ประเมินเชิงสมรรถนะควรจะเป็นอย่างไร


        ผมเคยเข้าฟังการบรรยายของที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีสมัยหนึ่ง  ว่าการประเมินเชิงสมรรถนะ (Competency) ควรจะเป็นการประเมินเชิงพัฒนา  ไม่ควรประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน  แต่ สกอ.ก็กำหนดมาแล้วว่าการประเมินเชิงสมรรถนะเอามากำหนดให้เป็นเกณฑ์ในการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

        แนวคิดนี้ขัดแย้งกันแล้วครับ

        ถ้าประเมินคุณลักษณะข้อใดข้อหนึ่งให้มีตัวเลขสูงแล้วจะได้คะแนนประเมินดี  ถือเป็นความผิดพลาดของการประเมิน

ตัวอย่าง A    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานาย ก. มีสมรรถนะการทำงานเป็น 3  ในขณะเดียวกันที่นาย ข. มีสมรรถนะการทำงานเป็น 4  จะสมควรให้นาย ข.ได้รับคะแนนประเมินสูงกว่านาย ก. เป็นการประเมินที่ไม่ควรอย่างยิ่ง  เพราะความจำเป็นด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของหน่วยงาน ไม่ได้มีความต้องการพฤติกรรมการทำงานที่เหมือนกัน เท่ากันเสมอไป

        การประเมินเชิงสมรรถนะ  เพื่อการระบุคุณลักษณะของบุคคลากรที่เป็นอยู่ ให้ได้ว่าปัจจุบันมีคุณลักษณะอย่างไร  องค์กรมีความคาดหวังให้บุคลากรพัฒนาคุณลักษณะไปในทิศทางบวกอย่างไร

        การเลื่อนขั้นเงินเดือน  จึงควรเอาความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกระหว่างสมรรถนะของบุคคลที่เป็นอยู่ในช่วงหนึ่ง  กับสมรรถนะของบุคคลที่เป็นอยู่ในอีกช่วงเวลาหนึ่งหลังจากได้รับการพัฒนา(หรือการไม่ยอมพัฒนา) มาเป็นประเด็นการกำหนดผลการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน

ตัวอย่าง B   ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานาย ก. มีพฤติกรรมการทำงานเป็น 3  แต่หน่วยงานต้องการให้นาย ก.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็น 4   ในขณะเดียวกันที่นาย ข. มีพฤติกรรมการทำงานเป็น 4 เท่ากับนาย ก.  ทั้งที่หน่วยงานต้องการให้นาย ข. มีพฤติกรรมเป็น 5 จึงเพียงพอต่อการทำงาน  จากตัวอย่างดังกล่าวหากนาย ก. สามารถพัฒนาเลื่อนตนเองจาก 3 เป็น 4 ได้ สมควรให้นาย ก.ได้รับคะแนนประเมินสูงกว่านาย ข.   เพราะความสามารถในการพัฒนาตนเองของนาย ก.ตามความจำเป็นด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของหน่วยงาน แม้ทั้งสองคนจะมีพฤติกรรมการทำงานที่เหมือนกันเท่ากัน(ในระดับ 4)ก็ตาม

         ข้อเสนอของการประเมินเชิงสมรรถนะในบทความนี้จึงเสนอให้คะแนนประเมินสำหรับบุคลากรที่พัฒนาตนเองจากสมรรถนะที่เป็นอยู่ไปในทิศทางเชิงบวก

หมายเลขบันทึก: 466927เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2011 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท