โครงการวิจัยโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)


ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นำคณะเข้าหารือเรื่องโครงการวิจัยโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากับคุณนเร เหล่าวิชยา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและคณะ

มีสาระสำคัญดังนี้

คุณนเร เหล่าวิชยา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากล่าวว่า

  • ควรทำวิจัยเรื่องจะเกิดอะไรขึ้นกับการท่องเที่ยวและการกีฬา และควรจะทำอย่างไร ต้องการงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  • ควรจะมีสถานศึกษามาร่วมทำวิจัยด้วย
  • กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อรองรับ AEC
  • ปีนี้ได้รับงบฝึกอบรมรองรับแล้วพอสมควร มีหลักสูตรด้านท่องเที่ยวมารองรับ AEC สำหรับ 32 กลุ่มอาชีพที่จะเปิดเสรี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงานทำด้วย
  • เมื่อทำวิจัยนี้เสร็จแล้วจะนำเสนอต่อคณะกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า

  • ในการทำวิจัยควรมองสมมติฐานว่า AEC ยังไม่เกิด แต่เราต้องมีการเตรียมตัวให้ภาคการท่องเที่ยวและกีฬา
  • ผมเคยมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อวิจัยเรื่องนี้คือการทำวิจัยภาพรวมการท่องเที่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ของ GMS (Human Resources in GMS Tourism Sector) และโครงการวิจัยยูเนสโก ซึ่งมี Impact สูง
  • นอกจากนี้ ผมยังเคยจัดโครงการฝึกอบรมให้ GMS และทำงานร่วมกับ Mr. Mason Florence ของ Mekong Tourism ถือว่ามีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวแล้ว
  • มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเคยจัดโครงการฝึกอบรมให้กับประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงในยุคดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์เป็นปลัดกระทรวง
  • เพื่อให้ได้ประโยชน์ ควรจะมีการฝึกอบรมด้วย โดยเฉพาะฝึกผู้บริหารระดับกลางของไทยเพื่อขึ้นสู่ระดับสูง
  • โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานี้ จะครอบคลุมทั้งด้านการท่องเที่ยวและกีฬาด้วย ทำเป็น Futuristic Study มีการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการระดมสมอง Survey เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำแบบมี Impact เสร็จภายใน 4 เดือน
  • จะขอให้คุณนเร เหล่าวิชยา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยนี้ด้วย
  • สัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะวิจัยของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศเพื่อดำเนินโครงการนี้ และจะขอเชิญคณะของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามาร่วมประชุมด้วย
  • หลังจากวิจัยครั้งนี้ ควรจะนำผลวิจัยไปทำเป็นหนังสือและควรมีการทำวิจัยต่อเนื่อง
  • ประเทศไทยควรเป็น Center for Leadership Training for Tourism Sector
  • ควรเชิญมหาวิทยาลัยคอร์แนลมาร่วมมือในโครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศไทย
  • ควรจะนำคนจากประเทศจีนและอินเดียมาร่วมมือโครงการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวด้วย

หมายเลขบันทึก: 471213เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2011 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ตรงกับท่านอาจารย์จริง ๆ ครับ

ประชุมคณะวิจัยครั้งที่ 1

โครงการทำวิจัย ผลกระทบ AEC กับการท่องเที่ยว

วันพุธที่ 21ธันวาคม 2554 ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ภาพบรรยากาศการอวยพรปีใหม่คุณนเร เหล่าวิชยา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหารือการดำเนินโครงการวิจัย : โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ด้านการท่องเที่ยว ในวันพุธที่ 18 มกราคม 2555 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

สรุปการประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัย :

โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

ด้านการท่องเที่ยว

วันพุธที่ 18 มกราคม 2555

ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ต้องเริ่มทำ Focus Group ก่อน เพราะไม่ต้องรอ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มี Connection กับผู้นำชุมชนและหอการค้า สามารถทำงานลงลึกได้ง่าย

คุณนเร เหล่าวิชยา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

  • อยากกระตุ้นให้คนสนใจกีฬา
  • อยากให้วิจัยบอกว่า กระทรวงการท่องเที่ยวต้องเสริมเรื่องอะไร
  • ได้หารือกับกระทรวงแรงงานแล้วว่า ต้องจัดฝึกอบรมภาษาต่างประเทศ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ถ้าเลือก Sector ที่เกี่ยวข้องกับท่องเที่ยวแล้วต้องนำตัวแทนมาร่วม Focus Group โครงการวิจัยด้วย เช่น ผู้นำท้องถิ่น ภาคการคมนาคมขนส่ง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ในการพัฒนาพนักงานระดับล่างของภาคการท่องเที่ยว ควรฝึกให้เขากล้าที่จะพูดภาษาต่างประเทศ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

  • ภัยคุกคามของการท่องเที่ยวคือด้านสิ่งแวดล้อม ถ้านำตัวเลขมาคำนวณ
  • จะเชิญผู้แทนพม่ามาเยี่ยมผอ.นเรที่นี่เมื่อเขามาดูงานที่ประเทศไทย
  • จะเริ่มโครงการวิจัย 15 กุมภาพันธ์ และจะเชิญผอ.นเรไปร่วม Focus Group ด้วย
  • ในการสัมภาษณ์เชิงลึก จะสัมภาษณ์ 5 คนคือ

1.อาจารย์เสรี วังส์ไพจิตร

2.คุณภราเดช พยัฆวิเชียร

3.ผู้ว่าการททท. คนปัจจุบัน

4.ผู้แทน PATA

5.คุณนิพนธ์ (ผลิตเสื้อฟุตบอลให้ทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)

 

ติดตามสาระสำคัญของ Focus Group ที่ผ่านมา

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/494663

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ สถาบันวิจัยเเละพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/493727

Focus Group ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา (ภาคตะวันออก) เมืองพัทยา ชลบุรีhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/493394

Focus Group โครงการวิจัยของกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ณ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492836

สัมมนาระดมความคิดเห็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)”

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/490673

การประชุม Focus Group ด้านการท่องเที่ยว

โครงการวิจัย: โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การประชุม Focus Group ด้านการกีฬา

โครงการวิจัย: โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การประชุม Focus Group ด้านการท่องเที่ยว (ภาคกลาง)

โครงการวิจัย: โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ

ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

วันที่ 26 มิถุนายน 2555

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

1.สถานการณ์ปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวไทย กับสถานการณ์ท่องเที่ยวในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ควรนำจำนวนนักท่องเที่ยวของอาเซียนแต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย  ทั้งที่มาไทย และจากไทยไปประเทศอื่นๆในอาเซียน โดยนำตัวเลขมาจากกรมการท่องเที่ยว
  • ในด้านสถานที่ท่องเที่ยว Sun, Sea, Sand ประเทศไทยแข่งกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย (บาหลี) ทะเลอันดามันไทยสวย แต่ประเทศอื่นก็มีทะเลสวยเหมือนกัน

คุณปาริชาติ บริสุทธิ์ สื่อมวลชนและ Event Management

  • แต่ละประเทศก็มีสถานที่ท่องเที่ยว แต่นักท่องเที่ยวชาติตะวันตกมาประเทศไทยเพราะชอบบริการที่ประทับใจ

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ความบริสุทธิ์ของแหล่งท่องเที่ยวไทยมีน้อยลง
  • แต่ประเทศไทยมีความพร้อมมากกว่า เปิดกว้างกว่าและมีข้อจำกัดน้อยกว่าประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย ทำให้มีโอกาสที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากขึ้น

คุณกรพชร สุขเสริม กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ประเทศไทยควรวางแผนสร้างแผนสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆหรือหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆมาแทนที่

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • สถานที่ท่องเที่ยวประเทศไทยไม่แพ้ประเทศอื่น มีความพร้อมและอำนวยความสะดวกมากกว่า มีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวไม่ด้อยกว่าประเทศอื่น แต่สถานที่ท่องเที่ยวประเทศไทยเสื่อมโทรมลงเพราะไม่ดูแล
  • ประเทศเมียนม่าร์และเวียดนามยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่บริสุทธิ์เพราะเพิ่งเปิดประเทศ

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ต้องดูจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศในอาเซียนด้วยกันและจากนอกอาเซียน
  • ควรหาข้อมูลวิเคราะห์ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เกี่ยวกับแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยว
  • ควรมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ประกอบการและประชาชน ท้องถิ่น ชุมชน ลูกจ้างและรัฐ

2.ความพร้อมและความเป็นมืออาชีพของบุคลากรทางการท่องเที่ยว

คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • พนักงานชาวไทยต้องได้รับการพัฒนาอีกพอสมควรตั้งแต่ระดับพนักงานต้อนรับ
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนักศึกษา 4 ชั้นปีรวม 5,557 คน แต่การให้การศึกษาแก่นักศึกษายังขาดความพร้อมเพราะภาครัฐสนับสนุนน้อย ไม่ให้ตึก แต่ให้คอมพิวเตอร์ก่อน ทำให้มีห้องฝึกพ่อบ้านแม่บ้านแค่ 2 ห้อง

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ในด้านโรงแรม มีผู้ประกอบการที่ทำถูกกฎหมาย 50% และผู้ประกอบการที่ทำไม่ถูกกฎหมาย 50%
  • อยากสนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำถูกกฎหมาย แต่ติดพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กฎหมายท้องถิ่น กฎหมายสิ่งแวดล้อมต่างๆ ท้องถิ่นพยายามให้ใบอนุญาตแบบไม่ต้องขออนุญาตเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่นให้ก่อสร้างเป็นหอพัก อพาร์ตเม้นต์แล้วกลายเป็นกิจการโรงแรมราคาถูก
  • พระราชบัญญัติควบคุมอาคารไม่กล้าปล่อยเพราะกลัวไฟไหม้ และถ้ามีปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชนก็ฟ้อง จึงจงใจหลีกเลี่ยงหรือมองว่าเข้มงวดเกินไป
  • ผู้ประกอบการโรงแรมไทยมีความเป็นมืออาชีพและทักษะภาษาอังกฤษดี
  • โรงแรมไทยแข่งกับโรงแรมของประเทศอื่นๆในอาเซียนได้โดยเฉพาะโรงแรมใหญ่ๆ เช่น ดุสิต เซ็ยทารา อนันตารา อมารี
  • แต่รัฐบาลต้องช่วยโรงแรมระดับ SMEs พัฒนา
  • พนักงานไทยมีข้อเสียเรื่องภาษาอังกฤษ พูดได้แต่ไม่กล้าพูด

คุณลัดดาวัลย์ ปานะศุทธะ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต

  • จากประสบการณ์การทำงานโรงแรมมา 35 ปี งานโรงแรม ต้องมีความรู้ เรียนรู้ทีละขั้น
  • จะเป็นผู้บริหารได้ ต้องมีความรู้ครบทุกด้าน ทั้งงานส่วนหน้าและ Back of the House ว่ามีแผนกอะไรบ้าง
  • โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ตแบ่งการทำงานเป็น 3 ผลัดให้พนักงานทำงานแล้วพัก
  • ผู้ประกอบการโรงแรมใหญ่ๆหลายแห่งพยายามลดพนักงาน
  • พนักงานต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพราะไม่ใช่ว่าจบปริญญาตรีแล้วจะทำงานได้เลย เมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงานก็ต้องเริ่มงานจากแม่บ้านและ F&B ก่อน
  • โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ตรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆมาเรียน 3-6 เดือนก่อนจะเรียนจบ
  • พนักงานต้องมี Service Mind ต้องได้รับการฝึกอบรมด้านนี้ ให้ยิ้มจากใจและยินดีช่วยเหลือทุกคน
  • พนักงานไทยแพ้ประเทศอื่นๆในอาเซียนเรื่องภาษา แต่ความรู้ไม่แพ้ ควรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสและจีน และต้องพัฒนาทุกองค์กรเพราะการบริการต้องมองทุกจุด
  • โรงแรมต้องสอนพนักงานเรื่อง Loyalty และ Sincerity
  • ผู้บริหารต้องรักลูกน้อง ให้ความยุติธรรมแก่พนักงานแล้วพนักงานก็จะรักองค์กร
  • ค่าจ้างโรงแรมได้ขึ้นมาใน 8-10 จังหวัดแล้วเมื่อรัฐบาลประกาศใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท แต่แรงงานฝีมือของโรงแรมจะได้วันละ 500 บาท ถ้าคนทำงานมีความสามารถ ทางโรงแรมก็ยินดีที่จะจ่ายค่าจ้างแพงขึ้น

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • โรงแรมระดับ SMEs ประสบปัญหามาก เมื่อพัฒนาให้พนักงานเก่งแล้ว โรงแรมใหญ่ๆก็แย่งตัวไปทำงานด้วย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ปัญหาตอนนี้คือเจ้าของโรงแรมไม่ใช้มืออาชีพแต่ใช้ลูกหลานและหุ้นส่วนบริหารโรงแรมแทน

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ประเทศไทยพึ่งอิสเมด มีงบจากกระทรวงอุตสาหกรรมมาพัฒนาโรงแรมระดับ SMEs โดยนำเจ้าของโรงแรมและทายาทมาฝึกอบรมเรียนรู้ประสบการณ์ มีการจ้างที่ปรึกษาเข้าไปศึกษาเชิงลึกและช่วยปรับปรุง เป็นโครงการที่ได้ผลแต่ไม่มีงบมาสนับสนุน 2 ปีแล้ว
  • ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเน้นพัฒนาระดับแรงานไม่ใช่ผู้ประกอบการ ต้องการงบสนับสนุนการฝึกอบรมแบบนี้

คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ผู้บริหารวุ่นวายกับการหาลูกค้าเข้าโรงแรมแต่ก็ต้องพยายามปรับตัวในการทำงานเพราะนักท่องเที่ยวหาข้อมูลเองทางอินเตอร์เน็ตแล้ว
  • ส่วนในด้านการศึกษา รัฐบาลเคยออกกฎให้นักศึกษาปริญญาตรีฝึกงาน 4 เดือนที่โรงแรมก่อนเรียนจบ ควรจะดำเนินการให้เร็ว จะได้เกิดผลดีต่อนักศึกษา ควรฝึก 4 สาขาคือ Front Office ครัว แม่บ้าน และ Food Service ตอนนี้รอรัฐบาลสั่งการเพื่อมหาวิทยาลัยจะได้เริ่มทำ

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • บริษัททัวร์เป็นลูกค้าโรงแรม
  • พนักงานโรงแรม 5 ดาวและ 4 ดาวมีทักษะทางภาษาดี แต่พนักงานโรงแรม 3 ดาวลงมาทักษะภาษาไม่ค่อยดี
  • สาเหตุที่ทำให้ภาษาไม่ดีเพราะการศึกษาไทยมีความเป็นไทยมากเกินไป ไม่ค่อยให้เรียนภาษาอังกฤษ ต้องแก้ปัญหาที่รากเหง้าคือระบบการศึกษา ผู้บริหารประเทศควรเน้นภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับโรงเรียน
  • World Travel Service เข้มงวดเรื่องภาษาอังกฤษมาก เวลามีคนมาสมัครเป็นมัคคุเทศก์ ก็ต้องมีการคัดเลือกสัมภาษณ์อย่างเข้มข้น เมื่อเข้ามาแล้วต้องรับการฝึกเป็นเวลา 3 เดือน มีการสอนจริยธรรมมัคคุเทศก์ไม่ให้เห็นแก่เงินเป็นหลักเพราะจะทำลายประเทศ
  • ตอนที่ยังทำงานเป็นมัคคุเทศก์ คนลาวและคนเวียดนามบอกว่า มัคคุเทศก์ไทยมีความรู้มาก น่ารักมาก ดังนั้นต้องไม่หยุดการเรียนรู้
  • เจ้าของธุรกิจก็ต้องคิดถึงประเทศไทย และสร้างคนให้มีคุณภาพ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ในอนาคต อาจจะมีผู้ประกอบการต่างชาติมาใช้บริษัทไทยเป็น Nominee ก็ได้ จะทำอย่างไร

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • World Travel Service ไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นเพราะสร้างทายาทมาแล้ว มี Agent เก่าแก่ใช้อยู่
  • บริษัทสามารถอยู่ต่อไปได้เพราะเน้นบริการและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า สะท้อนออกมาหลายด้าน เช่นมีบุคลากรมีคุณภาพ รถสะอาด
  • ประเทศไทยเราสามารถแข่งขันได้ถ้ามีความพร้อมในการบริหารจัดการ
  • World Travel Service จ่ายค่าแรงมัคคุเทศก์วันละ 500 บาท เพราะไม่คิดว่ามัคคุเทศก์ได้ทิปแล้ว รวมแล้วได้เงินเดือนละหลายหมื่นบาท ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดี นอกจากนี้ ก็ต้องสอนให้มัคคุเทศก์รู้จักเก็บเงิน
  • ทางบริษัทก็ได้รับผลกระทบทางการเมืองเหมือนกัน

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • ทุกวันนี้เป็นนวัตกรรมโลก ต้องเข้าใจและปรับตัว เพราะนักท่องเที่ยวใช้อินเตอร์เน็ตหาข้อมูลบริษัททัวร์ บริษัททัวร์จึงต้องเข้า Ground Operator
  • ธุรกิจนี้เป็น Consumer Market เพราะนักท่องเที่ยวกำหนด
  • บริษัทแถวหน้ารู้ล่วงหน้า ปั้น Ground Operator ให้เข้มแข็งทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่ม
  • ถ้า Ground Operator แข็ง มีธุรกิจมากและมีทีม ก็ควรจะร่วมมือกับ Distribution Power หรือเทคโนโลยีเพื่อเปิดช่องทางธุรกิจให้มาก

คุณโสทรินทร์  โชคคติวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมมัคคุเทศก์แห่งประเทศไทย

  • ได้ทำงานให้ภาคการท่องเที่ยวตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย
  • ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ต้องตามให้ทันโลก
  • อินเตอร์เน็ตมีบทบาททำให้คอยากท่องเที่ยวเองมีมากขึ้น ดังนั้น มัคคุเทศก์ต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
  • ได้ไปร่วมประชุมการวางแผนการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้วพบท่านพรศิลป์ ก็ได้เรียนท่านว่า มัคคุเทศก์ไม่เคยได้รับงบเพราะไม่เคยขอได้ คุณพงษ์พันธ์ อดีตนายกสมาคมมัคคุเทศก์ให้เหตุผลว่าไม่ใช่ช่องที่ขอได้ คุณชุมพร จากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้แนะนำให้ขอต่อรองปลัดสมใจที่พัฒนาฝีมือแรงงานเพราะมีงบเร่งด่วน คุณชุมพรก็เตรียมพัฒนามัคคุเทศก์ระดับวีไอพีเพื่อให้เป็นเสาหลักที่เข้มแข็งสำหรับรองรับการเปิดเสรีอาเซียน
  • ปัญหาคือการเรียนภาษา 4-5 วันไม่ได้ผล ควรมีการเรียนต่อเนื่อง  3ปี
  • อย่างไรก็ตามภาษาอังกฤษของคนไทยมีสำเนียงที่ชัดเจนกว่าชาวสิงคโปร์และชาวมาเลเซีย
  • ตอนนั้น อาจารย์เชิดชายจากนิด้าทำวิจัยท่องเที่ยว ระบุว่า ปัญหาคือวิจัยแล้วไม่ได้นำไปใช้ ขาดความต่อเนื่อง
  • อีกปัญหาคือขาดช่องทางเข้าถึงผู้ใหญ่เพื่อของงบพัฒนาคน แต่เมื่อพัฒนาแล้วมัคคุเทศก์จะอยู่แนวหน้าเมื่อเปิดเสรีอาเซียน

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • สมาคมก็ต้องเป็นที่พึ่งคล้ายธนาคารให้ได้ เช่นเวลาสมาชิกตกงาน ก็มีเงินช่วยเหลือ

ดร.กุลเชษฐ์ มงคล Research Manager สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)

  • สสปน.ดูแล MICE ส่วนททท.ดูแลการท่องเที่ยว
  • สสปน.ทำการศึกษามาแล้วว่า เมื่อเปิดเสรีอาเซียนแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อ MICE เท่าไร เพราะ MICE ต้องการส่งเสริมการประชุมให้ต่างชาติเข้ามา เรามีคู่แข่งมานานแล้ว
  • แต่มีปัญหาเรื่องบุคลากรที่มีทักษะภาษาอังกฤษไม่ดีและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

พ.ต.ท.ชูเวช ตำรวจท่องเที่ยว

  • ตำรวจท่องเที่ยวมีความเป็นมืออาชีพ 100% ทำหน้าที่ตำรวจและบริการนักท่องเที่ยว
  • บางครั้งเกิดเหตุกับนักท่องเที่ยวก็เป็นความผิดของทั้งตำรวจและนักท่องเที่ยวร่วมกัน เพราะนักท่องเที่ยวก็ไม่ควรจะไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่นสถานที่คนไทยไปเที่ยวและมีการทะเลาะวิวาทได้ง่าย อีกปัญหาคือนักท่องเที่ยวไม่พร้อมรับฟังกฎระเบียบในประเทศไทย
  • ส่วนในเรื่องกฎหมาย กำลังพัฒนาความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ เช่นคนมาฉ้อโกงในประเทศไทย Call Center นี่คือส่วนที่ตำรวจท่องเที่ยวอำนวยความสะดวกให้ตำรวจอาเซียน เราจะทำสนธิสัญญาความร่วมมือในทางอาญาด้วยเพื่อให้เกิดความง่ายในการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
  • แต่ก่อนตำรวจท่องเที่ยวมีอำนาจในการสอบสวนเหมือนโรงพัก แต่ปัญหาคือ เราไม่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาคือใคร ส่งสำนวนไปถึงไหนอย่างไร แต่ในโรงพักมีการควบคุมสำนวนการสอบสวนชัดเจน ในเดือนหนึ่งๆจะมีคนมาแจ้งความต่อตำรวจท่องเที่ยวที่เป็นคดีจริงๆ 2 ราย นอกจากนั้นก็ไกล่เกลี่ยกันได้ ขอบเขตการทำงานของตำรวจท่องเที่ยวยังไม่ชัดเจน รับผิดชอบพระราชบัญญัติอะไรได้บ้าง โรงพักทำหน้าที่ได้ดีกว่า ตำรวจท่องเที่ยวก็บริการประชาชน ต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับการเมืองท้องถิ่น

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • ต้องทำให้เห็นชัดว่าเราดำเนินการอย่างสุดความสามารถเพื่อสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว เขามองว่ากระบวนการ Proactive อย่างไร การแถลงข่าวมีการดำเนินคดีจริงจังแค่ไหน มีระบบการป้องกันอย่างไร นักท่องเที่ยวสนใจเรื่องนี้มากที่สุด

พ.ต.ท.ชูเวช ตำรวจท่องเที่ยว

  • คนมาสมัครเป็นตำรวจท่องเที่ยวมากแต่เรารับได้น้อยเพราะเขาทำตนเป็นตำรวจเอง เรามีการไล่ออกประจำ
  • บูรณาการลำบากเพราะแยกงานกันทำ องค์กรหนึ่งเป็นรัฐ อีกหน่วยเป็นองค์กรมหาชน ค่าตอบแทนทำให้บูรณาการลำบาก เรามีการเปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการโดยทางการเมือง ช่วงนี้ก็ต้องเชิญกรรมการเป็นชั่วคราว

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • บูรณาการคือปัญหาใหม่ ควรจะบูรณาการอย่างไร

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • นายกรัฐมนตรีต้องรวมคนเก่งๆ 15-20 คนมาอยู่เป็น Focus Group สนับสนุน ทำให้วิธีคิดเปิดกว้าง แก้ไขปัญหาได้ทั้งประเทศ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • มาเฟียเป็นปัญหาต่อนักท่องเที่ยวมากน้อยแค่ไหน

พ.ต.ท.ชูเวช ตำรวจท่องเที่ยว

  • เป็นปัญหาแน่นอน ถ้าชาวต่างชาติตกอยู่ในวังวนของพวกนี้ ก็ต้องเข้าไป จะเดือดร้อนทั้งตำรวจท่องเที่ยว ต.ม.และพื้นที่ทั้งหมด ต้องร่วมกันทำงาน ตอนนี้ตำรวจท่องเที่ยวก็ยังพอดูได้

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • เมื่อเปิดเสรีอาเซียนจะทำให้มีปัญหาสังคม มาเฟียมากขึ้นไหม

พ.ต.ท.ชูเวช ตำรวจท่องเที่ยว

  • เป็นธรรมดา เรามีการหาข่าวอยู่แล้ว

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • มีอีกปัญหาคือ นักท่องเที่ยวถูกคนขับรถตุ๊กตุ๊กบังคับไปซื้อเพชร ทำลายความน่ารักของคนไทย

พ.ต.ท.ชูเวช ตำรวจท่องเที่ยว

  • เราตามไปจับแล้ว แต่เขาเป็นรถรับจ้าง กาบริการท่องเที่ยวเป็นเรื่องถูกต้อง แต่ปัญหาคือเรียกค่าจ้างแพง พาไปซื้อของแพง
  • ต้องมีการขึ้นทะเบียนรถ แต่บางคันไม่ได้ขึ้น เราก็จับปรับ ต้องให้ขนส่งดูเรื่องใบอนุญาต
  • ตำรวจท่องเที่ยวให้ความสะดวกนักท่องเที่ยวเป็นหลัก
  • ตำรวจท่องเที่ยวภาษาอังกฤษก็จะแย่แต่เข้าใจศัพท์กฎหมาย แจ้งข้อหาได้
  • ตำรวจต้องให้ผู้บังคับบัญชาสั่งมา
  • ถ้าไม่มีนักการเมืองทิ้งถิ่นสนับสนุน ปัญหาเหล่านี้เช่น แท็กซี่ป้ายดำ เจ็ตสกีเรียกราคาสูง จะหมดไป
  • ที่เราทำงานช้าเพราะต้องมีหมายค้น การสืบพยานใช้เวลานาน นักท่องเที่ยวกลับก่อน
  • ขอให้มองตำรวจท่องเที่ยวเป็นพันธมิตรกับท่าน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • เอกชนก็ต้องให้ความร่วมมือกับตำรวจ

พ.ต.ท.ชูเวช ตำรวจท่องเที่ยว

  • ปัญหาคือผู้ประกอบการไม่เห็นตำรวจท่องเที่ยวเป็นมิตร

คุณปาริชาติ บริสุทธิ์ สื่อมวลชนและ Event Management

  • ในฐานะสื่อโทรทัศน์ ตอนนี้สื่อดาวเทียมมี 200 ช่อง สามารถออกอากาศทั่วโลกได้เลยหลายร้อยประเทศครอบคลุมทั้งยุโรปและสหรัฐ
  • ต้องมีงบ จะไปของบส่วนที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้ เพราะคู่ค้าแย่งไปหมด แล้วคนที่ทำรายการท่องเที่ยวไม่ได้เงิน พวกที่ได้คือผู้ประกอบการเพราะราชการมีคู่ค้า การกระจายทางดาวเทียมทำยาก
  • เวลามีการจัดกิจกรรมไปถ่ายทำ เราต้องออกเงินเอง แล้วก็โปรยข่าว ไม่เคยติดตาม นำเงินไปจัดเที่ยวแล้วให้เราเขียนข่าว
  • ควรนำไปออกทีวีดาวเทียม

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ควรนำไปบูรณาการอย่างไร

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • สื่อเป็นมาตรฐานในการถ่ายทอดข้อมูล
  • สื่อมักสัมภาษณ์คนที่มีตำแหน่งมากกว่าคนมีประสบการณ์

คุณปาริชาติ บริสุทธิ์ สื่อมวลชนและ Event Management

  • คนไทยไม่ชอบลงทุนด้าน Creative เช่นสื่อ แต่มักลงทุนด้านโครงสร้างเช่น อิฐ ก้องโรงแรม แต่ขายไม่ได้ถ้าไม่มี Creative
  • ต้องบอกเลขานุการของผู้ใหญ่เพราะเป็นบังคับเราสัมภาษณ์ผู้ใหญ่

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • ปัญหาคือคนไทยใช้เด็กขาดประสบการณ์สัมภาษณ์ แต่ต่างประเทศใช้คนแก่สัมภาษณ์จึงถามแบบมีประสบการณ์ ควรจะใช้คนมีประสบการณ์มาเป็นผู้สัมภาษณ์

คุณปาริชาติ บริสุทธิ์ สื่อมวลชนและ Event Management

  • สื่อไม่หาข้อมูลเตรียมตัวให้พร้อม
  • นักการเมืองเอางบททท.ไปสร้างจังหวัดของตนเองแล้วบังคับนักข่าวไปทำข่าวโดยไม่แบ่งรายได้ให้ททท.

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • การสร้างสถานที่เป็นเรื่องดีสำหรับจังหวัด แต่ต้องมองว่านักท่องเที่ยวต้องการอะไร

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ควรจะบูรณาการกีฬากับการท่องเที่ยวอย่างไร

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • อยากรื้อฟื้นกีฬาคนไทยแท้ๆ เช่น ตะกร้อ ว่าวจุฬาปักเป้า เป็นเอกลักษณ์ มวยไทยเรามีประวัติศาสตร์เล่าเรื่อง ควรมีงบประชาสัมพันธ์กีฬาแบบนี้ สุพรรณบุรีเป็นเมืองเก่าแก่สมัยสุโขทัย อยากนำกีฬามาไว้ในการท่องเที่ยว

คุณโสทรินทร์  โชคคติวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมมัคคุเทศก์แห่งประเทศไทย

  • เวลานำเที่ยว ก็พาไปดูกีฬาในจังหวัด เขาก็ร่วมมือกันอยู่แล้ว

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ World Travel Service

  • ต้องมีแหล่งท่องเที่ยวที่ดีและมีการบูรณาการ Monument ด้วย

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ยังไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะนำการท่องเที่ยวและกีฬามารวมกัน

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • บุคลากรด้านการท่องเที่ยวควรมีความรู้ดี พูดจาดี

คุณพรรณนลิน สัชฌุกร ผู้ประสานงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  • การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน่าสนใจมาก มาแรง การท่องเที่ยวและสุขภาพน่าจะไปกันได้ด้วยดี

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • บาสเกตบอลเข้าข่ายอาเซียน

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • หาคนไปดูฟุตบอลไทยยาก เขาจึงนำคนผิวดำมาเล่น กองเชียร์ก็ตามมาดู คนพวกนี้สร้างสีสันทำให้เกมสนุกขึ้น
  • ควรจะบูรณาการการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเพราะเรามีวัฒนธรรมเป็นฐาน
  • ถ้าเปิดเสรีอาเซียน ก็จะมีการแข่งฟุตบอลระหว่างชาติและก็มีกองเชียร์บินมาเชียร์และเที่ยว และจะมี Cross Group Sport
  • คนไทยต้องอย่าแพ้แล้วพาล

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ฟุตบอลดังเพราะเป็นการเมืองและธุรกิจกีฬา
  • การท่องเที่ยวเชิงกีฬาก็ทำได้ทั้งกีฬาไทยและกีฬาสากล

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • ควรถ่ายทอดกติกาเกมการละเล่นของไทยให้นักท่องเที่ยวทราบ เปลี่ยนแปลงกฎของเราให้เป็นโลกทัศน์ระดับนานาชาติ
  • ฟอร์มูล่า วัน มีทีมเรดบูลทำแล้ว ควรดึงกลับมา

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ควรไปศึกษาจากประเทศจีนที่ส่งเสริมให้ไท้เก็ก และเส้าหลินดังได้

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • จุดอ่อนที่สุดคือไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆด้านการท่องเที่ยวไปเสนอนักท่องเที่ยว การแสดงแสง สี เสียงเป็นเรื่องดีแต่ต้องมีประวัติศาสตร์ประกอบ
  • นักท่องเที่ยวปัจจุบันเรียนรู้จากเรา ควรนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

คุณลัดดาวัลย์ ปานะศุทธะ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต

  • ทุกจังหวัดมีของดี แต่ต้องรู้ มีการนำเสนอและร้อยเรียงเป็นเรื่องราว

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ภาครัฐยังด้อยอยู่ ต้องดึงเอกชนมามีส่วนร่วมกำหนดแผนกลยุทธ์

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • ปัญหาคือ ผู้รู้ไม่มีโอกาสได้นำเสนอปัญหา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • เอกชนต้องมองภาพรวมของประเทศเป็นหลัก ต้องนำเสนอภาพรวมในระดับประเทศ

คุณอนุชิดา อังชลีกูร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

  • เรามีการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวแต่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นของตนเอง

คุณอุดม ศรีมหาโชตะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย

  • ภาครัฐมีข้อมูลแต่ยังไม่จัดระเบียบ

คุณพรรณนลิน สัชฌุกร ผู้ประสานงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  • นักศึกษาเรามีไม่มาก คุณภาพการศึกษายังอ่อนแอ เขารู้เรา แต่เราไม่รู้เขา

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ศักยภาพการจัดการด้านชุมชนและประชาชนเป็นอย่างไร

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • การเป็นมัคคุเทศก์ เราก็ต้องประสานงานกับชุมชนให้คนท้องถิ่นรักและหวงแหนวัฒนธรรม ชี้แจงแก่ชุมชนว่า ไม่ควรเห็นแก่เงินจนทำลายวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน เขาต้องมีผู้นำเข้มแข็ง รักถิ่นตนเอง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ชุมชนต้องได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือ

คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • ผู้นำชุมชนยังทำไม่ถูก นำอบต.ไปออกโรดโชว์ แต่ไม่มีความรู้ด้านการท่องเที่ยว

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย World Travel Service

  • ต้องถามฝรั่งว่าประทับใจอะไร เขาชอบพระบรมมหาราชวัง มีการนำเสนอข้อมูลถูกต้องและประทับใจ ชาวต่างชาติชอบคลองกทม. ควรนำนำคนมีความรู้ดีไปดำเนินการ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • ความร่วมมือกับอาเซียนควรเป็นอย่างไร

คุณวิสูตร เทศสมบูรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  • การร่วมมือกับอาเซียน ต้องมีมาตรฐานแต่ละประเทศก่อน แล้วร่วมมือกันสร้างมาตรฐานอาเซียน

ม.ล.เพ็ชรี สุขสวัสดิ์ World Travel Service

  • ต้องทำงานอย่างเกื้อหนุนกัน

ม.ล.หทัยชนก กฤดากร General Manager-Corporate Affairs Thailand/Cambodia/Laos &

Vietnam Accor Asia Pacific Corporation และที่ปรึกษาโครงการ

  • ต้องนำความพอใจของทุกฝ่ายมาทำงานร่วมกัน

การประชุม Focus Group ด้านการกีฬา (ภาคกลาง)

โครงการวิจัย: โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ

ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

วันที่ 26 มิถุนายน 2555

ณ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • กีฬาเป็นการศึกษา ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์โลก เพราะเรียนรู้แยกเกม กีฬาพัฒนาคนให้เรียนรู้
  • ค่านิยมกีฬา
  • ความเป็นเลิศ เรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไร เช่น วิ่ง 100 เมตร มุม 45 องศา เป็นมุมที่จะผลักดันตัวเราออกไปได้ดีที่สุด ต้องพยายามเรียนรู้กฎ กติกาเกี่ยวข้องด้วย กรรมการเป็นผู้มีอำนาจส฿งสุดในสนาม
  • มิตรภาพ เช่น ไปโอลิมปิกก็ได้เพื่อน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • ยุค AEC อยากนำทีมหรือกีฬาเยาวชนไปสร้างความสัมพันธ์
  • ปัจจุบันเราไม่ได้มอง AEC แค่เรื่องเงิน มันมี 3 เสา เสาสังคมวัฒนธรรมสำคัญที่สุด
  • กีฬาเกี่ยวกับ 3 ด้าน ทำให้รายได้ของคนดีขึ้น มีธุรกิจมากขึ้น มีมิตรภาพ สันติภาพ
  • การทำ AEC ต้องเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศของเราเช่นความสัมพันธ์ที่ดี เยาวชน ลดปัญหายาเสพติด
  • ผมเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพราะมีจิตใจเป็นนักกีฬา

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • ค่านิยมที่ 3 ที่สำคัญคือ นักกีฬาต้องเรียนรู้ที่จะเคารพซึ่งกันและกัน
  • ทั้ง 3 ข้อเป็นค่านิยมโอลิมปิก เกิดขึ้นได้กับทุกคนถ้าเล่นกีฬาอย่างจริงจัง
  • กีฬาช่วยส่งเสริมจริยธรรมด้วย
  • ธุรกิจการกีฬาไม่ใช่การใช้นักกีฬาเป็นเครื่องมือหาเงิน แต่คือการทำให้นักกีฬาได้ความเป็นเลิศ สร้างมิตรภาพ ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ต้องทำแบบ Adidas บอกว่า “Nothing is impossible.” ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ Adidas ทุ่มเงินมหาศาลเป็นร้อยๆล้านวิจัยลูกฟุตบอล ที่สตาร์ตวิ่งว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยให้นักกีฬาเล่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และดูแลรักษาสุขภาพนักกีฬาให้ดีมี่สุดด้วย
  • ประโยชน์สูงสุดของธุรกิจกีฬาคือทำให้คนไปถึงเป้าหมายได้ สมัยก่อนผมไปซีเกมส์ที่สิงคโปร์ ไปร้านกอล์ฟ ต้องซื้ออุปกรณ์ที่ดีขึ้นเพราะอายุมากขึ้น อุปกรณ์ดีก็ต้องแพง
  • เรื่องธุรกิจกีฬาต้องลงไปในจริยธรรมการกีฬา ต้องไม่ใช้นักกีฬาเป็นเครื่องมือ นายกสมาคมกีฬาบางสมาคม เป็นผู้สั่งอุปกรณ์กีฬามาจำหน่ายเองและบังคับให้สมาคมใช้ นี่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
  • ดังนั้นคณะกรรมการโอลิมปิกสากลจึงเป็นอาสาสมัครที่ไม่มีเงินเดือน
  • เราจะอาศัยวิจัยนี้ชี้นำ มิฉะนั้นสังคมกีฬาจะเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงทุกวัน มีการนำภาษีมาจ่ายค่าปรับที่ใช้สารกระตุ้น มันไม่ใช่ความผิดของประเทศชาติและข้าราชการอย่างเรา แต่ทำไมจึงนำเงินไปใช้ในเรื่องนั้น
  • กีฬาทรงคุณค่ามาก ทำให้คนเรียนรู้อะไรได้หลายอย่าง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องกีฬาให้ถูกต้องว่ามันไม่ใช่ผลประโยชน์ทับซ้อน

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • ผู้ทำธุรกิจกีฬาไม่ควรจะมีตำแหน่งในสมาคมกีฬา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • มันคือกีฬากับจริยธรรม ทุนทางจริยธรรมสำคัญเป็นอันดับแรก เมื่อมุ่งเหรียญทอง กีฬาจึงกลายเป็นทุนนิยมไป กีฬาเป็นมากกว่าเรื่องแพ้ชนะ

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • ยังไม่มีงบมากให้คนเล่นกีฬาเพื่อซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ผมตั้งไว้ตอนแรก 3 ล้านบาท หนทางไปสู่ความเป็นเลิศมันยาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • ท่านให้แค่เงินรางวัล แต่นักการเมืองให้ 10 ล้าน

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • บริษัทสร้างค่านิยม กินเงินภาษีประชาชน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • ที่เคยได้ประชุมกัน เราเน้นไปที่เหรียญ กีฬาใหญ่กว่านักกีฬา มันคือวาระแห่งชาติ

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • ตอนผมไป Youth Olympic Games ผมไปแก้ไขเพิ่มเติมในกองทุนนักกีฬาแห่งชาติ ผมให้แค่ 5 แสนบาทสำหรับเหรียญทอง
  • สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดคือทุนการศึกษาจนอายุ 36 ปี เขาจะเรียนอะไรก็ได้จนอายุ 36 ปี กองทุนนี้ก็ยังอยู่จนถึงปัจจุบัน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • มองยุทธศาสตร์แล้วต้องมีรางวัลและทุนแห่งความยั่งยืน
  • ถ้ากองทุนนี้ยังอยู่และใช้ในปัจจุบัน ถ้ามาจัดในไทย อีก 4 ปีเราอยากผลักดันให้เกิด ก็จะดึงตรงนี้

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • การเป็นเจ้าภาพ Youth Olympic ต่างจากซีเกมส์ ซีเกมส์ใช้ลำดับตัวอักษรเพื่อกำหนดการเป็นเจ้าภาพ ส่วนเอเชี่ยนเกมส์ เรามีอะไรดี ก็ได้ไป แต่โอลิมปิกเกมส์ไม่ได้ดูแค่นั้น แต่ดูศักยภาพของนักกีฬา ไม่ใช่ว่าเป็นเจ้าภาพแต่ไม่ได้เหรียญ เขาคงไม่ยอมให้เป็นเจ้าภาพ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษาโครงการ

  • วันที่จัด Public Seminar เราทำ Focus Group มี 2-3 ประเด็นที่น่าสนใจคือ
  • มีแนวทางอย่างไรในการสร้างนักกีฬาอาชีพให้สามารถนำเป็นภาษีหรือผลที่ได้จากตรงนั้นมาพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เป็นจุดน่าสนใจ ต้องมีวิธีหางบประมาณ
  • ยังไม่มี Blueprint หรือ Roadmap ในการเดินเพื่อให้สาธารณชนได้ทราบ อาจจะต้องเดินสู่ AEC ว่า หลังวิจัยนี้ ต้องทำ Blueprint เป็นเครื่องมือในทุก Section เช่นอุตสาหกรรมกีฬาก็ต้องมีคู่มือว่ามันมีอะไรบ้าง สนามกีฬาและสิ่งอื่นๆ มี 3 ส่วนใหญ่ๆที่จะนำไปสู่แผนพัฒนาบุคคล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • เราจัดซีเกมส์มาแล้ว แต่ยังไม่เคยจัดการแข่งขันระดับโลก
  • ควรฝึกคนไทยให้เป็น Sport Entrepreneur
  • ควรทำเรื่อง Youth Friendship ใน GMS เพราะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเหล่านี้ เพราะกีฬาส่งเสริมการทูตภาคประชาชน

คุณปราณี สัตยประกอบ รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม.

  • เรามีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน น่าจะนำมาใช้ได้
  • ถ้าเข้าสู่ AEC ต้องพัฒนาอุปกรณ์กีฬาต่างๆโดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา เมื่อมีโครงสร้างนี้ ก็ไร้พรมแดน โครงสร้างเหล่านี้จะเกิดการแลกเปลี่ยนและ share กัน นำไปใช้ด้วยกันได้ นำไปสู่การเชื่อมโยงกัน
  • ต้องสร้าง Benchmark กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์กีฬา AEC ว่ามีความเท่าเทียมกันไหม
  • เมื่อมีการเปิดเสรีการค้า ภาษีและราคาที่แตกต่างคือขีดความสามารถในการแข่งขัน ต้องทำให้เท่าเทียมกันใน AEC
  • ทุนมนุษย์เป็นอีกขีดความสามารถ ต้องมองทุกระดับรวมถึงสังคมผู้สูงอายุด้วย เพราะผู้สูงอายุเป็นคนกลุ่มใหญ่ใน AEC กีฬาผู้สูงอายุกำลังแพร่หลาย ทุกกลุ่มมีสิทธิ์ที่จะได้รับด้านกีฬาเท่าเทียมกัน กีฬาของคนแต่ละระดับต้องแตกต่างกัน ต้องให้ความสำคัญกีฬาสำหรับผู้หญิงและคนพิการด้วย
  • ต้องให้การศึกษาแก่ทุนมนุษย์เช่นด้านดารจัดการแข่งขัน การสร้างนักกีฬา Coaching Training ทุนมนุษย์ต้องทันกัน จะแข่งฟุตซอลก็ต้องเรียนรู้กติกาใหม่ๆที่เปลี่ยนแปลงไป จะมีสโมสรกีฬา AEC เกิดขึ้นได้ไหม ต้องเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเพราะเป็นขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • เวลาเปิด AEC ร้านฟุตบอลไทยจะแข่งกับเวียดนามและจีนได้ไหม จะเกิดผลอย่างไร ตั้งรับแล้วหรือยัง
  • อยากให้นำแผนส่วนที่เราทำไปรับใช่แผนกีฬาชาติ
  • กีฬาชาติเน้นกีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อมวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาอาชีพ วิทยาศาสตร์การกีฬา การบริหารจัดการด้านการกีฬา
  • ควรจะมีแกนสำหรับแนวคิดนโยบายกีฬาชาติจะได้นำไปใช้
  • แผนกีฬาชาติมีการ Implement กันอยู่แล้ว
  • ถ้ามีการเปิดเสรี ประเทศไทยยังมีวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ยังทำงานแบบมาเฟีย แล้วกีฬาจะเคลื่อนไปได้อย่างไร เช่นเป็นนายกสมาคมจนไม่มีใครกล้าเข้ามา

คุณธงชัย วัฒนศักดากุล เลขาธิการสมาคมกีฬาบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • จะพยายามเปลี่ยนตรงนี้แต่ไม่สำเร็จ นายกสมาคมเป็นได้แค่ 2 สมัย สมัยละ 2 ปี เพื่อบริหารได้ง่ายอาจจะเป็น 4 ปี เป็น 2 สมัยเพื่อเปิดให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารแทน

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • สิงคโปร์คิด Youth Olympic และกลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ไทยต้องทำงานให้เป็นระบบ อยู่ๆคณะกรรมการโอลิมปิกทำหนังสือไปที่รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยยังไม่ได้หารือคณะรัฐมนตรีขอให้คณะรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพ รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงแทงเรื่องว่ายัง เพราะเอกสารส่งมาจากคณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและหัวหน้าโครงการ

  • Youth Olympic จะกลับมาที่ประเทศไทยอีกไหม

ดร.ณัฐ อินทรปาน คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาโครงการ

  • เป็นไปได้
  • ปี 2010 สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพประเทศแรก
  • ปี 2014 นานกิงประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ
  • ปี 2018 ประเทศโปแลนด์จะเป็นเจ้าภาพ

คุณปราณี สัตยประกอบ รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม.

  • การบริหารจัดการกับคุณค่าของกีฬา มาตรฐานการจัด Youth Olympic สูงมาก
  • กีฬาพัฒนาประเทศ ในการจัดแข่งขันฟุตซอลโลก เรามองยุทธศาสตร์เช่นการไปสร้างสนามที่หนงอจอกคือการพัฒนาเมืองหนึ่งๆ ต้องไปสร้างเครือข่ายจรจาและอื่นๆอีกมาก
  • ค่านิยมโอลิมปิกหมายถึง ค่ามาตรฐานน้ำ อากาศและทุกอย่างต้องมีมาตรฐานสูงมากและนี่คือการพัฒนา
  • กีฬามีคุณค่าไม่จำกัด กีฬามาก่อนการท่องเที่ยว
  • ครั้งที่แล้วกทม.เป็นเจ้าภาพ ICG โลก มีนักกีฬามาแข่งทั้งหมดจาก 58 เมือง เราเชิญนักกีฬามาแค่กันกว่าคนแต่พ่อแม่และครอบครัวมากันทั้งหมดมาแข่ง 10 วันแต่มาเที่ยวในประเทศไทย 1 เดือน การท่องเที่ยวมากับกีฬา
  • เวลาแข่งมวยก็มีคนมาเชียร์นี่คือเหตุผลที่ทำให้แย่งกันเป็นเจ้าภาพ มันหมายถึงมาตรฐานการพัฒนาเมือง เคปทาวน์และโจฮันเนสเบิร์กจัดฟุตบอลโลกนำมูลค่ามหาศาลมาสู่การท่องเที่ยว
  • เมื่อเปิด AEC แล้วมีคนมาดูกีฬา ควรอำนวยความสะดวกให้เขามาจองตั๋วเข้าชมได้เสรี ต้องเตรียมการใหญ่เพื่อเข้าสู่ AEC เรื่องการบริหารจัดการหลายระบบ สมาคมต้องพัฒนากลไก มี Benchmark
  • ต้องทำให้นักกีฬาแก้ปัญหาคอรัปชั่น อย่างน้อยก็แก้ปัญหาแอลกอฮอล์ได้ ถ้ามีคอรัปชั่น CSR ต้องไม่เข้าไปช่วย

รศ.ดร.สุปราณี ขวัญบุญจันทร์ คณบดีคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • การพัฒนาทุนมนุษย์ เยาวชนสำคัญที่สุด
  • ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษาทำงานเป็นระบบ
  • ในการปูพื้นฐานการศึกษาให้คน รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของมาเลเวียมาที่สกอ.มาพูดเรื่องการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย สัปดาห์หน้าดิฉันกำลังจะไปประชุมการพัฒนาหลักสูตรการพลศึกษา นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น
  • ไปประชุมทุกแห่งมักพูดกันถึงเรื่องเหรียญรางวัล แต่เราดูลึกถึงคนเพราะว่าพื้นฐานยังไม่มีความพร้อมเลย ต้องพัฒนาการกีฬา รณรงค์กันทำหลักสูตรพลศึกษาทั่วประเทศและเห็นความสำคัญในการพัฒนาครูพลศึกษาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเรื่องการกีฬาเพ่อสุขภาพและเลยไปถึงการเป็นกีฬาระดับประเทศต่อไปในอนาคต
  • ส่วนเรื่องการจัดการกีฬา ดิฉันเคยประสานไปกับมาเลเซียว่าจะตั้ง Institute for ASEAN Sport ตอนนี้มีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยดร.วิชิตเคยหารือกันและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเองจะจัดตั้งสถาบันกีฬาอาเซียน จัดหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาคนในทุกภาคส่วนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในรัฐและเอกชนที่มาเกี่ยวข้องกับภาคการกีฬา อยากทำให้เกิดขึ้นก่อนเปิดเสรีอาเซียน  ดิฉันมีเครือข่ายมาเลเซียและสิงคโปร์
  • การพัฒนาทุนมนุษย์สำคัญต่อการเปิดเสรีอาเซียน ต้องพัฒนาคนระดับบน คนรุ่นใหม่ รวมพลังกันพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นนำคนเก่งๆมาเริ่มกันใหม่จะได้ไปอย่างยั่งยืน
  • ในกรณีสนามกีฬา ถ้าเราเข้าไปอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ก็จะหมุนเวียนเชื่อมโยงกันในหลายเรื่อง
  • ในเรื่องกีฬาอาเซียน ถ้าเราสามารถเปิดหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกกีฬานันทนาการและเกมอาเซียนได้ ก็เชิญคนในอาเซียนมาเรียน โดยประเทศไทยเป็นแกนนำแล้วหมุนเวียนแต่ละประเทศกันได้ก็จะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ควรจะกำจัดให้มาเฟียออกจากวงการกีฬา

คุณพัสกร กลวัฒกี ฝ่ายการตลาดและประมูลงาน บริษัท โรงงานฟุตบอลล์ไทย สปอร์ติ้งกู๊ดส์ จำกัด

  • เวลาคนหนุ่มสาวเวียดนามมาประเทศไทยก็จะถามถึงห้องฟิตเนส ซาวน่า แต่วัยรุ่นไทยติดการพนัน

รศ.ดร.สุปราณี ขวัญบุญจันทร์ คณบดีคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • การเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นให้เด็กสอบ Admission ให้ได้ จึงกวดวิชาแต่วิชาสาระสำคัญและพักเรื่องพละไว้ก่อน
  • การที่จะ implement เป็นยุทธศาสตร์แผนชาติที่ดีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาครูพละในโรงเรียนไม่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง

 

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการวิจัย โครงการการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ลงในหนังสือพิมพ์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/098/624/original_tourism2012newsbymotfile1.jpg

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/098/626/original_tourism2012newsbymotfile2.jpg

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/098/628/original_tourism2012newsbymotfile3.jpg

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/098/630/original_tourism2012newsbymotfile4.jpg

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท