ลดการติดเชื้อในโรงพยาบาล...ทำยากแต่ทำได้


ช่วงนี้คุณย่าของสามหนุ่มอยู่ในห้อง ICU ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ต้องให้ยาฆ่าเชื้อซึ่งน่าจะได้รับมาตั้งแต่เข้าโรงพยาบาลครั้งก่อน ที่น่าเป็นห่วงก็คือเป็นเชื้อดื้อยาหลายตัวเหลือเกิน เกือบจะไม่มียาไหนให้เลือกใช้ได้อีก ทำให้ได้เห็นจริงๆว่าผลของการติดเชื้อของโรงพยาบาลนั้นน่ากลัวจริงๆ เป็นผลพลอยได้ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของการที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลแล้วจำเป็นต้องมีการใส่เครื่องมือใดๆเข้าไปในร่างกาย ซึ่งการระมัดระวังดูแลไม่ให้ผู้ที่นอนโรงพยาบาลต้องได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายนั้น ต้องอาศัยความพยายามอย่างสูงยิ่งจริงๆในทุกๆขั้นตอนที่ต้องทำกับผู้ป่วย น่าเห็นใจบุคลากรทั้งแพทย์และพยาบาลที่ต้องดูแลคนป่วยมากมายในแต่ละวัน 

มาวันนี้ได้เห็นสไลด์ชื่นชมความพยายามในการลดอัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของทีมแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ของเรา ซึ่งจากตัวเลขที่นำมาแสดงนั้น น่าชื่นชมจริงๆ ขอนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกๆโรงพยาบาล ที่จะช่วยกันรณรงค์เพื่อให้เรื่องที่ทำยากเช่นนี้ ทำได้ในทุกๆโรงพยาบาล เพราะผลที่ตามมานั้นมีคุณค่ามหาศาลต่อทั้งสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย และต่องบประมาณในการสรรหายาฆ่าเชื้อใหม่ๆเพื่อมากำจัดเชื้อดื้อยา ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอยู่เสมอตลอดมา 

Large_20111116101237a

Large_20111116101237b

Large_20111116101237c

หมายเลขบันทึก: 468679เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2011 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอให้คุณย่าอาการดีขึ้นโดยเร็วนะคะพี่โอ๋

การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยนอนนานและใส่ท่อชนิดต่างๆ

นวัตกรรมต่างๆในการจัดการป้องกันปัญหาจึงมีมาเรื่อยๆและเป็นความพยายามของคนสาธารณสุข

มอ.นับว่าเป็นรพ.ที่มีการพัฒนาเป็นที่ประจักษ์นะคะ

ขอให้คุณย่าหายไวๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท