beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

๑.ควรสอนชีววิทยาอย่างไรในวิชาวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


ได้รับโจทย์จากอาจารย์นงลักษณ์ พุ่มอยู่ ให้ไปสอนวิชาศึกษาทั่วไป ชื่อวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีววิทยา เดิมสอนเกี่ยวกับเืรื่อง Human Genetics แต่ผมไม่ค่อยถนัดเรื่องนี้ จึงคิดจะสอนเกี่ยวกับชีววิทยาที่เกี่ยวกับ ความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ เพราะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที เนื่องจากเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเอง

คนที่จะมาเรียนวิชานี้ เป็นสาย Social Science เช่น คณะสังคมศาสตร์ (ลองเปิดดูผู้ลงทะเบียนเป็นสาขาวิชาพัฒนาสังคม-ซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวเองและสังคม) เป็นต้น ผมคิดหัวข้อง่ายๆ ที่จะนำมาสอน เช่น ทำไมคนเราถึงจาม, ทำไมคนเราถึงสะอึก..ทำไมคนเราถึงต้องกินอาหาร, ขับถ่าย, หายใจ ฯลฯ

กลุ่มแรกที่จะไปสอนเป็นภาคพิเศษ คณะสังคมศาสตร์ เอกพัฒนาสังคม..เริ่มสอนวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ผมเริ่มจากลองถามคำถามต่าง ๆ และให้นิสิตช่วยกันตอบดังต่อไปนี้

  1. ความหิวเกิดขึ้นบริเวณไหน
  2. ความหิวเกิดขึ้นได้อย่างไร
  3. เมื่อรู้สึกหิวเราคิดถึงอะไร
  4. มีระบบอะไรที่เกี่ยวข้องกับการหิว
  5. เมื่อหิวเราจะไปที่ไหน
  6. เรากินอาหารไปเพื่ออะไร
  7. ระบบย่อยอาหารประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
  8. ความอร่อยของอาหารมีอยู่แค่ไหน
  9. เวลาเรากินอาหารเราคิดถึงอะไรมากกว่า เช่น ชื่อเสียงของร้าน, ความอร่อย, คุณค่า, ราคา และ อื่นๆ เช่น ผ่อนคลาย, เจรจาธุรกิจ, เลี้ยงคนชอบพอ
  10. ประโยชน์/โทษ ของอาหาร

จุดมุ่งหมาย เพื่อการตรวจสอบรายชื่อผู้ที่มาเข้าชั้นเรียน และเป็นการลองถามเพื่อตรวจสอบหาคำตอบเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไร ไม่ได้มุ่งหมายเรื่องผิดถูก แต่ดูเรื่องทัศนคติในการตอบ

พอมาถึงตอนที่จะต้องตอบคำถาม ผมก็ไปค้นคว้าหาคำตอบมาเป็นตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

Q. ทำไมเราถึงหิว ?

A. “ความหิว" จะเกิดขึ้นเมื่อกระเพาะอาหารว่าง,กระเพาะอาหารจะหดตัว กระตุ้นให้เกิดกระแสประสาทที่กระเพาะ และส่งความรู้สึกไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า “ไฮโปทาลามัส" ทำให้เกิดความรู้สึกหิวขึ้นมา

A. “ความหิว" ยังเกิดได้จากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
เมื่อเรารับประทานของหวาน มักจะแก้หิวได้ในฉับพลัน ทั้งๆที่กระเพาะอาหารของเราก็ยังว่างแสนว่าง


นอกจากนี้ “ความหิว" ยังมีอิทธิพลมาจากความรู้สึกของจมูกคือ “กลิ่นอาหาร" นั่นเอง เมื่อได้กลิ่นอาหารที่เราชอบเราจะเกิดอาการท้องร้อง “จ๊อก..จ๊อก" ได้ครับ..อิอิ

อาการอิ่ม

จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาของการรับประทานอาหารผ่านไปยี่สิบนาที สมองของเราจะสั่งการว่าท้องของเรานั้นอิ่มแล้วน่ะ

ดังนั้นถ้าไม่อยากอ้วนจงเคี้ยวอาหารให้ช้า ๆ พอเวลาผ่านไป ๒๐ นาทีเราก็จะรู้สึกอิ่มเอง

ต่อมาพูดถึง สารอาหารที่ให้พลังงานกับเรา สรุปได้ว่า

  • คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
  • ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี

เรื่องราวจะเป็นอย่างไรโปรดติดตามบันทึกต่อไป ครับ....

หมายเลขบันทึก: 467624เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2014 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาสามารถเอาชีววิทยาไปใช้ได้ทุกอิริยาบทเลยน่ะคะ

  • ถูกต้องครับ วิทยาศาสตร์ใช้ในชีวิตประจำวัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท