษา นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาเรียนรู้ถึงการสร้างแผนยุทธศาสตร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยองค์ความรู้ หรือข้อมูลที่ถูกต้อง  เพื่อนำไปวางแผนการทำงาน หากความรู้ หรือข้อมูลที่ได้รับ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เมื่อถูกขับเคลื่อนไปเป็นแผนระดับชาติ ระดับโลก หรือนโยบายสาธารณะ ก็จะทำให้เกิดภัยร้ายต่อผู้คนตามมา  มีประโยคหนึ่งในนี้ที่น่าสนใจ  “this is the beginning of a war...a war to reclaim our health”  นี่เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม ... สงครามที่เรียกคืนสุขภาพของพวกเรา ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า พลังของภาคประชาสังคม ...ก็ยังคงพร้อมที่จะลุกฮือ เพื่อเรียกคืนคุณภาพชีวิต และมันคงจะดีกว่า ถ้าภาครัฐ เอกชน และผู้ที่กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ หันมาร่วมมือร่วมใจ...พัฒนาไปพร้อมๆกัน

ผู้สอน : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 471827เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2011 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หวัดดีจ้ะคุณมายา มีดอกบานชื่นสวย ๆ มาฝากคุณด้วยเป็นการขอบคุณที่กรุณาไปทักทายกันจ้ะ

อ่ะ...ดีจัง เหมือนได้เรียนไปด้วย

ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมเยียนค่ะ คุณหมอ

รบกวนขอคำชี้แนะด้วยนะคะ จะได้มีประเด็นคิดต่อ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้่ต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท