เรื่องนี้อาจเป็นข้อมูลบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านท่วมเมืองครั้งใหญ่หลวงที่เกิดผลเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินของผู้คนชาวไทยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔
จากการศึกษาเรื่องขึดหรือข้อห้ามของผู้คนล้านนามีผะหญา(ภูมิปัญญา)มากมายที่ให้ข้อคิด ให้ความรู้ในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเช่นเรื่อง "ขึดขวง" หรือขึดหลวง ซึ่งแปลว่าข้อห้ามที่ยิ่งใหญ่หากทำผิดแล้วจะเกิดภัยตามมา
มีข้อหนึ่งกล่าวถึงการขึดสรุปว่า " หากผู้ใดถมสมุทรจักขึดนักแล" หมายความว่า หากมีคนไปถมทางน้ำหรือสายน้ำจะทำให้ตกขึดหรือเกิดผลเสียหาย
ผู้คนปัจจุบันมักมีคำถามว่า "ขึดคืออะไร? มันเป็นตัวตนรูปร่างอย่างไร? ทำไมต้องว่าขึด?
ขึดเป็นคำพูดของบรรพชนชาวล้านนาที่ห้ามการกระทำแต่ผู้คนปัจจุบันเห็นว่าเรื่องขึดเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นความค่ำครึของคนโบราณไม่มีเหตุผล ไม่เป็นวิถีทางวิทยาศาสตร์ คนปัจจุบันหลายคนจึงไม่เชื่อ แถมบางครั้งเมื่อได้ยินคำว่า "ขึด" ยังหัวเราะเยาะหยัน เพราะไม่เชื่อเรื่องขึด
ลักษณะของขึดมีืั้หลายระดับขึดเช่นที่เป็นภัยต่อคนเพียงคนเดียวเรียกว่าขึดระดับบุคคล บางลักษณะเกิดความเสียหายเกิดความวินาศกันทั้งเมืองเรียกกันว่าขึดระดับเมือง
เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในสมัยใหม่ผู้คนจัดการถมสายน้ำเดิม ถมแก้มลิง ถมที่อยู่ของน้ำมาเป็นที่อยู่ของผู้คน เป็นบ้านจัดสรร เอาเป็นว่ายึดเอาที่ของน้ำอยู่มาเป็นบ้านเมืองที่อยู่อาศัยปัญหาจึงเกิดขึ้นในระดับเมืองคือน้ำท่วมบ้านท่วมเมืองอย่างที่เห็นๆลักษณะนี้เองจึงเรียกว่า "บ้านเมืองตกขึด" เกิดอุทกภัยหรือภัยจากน้ำที่ไหลไปตามทางที่เดิมเคยมีอยู่หรือเดิมที่มีแอ่งให้น้ำไหลลงอาศัยในแอ่ง
นอกจากปัญหาการถมแอ่งน้ำถมสายน้ำโดยตรงแล้วยังเกิดปัญหาการทิ้งขี้เหยื้อ(ขยะ)ลงในสายน้ำ ลำคลองเกิดเป็นสิ่งกีดขวางสายน้ำไหลที่ไหลตามธรรมชาติ บางแห่งถมฝั่งน้ำขยายออกไปเพื่อเพิ่มสถานที่ให้กว้างขึ้นแต่กลับกลายเป็นทำให้สายน้ำแคบลง สิ่งเหล่านี้เรียกกันว่าขึดขวงทั้งสิ้น
เมื่อเกิดขึดขวงหรือเกิดภัยอย่างใหญ่หลวงจากน้ำจะไปโทษใครคงไม่ได้ก็มนุษย์นี่แหละที่ต้องรับผิดชอบ และต้องช่วยการแก้ไข โดยเฉพาะต้องลดความเห็นแก่ตัวในการถมสายน้ำ รุกล้ำแม่น้ำ การทิ้งขยะลงน้ำ พร้อมๆกับการการทำนุบำรุงฟื้นฟูสิ่งที่ขาดหายไปจากเดิมมี
"ขึด"คำพูดคนล้านนานั้นมีเหตุผล มีที่มาที่ไป มีหลักการให้ข้อคิด ใช่ว่าไร้เหตุผลตามที่คนสมัยใหม่หลายๆคนปรามาส แต่ในทางตรงกันข้ามหากไม่เชื่อก็ตกขึดต้องพากันรับชะตากรรม ภัยจากเชื้อโรคที่มาตามน้ำหลาก ภัยจากราคาสิ่งของเครื่องใช้สูงขึ้น ขาดแคลนสิ่งของอุปโภค บริโภคตามมา ข้าวยากหมากแพง ทุกข์กันทั้งเมืองเพราะขึดขวงที่น้ำท่วมบ้านเมืองในปี พ.ศ.๒๕๕๔นี้แล
เอ่อเขียนผิดครับ เอาใหม่ครับ ขอบคุณจั๊ดนัก ครับ
คนโบราณเขามีกุศโลบายในการดำเนินชีวิตและสอนลูกหลานที่พัฒนามาเนินนานและใช้ได้ไม่ขัดเขิน
แต่คนปัจจุบันหาได้เรียนรู้วิถีโบราณ ทำตามวิธีเงินตรา บ้านเมืองจึงเป็นเช่นนี้
เราแทบไม่สนจารีตใด ๆ อีกต่อไป บทบาทในการควบคุมทางสังคมของคำสอนของคนโบนสณไม่ขลังอีกต่อไป
และที่เลวร้าย การเรียนการสอนในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เรียนแผนที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมก็ไม่ได้สอนเรื่องแบบนี้อีกแล้ว
เด็กไทยไม่รู้จารีตของบรรพบุรุษเสียแล้ว เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นก็โืษกันไปโทษกันมาไม่มีความสามัคคี
ผมเสียใจและเสียดายจริง ๆ ครับ
ขอบคุณครับคุณอนุสรณ์และคุณ วาทินที่มาแวะอ่านครับ........
ปัจจุบันคนขาดจารีตที่ดีงามมันจึงเป็นเช่นที่เห็นๆ...
ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน...พรหมมา