ภาษาผู้ไท(๒)


        ผู้เขียนขอเล่าต่อจากบันทึกนี้นะคะ วันนี้จะเล่าถึงหมวดเครื่องใช้เครื่องแต่งกายค่ะ

        ก่อนจะเล่าต่อขอบอกไว้อีกว่าการออกเสียงในภาษาผู้ไทจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่สูงกว่าเสียงโทแต่ตำ่กว่าเสียงตรีอยู่หลายคำ(ผู้เขียนจะขอใช้  ้๊ี ๊  แทนเสียงที่สูงกว่าเสียงโทและต่ำกว่าเสียงตรีนะคะ)และจะไม่มีเสียงสระอัว แต่ใช้สระโอแทน ใช้สระเอแทนสระเอีย ไม่มีฟ,ฝ ใช้พ,ผแทน ไม่มีช ใช้ซแทน บางคำจะมีว.ควบกล้ำเช่นขี่ก็ว่าขวี่ ตัวที่มีเสียงขึ้นนาสิกผู้เขียนจะใช้ตัว

หมวดเครื่องแต่งกาย

หมวก ผู้ไทเรียกว่า โมก

แว่นตา ผู้ไทเรียกว่า แว้นต่า

ตุ้มหู ผู้ไทเรียกว่า ต้ ๊าง

สร้อยคอ ผู้ไทเรียกว่า ส่ายส้ ๊อย

สร้อยข้อมือ ผู้ไทเรียกว่า ส่ายแหน

กำไล ผู้ไทเรียกว่า ก่องแหน

เสื้อ ผู้ไทเรียกว่า เส้ ๊อ ซึ่งจะมี เส้๊ ๊อแห่นญ่าว(เสื้อแขนยาว) เส้ ๊อแห่นสั้ ๊น (เสื้อแขนสั้น), เส้ ๊อห้ ๊อย(เสื้อคอกระเช้า) เส้ ๊อก้๊ ๊าม(เสื้อกล้าม)

ผ้าถุง ผู้ไทเรียกว่า สิ้ ๊น ซึ่งจะมี สิ้ ๊นมี่ไหม,สิ้้ ๊นมี่ไหม่ (ผ้าถุงไหมมัดหมี่) สิ้ ๊นมี่ผ้ ๊าย (ผ้าถุงฝ้ายมัดหมี่) สิ้ ๊นโต้งนึ้ง(ผ้าถุงหนึ่งผืน)

เข็มขัด ผู้ไทเรียกว่า มัดแอ๋ว

กางเกง ผู้ไทเรียกว่า ส้ ๊ง ซึ่งจะมี ส้ ๊งห่าลั่ง (กางเกงขายาว) ส้ ๊งห่าสั้ ๊น(กางเกงขาสั้น) ส้ ๊งโห่-ลว้ ๊าย (กางเกงขาก๊วย)

ผ้า ผู้ไทเรียกว่า แพ่ เช่น แพ่ม่น (แพมน คือผ้าเช็ดหน้า) แพ่หาว (ผ้าฝ้ายทอมือสีขาวได้จากเส้นฝ้ายที่เข็นโดยใช้เหล็กไนและหลาจากปุยฝ้ายพื้นเมือง ผ้านี้จะทอไว้เป็นม้วนม้วนละไม่ต่ำ่กว่า๑๐วา ใช้สำหรับตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าหรือเอาไว้ใช้เป็นผ้าฉากบังฝาด้านหลังอาสนะพระภิกษุสงฆ์เวลามีงานที่บ้าน )

ผ้าขาวม้าผู้ไทเรียกว่า ผ้ ๊าขั่มม้า,แพ่ขั่มม้า ถ้าเป็นผืนเล็กๆที่ผู้หญิงใช้มัดหน้าอกเวลาไม่สวมเสื้อจะเรียกว่า แพ่หละเล่ง(เล่งเป็นเสียงเอ ไม่ใช่เสียงเอะ)

ผ้าสไบ ผู้ไทเรียกว่า แพ่เบ้ง(เบ้งเป็นเสียงสระเอ ไม่ใช่เสียงสระเอะ)

รองเท้า ผู้ไทเรียก เกิ้บ

หมวดเครื่องใช้

ไม้เท้า ผู้ไทเรียกว่า มั้ยขั่นเท้า

ขัน ผู้ไทเรียกว่า โอ๋,โอ่  โอ่โหล่ง(ขันใบใหญ่) โอ่น้อย (ขันเล็ก) โอ่เญ้อ (ขันใบใหญ่)

ช้อน ผู้ไทเรียกว่า  โบ้ง เช่นโบ้งเญ่อ,โบ้งโหล่ง(ช้อนคันใหญ่) โบ้งน้อย(ช้อนคันเล็ก)

ทัพพี ผู้ไทเรียกว่า จ่อง(เสียงสระออไม่ใช่เสียงสระเอาะ)

ถ้วย ผู้ไทเรียกว่า โถ้ ๊ย

จาน ผู้ไทเรียกว่า จ๋าน

กะละมัง ผู้ไทเรียกว่า กะบ๋าน

หม้อ ผู้ไทเรียกว่า ม้ ๊อ เช่น หม้ ๊อแก๋ง(เสียงแอไม่ใช่เสียงแอะ หมายถึงหม้อแกง) หม้ ๊อเข้ิ ๊า(หม้อข้าว) หม้ ๊อนั้ม(หม้อน้ำ) หม้ ๊อหนึ้ ๊ง(หม้อนึ่ง)

เครื่องสานที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว มี๒ชนิด

ชนิดที่๑ ผู้ไทเรียกว่าโฮด (เป็นเครื่องสานที่มีลักษณะเหมือนกรวยก้นป้านโดยจะสานชั้นเดียวภาษาไทยอิสานเรียกหวด)

                    

ชนิดที่๒ ผู้ไทเรียกว่า โม่ยหนึ้ ๊งเข้๊ ๊า(ไทยอิสานเรียกม่วยหนึ่งเข่า=มวยนึ่งข้าวสมัยก่อนนำขอนไม้มาขุดทำก็มีแต่ปัจจุบันมีเฉพาะที่ใช้ไม้ไผ่สานและสานสอง-สามชั้นสานเหมือนกระบอกแต่ด้านล่างสอบเข้าด้านบนบานออกเพื่อให้สอดเข้าหม้อนึ่งได้ ด้านล่างจะมีไม้ขัดปิดด้านล่าง แล้วปิดทับด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผ่นกลมๆกว้างกว่าขอบล่างเล็กนอยเวลาวางลงจะได้ไม่หลุดออก เหนือไม้ไผ่สานกลมๆจะมีรังบวบแ่ก่ที่ตัดแผ่ออกซักเมือกออกแล้ววางทับอีกทีโดยวางด้านเรียบขึ้นข้างบนถ้าไม่มีรังบวบก็ใช้ผ้าขาวบางแทน เพื่อกันไม่ให้ข้าวติดไม้ไผ่สานซึ่งผู้เขียนสังเกตว่าถ้าข้าวติดไม้ไผ่สานนี้บ่อยๆจะผุต้องหามาเปลี่ยนใหม่  

                               

  มวยที่สานจากไม่ไผ่นี้จะมีสองแบบแบบที่หนึ่งจะสานสองชั้น แบบที่สองจะสานสามชั้น ซึ่งแบบที่สานสามชั้นนี้จะเห็นมีแต่บ้านผู้ไทเท่านั้นที่สานแบบสามชั้นนี้เวลานึ่งข้าวเหนียวจะนุ่มกว่าแบบที่หนึ่งและหวด

ข้าวเหนียวที่นึ่งจากโม่ยจะนุ่มกว่าที่นึ่งจากโฮด

รังบวบและแผ่นไม้ไผ่สานที่ใช้ปิดมวยนึ่งข้าว    ผู้ไทเรียกว่า         กะเต้๊ ๊วโม่ย

 ภาชนะสำหรับรองรับข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วเอามาเกลี่ยให้เย็นลงและไม่เปียก ผู้ไทเรียกกะเบ่นซว่ายเข้ ๊า มีลักษณะเหมือนถาดทำด้วยไม้    ผู้ไทเรียกการเกลี่ยข้าวว่า ซว่ายเข้ ๊า มีไม้สำหรับเกลี่ย ผู้ไทเรียกว่า ไม้กะด้๊ ๊าม

   กระติบข้าว ผู้ไทเรียกว่า กะติ๋บ

  ขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนต

  วันนี้พอเท่านี้ก่อนนะคะ  จะมีหมวดเครื่องใช้อีกตอนต่อไป

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ


อ่านต่อ ที่นี่ นะคะ

หมายเลขบันทึก: 467735เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • เย้ๆๆ
  • ตามมาเรียนด้วยคน
  • สนุกมาก
  • ขอไปฝึกก่อนนะ
  • ลงรูปได้หรือยังครับ
  • สวัสดีค่ะ  อาจารย์ขจิต
  • ขอบคุณมากค่ะที่มาให้ดอกไม้
  • เย้ๆๆดีใจมีคนสนใจภาษานี้แล้ว
  • แล้วเหมือนกับภาษาลาวโซ่งไหมคะ
  • ลงรูปในบันทึกนะได้แล้วค่ะแต่ว่า
  • เอาไปจัดวางไว้ตรงกลางแต่พอบันทึก
  • กลับออกมาชิดขอบซ้าย
  • พอแก้ไขแล้วออกมาก็เหมือนเดิมค่ะ
  • สงสัยหัวเอียงซ้ายรึเปล่าก็ไม่รู้
  • ลองLink ก็ยังไม่ได้อีกค่ะ

 

  • ไม่เหมือนภาษาโซ่งครับ
  • แต่เป็นภาษาที่น่าสนใจมาก

,,, ยินดีที่ได้รับรู้ และ มีการบันทึกภาษาตระกูลไต อีกสายหนึ่ง

,,, ผมกำลังปูพื้นในรู้จักคนไทยอีกกลุ่มที่พูดภาษาตระกูลไตเช่นกันอีกสายหนึ่งที่อยู่ปลายสุดด้ามขวานของไทย ตอนท้ายของบันทึกคนไทยปลายด้ามขวานจะเสนอภาษาของคนกลุ่มนั้นด้วยเช่นกันครับ

,,, ตอนนี้แอบมาดูว่าควรนำเสนอในรูปแบบใดดีอยู่ อิอิ... มีการโกงนิดหน่อยตอนกรรมการเผลอ !!!!

  • ขอบคุณค่ะ ลุงมันอ้น
  • ถ้ารูปแบบการนำเสนอนี้ถูกเอาไปใช้ด้วยก็ยินดีค่ะ
  • ยังกังวลอยู่ว่าที่นำเสนอนี้จะสื่อได้ไหมหนอ
  • โดยเฉพาะเสียงวรรณยุกต์ที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างเสียงโทกับเสียงตรี
  • อยากบันทึกเสียงลงไปด้วยก็ทำไม่เป็นค่ะ
  • แล้วจะไปดูที่ท่านปูพื้นอยู่ค่ะไม่แอบล่ะไปดูชัดๆเลยล่ะค่ะ

สวัสดีครับคุณสุภัทรา วันก่อนได้เข้าไปถามคำตากใบ ...

ลองดู ๒-๓ ประโยคนะครับ

ก : กิ๋นคาวแหล้วหมี (กินข้าวแล้วหรือยัง)

ข : หม้ายทีเหลย (ยังไม่ได้กิน)

ก : มาแหล๊ะ .. มากิ๋นดวยกั๋น (มาซิ.. มากินด้วยกัน)

... เขียนด้วยคำที่มาตรฐานเสียงกลางนี้ ไม่สามารถแทนเสียงภาษาถิ่นที่มักมีเสียงกึ่งกลางระหว่างโทกับตรี อีกทั้งเสียงนาสิก ภาษาไทยกรุงเทพฯ ซึ่งถือเปนภาษากลางของไทยเราไม่มี วันหลังต้องอัดเสียง แล้วเอาคลิปมาแปะไว้ น่าจะทำได้ และ ชัดเจนกว่านะ..

  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์    ลุงมันอ้น
  • คำไทยนี่แม้จะอยู่ไกลกันก็พอฟังรู้เรื่องนะคะ
  • ถ้าเป็นผู้ไทจะว่าอย่างนี้ค่ะ

ก:กิ่นเข้ ๊าละบ้อ(กินข้าวหรือยัง)

ข: ญั่งหมิทั่นกิ๋น(ยังไม่ได้กิน)

ก: ม่าม่า ม่ากิ่นน่ำเด๋ว(มาซิ.. มากินด้วยกัน)

  • อาจารย์ค่ะแล้วมันอ้นนี่เป็นชื่อมันทางบ้านอาจารย์
  • หรือว่าเป็นชื่อมันทางอุตรดิตถ์ล่ะค่ะ
  • เป็นเถาว์หรือเป็นต้นเหมือนเผือกคะ
  • ทางนี้ไม่เห็นว่ามีค่ะหรืออาจมีแต่ดิฉันไม่รู้ก็ได้ค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ
  • ที่นี่อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร อากาศเริ่มเย็นแล้วค่ะ
  • กลางคืนจะหนาวตอนบ่ายจะร้อนค่ะ
  • อุณภูมิต่ำสุดประมาณ๒๐องศา สูงสุดประมาณ๒๙องศาเซลเซียสค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

.... มันอ้น เป็น คำที่เรียกมันชนิดหนึ่งที่ภาษากลางเรียกมันมือเสือนะครับ ภาษาเหนือ ภาษาใต้ เรียก "มันอ้อน" บ้านผมคงกร่อนเสียงลงไปนะครับ

.... มันมือเสือ (Dioscorea alata)ภาษาทั่วไปเรียกว่า lesser yam ถิ่นดั้งเดิมมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวหยัก ๆ คล้ายอุ้งเท้าเสือ จึงชื่อมันมือเสือ มันมือเสือเนื้อเหนียวดี นิยมนำมาซอยทำแกงเลียง หรือจะใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่ แกงมัสมั่นก็อร่อยดี ต้มหรือนึ่งจิ้มน้ำตาลก็อร่อยนะครับ

.... เรื่องมันนี้มีเรื่องยาวมากนะครับเพราะเป็นอาหารหลักของมนุษย์มานานมากๆ แหล่งสำคัญที่สุด คือ อาฟริกา อินเดีย รวมทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของเราก็เป็นแหล่งพันธุ์หลากชนิด แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันไม่มีการพัฒนาขยายพันธุ์และแนะนำการกินมะนพื้นเมือง ซึ่งปลูกง่ายเพราะเป็นพืชทนแล้ง แต่หันไปรับเอามันเทศ มันฝรั่ง (ความจริงเป็นมันอินเดียแดง) มากินตามวัฒนธรรมฝรั่งไปหมด เหมือนรับของเขามาบดบังของเรา ... ขาดการประยุกต์ .. บริโภคเต็มๆ

.... ทางอีสานคงมีการรักษามันกันอยู่บ้าง ถ้าให้ดีพอหาพันธุ์ได้นำมาจิ้มๆ ทิ้งไว้ข้างรั้วก็เป็นการดีไม่น้อยนะครับ

.... วันหลังจะได้ขยายแบ่งปันกันไป

  • มีภาษาเครื่องมือสื่อความหมาย
  • บอกต้นปลายหลายอย่างเพื่อสร้างสรรค์
  • ภาษาใดให้เรียนรู้อยู่ทุกวัน
  • ภาษานั้นมีค่าน่าจดจำ
  • ขอบคุณค่ะ    ท่านอาจารย์ โสภณ
  • ขอบคุณสำหรับคำกลอนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท