ความสำคัญของ "การคิด" และ "ความรู้สึก"


ประสบการณ์ที่มากขึ้นจะทำให้เข้าใจในการให้ความสำคัญของ "การคิด" และ "ความรู้สึก"


"เมื่อเราให้ความสำคัญกับ "การคิด"
มากกว่า "การรู้สึก" เราก็จะเข้าใจ
ปัญหาและตีโจทย์ให้แตกได้เร็วขึ้น"
จากหนังสือคิดอย่างไรให้ปัญหาเล็กลง
ผู้แต่ง  เฌอมาณย์ รัตนพงศ์ตระกูล พ.ศ. ๒๕๕๔ หน้า ๑๒๒

          ในบางช่วงวัยของชีวิตเราอาจให้ความสำคัญต่อการรู้สึกอย่างมากมาย แต่เมื่อช่วงวัยผ่านประสบการณ์และวันเวลาจะทำให้การมองปัญหาในลักษณะเดิมเปลี่ยนไป เราจะให้ความสำคัญกับการคิด โดยเฉพาะการพยายามหาสาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับผู้เกี่ยวข้อง เรื่องราว สถานที่  ทรัพยากร  เป็นต้น
           ในที่สุดพบว่าการใช้ความคิดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต  จะทำให้เกิดประสิทธิภาพทำให้การแก้ปัญหาหรือการกระจ่างชัดในเรื่องราวที่เกิดขึ้นทำได้รวดเร็วขึ้น
         กรณีตัวอย่างเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมหากเราแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้สึกเป็นหลัก จะประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญหาได้น้อยกว่าการใช้ความคิดในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข
         ถึง ณ ตอนนี้คงบอกว่า เมื่อคิดแล้วก็จงทำให้ได้อย่างที่คิด และเข้าใจความรู้สึกของตนอย่างมีเหตุผล


คำสำคัญ (Tags): #การคิด
หมายเลขบันทึก: 469762เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 เมื่อคิดแล้วก็จงทำให้ได้อย่างที่คิด และเข้าใจความรู้สึกของตนอย่างมีเหตุผล...

ขอบคุณค่ะ ที่สะท้อนแล้วสรุปบทเรียนประสบการณ์อีกมุมมองหนึ่ง..

สำหรับตนเอง เรียนรู้ว่า การทำอะไรให้สำเร็จ เกิดจาก ปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นส่วนสำคัญ ด้วยค่ะ

...

สมองคิดหัวใจสั่งให้เขียน
มันวกเวียนวุ่นวายในสมอง
ยังมึนงงต่อไปใจเว้าวอน
เอ ! วันนี้จะสอนอะไรหว่า ;)...

...

สบายดีนะครับ คุณครูนก ;)...

  • สมองซีกซ้ายทำงานเกี่ยวกับการคิด ส่วนสมองซีกขวาทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
  • แพทย์หญิงศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองชี้ว่า ประสาทเชื่อมโยงระหว่างสมองสองซีกที่ทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวารับรู้การทำงานของกันและกันในผู้หญิงจะใหญ่กว่าผู้ชาย 2-3 เท่าเพราะผู้หญิงใช้สมองทั้งสองซีกในการปฏิบัติกิจกรรม แต่ผู้ชายจะใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นส่วนใหญ่

จาก : วิไล แพงศรี. (2552). การพัฒาทักษะการคิด. อุบลฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

          อุบลราชธานี. หน้า 11.

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ป. ที่แวะมาเติมเต็มความคิดให้ครูนกทะเล...เรื่องต่างๆที่ครูนกต้องนำมานั่งกลั่น นั่งกรอง นั่งตกผลึก ต้องขอบคุณลูกศิษย์ค่ะที่ทำให้ชีวิตครูมีสีสันทุกวัน

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Deeman

ขอบคุณค่ะสำหรับบทกลอนโดนใจ...ต้องร้องว่า ใช่เลย บางวันครูนกก็จะวุ่นวายสับสนโดยเฉพาะเวลาจะสอนจริยธรรมนร. ใจวุ่นวายว่าจะพูดอย่างไรไม่ให้ทำเกิดผลเชิงลบต่อใคร

...

สมองคิดหัวใจสั่งให้เขียน

มันวกเวียนวุ่นวายในสมอง

ยังมึนงงต่อไปใจเว้าวอน

เอ ! วันนี้จะสอนอะไรหว่า ;)...

ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์วิไล ในหลักการทำงานของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา

ขอบคุณค่ะน้อง Bluestar สำหรับดอกไม้ สบายดีนะค่ะ

-ภาพที่เห็น.....สวยงามมากนะครับ เป็นการสร้างสรรค์โดยธรรมชาติ(น้ำ)แท้ๆ คิคิคิ

-อย่างนี้เรียกว่า "อุทกอุโบสถ" หรือ "อุโบสถกลางน้ำ" ก็ว่าได้นะครับ คิคิคิ

มาดูวิหารกลางน้ำ

  • ท่อน้ำแตกหน้าตึกยังนึกต่อ
  • นึกว่าท่อน้ำที่มีอยู่ทั่ว
  • หมดน้ำกินสิ้นน้ำใช้ใจยังกลัว
  • น้ำยังรั่วใจยังร้อนอ่อนอารมณ์ เอย

 

สวัสดีค่ะ คุณ อักขณิช

ต้องขอบคุณเจ้าของภาพถ่ายที่มีนำโพสต์ในอินเตอร์เน็ตนะค่ะ ที่ช่างมีมุมที่แสนสวยงาม (ในยามประสบภัยก็ยังมีมุมสวยงามเพื่อสร้างจิตใจเชิงบวกให้กับผู้คน) ขอบคุณค่ะคำว่า อุโบสถน้ำ ดูจะเหมาะเจาะลงตัว

ขอบคุณท่านอาจารย์โสภณ

ที่นำบทกลอนเกี่ยวกับน้องน้ำมาฝาก

ตอนนี้ผู้ประสบภัยทุกข์ใจกับป้ารา และ น้องทรายอีกแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท