เล็กๆ น้อยๆ กับการใส่ใจ.


"นักศึกษามักจะยิ้มอย่างประทับใจเสมอ เมื่อฉันเรียก ชื่อเขาถูก และให้ฉ้นรู้ว่า เขาดีใจที่ฉันจำชื่อเขาได้"

ฉันคิดว่า  ศิลปะอย่างหนึ่งที่ FA ควรจะมีคือ "ความใส่ใจกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ"..
ในชั้นเรียน หรือ นอกชั้นเรียน ที่ครูผู้สอนพยายามที่จะจดจำ "ชื่อ" หรือ "จุดเด่น" ของผู้เรียนแต่ละคน  เมื่อได้ประสบพบเจอกัน จะสร้างรอยยิ้มและความประทับใจให้กับเขาได้..

ในกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ฉันมุ่งทำความรู้จัก สร้างข้อตกลงร่วมกัน และสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน  แม้ว่าในคาบแรก ครูจะยังจำชื่อ และลักษณะพิเศษของนักศึกษาแต่ละคนไม่ได้  แต่สิ่งแรกที่ฉันพยายามที่จะทำคือ การจดจำชื่อเล่น หรือ จุดเด่นของนักศึกษาแต่ละคน

ฉันพบว่า หลายครั้งที่ฉันเรียกชื่อ หรือ จดจำชื่อพวกเขาได้  ฉันจะได้รับคำตอบว่า "อาจารย์จำชื่อผมได้ด้วยเหรอครับ ผมคิดว่าอาจารย์จะจำไม่ได้?"  / อาจารย์เก่งจัง ยังจำหนูได้?  พร้อมด้วยรอยยิ้ม และความรู้สึกที่รับรู้ได้ว่า เขาดีใจที่ครูจดจำเขาได้

การจดจำชื่อ หรือ รายละเอียดเล็กๆ ของคู่สนทนา  ก็เกิดได้ด้วยความใส่ใจนี่เอง..  แม้จะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนคุณลักษณะนิสัย  หรือ เก็บเกี่ยวข้อมูลอะไรได้มาก แต่มันก็เป็นก้าวแรก ที่ทำให้เขากล้าที่จะเข้าหา และแวะเวียนมาปรึกษาพูดคุย พร้อมทั้งยินดีให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับเรา...

นอกจากนี้ ความใส่ใจ...เกิดได้เสมอ ไม่ว่าในโลกออนไลน์ และโลกแบบเผชิญหน้า.    "การฟังอย่าใส่ใจ...จะมีการโต้ตอบคู่สนทนา โดยใช้คำพูด อืม...ครับ ...ค่ะ  ให้เขารู้ว่า เราฟัง    การใช้สายตาจดจ้องตั้งใจฟังด้วยความเมตตา.. และการตอบโต้ด้วยคำชม ..เช่น  หนูเก่งมากนะ รู้ม้ั้ยสิ่งที่หนูทำได้นี่้ ครูยังทำไม่ได้เลย.. แต่ครูกำลังฝึกอยู่นะ  (นักศึกษาที่นี่ เก่งเรื่องการออกกำลังกาย ตื่นเช้าแล้ววิ่งทุกวันค่ะ)  อะไรเหล่านี้  เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ก่อให้เกิดการรับรู้ได้ด้วยใจ และมันจะเป็นการเรียนรู้พฤติกรรม หรือ แบบอย่างไปโดยอัตโนมัติ
..

วันนี้ ความใส่ใจของตนเองในการเขียนอาจจะน้อย เพราะไม่ได้ทบทวน..แต่ขอให้มีบันทึก 1 บันทึกก่อนที่จะไปทำภารกิจอื่น..

^ ^

คำสำคัญ (Tags): #facilitators#facilitator
หมายเลขบันทึก: 468822เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2011 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

การดูแลเอาใจใส่ก็คือการมอบสิ่งดีๆให้เค้า

เก็บรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อยๆ

เด็กก็ชื่นชมค่ะ

เราก็จะได้ใจเค้ากลับมาค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์อัญชลี   ที่แวะมาทักทาย และให้กำลังใจ..
สำหรับในสังคมการเรียนรู้ ดิฉันก็เป็นเหมือนกับเด็กๆ เช่นกันค่ะ...
วันนี้ก็เลยได้ใจ... ^ ^ จากอาจารย์ค่ะ.
ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์โสภณ สำหรับกำลังใจ พร้อมดอกไม้ที่แบ่งบานและเจริญเติบโตเต็มบานหน้าต่าง...

มันเป็นความงดงามที่สามารถรับรู้ได้ค่ะ ^__^

ขอบคุณสำหรับความรู้สึกดีๆ ค่ะ

เล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆ ค่ะสำหรับการเป็นครูเพื่อศิษย์ ^_^

ขออนุญาตินำข้อเขียนนี้ไปลิงค์ในเว็บครูเพื่อศิษย์ นะคะ

http://learning.thaissf.org

ขอบคุณอาจารย์อ้อสำหรับกำลังใจค่ะ...

อันนี้ก็ เล็กๆ น้อยๆ กำลังใจที่มอบให้กันในสังคมการเรียนรู้ค่ะ

ยินดียิ่งค่ะ หากข้อมูลเล็กๆน้อยๆ นี้จะพอมีคุณค่าและเป็นประโยชน์

การใส่ใจ  เป็นการให้ความสนใจและให้การยอมรับ  เด็กเขาจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าครับ

ค่ะ ท่านรองฯ การใส่ใจ มีผลต่อ "กำลังใจ" ...

มันเป็นพลังที่ยิ่งใจต่อการพัฒนาการเรียนรู้

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท