หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เมื่อลองหยอดลูกบอลน้ำหมักในน้ำเน่า


ผ่านจากวันใส่ท่อ 3 วัน ราดน้ำหมักครบ 7 วัน ก็คิดใหม่ เมื่อพบว่ายังมีกลิ่นเหม็น ลองใช้ลูกบอลน้ำหมักดูเป็นยังไง สิ่งที่เห็นมีทั้งต่างไปและเหมือน

หลังปรับใส่ท่อก็รอให้คราบขาวๆเป็นครู  ผ่านจากวันใส่ท่อ 3 วัน ราดน้ำหมักครบ 7 วัน ก็คิดใหม่ เมื่อพบว่ายังมีกลิ่นเหม็น ลองใช้ลูกบอลน้ำหมักดูเป็นยังไง สิ่งที่เห็นมีทั้งต่างไปและเหมือน

ภาพที่ 1                                                   ภาพที่ 2

ภาพที่ 1  เป็นสีน้ำหลังปล่อยให้โดนแดดบางๆในตอนเช้าอยู่อีก 3 วัน คราบขาวที่เห็นประปรายแผ่ตัวกว้างออก มองมุมสะท้อนแสง สีน้ำยังขุ่นอยู่และมีคราบ (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 3                                           ภาพที่ 4

แม้ท่อจะช่วย กลิ่นก็ยังมีอยู่  ผ่านวันราดน้ำหมักมาแล้ว 7 วัน น้ำหมักเอาไม่อยู่  ใช้รูปแบบลูกบอลน้ำหมักลองดู หยอดในแอ่งซึ่งรับน้ำจากโพรง ห่างจากวันราดน้ำหมัก 2 สัปดาห์  ช่วงเวลาที่หยอดเป็นช่วงแดดร่มลมตก ทิ้งไว้จนถึงเที่ยงอีกวัน น้ำในแอ่งรับน้ำจากโพรง สีดำเช่นเดิม (ภาพที่ 3) ในแอ่งล่างลงมาที่มีน้ำขังค้าง ผิวน้ำมีคราบสีรำแปลกตาโผล่มา (ภาพที่ 4)

ภาพที่ 5                                                     ภาพที่ 6

ทิ้งไว้ผ่านไปราวยี่สิบชั่วโมง คราบสีรำที่ผิวน้ำแผ่กว้างมากขึ้น หนาขึ้นในแอ่งล่าง (ภาพที่ 5) เมื่อเวลาผ่านเลยไปกว่า 24 ชั่วโมง การเปลี่ยนแปลงของสีน้ำยังไม่นิ่ง  (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 7                                                           ภาพที่ 8

ภาพที่ 8  หลังหยอดลูกบอลลงในแอ่งปากโพรงผ่านไปกว่า 24 ชั่วโมง น้ำในแอ่งตรงปากโพรงมีคราบสีขาวแบบใยแมงมุมเกิดขึ้น ทำให้สีน้ำดูเป็นสีเทา แทนสีดำที่เคยเห็นในภาพที่ 7

ภาพที่ 9                             ภาพที่ 10                              ภาพที่ 11

สภาพน้ำตรงปลายท่อหลังจากใส่ลูกบอลน้ำหมัก2 ก้อนในแอ่งขังน้ำซึ่งอยู่ในร่ม คราบขาวๆที่เห็นตรงปากท่อตามภาพที่ 10 หายไป มีคราบสีรำบางๆมาแทนประปราย (ภาพที่ 9)  เมื่อเวลาผ่านไปกว่าสิบสองชั่วโมง และเมื่อเติมลูกบอลน้ำหมักลงไปรับน้ำจากปลายท่อเพิ่มอีก 2 ลูก ห่างจากเวลาเติมลูกแรกเกินกว่า 24 ชั่วโมง คราบสีรำก็หนาขึ้น แผ่กว้างคลุมปนอยู่บนคราบขาวๆ เหมือนฝุ่นแป้งที่คลุกอยู่กับดิน (ภาพที่ 11)

ทั้งหมดเป็นแอ่งน้ำขังตื้นแบบขลุกขลิก ผิวน้ำโดนอากาศและแดด

ภาพที่ 12                               ภาพที่ 13                                  ภาพที่ 14

ภาพที่ 12 น้ำเสียที่ราดน้ำหมักลงไปวันแรก  สีเหมือนน้ำซาวข้าวจางๆ  เติมลูกบอลน้ำหมักที่ต้นน้ำห่างไปราว 1 เมตร ผ่านไปเกิน 24 ชั่วโมง ที่น้ำขังขลุกขลิกและรอยต่อน้ำขังตื้นกับน้ำขังลึก เห็นคราบสีรำประปราย คราบสีขาวเหมือนกาวลาเท็กซ์

ที่น้ำขังลึกราว 2 นิ้ว คราบขาวเนียนละเอียดเหมือนแป้ง คราบสีรำไม่ได้ลอยที่ผิวน้ำแต่ตกปนอยู่กับคราบขาว ดูคล้ายๆทรายละเอียดคลุกแป้งผง (ภาพที่ 14)

ภาพที่ 15                               ภาพที่ 16                                  ภาพที่ 17

ภาพที่ 15 -17   สภาพน้ำขังลึกเกิน 4 นิ้ว ซึ่งอยู่ต่ำกว่าจุดต้นน้ำที่หยอดลูกบอลไว้ราว 4 เมตร น้ำในคูนี้ไหลเอื่อยๆ คราบขาวไม่ต่างเท่าไรกับคราบหลังราดน้ำหมักในภาพที่ 12

ทั้งหมดนี้เป็นน้ำขังที่แดดส่องถึงก้น ผิวน้ำไม่มีคราบ ไม่มีขยะ และเป็นน้ำไหลเอื่อยๆจนดูเหมือนขังนิ่ง

หมายเลขบันทึก: 467731เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาติดตามอ่านอยู่เสมอเพราะสนใจเรื่องนี้อยู่  และเห็นข่าวการบำบัดน้ำเน่าเสียที่เกิดจากน้ำท่วม และมีนักวิชาการเขาโต้เถียงในประสิทธิภาพ
  • จึงให้นักเรียนทดลองบำบัดน้ำเน่าเสียในชุมชนกับน้ำหมักชีวภาพเปลือกมังคุด  ซึ่งได้ทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประกวดวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่มหาลัยราชภัฎ ได้รับรางวัลชมเชยมาด้วย  และได้หมักทิ้งไว้ 4-5 เดือนแล้ว
  • ให้นักเรียนสังเกตและบันทึกผลวันต่อวันอยู่ค่ะ  (เคยทำน้ำหมักชีวภาพจากผัก-ผลไม้สะอาดมาแล้วแต่สำหรับใช้ในห้องน้ำของโรงเรียน)
  • แต่เป็นการทำของเด็กๆชั้นประถม  ค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

 

ไม่ได้ติดตามเพราะงานชุก ท่วมท้น...มาเรียนรู้จากท่านอาจารย์หมอ...รอติดตามผลการวิจัย

วันนี้ที่โรงเรียนป่าติ้ววิทยาระดมปั้นก้อน EM Ball กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท