ชาวนาวันหยุุด ตอนที่ 10.4 Video-พิสูจน์ระบบรากข้าวนาดำ-ทรงต้น-รวงข้าว


สิ่งที่คนทำนา รุ่นหลังๆ ไม่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ของต้นข้าว ก็คือการ "ออกราก" "แตกกอ การแตกหน่อ(ลำ)" แต่ไปสิ้นเปลืองกับเมล็ดพันธุ์ เพิ่มจำนวน "ต้นข้าว" เพิ่มปุ๋ย เพิ่มยา ในเเปลงนาแทน จากฟังก์ชันการผลิตเเบบ "ทวีคูณ" 1 ต่อ 10 ต่อ 20 กลายเป็นฟังก์ชันการผลิตแบบ "ถดถอย" 1 ต่อ 1 ต่อ 2 ซะอย่างนั้น

"ราก ---->

ลำ(หน่อ)

 ----> รวง"

 

step ในการ "เพิ่มผลผลิตข้าว"

คือ "การเพิ่ม จำนวนรวงต่อพื้นที่"

"ค่าเฉลี่ย ควรอยู่ที่ 250-340 รวงต่อ 1 ตารางเมตร"

ถ้ามากไปกว่านี้ ก็จะแน่น เบียดแย่งแสง เมล็ดข้าวไม่แกร่ง ครับ

ถามว่า เริ่มต้น ควรใช้เมล็ดพันธุ์ ต่อตารางเมตรเท่าไร ? เพื่อให้ได้จำนวนรวงที่เหมาะสม

ผมเคยเเลกเปลี่ยนไว้ในบันทึกนี้ครับ 

ต้นทุน ผลผลิตข้าว บนพื้นที่ 1 ตร.ม.

"ราก ---->ลำ(หน่อ)----> รวง"

โดยใช้ การจัดการเเปลงนา กระตุ้นให้ข้าวใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่(+สิ่งที่มีในธรรมชาติ คือ เเสงเเดด อากาศ น้ำ) พัฒนาตั้งแต่ ระบบราก การแตกกอ(ลำ) และสร้างรวงที่สมบูรณ์

-เริ่มจาก "พัฒนาระบบรากข้าว" ให้หาอาหารในรัศมีที่มากกว่าหน้าผิวดิน

"กระตุ้นให้ออกรากใหม่หาอาหารเพิ่มขึ้น ตลอดเวลา ด้วยการ "แกล้งข้าว"

-เมื่อหาอาหาร มาเลี้ยงต้นแรกสมบูรณ์ได้แล้ว ก็

"แตกหน่อ เพิ่มจำนวนมากขึ้น มากขึ้น"

-และ "ระบบรากข้าว" ก็ยังคงหาอาหารมา "บำรุงหน่อ ให้สมบูรณ์" พร้อมรับสำหรับการตั้งท้อง ออกรวงที่สมบูรณ์ต่อไป

สิ่งที่คนทำนา รุ่นหลังๆ ไม่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ของต้นข้าว ก็คือการ "ออกราก" "แตกกอ การแตกหน่อ(ลำ)"

แต่ไปสิ้นเปลืองกับเมล็ดพันธุ์ เพิ่มจำนวน "ต้นข้าว" เพิ่มปุ๋ย เพิ่มยา ในเเปลงนาแทน   

จากฟังก์ชันการผลิตเเบบ "ทวีคูณ" 1 ต่อ 10 ต่อ 20 กลายเป็นฟังก์ชันการผลิตแบบ "ถดถอย" 1 ต่อ    1 ต่อ   2 ซะอย่างนั้น 

 ผลตอบแทน ที่ควรได้ หายไป  หายไปไหนหมดครับ??? 

 

"ราก ---->ลำ(หน่อ)----> รวง"

 

หมายเลขบันทึก: 468693เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2011 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 06:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กอใหญ่รากเยอะ

รวงมากเมล็ดดก

  • ชีวิตเหมือนเกลื่อนดาวในราวฟ้า
  • ลอยเวหากลางหาวคราวมองเห็น
  • มีเบื้องหลังความเงียบอันเยียบเย็น
  • บางดาวเร้นหลีกหายลับสายตา


ขอบคุณครับ อ.โสภณ 

ที่ไร่ ลองปลูกข้าวบ้างหรือยังครับ

เป็นกระบวนการทำงานที่นำหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้อย่างเต็มที่ สนับสนุนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท