เมื่อเกิดภัยพิบัติ แล้ว ม.อุบลฯ เกี่ยวข้อง?


เมื่อเกิดภัยพิบัติ แล้ว ม.อุบลฯ เกี่ยวข้อง?

ในสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยของเราดั่งที่ทราบกันดีว่าพี่น้องชาวไทยของเราในพื้นที่ภาคกลาง ปริมณฑล และ กรุงเทพมหานคร ต่างประสบกับภัยพิบัติทางน้ำที่เรียกว่า "อุทกภัย"  ซึ่งเราคนไทยไม่ว่าจะส่วนภูมิภาคใดของประเทศหากเราไม่ได้ผลกระทบดังกล่าวก็สมควรจะต้องให้การช่วยเหลือในทุกด้านตามศักยภาพที่เราจะสามารถจะกระทำได้

          จังหวัดอุบลราชธานี มีสถาบันอุดมศึกษาหลักที่ประชาชนต่างคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยเหลือในภัยพิบัติดังกล่าว ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ได้เห็นชอบในหลักการสนับสนุนการดำเนินงานของ “เครือข่ายอีสานใต้ จัดการรับมือภัยพิบัติ (คจภ.) South Isan Networks for Coping Disaster (SINCD)”  ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และอื่นๆ ที่เน้นการทำงานด้วยจิตอาสา โดย คจภ. ประกอบด้วย

(1)    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

(2)    ศูนย์จัดการความรู้รับมิอภัยพิบัติ (ศจภ.) ตั้งอยู่สำนักงานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ชั้น 6

(3)    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

(4)    โครงการอุบล-วาริน โมเดล

(5)    มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน (SHARE)  อ.เขมราฐ  จ.อุบลราชธานี

(6)    มูลนิธิขวัญชุมชน  จ.สุรินทร์

(7)    เครือข่ายชุมชนฮักน้ำของ

(8)    ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเยาวชน

(9)    เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง  อุบลราชธานี

(10)ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยและพัฒนาชุมชน อุบลราชธานี

(11)โครงการบ้านมั่นคง จ.อุบลราชธานี

(12)ชมรมนักศึกษาข้าวเหนียวปั้นน้อย  ม.อุบลฯ

(13)ชมรมนักศึกษาเพื่อนวันสุข ม.อุบลฯ

(14)เครือข่ายโรงเรียนยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มที่ 1 (บุรีรัมย์  สุรินทร์ ศรีสะเกษ  ยโสธร  อุบลราชธานี  มุกดาหาร และ นครพนม)

(15)อื่นๆ  เครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น  โทรทัศน์ท้องถิ่น   นักข่าวพลเมืองสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ฯลฯ

           ผู้เขียนคิดว่าการดำเนินงานของ คจภ. จะสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ว่า "สร้างสรรค์ สามัคคี สำนึกดีต่อสังคม"  โดย คจภ. จะพยายามการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ระดมการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนให้เป็นระบบ มีผู้รับผิดชอบประสานงาน มีการตรวจสอบได้ และเป็นที่น่าดีใจว่าเหล่าอาสาสมัครในเบื้องต้นได้ประชุมกันเมื่อบ่ายวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปดังนี้

ที่

ภาระงาน

ขอบเขต

ผู้รับผิดชอบ

1. โครงการระยะสั้นการระดมของช่วยเหลือ

(1)

ศูนย์รับบริจาค

จุดรับบริจาคหลักคณะศิลปศาสตร์

ผศ.ดร.บุญสฤษฏ์        คณะศิลปศาสตร์  081-6804679

จัดรับบริจาคย่อย สสจ.อุบลฯ ฯลฯ

ต้องรับสมัครจุดรับบริจาคเพิ่ม

(2)

ศูนย์ลำเลี้ยง

ประสานการส่งของบริจาคไปยัง  จุดกระจายของ 5 จุด

หน. ยานพาหนะ

หน.โครงการจัดตั้งกองบริหารกายภาพฯ   ม.อุบลฯ  080-4821491

(3)

ศูนย์ประชาสัมพันธ์

นำเสนอเรื่องราว ศักยภาพ และความเคลื่อนไหว ฯลฯ ทั้งสื่อสาธารณะ ท้องถิ่นและระดับชาติ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  ม.อุบลฯ 

คำปิ่น อักษร นักข่าวพลเมือง TPBS  089-6277205  และ นศ.IT คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ

(4)

ศูนย์ข้อมูล

ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง Update สถานการณ์

อ.ธวัช มณีผ่อง           คณะศิลปศาสตร์

(5)

การเงิน

การรับเงินบริจาค ยอดเงิน รายการใช้จ่ายหลักฐานการบริจาค และการใช้เงิน

กองคลัง ม.อุบลฯ

(6)

งานประสานเครือข่าย

ปีสานส่วนต่างๆ เครือข่ายอื่นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือใกล้เคียง  เพื่อเชื่อมงานและข้าวของ ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และการรวมตัวกันเป็นหน่วยเดียวจะมีพลังมากขึ้น ในการทำงาน

ม.อุบลฯ

 

ที่

ภาระงาน

ขอบเขต

ผู้รับผิดชอบ

 2. โครงการเสริมพลังเครือข่ายเพื่อผู้ประสบภัย

(1)

โครงการผักพื้นบ้านฟื้นประเทศไทย

แนวคิด คือ การเพาะกล้าพันธุ์ผัก ที่ใช้รับประทานในครัวเรือน อาทิ พริกโหระพา ข่า ขิง ตะไคร้  ฯลฯ อันจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อสนับสนุนชุมชนทั้งในภาคกลางและภูมิภาค หลังภัยพิบัติ เพื่อลดค่าใช้จ่าย

คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ

คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ ชุมชนอโศก และ โครงการอุบล-วารินโมเดล

รณรงค์ ให้ เครือข่ายชุมชน หน่วยงานราชการ อปท. และประชาชนทั่วไป ปลูกกล้าพันธุ์ เพื่อจำเป็น ตั้งแต่ปัจจุบัน เพื่อพร้อมบริจาคในเวลาหลังน้ำลด ในพื้นที่ภัยพิบัติ

(2)

โครงการเรือเพื่อผู้ประสบภัย

อบรมการทำเรือ และกระจายความช่วยเหลือ

บริษัท Ubon Fiber Glass  และโครงการอุบล-วาริน โมเดล

(3)

โครงการ EM ball

จัดหาวัตถุดิบ หรือเชื่อมกับผู้ผลิตรายอื่น

อ.ปวีณา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลฯ   

สวท.อุบลฯ

งานกิจการ นศ. ม.อุบลฯ

ประชาสัมพันธ์ นศ. และประชาชนมาร่วมปั้น

(4)

โครงการสนับสนุนยา

ยา 4 ตำรับ ในการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม

คณะเภสัชฯ  และ โครงการอุบล-วาริน โมเดล

ของรับการสนับสนุนจาก อภัยภูเบศว์

(5)

โครงการข้าวปลาอาหาร จากลำมูน และ แม่โขง สู่ เจ้าพระยา

ระดมการบริจาคข้าวสาร ปลาแห้ง อาหารแห้ง จาก เครือข่ายชุมชน  ชาวประมง จากลุ่มน้ำมูนและ ลุ่มน้ำโขง  “เปิดโลกผู้ร่วมทุกข์ จากน้ำ และการจัดการน้ำ”

คปสม.อุบลฯ

และ โครงการอุบล-วาริน โมเดล

(6)

โครงการขวดใช้ซ้ำ

รณรงค์ ขวดพลาสติกใส เพื่อนำมาสร้างประโยชน์ อาทิ ใส่น้ำ  ปลุกกล้าพันธุ์ผัก ฯลฯ

ชมรม นศ. ข้าวเหนียวปั้นน้อย และ ชมรม เพื่อนวันสุข

ที่

ภาระงาน

ขอบเขต

ผู้รับผิดชอบ

(7)

โครงการผลิตงานศิลปะเพื่อช่วยภัยพิบัติ

ผลิตงานศิลปะเพื่อจำหน่าย ระดมทุน

ดร.กัญญา จึงวิมุติพันธ์ คณะศิลปประยุกต์ฯ ม.อุบลฯ

(8)

โครงการที่ระลึกวันมหิดล สู่ ผู้ประสบภัย

จำหน่ายของที่ระลึกวันมหิดล เพื่อระดมทุน

วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลฯ  

 

3. โครงการงานฟื้นฟูหลังน้ำลด

(1)

ด้านสุขภาพ

 

วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลฯ 

(2)

ด้านเกษตร

 

คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลฯ  

(3)

ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลฯ

 

          สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เขียนได้ต้อนรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (ท่านสุรพล สายพันธ์) เมื่อเช้าวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ในโครงการรับมอบจักรยานจากผู้อำนวยการสำนึกรักบ้านเกิด (DTAC) และได้ทราบจากท่านผู้ว่าฯ ว่าสถานการณ์ระดับแม่น้ำมูลนั้นเริ่มจะทรงตัวและลดลง ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการสูบน้ำที่แก่งสะพือให้ไหลสู่แม่น้ำโขงให้เร็วขึ้น เนื่องจากที่แก่งตะนะนั้นการไหลของน้ำค่อนข้างจะเร็วการไปสูบ ณ แก่งตะนะ จะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด  นอกจากนั้น  ยังมีการสูบน้ำจากลำน้ำมูลเข้าสู่พื้นที่นาที่ทำการเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้วพร้อมทั้งนำน้ำจากลำน้ำมูลไปสู่พื้นที่ที่เป็นหนองน้ำตามลำน้ำมูลเพื่อใช้ในฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง  ดังนั้น จึงทำให้สถานการณ์อุทุกภัยลำน้ำมูลของจังหวัดอุบลราชธานีจะไม่รุนแรงมาก   และเช่นเดียวกัน ท่านผู้ว่าฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้จังหวัดอุบลราชธานีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตตลิ่งชัน (ผู้เขียนเข้าใจว่ารัฐบาลคงจะมอบหมายให้จังหวัดต่างๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบอุทกภัยรุนแรงช่วยเหลือเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวน ๕๐ เขต)   และก่อนที่ท่านผู้ว่าฯ จะกลับได้นำเรียนถึงเรื่อง "คจภ" ซึ่งท่านให้ความกรุณาและยินดีที่จะลงนามในประกาศของจังหวัดอุบลราชธานี ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ คจภ. เพื่อเป็นระดมสัพกำลังด้านต่างๆ ในช่วยเหลือเพื่อนๆ คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเท่าที่เราจะทำได้โดยเน้นการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนต่างๆ  โดยในเรื่องนี้เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก็เป็นที่น่าดีใจที่ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข) ได้เห็นชอบในหลักการสำหรับการเปลี่ยนโครงสร้างกองกลาง (สำนักงานอธิการบดี) ที่ให้เพิ่มเติมจากเดิม "งานประชาสัมพันธ์" เป็น "งานประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์"  อันจะทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะต้องให้ความสำคัญกับงานชุมชนสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในทุกระดับ 

          สำหรับภัยพิบัตินั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนล้วนไม่ต้องการพบเจอ  หลายๆ ประเทศเจอกับภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหว ภัยพิบัติด้านอากาศ (ทั้งร้อนและหนาว) ภัยพิบัติด้านน้ำ (ทั้งน้ำมากและน้ำน้อย) ประเทศไทยของเราเราคนไทยควรจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ เพราะเป็นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยภัยพิบัตินั้นเกิดจากธรรมชาติ และธรรมชาตินี้แหละก็เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งนั้น เราทำลายป่า เราทำลายธรรมชาติโดยการใช้สารเคมี  ด้วยเหตุนี้ คจภ. เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ที่ว่า "ภูมิปัญญาแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง"  โดยภูมิปัญญาดังกล่าวจะต้องเกิดจากการเรียนรู้ทั้งที่มาจากผู้รู้ผู้มีภูมิปัญญาของชุมชนที่มีอยู่แล้ว  จากคนโบร่ำโบราณมีภูมิปัญญาที่อยู่กับธรรมชาติต่อสู้กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี 

          ดังนั้น  หากเมื่อเกิดภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามแต่ แล้ว ม.อุบลฯ  ควรจะต้องดึงเอาอัตลักษณ์ของนักศึกษา และเอกลักษณ์ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกำหนดไว้ออกมาช่วยเหลือชุมชนสังคม ทั้งนี้ ผู้บริหาร (ทุกระดับ) อาจารย์ คณาจารย์ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ ควรจะต้องทำเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาเพื่อที่จะให้นักศึกษาเป็นผู้มีส่วนร่วมกับในการช่วยเหลือชุมชนสังคม สมกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ว่า "เป็นสติและปัญญาแก่สังคม บนพื้นฐานความพอเพียง"   และหาก ม.อุบลฯ สามารถทำให้อัตลักษณ์และเอกลักษณ์เป็นจริงได้  โดยหากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน ศิษย์เก่าอีกประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และ บุคลากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีประมาณ ๑,๖๐๐ คน ลงมือปฏิบัติลองดู เราจะสามารถต่อสู้กับภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างแน่นอนครับ  

นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ต้องการเป็นอาสาสมัคร เชิญเข้าไปที่ คจภ.

Facebook : เครือข่ายอีสานใต้ จัดการรับมือภัยพิบัติ

หรือ Facebook : ubon flood

หรือ www.facebook.com/mukdahancampus กลุ่ม เครือข่ายอีสานใต้รับมือภัยพิบัติ (คจภ.)

หรือ ติดต่องานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี (หลังเก่า) ชั้น ๑

 

หมายเลขบันทึก: 467457เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ดีจังเลยครับ
  • ขอชื่นชมที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท