ระบบจัดการจิตในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย


วันนี้ได้ฟังการแถลงแผนงานของรัฐบาลในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตหลังน้ำท่วม เลยอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแผนงานจากกรอบความคิดของต่างประเทศสองอย่างที่เพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิต

อ้างอิงจาก Meredith, L.S., Eisenman, D.P., Tanielian, T., Taylor, S.L., Basurto-Davila, R., Zazzali, J, et al. (2010). Prioritizing "psychological" consequences for disaster preparedness and response: a framework for addressing the emotional, behavioral, and cognitive effects of patient surge in large-scale disasters. Diaster Medicine and Public Health Preparedness;4:doi:10.1001/dmp.2010.47

สาระสำคัญคือ

1. กรอบความคิดที่หนึ่ง - บุคลากรทางสุขภาพจิตที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยควรเข้าใจ "ตัวกระตุ้นทางจิตวิทยา" ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่จำกัด การรับรู้ข้อมูลที่จำกัด การบาดเจ็บทางร่างกาย/จิตใจ และการรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อตนเองและครอบครัว ซึ่งจะต้องมีรูปแบบการประเมินเชิงคุณภาพและปริมาณในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาเฉพาะบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางอารมณ์ พฤติกรรม และความรู้ความเข้าใจ

2. กรอบความคิดที่สอง - บุคลากรทางสุขภาพจิตที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยควรมีเกณฑ์การให้คำปรึกษา/คำแนะนำต่อการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาข้างต้น ในลักษณะการจัดการที่เหมาะสมในองค์ประกอบทางโครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างการบังคับบัญชาขององค์กร/การบริหารภายในศูนย์พักพิง ทรัพยากรและโครงสร้างย่อยที่จำเป็น และทักษะกับความรู้ที่ต้องใช้ ตลอดจนองค์ประกอบทางกระบวนการ ได้แก่ การประสานงานกับองค์กรข้างนอก การประเมินและติดตามภาวะเสี่ยง การสนับสนุนทางจิตวิทยา และการสื่อสารกับการแลกเปลี่ยนข้อมูล

3. ตัวอย่างการประสมประสานกรอบความคิดที่หนึ่งและสองใน "การจัดการตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาที่มีการเคลื่อนไหวที่จำกัดจากภาวะประสบภัย"

  • ลดความรู้สึกถึงการแยกตัวของผู้ประสบภัย โดยเปิดโอกาสให้มีการโทรศัพท์สนทนากับสมาชิกครอบครัว/ญาติ มีการให้บริการอินเตอร์เน็ต และมีการสร้างกลุ่มคู่หูกันทางออนไลน์ พร้อมอธิบายสมาชิกครอบครัว/ญาติของผู้ประสบภัยถึงช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงต่อทุกขภาวะทางจิตของผู้ประสบภัย
  • สร้างทีมบุคลากรทางสุขภาพจิตในการให้คำปรึกษาถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตใจของผู้ประสบภัยแบบเฉพาะบุคคล พร้อมจัดกิจกรรมระหว่างสมาชิกครอบครัวที่ประสบภัยและไม่ประสบภัยอย่างเหมาะสม ซึ่งดร.ป๊อป เสริมว่า อาจพัฒนาผู้ประสบภัยที่ปรับตัวได้ดี (สุขภาพจิตแข็งแรง) มาร่วมให้คำปรึกษา และ/หรือจัดการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) ภายใต้คำแนะนำจากบุคลากรทางสุขภาพจิต และ/หรือนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ที่ทำให้ผู้ประสบภัยที่สุขภาพจิตอ่อนแอไม่ให้ "อยู่ว่าง" แล้วเรียนรู้ "การผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมยามว่างที่หลากหลายโดยใช้แรงพยายามทางร่างกาย สังคม สร้างสรรค์" ในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเองมากกว่าการนั่งรอจิตอาสาภายนอก อาจมีระบบการให้กำลังใจพร้อมกับเบี้ยทำงานของผู้ประสบภัยที่ฝึกอบรมจนทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตและสร้างพลังชุมชนไปฟื้นฟูบ้านเรือนหลังน้ำท่วมต่อไป
  • อย่าพยายามแยกผู้ประสบภัยภายในครอบครัว เช่น อย่าแยกพ่อแม่จากลูก อย่าแยกผู้สูงวัยกับลูกหลาน เป็นต้น แล้วสร้าง "บทบาทในการดำเนินชีวิต" ให้ชัดเจน เช่น ลูกมีบทบาทช่วยทำอาหารกับพ่อแม่ แล้วไปเรียนหนังสือในศูนย์พักพิง และมีเพื่อนร่วมวัยรุ่นในการไปเป็นจิตอาสาช่วยเหลือแนะนำผู้ประสบภัยที่เข้ามาใหม่หรือมีสุขภาพจิตที่อ่อนแอ

4. ตัวอย่างของการจัดการตัวกระตุ้นทางจิตวิทยาที่จำกัดข้อมูลหลังประสบภัย

  • ควรมีการวางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสารแผนงานและบทบาทที่ผู้ประสบภัยรับรู้ทางสื่อมวลชนหลายรูปแบบเพื่อการกระทำที่เป็นระบบชัดเจน เช่น ระบบการประเมินภาวะเสี่ยงต่อภัยพิบัติในปัจจุบัน พร้อมแนวทางแก้ไขภาวะเสี่ยงเบื้องต้นของกลุ่มผู้ประสบภัยในชุมชนเดียวกัน และ/หรือผู้ประสบภัยรายคน
  • ควรมีการประสานข้อมูลข้างต้นกับแผนการจัดทำเอกสารความรู้ในหลายระดับ เช่น การจัดการความเครียดระดับเบื้องต้นด้วยตนเองสำหรับผู้ประสบภัย จนถึงการจัดการความเครียดระดับสูงด้วยผู้เชี่ยวชาญกับผู้ประสบภัยที่ซึมเศร้า เป็นต้น รวมถึงระบบการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญในระดับสถานพยาบาล หน่วยพยาบาล คลินิกเฉพาะทาง หน่วยชุมชนต่างๆ

 ลองคลิกอ่านต่อเกี่ยวกับระบบการจัดการความเครียด

 

หมายเลขบันทึก: 467612เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 06:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับพี่ อ.ดร.ขจิต เป็นกิจกรรมหนึ่งที่บำบัดจิตใจและความคิดได้ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท