ครั้งที่ 3 เดินทางไปร่วมเวที "ครูเพื่อศิษย์" ที่กรุงเทพฯ


สวัสดีครับ อนาคตของเด็กๆ ทุกคน

คงไม่ต้องเขียนถึงการไม่ไปสอนมาก เพราะทั้งหมดที่จะพูดไปจะเพียงการแก้ตัวเท่านั้น ....จึงขอกล่าวกับพวกเราสั้นๆ ว่า อาจารย์ขอโทษ...

ระหว่างที่ทวีภัทร โทรศัพท์มา อาจารย์อยู่ในรถตู้ที่กำลังมุ่งหน้าสู่โรงแรม ทาวน์อินทาวน์ อยู่แถวรามคำแหง กทม. "ลืมสนิท" สมองส่วนความจำคงจะมีปัญหาอย่างหนักเลยทำให้เกิดเหตุการณ์นี้  อาจารย์เคยตั้งขอสงสัยหลายครั้งว่า ไม่ใช่ "ลืม" เพราะเมื่อมาถามว่าจำได้หรือไม่ว่า...เคยทำอะไร หรือเวลานี้ต้องทำอะไร สักพักก็จะนึกขึ้นได้ แสดงว่าไม่ใช่ลืม แต่เป็นภาวะที่ สมองและจิตใจวกวนอยู่กับเรื่องอื่นๆ ฟุ้งซ่าน วุ่นวาย จนไม่ได้ทิ้งช่วงให้ ความคิดที่ต้องนำไปสู่การดึงข้อมูลจากสมองมันมีโอกาสได้ทำงาน คำนี้่อาจารย์ขอใช้คำว่า "ลืมสนิท"

วันนี้อาจารย์จะสอนเรื่อง "กฎของเกาส์" หลังจากที่สอนพวกเราเรื่องกฎของคูลอมบ์ ไปแล้วเมื่อครั้งที่ 1

อาจารย์ขอมอบหมายให้นิสิตทุกคน เข้าไป ศึกษาเรื่องนี้จาก วีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ ที่ http://academicearth.org/lectures/electric-flux-and-gauss-law แล้วให้เขียนตอบลงด้านล่างของกระทู้นี้ว่า ตนเอง เข้าใจเรื่อง "กฎของเกาส์" หรือไม่ เพราะอะไร การสอนของเขาดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไร และ ถ้าเรายังไม่เข้าใจ ให้ไปค้นหาวิธีหรือแหล่งข้อมูลที่สามารถทำให้ตนเองเข้าใจได้ แล้วนำมาโพสไว้ในนี้ว่าลิงค์ไปที่ใด

คำถามที่เกี่ยวข้องกับกฎของ "เกาส์" (Guass's law) คือ เราจะทำนายหรือคำนวณได้อย่างไรว่า สนามไฟฟ้าที่อยู่บริเวณใดๆ ที่เกิดจากแหล่งประจุไฟฟ้ารูปทรงสมมาตรต่างๆ เช่น ทรงกลมตัน ทรงกลมกลวง แทงปริมาตร เส้นลวด เป็นต้น ได้อย่างไร เกาส์ค้นพบวิธีนั้น วิธีที่ง่ายมากๆ จนได้รับการยอมรับว่าใช้ได้จริง จนกลายมาเป็น "กฎ" ในที่เราควรจะเรียน

ก่อนเริ่มเรื่องนี้ อาจาย์มีเรื่องประทับใจและไม่เคยลืมมาเล่าให้ฟังสองเรื่อง เรื่องแรกเกิดตอนที่อาจารย์เรียนปริญญาเอกกับศาสตราจารย์อิชิอิ ท่านเล่าเรื่อง ศาสตราจารย์เกาส์ในวัยเด็กเพียง 9 ขวบให้ฟัง จำได้ว่าตอนนั้นวิญญานความเป็นครูของท่าน แผ่เข้ามาถึงใจเรา จนทำให้เรื่องที่ท่านเล่าในวันนั้นไม่เลือนหายไปจากใจเราเลย...... เรื่องเป็นอย่างไร อาจารย์จะเล่าให้ฟังในชั้นเรียนก็แล้วกันนะครับ.... ใครทนไม่ไหวก็ไปค้นหาชีวิตในวัยเด็กของ ศาสตราจารย์เกาส์ ใน GG ก็แล้วกันนะครับ

เรื่องที่สองเป็นชีวิตในวัยเด็กของอาจารย์เอง.... สังเกตว่าอะไรก็ตามที่เราประทับใจ สิ่งเหล่านั้นจะยากมากที่จะถูกลืมไปจากใจที่เหมือนถูกประทับตราไว้... ประมาณนั้น

ครั้งหนึ่งพ่อของอาจารย์ถามว่า ถ้ามีแม่ไก่ตัวหนึ่ง วันแรกไข่หนึ่งฟอง วันที่สองไขสองฟอง วันที่สามไข่าสามฟอง เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ถ้ารวมแล้วผ่านไป 10 วัน จะได้ไข่ไก่ทั้งหมดกี่ฟอง...ตอนได้ตอนนั้นว่า อยู่ประมาณ ชั้น ป. 2  แต่ไม่แม่นครับ ..... และแน่นอนตอนนั้น ตอบไม่ได้ พ่อเฉลยกับอาจารย์ว่า คำตอบคือ "หนึ่งบวกเข่า โตเก่ามาคูณ สองหารตัด ขาดลงสะบั้น" สูตรเลข "หางหมา" แรกที่ทำให้ อาจารย์ชอบและหลงไหลคณิตศาสตร์ สไตล์ชาวบ้านมาตั้งแต่ตอนนั้น.... สมัยนี้สูตรนี้มีสอนทั่วไปว่า คำตอบคือ n(n+1)/2 ด้วยวิธีการบันทึกให้จดจำลงไปแบบส่วนใหญ่จะไร้คำว่า "ประทับใจ" จึงลืมหลมส่งคืนครูไปในเวลาไม่นาน

เชื่อหรือไม่ว่า เกาส์คิดสูตรนี้ได้เองตอนอายุเพียง 9 ปี

 

 

หมายเลขบันทึก: 469485เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

แนะนำใส่คำสำคัญของบันทึกว่า ครูเพื่อศิษย์ ด้วยค่ะ ระบบจะดึงอัตโนมัติไว้ในเรื่องครูเพื่อศิษย์ค่ะ ขอบคุณค่ะ

จากการได้ดูและหาข้อมูลในการศึกษานั้น ผมพอจะเข้าใจนิดหน่อย แต่ยัง งงๆ อยู่คับ ได้รู้ถึง ความเข้มสนามไฟฟ้า คือจำนวนสนามไฟฟ้าที่ตกตั้งฉากต่อหน่วยพื้นที่ โดยจำนวนสนามไฟฟ้าที่ผ่านพื้นที่เรียกว่า "ฟลั๊กไฟฟ้า" และเรื่องของ ฟลั๊กไฟฟ้า หมายถึง จำนวนเส้นสนามไฟฟ้าที่ผ่านพื้นที่ผิวซึ่งจะเป็นผิวปิด หรือผิวเปิดใด ๆ ก็ได้ ฟลั๊กไฟฟ้ามีหน่วยเป็น นิวตันตารางเมตรต่อคูลอมบ์ (Nm2/C) เป็นต้น และผมได้ไปอ่านประวัติของเกาส์ มา ซึ่งอยู่ในเว็บ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5_%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C

ซึ่งได้พูดถึงวัยเด็กของเขาด้วย ซึ่งเขาสามารถบวกเลขได้ก่อนพูดเสียอีก เป็นเรื่องเหลือเชื่อจริงๆ ฮ่าๆๆ

และผมได้เข้าอ่านในเว็บ http://www.rsu.ac.th/tlsd/e_learning/image_gauss/gauss3-1.htm

ซึ่งเนื้อหามีไม่เยอะ จึงไม่ค่อยเข้าใจ

อาจต้องให้อาจารย์อธิบายเพิ่มคับ

สรุปว่ายังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่

เยี่ยมมากปิยะพงษ์ อย่างนี้แหละที่เขาเรียกว่า เรียนรู้เอง

จากที่ได้ดูวิดีโอ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ เพราะไม่รู้เค้าพูดอะไรหนูแปลไม่ออก การสอนของเค้าก็ดีนะคะ ก็คือ การสอนของเค้าเป็นวิดีโอซึ่งเราสามารถจะเรียนรู้ตอนไหนก็ได้และถ้าเราไม่เข้าใจก็สามารถที่จะดูซ้ำไปซ้ำมาได้ค่ะ และหนูก็ได้ไปค้นดูในเว็ปค่ะ http://members.fortunecity.com/thaiintersite/emag/html/4-5.htm และ http://bananaboar.wordpress.com/2011/11/22/%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C/ และก็ http://www.rmutphysics.com/charud/physics2-1/chap1/index39.htm(กดคำว่าต่อไปที่อยู่ด้านล่างแล้วมันก็จะไปเนื่อหาหน้าต่อไปค่ะ) แต่เนื้อหามีนิดเดียวเองค่ะ พออ่านดูแล้วมันก็ยังงงๆอยู่ ซึ่งก้ต้องให้อาจารย์อธิบายให้ฟังอีกรอบค่ะ

วิธีการสอนน่าสนใจนะคะ แต่ฟังไม่ออกคะว่าพูดอะไร ถึงแม้จะฟังไม่ออกก็สามารถดูจาการเขียนบนกระดานแล้วจับประเด็นได้บ้างค่ะ มีการพูดถึงสนามไฟฟ้าในที่อยู่ในทรงกลมและมีประจุวางอยู่ข้างใน

จากที่ดูไม่เข้าใจในเรื่องที่มี Rและ r คะ

และก็ไม่เข้าใจตั้งแต่เรื่องทรงกระบอกเป็นต้นไปคะ งงมากไม่รู้พูดเรื่องไรดูไปก็ไม่เข้าใจเลยคะ ถ้าฟังออกก็คงได้ความรู้มาเลยคะ วิธีการสอนน่าสนใจมากคะ

ได้ศึกษาเพิ่มเติมในเว็ป

http://www.tnhpit.ac.th/mahidol/electromegnetism/sub_lesson/2_6.htm

http://writer.dek-d.com/enoomod/writer/viewlongc.php?id=430384&chapter=22

ถึงแม้จะศึกษาในเว็ปก็ยังงงคะ ถ้ามีอาจารย์อธิบายเพิ่มให้เข้าใจก็น่าจะเข้าใจมากขึ้น

ก่อนอื่นต้องขอสารภาพว่า หนูไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยเก่งภาคะ แต่หนูยอมรับว่าตื่นเต้นทุกทีที่เรียนฟิสิกส์เพราะหนูต้องค่อยลุ้นว่าวันนี้ อาจารย์จะพาไปรู้จักกับนักฟิสิกส์ท่านใด และโดยเฉพาะการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต เพราะหนูไม่ค่อยถนัดค่ะแต่ก็เป็นแนวการเรียนที่แปลกใหม่ เพราะสมัยก่อนเหมือนกับว่าอาจารย์นำพาความรู้มาป้อนให้ แต่ตอนนี้หนูต้องออกไปหาเองเลือกเอง เลยต้องใช้ความพยายามมากอยู่แต่ หนูก็จะค่อยๆปรับตัวค่ะ จากที่ได้ศึกษาเรื่องนี้จาก

วีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ ที่ http://academicearth.org/lectures/electric-flux-and-gauss-lawแล้ว หนูก็มองภาพออกบ้างแต่ไม่ค่อยเข้าใจเลยต้องศึกษาเองบ้าง ถามจากเพื่อนที่เข้าใจบ้าง หนูขออนุญาติกล่าวถึงปิยพงษ์นะคะ เขาเป็นคนที่ชอบถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนฟังอยู่เสมอแม้เขาจะพูดเร็วไปบ้างแต่ก็ไม่เคยหวงวิชา เขาเล่าเกี่ยวกับเกาส์หลายอย่าง หนูก้ฟังไม่ทันเพราะหนูค่อนข้างเข้าใจช้า เลยต่องไปศึกษาเพิ่มเติมจากอินเตอรเน็ต ถ้าเพื่อนๆอยากทราบชีวประวัติย่อๆของเกาส์เช่น เกาส์เป็นหนึ่งในสี่ของเจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์ ก็สามารถหาอ่านได้ที่

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5_%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C นะค่ะ

แต่ถ้าต้องการศึกษาเรื่องกฎของเกาส์สามารถศึกาได้ที่

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf และ

webhost.wu.ac.th/magnetism/3Gauss.doc

แต่ลิงค์นี้ก็น่าสนใจนะคะเข้าใจง่ายมองภาพเห็น

http://physics.science.cmu.ac.th/courses/207102/slide2.files/frame.htm#slide0005.htm

แต่ทั้งหมดมั้งมวลก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ รบกวนอาจารย์เพิ่มเติมในคาบด้วยนะค่ะ

อาจารย์คะ หนูมีคำถามคะว่า

1.ทำไมเราต้องเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบว่าบางครั้งเราก็ตามไม่ทันเพราะอย่างหนูไม่มีเน็ต ต้องไปเล่นเป็นระยะๆคะ

2.การเรียนแบบนี้ดีมั้ย?

หนูอยากบอกว่าดีมากๆ แต่ทำไมหนูยังไม่เข้าใจเท่ากับอาจารย์สอนเองในห้องคะ หรืออาจเป็นเพราะหนูชินกับการเรียนในห้องมากกว่า

3.ทามไมเราต้องเรียนแบบใหม่ค่ะ แบบเก่ามันมีข้อบกพร่องหรือคะอาจารย์

4.หนูสงสัยว่าทำไมเวลาทำกิจอันใดเสร็จสิ้นต้องถามว่า เราได้อะไรจากสิ่งนั้น หรือประโยชน์ที่ได้รับ ทำไมเราไม่ลองตั้งคำถามว่าเราเสียอะไรจากการทำกิจนั้นบ้าง คะหนูไม่เข้าใจคะ

รบกวนอาจารย์เอามาเป็นหัวข้ออภิปรายกันสักหน่อยได้ไหมคะ เพื่อที่เราจะได้ช่วยกันหาหนทางที่เราทุกๆคนไปด้วยกันได้ดีที่สุด

อาจารย์ดีใจมากว่าลูกศิษย์อาจารย์เริ่มเรียนเป็นแล้ว จะเห็นได้จากที่ นางสาวใจดีเริ่มตั้งคำถาม เพราะการตั้งคำถามคือการเริ่มต้นของการหาคำตอบ นั่นก็คือการเรียนรู้นั่นเองครับ ต่อไปนี้อาจารย์จะแสดงความคิดเห็นที่เป็นคำตอบจากตัวอาจารย์เองนะครับ

1) ที่เราต้องมอบหมายงานบางส่วนผ่านอินเตอร์เน็ตเพราะ ในอินเตอร์เป็นแหล่งความรู้ที่ครบถ้วน ทรงประสิทธิภาพมาก เรื่องปัญหาเรื่องไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่แน่นอน เพราะทางมหาวิทยาลัยเตรียมไว้ให้เพียงพอ และที่สำคัญ อนาคตอันใกล้นี้สิ่งนี้จะไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหคือคนไม่รู้ว่าจะใช้เน็ตให้เป็นประโยชน์อย่างไรมากกว่าครับ อย่างไรก็ตาม การเรียนผ่าเน็ตก็ไม่ใช่ทั้งหมด การเรียนรู้ที่สำคัญคือการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ อย่างที่เราว่านั่นล่ะครับ

ข้อที่เหลือหาคำตอบให้ได้ด้วยตนเองนะครับ แล้วลองมาแลกเปลี่ยนคำตอบกัน

จาก ศึกษาเรื่องนี้จาก วีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ ที่ http://academicearth.org/lectures/electric-flux-and-gauss-law สำหรับการมองในภาพรวมหนูคิดว่าเป็นการเรียนกรสอนที่ดีมากค่ะในฐานะที่เราเป็นนักศึกษาถ้ามองอีกมุมหนึ่งการเรียนผ่านสื่อ ถือว่าให้ประโยชน์ในหลายๆด้าน เช่น โอกาสในการเรียนรู้คือ ครู หรืออาจารย์ สามารถแบ่งความรู้ข้ามพรมแดนให้กับนักศึกษาหรือผู้สนใจ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับมีโอกาสที่จะทำความรู้ให้ทุกคนที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกๆ ที่ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุกในการศึกษาระดับสูง ทำให้การเรียนรู้สามารถเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้และหนูในฐานะที่เป็นนักศึกษาได้รับความสะดวกและความยืดหยุ่น คือ เป็นการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถกำหนดระยะเวลาในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอดเวลา

ผลการดูวิดีโอของหนูก็ฟังไม่รู้เรื่องค่ะ แต่ถ้าดูขั้นตอนและเทคนิคการสอนถือว่าเป็นการสอนที่ดีค่ะและหลังจากดูวิดีโอจบแล้ว หนูก็ศึกษาเพิ่มเติมจาก

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

หลังจากนั้นก็ศึกษาประวัติของ โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ คร่าวๆๆจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5_%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A_%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%8C

ก็ทำให้ทราบประวัติของ โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ใหม่และมีประโยชน์มากค่ะ

เอาจริงๆนะค่ะอาจารย์ คือจากที่ได้ดูวีดีโอมานั้นหนูไม่รู้เรื่องเลย เพราะหนูแปลภาษาอังกฤษไม่ออก

ถึงแปลออกก็แปลออกแค่บางคำ ซึ่งเป็นคำง่ายๆ และถ้าจะให้หนูบอกถึงว่าเขาสอนเป็นอย่างไร หนูก็คงบอกไม่ได้อีกตามเคยค่ะ ณ ตอนที่หนูดูวีดีโอหนูบอกได้เลยว่าหนูเหมือนคนหูหนวกมาก และการที่คนหูหนวกฟังคนอื่นพูด เขาก็คงตัดสินไม่ได้หรอกค่ะ ว่าคนๆนั้นเขาคิดอย่างไร ต้องการสื่ออะไร ถึงแม้เราจะรู้เรื่องแต่อาจจะไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับที่เขาต้องการสื่อออกมาก็เป็นได้ เอาเป็นว่าหนูเลยไปศึกษาจากเว็บไซต์อื่นแทนค่ะ

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

เว็บนี้ก็น่าสนใจค่ะเพราะไม่ยาวมาก

http://www.rsu.ac.th/tlsd/e_learning/image_gauss/gauss3-2.htm

แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีค่ะ ต้องให้อาจารย์ช่วยอธิบายอีกทีค่ะ

จากการศึกษาคลิปการสอนของศาสตราจารย์วอลเตอร์ ก็พอเข้าใจบ้างค่ะ หนูต้องทำความเข้าใจกับภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอีกมาก แต่ถ้าคลิปเป็นซับไทยคงจะดีขึ้นมากค่ะ ศาสตราจารย์วอลเตอร์มีเทคนิคการสอนทีีน่าสนใจมาก รูปที่ท่านพยายามอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจก็มีการเติมสีสันโดยการใช้ชอล์คสีน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จากการทำความเข้าใจเริ่มแรก ศาสตรจารย์วอลเตอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับฟลักซ์ไฟฟ้าและกฎของเกาส์นั่นเอง พอดูคลิปการสอนอีกทั้งดูรูปบนกระดานที่ศาสตราจารย์วอลเตอร์กำลังอธิบาย หนูก็ค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะมาตอบข้อสงสัยโดยค้นหาเนื้อหาจากเว็บที่เป็นภาษาไทย เช่น

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

http://www.rsu.ac.th/tlsd/e_learning/image_gauss/gauss3-2.htm

http://writer.dek-d.com/enoomod/writer/viewlongc.php?id=430384&chapter=22

ทำให้พอทราบคร่าวๆ ว่า วิธีคำนวณสนามไฟฟ้าอีกวิธีหนึ่งคือการใช้กฎของเกาส์ ก่อนที่จะเข้าใจกฎนี้ จึงต้องรู้จักเส้นแรงไฟฟ้าและฟลักซ์ไฟฟ้าก่อน จากคลิปการสอนยังทำให้ได้เห็นว่าศาสตราจารย์วอลแตร์ท่านใส่ใจในรายละเอียดมากๆค่ะ มีทั้งวาดรูปประกอบและอธิบาย คลิปการสอนของศาสตราจารย์วอลเตอร์เป็นประโยชน์มากค่ะ

จากที่ได้ศึกษาจากคลิปการสอนของศาสตร์ตราจารย์ วอลเดอร์ อยากจะบอกอาจารย์ได้เลยค่ะว่า ไม่เข้าใจและแปลไม่ออก แต่ก็พอมีเดาๆออกบ้าง อาจเนื่องจากเคยชินกับการฟังภาษาอังกฤษสำเนียงไทยแต่พอมาฟังสำเนียงของศาสตร์ตราจารย์ฟังไม่ออกเลยค่ะ ฮ่าๆๆ แต่คิดว่าจากการสอนแล้วดีนะค่ะ พยายามเอาภาพ และอธิบายให้เห้นภาพจิงๆ แต่ถ้าฟังรู้เรื่องนี้คงเข้าใจเลย

แต่ถ้าจะกล่าวจริงๆแล้ว ตามหลักการสอนนั้น จะต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือให้ผู้เรียนลองเรียนรู้เองโดยมีครูผู้สอนช่วยให้คำแนะนำนั้นถึงจะถูก เมื่อดูแล้วก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการบรรยายดีๆ นี่เองค่ะ ตามความคิดเห็นนะค่ะ ในฐานะผู้ที่จะก้าวไปเป็นครูในอนาคต ค่ะ^^

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

นี้ก็เป้นเว็บไซต์ เรื่องกฎของเกาส์ ที่ได้เรียนรู้ค่ะ

http://student.nu.ac.th/Edu.Jeab/EM.2/Lesson2-3.html

ศึกษาดูแล้ว ถ้าได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมของอาจารย์ ก็คงได้เพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

จากการศึกษาคลิปวิดีโอ ศาสตร์ตราจารย์ วอลเตอร์ ไม่เข้าใจค่ะ เพราะฟังไม่รู้เรื่องและแปลไม่ได้เลย แต่ที่รู้และสัมผัสได้จากการดูคลิปวิดีโอ คือ ความตั้งใจ ความทุ่มเท ความพยายาม ในการสอนของ ท่านศาสตร์ตราจารย์ วอลเตอร์ ทำให้ประทับใจมากๆค่ะ มีการยกตัวอย่าง วาดภาพประกอบโดยใช้สีแตกต่างกันเพื่อเพิ่มความจดจำ ท่านสอนอย่าง เรียบง่าย ทำให้ผู้เรียนไม่กดดัน เรียนแล้วสบายเข้าใจง่าย นี้แหละที่เรียกว่า 'ครูเพื่อศิษย์' ค่ะ

เว็บที่ศึกษากฎของเกาส์แล้วเข้าใจค่ะ

http://www.sci.rmuti.ac.th/physics/physics2/Phys2_Chapter_02.pdf

http://www.youtube.com/watch?v=WPuMd1aLoAY

ทำให้ศึกษาแล้วเข้าใจมากขึ้นค่ะ

จากที่อาจารย์ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมจากวีดีโอ จากที่ดูมานะคะเนื้อหาก็ดีนะคะ แต่หนูนะแปลไม่ได้มันจึงเป็นปัญหาใหญ่ในการศึกษาแต่ก็พยายามที่จะฟังแล้วก็แปลแต่มันก็ แปลไม่ได้ ได้แต่ดูคำที่คนสอนเขาเขียนมาให้ดู สรุปเลยแล้วกันนะคะว่าได้แค่ดูนะคะ

ศึกษาเพิ่มเติม

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

webhost.wu.ac.th/magnetism/3Gauss.doc

จากการดูวิดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ เรื่อง Electric Flux and Gauss's Law แล้ว หนูไม่รู้เรื่องเลยคะ เพราะแปลไม่ออกว่าเขาอธิบายยังไง ก็ได้แต่ดูภาพเอา ซึ่งหนูคิดว่าถ้าแปลออกตามที่ อ.อธิบายก็คงจะเข้าใจดีมากๆ เพราะเมื่อดูภาพที่ อ.วาดประกอบแล้วละเอียดดีคะ แต่หนูก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมจาก

http://www.kmitl.ac.th/emc/vuttipon/EMAG_swu/3.pdf

ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วทำให้หนูเข้าใจเกี่ยวกับ Gauss’s Law มากขึ้นคะ

จากที่ได้ดูวิดิโอ บวก กับอาจารย์สอน ผมก็พอเข้าใจบ้างนิดหน่อย เหตุผลเพราะยังไม่เข้าใจเเละเเปลไม่ได้บ้างในวิดิโอ เเต่ผมก็จะค้าคว้าหาอ่านเพิ่มเติมครับ

จากการไปดูวิดีโอนะครับ บอกตรงๆเลยว่าแปลไม่ค่อยออกเลยครับ แต่ก็พอแปลออกเป็นบางคำแต่ส่วนใหญ่งงครับ

จากที่ได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับการสอนกฎของเกาส์ ขอบอกตามตรงเลยค่ะว่าไม่เข้าใจ และฟังไม่รุเรื่อง แต่ก็พยายามดูที่ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ ท่านเขียนแต่ก็ไม่เข้าใจเนื่องจากเราไม่ค่อยเก่งเรื่องภาษา แต่ก็เห็นถึงความพยายามของท่านในการสอน สอนได้คล่องแคล่วมาก มีทั้งการวาดภาพประกอบ และมีตัวอย่างให้ศึกษาซึ่งนั้นจะทำให้เราสามารถนำทฤษฎีที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้ ถึงแม้จะดูไม่เข้าใจ แต่วันนี้ได้เรียน กับอาจารย์ในห้องก็พอเข้าใจบ้างแต่ก็ยังไม่มากที่สุด จึงได้เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจาก

http://www.rsu.ac.th/tlsd/e_learning/image_gauss/gauss3-2.htm เหมือนกับอาจารย์สอนวันนี้เลย

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

จากที่ได้ดูคลิปการสอนที่อาจารย์โพส ดูแล้วยิ่งงงค่ะ แปลไม่ออก ฟังไม่รู้เรื่องสอนเร็วมากเลยค่ะ แต่พออ่านในหนังสือก็พอรู้เรื่องบ้างค่ะ แต่ก็ยังสับสนอยู่ วันนี้ที่ได้เรียนในห้องก็ทำให้เข้าใจเพิ่มขึ้นนิดหนึ่งค่ะ หนูก็จะพยายามอ่านให้มากขึ้น ค้นคว้าให้เยอะๆๆๆกว่านี้ ขอบคุณค่ะที่อาจารย์พยายามทุกวิธีเพื่อที่นิสิตจะได้เรียนรู้มากยิ่งขึ้น

ดูทีแรกก็พอจะเข้าใจบ้าง แต่พอฟังไปฟังมามันก็งงนะค่ะ มันคงจะติดที่เราฟังภาษาอังกฤษไม่ออกก็เป็นไปได้ แต่เราก็สามารถศึกษาจากเว็บไซด์อื่นเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เช่นจากเว็บ http://www.rmutphysics.com/physics2/Physics2_Web/Unit1/c1_05.htm www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

และก็ได้ศึกษาประวัติของท่าน ทราบว่าท่านเป็นนักคณิตศาสตร์ที่เก่งบวกเลขได้เร็ว และยังคิดทฤษฎีใหม่ๆมาให้เราใช้ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต ทฤษฎีจำนวน ที่สำคัญกฎของเกาส์ที่กล่าวว่า ฟลักซ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ผ่านผิวปิด มีค่าเท่ากับประจุทั้งหมดซึ่งอยู่ภายในพื้นที่ผิวนั้น

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

http://www.youtube.com/watch?v=WPuMd1aLoAY

จากที่ได้ดูคลิปที่อาจารย์อัพลงก็พอเข้าใจบ้างนะคับ แต่ถ้าจะให้ดีก็อยากให้อาจารย์สอนในห้องเพิ่มเติม และอยากเสนอให้อาจา่รย์แ่บ่งนิสิตศึกษารายกลุ่ม โดยแต่ละคาบเรียนอาจา่รย์จะป้อนคำถาม โดยกลุ่มไหนตอบได้ก็จะได้คะแนน(เป็นรางวัล)เพื่อสร้างแรงกระตุ้นทางการเรียนให้นิสิต และคะแนนที่ได้ก็ตามความเหมาะสม นี่ผมเสนอนี้เป็นวิธีที่ผมได้เรียนสมัยมัธยม จากประสบการณืแล้ว การเรียนแบบนี้จะทำให้ผมกระตือรือล้นมากพอสมควร สิ่งนี้คือผมเสนอนะคับ แล้วแต่อาจารย์จะพิจารณา ขอบคุณคับ

นายวิชาญยุทธ มะณี 53010510091

(สมมติว่ายังไม่ได้เรียนเรื่องกฎของเกาส์จากอาจารย์) เมื่อเปิดดูวิดีโอการสอนกฎของเกาส์ที่เป็นภาษาอังกฤษแล้ว รู้ได้ทันทีถึงจุดบอดของตนเองค่ะ แม้จะพยายามแค่ไหนก็ยังฟังไม่รู้เรื่อง (บางครั้งคนเรา ก็ไม่ได้ดั่งใจทุกอย่างหรอกนะ และบางครั้งความพยายามที่ไร้จุดหมายที่แน่นอน ก็สูญเปล่าประโยชน์) แต่ที่ทำให้พอเข้าใจได้บ้างคงจะเป็นภาพที่สื่อและแสดงออกมาได้อย่างชัดเจน ท่าทางที่ดูสมจริงพอที่จะจินตนาการตามภาพได้บ้างเล็กน้อย และนี้คงจะเป็นเทคนิดการสอนที่สามารถสอนผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษเพียงเล็กน้อยได้ เมื่อรู้จุดบอดตนเองแล้วเลยลองหาศึกษาแหล่งความรู้อื่นๆดูเผื่อจะเข้าใจมากขึ้นค่ะ

http://physics.science.cmu.ac.th/courses/207102/slide2.files/frame.htm

จากนั้นก็ศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่เพื่อนศึกษากันส่วนใหญ่

www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

แหล่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้พอจะเข้าการสอนจากวิดีโออยู่บ้างค่ะ

จากการศึกษาเรื่องนี้จากวีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ หนูไม่เข้าใจคะ เพราะหนูมีปัญหาพื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ดี ก็เลยทำให้หนูไม่รู้เรื่องใน วิดิโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ ซึ่งการสอนของท่านดูชำนาญ คล่องแคล่วน่าเรียนรู้ด้วย และถ้าเป็นภาษาไทยหนูก็คงจะเข้าใจมากขึ้นสำหรับการสอนใน วิดิโอนี้ แต่หนูก็พยายามดูให้เข้าใจแล้วไปอ่านในหนังสือเพิ่มเติมก็พอรู้เรื่องบ้างคะ ของคุณอาจารย์มากค่ะที่ได้นำสื่อมาให้พวกหนูได้เรียนรู้....

จากที่ได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับการสอนกฎของเกาส์ ที่อาจารย์ให้ไปคึกษานั้นทำให้รู้ถึงความบกพร่องของตัวเอง คือ

  • มีความบกพร่องทางด้านภาษาอังกฤษ ฟังแล้วก็แปลไม่ออก แปลออกแค่บางคำเท่านั้น จึงส่งผลให้ดูวิดีโอไม่รู้เรื่องค่ะจากที่ดูรอบแรก
  • เมื่อเปิดดูอีกรอบ บวกกับที่อาจารย์ได้อธิบายในชั่วโมงเรียนนั้นทำให้เข้าใจมากขึ้น ว่าช่วงนี้เขาพูดถึงเรื่องอะไรโดยฝึกใช้ทักษะการดูประกอบกันถึงแม้จะฟังไม่รู้เรื่องค่ะ

สิ่งที่ประทับใจในการสอนของศาสตราจารย์วอลเตอร์

  • เขามีความทุ่มเทในการสอน ถ้าการสอนของเขาเป็นภษาษไทยคงจะทำให้เข้าใจมากเลยทีเดียวค่ะ เนื่องจากการสอนของเขาจะใช้ชอล์คหลายๆสี แต่ละสีใช้แทนลักษณะต่างๆ เช่น สีชมพู แทน เส้นสนามไฟฟ้า,สีขาวแทนก้อนวัตถุ,สีเขียวแทนพื้นที่A เป็นต้น ทำให้เข้าใจได้ง่าย
  • ในการสอนของเขาจะไม่นั่งสอนกับโต๊ะ มีการยกตัวอย่างสิ่งที่อยู่รอบตัว มีการแสดงลักษณะท่าทางประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งเหมือนกับอาจารย์เลยค่ะ

เว็บไซด์ที่ไปศึกษาเพื่อเพิ่มเข้าใจค่ะ:

www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

http://physics.science.cmu.ac.th/courses/207102/slide2.files/frame.htm#slide0005.htm

 

จากที่ดูวีดีโอแล้ว หนูไม่รู้เรื่องเลยค่ะ แต่ดูจากการสอน ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ แล้วถ้าหนูเก่งภาษาอังกฤษหรือไม่ก็วีดีโอเป็นภาษาไทยก็จะทำให้หนูได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎของเกาส์เป็นอย่างมากเลยค่ะ

จากที่หนูก็ได้ศึกษากฎของเกาส์จากอาจารย์ในชั้นเรียนก็ทำให้หนูเข้าใจในกฎของเกาส์และได้ก็ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมอีกครั้งจาก

http://www.physics.kku.ac.th/~sprajakk/files/GenPhysII/Gauss_law.pdf

http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/53/Laser-CD.htm

ก็ทำให้เข้าใจในกฎของเกาส์มากขึ้นค่ะ

จากการศึกษาคลิปวิดีโอ ศาสตร์ตราจารย์ วอลเตอร์ หนูไม่เข้าใจเลยค่ะ ปัญหาที่ไม่เข้าใจก็เพราะว่า สอนเป็นภาษาอังกฤษ แต่วิธีการสอนดีมากค่ะ ถ้าได้วีดีโอเป็นถาษาไทยคงจะดีไม่น้อยเลย เรียนในวีดีโอและก็ไปเรียนกับอาจารย์เพิ่มในส่วนที่ไม่เข้าใจ แต่ถึงยังไงการเรียนในห้องเรียนเพียงแค่วันละไม่กี่ชั่วโมงก็คงไม่เพียงพอ หนูก็จะพยายามหาเวลาว่างไปศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างที่อาจารย์ว่า ฮ่าๆๆ

อย่างที่เพื่อนๆหลายคนบอก ภาษาอังกฤษก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ เรียนเป็นภาษาไทยก็ว่ายากแล้ว แล้วภาษาอังกฤษจะเป็นยังไง ดูภาพ ขั้นตอนและเนื้อหาก็เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี คงต้องพยายามมากขึ้นกว่าเดิมอีีกหลายๆเท่า

อยากบอกอาจารย์ว่า ตอนนี้เริ่มจะชอบการเรียนแบบนี้ขึ้นมานิดนึงค่ะ อาจจะเพราะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการเรียนแบบนี้ แล้วก็แเป็นคนค่อนข้างโลวเทคและไม่มีเวลามาใช้อินเตอร์เน็ตมากนักก็เลยไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี

จากการดูวิดีโอของศาสตราจารย์วอลเตอร์นะคะ ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการศึกษาแต่ก็ยังไม่เข้าใจเนื่องจากปัญหาทางด้านภาษา ประกอบกับเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยอาจต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่น จึงได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งอื่นจึงทำให้เข้าใจมากขึ้นคะ แต่ถ้าอาจารย์กรุณาอธิบายเพิ่มเติมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งคะ

จากการได้ศึกษาวิดิโอเรื่องกฏของเกาส์ของศาสตราจารย์วอลเตอร์ อาจเกิดความไม่เข้าใจในบางจุด เนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบกับเป็นวิชาฟิสิกส์ทำให้ยากขึ้น แต่ถ้าได้ไปศึกษาจากวิดิโอที่เพื่อนๆช่วยกันนำเสนอทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เเต่ก็คงจะดีถ้าอาจารย์ช่วยบรรยายเพิ่มเติมคะ

จากการดูวิดีโอของศาสตราจารย์วอลเตอร์นะคะ ท่านเป็นอาจารย์ที่ดูแล้วรู้เลยว่าชำนาญการสอนมากๆ เพราะท่านสอนได้ดีมาก สอนละเอียด เด็กๆที่ได้เรียนกับท่านน่าจะเรียนสนุก ได้ความรู้อย่างเต็มเปี่ยม แต่ถามว่าเราเข้าใจไหม ก็คงจะตอบได้เลยว่าไม่เข้าใจที่ท่านพูดเลยแม้แต่น้อย เพราะขนาดเรียนภาษาไทยยังไม่ค่อยจะเข้าใจเลย นี้เป็นการสอนภาษาล้วนๆคงจะเข้าใจอยู่มั่ง ก็รู้ว่าภาษานะมีส่วนสำคัญากในปัจจุบันนี้แต่อย่างว่าแหละพื้นฐานก็ไม่ค่อยได้เลยต้องทำใจนะค่ะ และจากที่อาจารย์สอนในห้องก็ทำให้เข้าใจเนื้อหาากขึ้น อาจจะไม่เข้าใจทั้งหมดแต่ก็พอรู้เรื่องอยู่บ้างค่ะ และสุดท้ายอยากให้อาจารย์หาวีดีโอที่เป็นทั้งสองภาษามาลงนะคะ เพราะอย่างน้อยจะได้เข้าใจเวลาที่ดูวีดีโอมากขึ้นค่ะ

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป..หนูพยายามเปลี่ยน Data ให้เป็น Information อยู่จึงมาตอบกระทู้ช้าไปนิด..หวังว่านี่คงไม่ใช่ปัญหานะคะ :)ก่อนอื่นขอแนะนำตัวช่วยตลอดหนึ่งวีคที่ผ่านมาก่อน นี่เป็น link ไฟล์ประกอบการสอน ของ มทส. >> อันแรก http://www.atom.rmutphysics.com/charud/transparency/6/Gauss/1_coulomb-gauss_files/frame.htm

และอันนี้

http://science.sut.ac.th/physics/courses/105102/54-T2/Lecture/105102_1%20sec2.pdf ช่วยได้มากค่ะ ^^

การเรียนเรื่องกฎของเกาส์กับศาสตราจารย์วอลเตอร์บน website ประกอบกับ lecture ของอาจารย์ในห้อง พอเข้าใจได้ว่าเป็นกฎที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างฟลักซ์ไฟฟ้าบนผิวปิดใดๆกับประจุที่อยู่ในผิวปิดนั้นส่วนเรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับกฎ data ยังไม่ค่อยเป็น Information เลยยังอธิบายด้วยภาษาของตัวเองไม่ได้คงต้องใช้เวลาอีกซักหนึ่งวีคค่ะ การเรียนกับ ศาสตราจารย์วอลเตอร์ ข้อดีคือ "Can Replay" ฟังซ้ำ ๆ ดูซ้ำ ๆ ได้เรื่อย ๆ กว่าจะถึงนาทีที่ 51 นี่กด ปุ่ม play , pause ไปหลายรอบเพื่อที่จะวาดรูปแล้วเอามาใช้ตัวช่วยเพื่อทำความเข้าใจอีกรอบค่ะ (ปล.มีหลักฐานการเรียนรู้มาอ้างอิงด้วยค่ะ..ช่วงนี้เรียนประวัติศาสตร์ฯ อินมากกกก 555+)

สวัสดีค่ะอาจารย์ มาช้าไปหน่อยพอดีว่าไม่สบายอยู่หลายวัน ก้เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงนั่นเอง กลางวันร้อนกลางคืนหนาวยากที่จะปรับตัวนะค่ะ แต่อากาศจะเป็นยังไงก็ช่างมันเถอะ เอาเป็นว่าสรุปเลยแลวกันสำหรับคลิปๆนี้ จาการที่ได้ศึกษาจากคลิปนี้ยอมรับเลยค่ะว่าฟังไม่ค่อยรู้เรื่องแต่ก็พยายามที่จะฟังโดยฟังหลายๆรอบ ฟังซ้ำ และสังเกตจากที่ท่านศาสตราจารย์เขียนบนกระดานก็พอที่จะเดาๆออกบ้างว่ากำลังสอนเรื่องอะไร เก่อนที่จะเข้าใจกฎนี้ ต้องรู้จักเส้นแรงไฟฟ้าและฟลักซ์ไฟฟ้าก่อน ซึ่งอาจารย์สอยก่อนที่หนูจะได้ชมคลิปนี้ และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเวปของฟิสิกส์ราชมงคลซึ่งเขาทำไว้ค่อนข้างละเอียดและทำให้เข้าใจได้มากขึ้นhttp://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/53/Laser-CD.htm และในหนังสือเล่มที่อาจารย์สอนเมื่อเทอมที่แล้วจะคล้ายๆกับฟิสิกส์ราชมงคลเลยค่ะ ซึ่งหนูก้ได้ศึกษาเพิ่มจากที่เรียนในห้องซึ่งทำมาตลอดเมื่อเทอมที่แล้วค่ะ

จากการศึกษาเรื่องนี้จากวีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ หนูไม่เข้าใจเลยค๊ะ เนื่องจากหนูมีปัญหาเรื่องของภาษา ก็เลยทำให้หนูไม่เข้าใจเนื้อหา ในวิดิโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ แต่การสอนโดยสือก็ดีน๊ะค๊ะ แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ หนูอยากให้อาจารย์สอนในชั่วโมงก่อนค๊ะแล้วค่อยให้ดูสื่อ เพื่อที่นิสิตจะได้ทำความเข้าใจในบางส่วนของเนื้อหาค๊ะ

จากการที่ได้ดูวีดีโอการสอนเรื่องกฏของเกาส์ของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ แล้วทำให้ไม่ค่อยที่จะรู้เรื่องเทาไร่นัก เนื่องมาจากมันเป็นภาษาที่เราไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันของเราแต่ในบางคำพูดบางหัวข้อก็พอที่จะเข้าใจอยู่บ้าง จากการที่ไม่ค่อยเข้าใจนี้เลยทำให้ได้ไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นคือ http://physics.science.cmu.ac.th/courses/207102/slide2.files/frame.htm#slide0005.htm

จากการที่ได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้นี้แล้วและจากการที่อาจารย์ได้สอนเพิ่มเติมแล้วทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น...

จากคลิปที่ให้ดู เป็นคลิปการสอนของศาตราจารย์วอลเตอร์ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ

ถ้าถามผมว่า 1. ดีไหม ตอบว่า ดีครับ

ดูโดยไม่ฟัง ก็ตอบได้ว่าดี เพราะเดาจากภาพที่เห็นได้ทางตา ภาษาไม่ได้ช่วยไรมากนัก หรือไม่ได้ช่วยไรเลย เพราะผมอ่อนภาษาอังกฤษ

2.เข้าใจไหม ตอบว่า ไม่ครับ

เพราะผมอ่อนภาษาอังกฤษ สำหรับผม ถ้าจะทำแบบนี้บ่อยๆๆ น่าจะมีซับภาษาไทยให้ได้อ่านด้วยก้อดีนะครับ เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องเลย....

หลังจากที่ดูวีดีโอกฎของเกาส์ ของศาสตราจารย์วอลเตอร์ หนูมีความรูสึกว่าอยากจะฝึกฝนภาษาอังกฤษให้มากกว่านี้ เพราะดูแล้วไม่เข้าใจ แปลไม่ค่อยออก แต่หนูชอบวิธีการสอนของท่าน มีทั้งการยกตัวอย่าง และการทดลอง ทำให้น่าสนใจ และทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้น

วิดีโอคลิปนี้ยอมรับว่าไม่เข้าใจน่ค่ะ แต่ก้อพยายามที่จะฟังซ้ำหลายๆรอบและพยามที่จะแปลเปนไทยแ่ก้อยังเป็นเรื่องที่ยากยุสำหรับหนูแต่ถึงยังไงหนูก้อจะพยายามทำความเข้าใจน่ะค่ะและหนูก้อลองไปศึกษาอย่างแหล่งอื่นดูเพื่อเพื่อเป็นการเพิ่มความคิดไปในหลายๆรูปแบบ

แต่ศาสตราจารย์ วอลเตอร์เขามีเทคนิคในการสอนที่ดีสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสอนเด็กต่อไปได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

http://physics.science.cmu.ac.th/courses/207102/slide2.files/frame.htm#slide0005.htm

ก่อนอื่นหนูก็ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยนะคะ ที่ตอบบล็อกนี้ช้ามาก พอดีหนูเพิ่งหาบล็อกเจอค่ะ

...จากที่ได้ดูวีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ ก็ได้เห็นการสอนที่เต็มพร้อมด้วยความตั้งใจ ที่จะสอนและอธิบายเนื้อหาเพื่อจะถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองสอน โดยนอกจากการบรรยายนั้น ก็ยังมีการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากขึ้น ก็พอจะรู้เรื่องว่า เรื่องที่สอนคือ ฟลักซ์ไฟฟ้า (Electric Flux)และสนามไฟฟ้า เพราะสังเกตได้จากภาพที่วาดและสมการที่เขียนบนกระดาน

...เนื่องจากวีดีโอนี้เป็นภาษาที่หนูไม่เข้าใจ ทำให้หนูรู้สึกว่าหนูต้องเข้าไปค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับกฎของเกาส์เพื่อจะทำความเข้าใจให้ตนเองสามารถรู้เรื่อง และเข้าใจ กฎของเกาส์มากขึ้นค่ะ ซึ่งก็พอจะเข้าใจมากขึ้นจากเว็บไซด์ที่ศึกษาเพิ่มเติมดังนี้

http://www.tnhpit.ac.th/mahidol/electromegnetism/sub_lesson/2_6.htm

http://writer.dek-d.com/enoomod/writer/viewlongc.php?id=430384&chapter=22

จากการดูวีดีโอ และศึกษาเพิ่มเติม จากเว็บไซด์ก็ทำให้เข้าใจ เรื่องกฎของเกาส์มากขึ้นค่ะ

หนูว่าหนูคงตอบช้าสุดแล้วล่ะมั้ง ขอโทษค่ะอาจารย์ หนูไม่ค่อยเข้าดู

จากการศึกษาเรื่องนี้จากวีดีโอของ ศาสตราจารย์ วอลเตอร์ เอาตรงๆนะค่ะ วิดีโอคลิปนี้ยอมรับว่าไม่เข้าใจค่ะ แต่ก้อพยายามที่จะฟังซ้ำหลายๆรอบและพยามที่จะแปล แต่ก้อแปลได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าหนูฟังรู้เรื่อง หนูว่าวิธีการสอนของท่านของเจ๋งมากๆค่ะ

หนูว่าหนูเคยตอบบล็อกนี้ไปแล้วนะ แต่หนูเข้าดูแล้วไม่เห็นหนูก้อเลยมาตอบใหม่ในวันนี้หมดเลย

เรียนรู้ได้จากลิงค์นี้เลยค่ะ

webhost.wu.ac.th/magnetism/3Gauss.doc

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท