การเล่นของเด็กปฐมวัย


การเล่นที่ส่งเสิรมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

การเล่น

               

  1. 1.       ความหมายของการเล่น

การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก    เพราะ

การเล่นเป็นประสบการณ์ที่มีการเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ก่อนที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา

คำว่า “การเล่น” ได้มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันมากมาย    เช่น  ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525  กล่าวว่า การเล่น หมายถึง  ทำเพื่อสนุก หรือผ่อนอารมณ์ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2525)

                       สุชา – สุรางค์  จันทร์เอม  (2529 : 121)  กล่าวไว้ดังนี้

  1. การเล่นเป็นการระบายพลังงานที่เหลือให้เป็นไปตามธรรมชาติ
  2. การเล่นเป็นการหาความสนุกเพลิดเพลิน เพื่อเป็นการพักผ่อนโดยเด็กไม่รู้สึก

เหน็ดเหนื่อยเท่ากับการทำงานถึงแม้จะต้องออกแรงมาก ๆ เหมือนกัน

  1. การเล่นเป็นการเลียนแบบบรรพบุรุษ เพราะเด็กเคยเห็นการกระทำของบุคคล

ที่เด็กใกล้ชิด

  1. การเล่นเป็นการชดเชยสิ่งที่ขาด โดยเด็กจะแสดงออกมาโดยการเล่น

         เยาวพา  เดชะคุปต์ (2542 : 20)  ก็กล่าวว่า การเล่นเป็นกิจกรรมที่เป็นหัวใจและมี

ความสำคัญเพราะเป็นการสนองความต้องการทางจิตใจ    คือเกิดความสนุกสนาน     ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันด้วย เด็กจะเรียนรู้ได้ดีโดยผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรม  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และมีโอกาสพัฒนาทักษะต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย

                สุวลัย   มหากันธา  (2532 : 1)  กล่าวว่า การเล่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็ก ประสบการณ์จากการเล่นของเด็ก จะนำไปสู่การรู้จักรับผิดชอบตนเอง การอยู่ร่วมกันในสังคมของการมีชีวิตอย่างผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า

                ดนู  จีระเดชากุล (2541 : 25)  กล่าวว่า  การเล่นเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกมาปรากฏให้เห็นโดยชัดเจน ไม่ว่าการแสดงออกนั้นจะเป็นการแสดงออกด้านรางกาย เช่น กิริยาท่าทางต่าง ๆ ตลอดจนความคิดจากการสนทนาพูดจากัน

                 เชริษา  ใจแผ้ว (2532 : 37)  กล่าวว่า การเล่นคือ การทำงานของเด็ก การเล่นสามารถทำให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน และเกิดความพึงพอใจ สิ่งเหล่านี้มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับเด็ก

 หรรษา  นิลวิเชียร (2534 : 87)  ได้กล่าวว่า  การเล่นเป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ในชีวิตของเด็ก  การเล่นช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์  สังคมและสติปัญญา

ประโมทย์  เยี่ยมสวัสดิ์ (2539 : 33) กล่าวว่า การเล่นเป็นประสบการณ์ที่เป็นหัวใจและมีความสำคัญยิ่ง ธรรมชาติของเด็กจะชอบการเล่น การเล่นนอกจากจะสนองความต้องการทางจิตใจคือเพื่อความสนุกสนานแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็ก ขณะที่เด็กเล่นจะเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาความคิดไปพร้อมกันด้วย

                 นอกจากนี้ยังมี สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย   (2532 : 18)  ได้กล่าวว่า การเล่น คือธรรมชาติของเด็กวัยนี้ทุกคน การเล่นมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตทุกด้าน เพราะการเล่นเป็นประสบการณ์ตรง  ทำให้เด็กได้เรียนรู้  รับรู้   ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงความคิดความเข้าใจ และ คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541 : 7) กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า การเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตเด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต ได้มีโอกาสทดลอง สร้างสรรค์คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นมีอิทธิพลและมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ช่วยพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

                นักการศึกษาชาวต่างประเทศก็ได้ให้ความหมายของการเล่นไว้เช่นเดียวกันคือ

                เฮอร์ลอค  (Hurlock, 1956 : 321) กล่าวว่า  การเล่นเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน  สนุกสนาน  โดยไม่คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้น และมักเป็นกิจกรรมที่บุคคลกระทำโดยไม่ถูกบังคับ

                แมค (Mack, 1975)  การเล่นเป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เล่นสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม การเล่นของเด็กเปรียบได้กับการทำงานของผู้ใหญ่ ต่างกันตรงที่การเล่นของเด็กไม่มุ่งหวังสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเล่น นอกจากเป็นความพึงพอใจตามธรรมชาติ

                เพียเจท์ (Piaget, 1962)  ได้กล่าวว่าการเล่นเป็นกิจกรรมในการพักผ่อน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงว่าเมื่อเด็กเล่นแล้วได้ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ให้อภัย และเสียสละ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

                มาร์กาเร็ต  โลเวนเฟลด์ (Margaret  loventfeld, 1977 : 100,  อ้างถึงใน เยาวพา  เดชะคุปต์,

2542 : 21)  ได้กล่าวถึงความหมายของการเล่นของเด็กปฐมวัยเอาไว้ในหนังสือ ชื่อ “Play in Childhood” ว่า

  1. การเล่น คือ การกระทำกิจกรรมทางร่างกาย  (Play as a Bodily Activity)
  2. การเล่น คือ การได้รับประสบการณ์ซ้ำ  (Play as Repetition of Experience)
  3. การเล่น คือ การแสดงออกซึ่งความเพ้อฝัน  (Play as Demonstration of Fantasy)
  4. การเล่น คือ การเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อม  (Play as Realization of Environment)
  5. การเล่น คือ การเตรียมการเพื่อชีวิต  (Play as Preparation for Life)

                รูดอล์ฟ  (Rudolph, 1984 : 96)  กล่าวว่า การเล่นเป็นกระบวนการของการพัฒนาทั้ง 4 ด้านของเด็ก คือ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งการเล่นนี้มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้

  1. การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
  2. การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
  3. การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ความสมดุลในสังคม

กอร์ดอน และ โบรว์นี (Gordon and Browne, 1995)  กล่าวว่า การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของ

การเรียนรู้ เด็กจะแสดงความหมายต่าง ๆ ผ่านการเล่น ครูจึงสามารถวางแผนใช้การเล่นของเด็กเป็นการเรียนรู้ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงความสนุกสนานที่เกิดขึ้นให้กลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้

ฮาร์ทเลย์  แฟรงค์  และโกลเดนซัน     (Hartlery, Frank and Goldenson,  1952,   อ้างถึงใน

ประภาพรรณ  เอี่ยมสุภาษิต, 2542 : 119)  ได้กล่าวถึงความหมายของการเล่นไว้ดังนี้

  1. การเล่นเป็นการลอกเลียนแบบผู้ใหญ่
  2. การเล่นเป็นการแสดงสภาพชีวิตจริง
  3. การเล่นเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงผลปฏิสัมพันธ์ และประสบการณ์ของเด็กในสังคม
  4. การเล่นเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของเด็กที่สังคมไม่ยอมรับ
  5. การเล่นเป็นการแสดงออกตามความต้องการของเด็ก
  6. การเล่นเป็นการแสดงบทบาทสมมติ
  7. การเล่นเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของเด็ก
  8. การเล่นเป็นการแก้ปัญหาและลองใช้วิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น

 

จากความหมายของการเล่น ดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ว่า การเล่นหมายถึง  ประสบการณ์

และกิจกรรมทุกชนิดที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของเด็ก ที่นอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะและการสร้างความสัมพันธ์ในทางสังคม เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ที่จะใช้วัสดุเครื่องมือต่าง ๆ รู้จักหน้าที่ของตนเอง  นอกจากนี้ยังสามารถช่วยสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้ง 4 ด้าน ให้เด็กได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

 

  1. 2.       ความสำคัญของการเล่น

ความสำคัญของการเล่นนั้นมีผู้ศึกษาค้นคว้าและได้ให้ความหมายไว้มากมาย          

ดังเช่น

เพียเจท์ (Piaget,  อ้างถึงใน เยาวพา  เดชะคุปต์, 2542 : 22)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของ

การเล่นว่า  การเล่น จะมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสติปัญญาจากการเล่น   เด็กจะสามารถแยกแยะสิ่งต่าง   ๆ   จากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้า     เขาจะสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ เข้ามาในสมอง เพียเจท์ยังได้พูดถึงการเล่นเอาไว้  3  ประการคือ

       1.  บทบาทของการเล่น คือ การระบายอารมณ์

       2.  การเล่นช่วยให้เข้าใจถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม

       3.  การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม

                       รูบิน และ คณะ (Rubin and Other, 1983)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเล่นไว้ดังนี้

                       1.  การเล่นเป็นความสัมพันธ์ที่เด็กกำหนดขึ้นด้วยตนเอง โดยมีอิสระจากกฏเกณฑ์

                       2.  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญและควบคุมโดยเด็ก

                       3.  การเล่นเป็นกิจกรรมของชีวิตจริงที่สามารถทำได้ตลอดเวลา

                       4.  การเล่นมีความสำคัญที่กระบวนการของกิจกรรมมากกว่าผลที่ได้จากการเล่น

                       5.  การเล่นต้องมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมมือกันของเด็ก

       หรรษา  นิลวิเชียร (2534 : 114 – 116)    ได้กล่าวไว้ว่า        การเล่นเป็นส่วนสำคัญของ

ชีวิตเด็กเล็ก และมีคุณค่าต่อการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และการเล่นของเด็กจะมีผลต่อพัฒนาการมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึง ครู  พ่อ และแม่ ที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือด้วย

      สรวงธร  นาวาผล (2542 : 5) และ เกษลดา  มานะจุติ (2529 : 2 – 3) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเล่นไว้คล้ายคลึงกันซึ่งพอสรุปได้ว่า การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน สนุกสนาน ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็กเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เป็นผู้ที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย มีทักษะในการสื่อสาร     ด้านสติปัญญาจะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักคิดทั้งด้านการคิดอย่างมีเหตุผล การคิดอย่างสร้างสรรค์และจินตนาการ สามารถรู้จักวางแผน รู้จักแก้ปัญหา มีน้ำใจ มีความอดทน เป็นการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรมให้แก่เด็กด้วย

                       เชริษา  ใจแผ้ว  (2532 : 49) ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการเล่นว่า การเล่นของเด็กเป็นกิจกรรมที่สนองความต้องการเด็กในวัยนั้น ๆ เด็กได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ดังนั้นจึงมีความสำคัญเท่า ๆ กับการทำงานของผู้ใหญ่ในแต่ละวัน  ชีวิตของเด็กจะมีความสุขและมีคุณค่าเมื่อเด็กได้เล่นและใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ช่วยให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น เพราะการเล่นกับสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็กแต่ละวัย

                        นอกจากนี้ หรรษา  นิลวิเชียร (2535 : 85 – 86)  ได้สรุปถึงคุณค่าของการเล่นไว้ดังนี้

  1. การเล่นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็กเล็กและมีคุณค่าต่อการพัฒนาทั้งทางด้าน

ร่างกาย อารมณ์  สังคม และสติปัญญา

  1. การเล่นช่วยสร้างบรรยากาศของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะที่เด็กเล่น

ด้วยกันเด็กจะเรียนรู้การแบ่งปัน การเล่นด้วยกันกับเพื่อน ๆ เรียนรู้การระวังรักษาของเล่นกับเพื่อนและเรียนรู้การเข้าสังคม

  1. การเล่นทำให้เด็กเรียนรู้การรู้จักดัดแปลง คิด ยืดหยุ่น เช่น การใช้ก้านกล้วยสมมติ

เป็นม้า เป็นต้น

  1. การเล่นเป็นการให้เด็กเรียนรู้การรอคอย ฝึกความอดทน   ซึ่งจะเป็นลักษณะนิสัย

ที่ติดตัวและเป็นประโยชน์ต่อเด็กในอนาคต

  1. การเล่นเกี่ยวกับบทบาทต่าง  ๆ   ของบุคคลในชุมชน   ทำให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับ

อาชีพต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสังคม ซึ่งจะมีผลทำให้เด็กคิดถึงอนาคตและบทบาทของบุคคลต่าง ๆ ในสังคม

  1. การเล่นช่วยให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งในขณะที่เล่นสวมบทบาทผู้อื่น เด็กจะเริ่มเข้าใจว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไรเมื่อมีความทุกข์หรือความสุข

  1. การเล่นสมมติจะช่วยให้เด็กฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะสร้าง

ภาพพจน์เรื่องราวต่าง ๆ แม้แต่เรื่องในใจของตนเอง เด็กจะฝึกเลียนเสียงธรรมชาติ เสียงสัตว์ เสียงพูด ตลอดจนการเคลื่อนไหวของคนและสัตว์ เด็กจะค้นคว้าหาวิธีการใหม่ ๆ เด็กจะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและเรียนรู้ที่จะแยกออกว่าอะไรเป็นความจริงและอะไรเป็นความฝัน

                       สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ (2534 : 12 – 14)  ได้กล่าวว่าการเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยดังนี้

                       1.   เป็นการตอบสนองพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก เพราะในขณะที่เล่นเด็กจะแสดงออกได้อย่างเต็มที่ มีความสดชื่น สนุกสนาน เบิกบาน ทำให้เด็กรู้สึกเป็นสุขเพราะได้เล่นตามที่ตนเองต้องการ ได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ ซึ่งจะช่วยให้เด็กลดความตึงเครียดทางด้านจิตใจและช่วยให้เกิดความแจ่มใส

                     2.  เป็นการตอบสนองความต้องการของเด็กในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเด็กแสดงออกโดยการทดลอง  หยิบ จับ สำรวจ เขย่าฟังเสียง หรือขว้างปา ด้านความต้องการทางร่างกาย ความต้องการทางจิตใจ และเป็นการทดแทนความต้องการของเด็กซึ่งเด็กแสดงออกโดยการเล่นสมมติ

       3.    เป็นการเรียนรู้ของเด็กที่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งต่าง  ๆ  ที่อยู่รอบ  ๆ  ตัว 

เช่น เรียนรู้เรื่อง ขนาด น้ำหนัก สี รูปร่าง ความเหมือน ความแตกต่าง เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เช่น รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบทำอะไร ทำสิ่งใดได้หรือไม่ได้ เรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น การผลัดเปลี่ยนกันเล่น การรอคอย การแบ่งบัน การตัดสินปัญหาต่าง ๆ และเรียนรู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อชุมชน เช่นหน้าที่ของพ่อแม่ ลูก ตำรวจ กำนัน หมอ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ได้มากจากการเล่นสมมติและจากการสังเกต

                 4.     ช่วยพัฒนาคุณสมบัติหลายประการที่จะช่วยให้เด็กได้รับความสำเร็จในการทำงานเมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้น ทักษะที่เด็กได้รับจากการเล่นจะเป็นพื้นฐานในการทำงานของเด็กในอนาคต เพราะขณะที่เด็กเล่น เด็กจะมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงภารกิจและหน้าที่ของการเป็นผู้ใหญ่ เป็นการฝึกนิสัยในเรื่องรักการทำงาน มีความรับผิดชอบและการรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

                5.  เป็นการเตรียมชีวิตของเด็ก เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักหน้าที่ ที่ตนเองต้องทำในอนาคต

ฝึกการพึ่งตนเอง   การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  การแบ่งปัน  การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

                6. เพื่อให้มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และเพื่อเป็นแนวทางในการที่จะไปเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ต่อไป

                7.   ช่วยพัฒนาเด็กในทุก ๆ ด้าน คือ

                       ด้านร่างกาย การเล่นเป็นการใช้พลังงานส่วนเกินในร่างกายของเด็กเป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

                       ด้านอารมณ์และจิตใจ การเล่นจะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจให้มั่นคงแข็งแรง รู้จักปรับอารมณ์ให้เข้ากับภาวะแวดล้อม และการเล่นจะช่วยลดความคับข้องใจของเด็ก

                      ด้านสังคม การเล่นจะช่วยให้เด็กพัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่รวมกลุ่ม รู้จักบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม ฝึกการสมาคม และฝึกเด็กในเรื่องของการปรับตัว

                      ด้านสติปัญญา การเล่นถือว่าเป็นการฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กเป็นการฝึกในเรื่องการคิด และส่งเสริมจิตนาการของเด็ก

 

                ดังนั้นสรุปได้ว่า  การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเตรียมประสบการณ์เพื่อการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  นอกจากนี้การสร้างและแสดงออกทางจินตนาการอันเป็นหัวใจสำคัญของกิจกรรมทางความคิดของเด็กที่มีอย่างมากมายให้เด็กได้เลือกเล่นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งกล่าวได้ว่าการเล่นเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

 

  3.  ทฤษฎีการเล่นของเด็ก

                 การเล่นทำให้เด็กได้มีโอกาสที่จะอธิบายหรือแสดงออกถึงจุดมุ่งหมาย และความต้องการของตนเอง ได้เรียนรู้ รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น เรียนรู้สิ่งแวดล้อม เรียนรู้ความเป็นอยู่ของผู้อื่น ช่วยสร้างความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและธรรมชาติรอบตัวเป็นการแสดงออกของพฤติกรรมการเรียนรู้ ครูจึงไม่ควรมองข้ามการเล่นของเด็กและ สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้

                หรรษา  นิลวิเชียร (2534 : 87 – 95)  กล่าวว่าทฤษฎีการเล่นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ทฤษฎี (Mitchell & Mason, 1984, Ellis, 1973) คือ

  1. ทฤษฎีคลาสสิค (Classical Theories)

       ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับสาเหตุและผลของการเล่น ประกอบด้วยทฤษฎีต่าง ๆ ดังนี้

1.1      ทฤษฎีพลังงานเหลือใช้ ( The Surplus Energy Theory)  ทฤษฎีนี้เชื่อว่า โดย

ธรรมชาติแล้วมนุษย์จะเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นและสะสมพลังงานไว้ในตัว ถ้าหากมีพลังงานที่เหลือจากการใช้เพื่อดำรงชีวิตพื้นฐาน มนุษย์ก็จะใช้ไปในทางบันเทิงโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย เมื่อใดที่ครูสอนเด็กระดับอนุบาล เห็นเด็ก ๆ ออกไปวิ่งเล่นในสนามเด็กเล่นเต็มไปทั้งสนาม ความคิดของทฤษฎีนี้ดูเหมือนจะเป็นจริง

                        1.2   ทฤษฎีฝึกหัด (The Pre-Exercise Theory)  ทฤษฎีนี้ยืนยันว่าเด็กเล่นเพื่อฝึกหัด และทำให้สัญชาตญาณการอยู่รอดเป็นผลสมบูรณ์เมื่อเด็กเกิดมาใหม่ ๆ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์ เด็กจึงต้องอาศัยการเล่นเพื่อเป็นการทดลองพัฒนาประสาทสัมผัสอันจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและอารณ์ต่อไป   การฝึกหัดและการทดลองจะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการอยู่รอดพอ  ๆ  กับทักษะในการดำรงชีวิต

                       1.3   ทฤษฎีการทำซ้ำ (The Recapitulation Theory)  ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเล่นของเด็กเป็นการนำกิจกรรมของบรรพบุรุษของตนมาแสดงใหม่อีกครั้งหนึ่ง   เช่น   การเล่นน้ำ  ขุดดิน  ปีนต้นไม้ พฤติกรรมการเล่นของเด็กพัฒนาไปคล้ายกับขั้นการพัฒนาทางวัฒนธรรมของมนุษย์ การเล่นจะช่วยให้เด็กลบล้างพฤติกรรที่ไม่พึงประสงค์ของมนุษย์ออกไป    การเล่นเป็นการเตรียมตัวเด็กให้ก้าวไปสู่กิจกรรมที่ทันสมัย ซึ่งทันกับโลกที่เจริญก้าวหน้า

                      1.4   ทฤษฎีนันทนาการ (The Recreation Theory)  ทฤษฎีนี้จะตรงกันข้ามกับทฤษฎีพลังงานเหลือใช้ ขณะที่ทฤษฎีพลังงานเหลือใช้กล่าวว่า คนเรามีพลังงานเหลือใช้ และต้องการที่จะกำจัดส่วนเกินทิ้งไป ทฤษฎีนันทนาการแนะนำว่าพลังงานของคนเราสิ้นเปลืองหมดไป จะต้องหาวิธีสะสมไว้ การทำงานจะทำให้สูญเสียพลังทางร่างกายและจิตใจ การเล่นจะทำให้สดชื่นและเรียกพลังงานให้กลับคืนมา เพื่อจะได้เริ่มทำงานใหม่

                  1.5 ทฤษฎีการพักผ่อน (The Relaxation Theory) ทฤษฎีนี้เป็นส่วนขยายของทฤษฎีนันทนาการ ซึ่งกล่าวถึงภารกิจของประชาชนในปัจจุบันว่าประสบกับความเมื่อยล้า เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานทั้งทางสมองและกล้ามเนื้อ จึงควรมีกิจกรรมการเล่นเพื่อผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นที่ต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่

                แนวคิดนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อประสบการณ์เบื้องต้นของเด็กเพราะการที่เด็กมี

ประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ในการเล่นนี้จะมีผลต่อชีวิตในอนาคตของเด็ก การที่เด็กได้มีโอกาสเล่นมากก็จะทำให้เด็กมีโอกาสฝึกทักษะที่จำเป็นต่อชีวิตเมื่อโตขึ้น อีกทั้งประสบกาณณ์เหล่านี้จะช่วยให้เด็กสามารที่จะควบคุมความสามารถของตนเองและสภาพแวดล้อมได้ ทั้งจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและสติปัญญาอีกด้วย และเด็กที่ขาดประสบการณ์ในการเล่นก็จะขาดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นไป

  1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytical Theories)

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์  (Freud)   อีริคสัน   (Erikson)   และ   เพลเลอร์  (Peller) 

ได้อธิบายว่า การเล่นจะถูกนำไปโยงกับความเป็นผู้ใหญ่ภายในตัวเด็ก เมื่อเด็กเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากเกินควบคุม เด็กจะสร้างเรื่องราวสมมติขึ้น โดยการเล่นที่ใช้จินตนาการความคิดฝันและเล่นซ้ำ ๆ หลายครั้ง เพลเลอร์ (Peller, 1959) กล่าวว่า การเล่นเป็นการเก็บรวบรวมกระบวนการที่ต้องเผชิญกับความคับข้องใจ ความกังวล ความผิดหวัง ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เป็นไปอย่างช้า ๆ และมั่นคง การเล่นช่วยให้เด็กเรียนวิธีการควบคุมตัวเอง โดยไม่ต้องสูญเสียความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง  (Freud, 1965)  ตามความคิดของฟรอยด์ การเล่นเป็นทางออกให้เด็กได้แสดงความรู้สึก

                       อีริคสัน  (Erikson, 1963)    เชื่อว่า   การเล่นช่วยให้เด็กได้ฝึกหัด ทดลอง และเรียนรู้

สถานการณ์ของการเป็นผู้ใหญ่ การเล่นเป็นกระบวนการต่อเนื่องของความสัมพันธ์ของความจริงทางด้านจิตใจและสังคม ความคิดของฟรอยด์และอีริคสัน เด็กจะมีพัฒนาการทางการเล่นไปตามขั้นตอนดังนี้

         1.    ระยะร่างกายไปหาของเล่น (Autocosmic) เป็นระยะที่เด็กมีความสุขจากการได้สัมผัสร่างกายของตนเองหรือมารดา

                        2.    ระยะของเล่นไปสู่การเล่น (Microsphere)  เป็นช่วงที่เด็กสร้างโลกของตนเองโดยการเล่นสมมติกับของเล่นขนาดเล็ก เช่น ตุ๊กตา บ้าน ฯลฯ

                        3.     ระยะการเล่นไปสู่การทำงาน (Macrosphere)  เด็กจะมีพฤติกรรมการเล่นสมมติตัวเองในบทบาทอาชีพต่าง ๆ เช่น  พิมพ์ดีด รับโทรศัพท์ ทำครัว เป็นต้น เป็นการเล่นที่เด็กได้สร้างโลกของการทำงานร่วมกับผู้อื่น

  1. ทฤษฎีพัฒนาการสติปัญญา (Cognitive-developmental Theories)

เพียเจท์ (Piaget) ผู้นำทางทฤษฎีสติปัญญากล่าวว่า การเล่นเกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก

และเป็นผลจากสถานภาพของการพัฒนาด้านสติปัญญา การเล่นของเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ในวัยทารกเด็กจะเลียนแบบและกิริยาจากบุคคลหรือสัตว์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นการเล่นสามรูปแบบด้วยกันคือ การเล่นฝึก (Practice Play) จะเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในขั้นการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อเด็กอายุประมาณ 2  ขวบจะเริ่มการเล่นโดยใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) และจะพัฒนาไปเป็นการเล่นที่มีกฎกติกา (Games with Pules) เพียเจท์ ยังกล่าวอีกว่า การเล่นเกมที่มีกฎและกติกานั้น จะเกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของคน

  1. ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม (Ecological Theories)

ทฤษฎีสิ่งแวดล้อมกล่าวถึงโครงสร้าง   และสถานการณ์ที่ทำให้การเล่นของเด็ก

แตกต่างกันไป ซึ่งหมายถึงสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กเกิดความสนใจ เช่น ชนิดของวัตถุ หรือชนิดของกิจกรรมการเล่น รวมไปถึงเพศของเพื่อนเล่นตลอดจนการควบคุมของผู้ใหญ่ด้วย  (หรรษา  นิลวิเชียร, 2534 : 87 – 95)

 

                จากทัศนะและแนวคิดของนักการศึกษาที่กล่าวถึงทฤษฎีการเล่น จะเห็นได้ว่า การเล่นเป็นสิ่งที่เด็กขาดไม่ได้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในทุกสถานการณ์ เป็นการแสดงออกถึงความพึงพอใจในขณะเล่น ไม่ว่าจะเล่นกลางแจ้ง หรือเล่นในร่ม เด็กสามารถเล่นด้วยกันได้ทั้งชายและหญิง ครูควรคำนึงถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของเด็กโดยเลือกจัดประสบการณ์การเล่นให้สอดคล้องกับระดับขั้นของพัฒนาการ เพื่อพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

 

                4.  ประเภทของการเล่น

                     การเล่นของเด็กมีความแตกต่างกันไปในแต่ละวัน เวลา และแต่ละบุคคล ตามสภาพการและความพอใจของเด็ก  ทั้งนี้เนื่องจากการเล่นแต่ละชนิดให้ความสนใจหรือดึงดูดใจเด็กแตกต่างกัน บางครั้งก็ชอบดูคนอื่นเล่น หรือบางครั้งก็ชอบเล่นกิจกรรมที่ร่วมมือกับคนอื่น ๆ มีการผลัดเปลี่ยนวัตถุกันเล่น เด็กแต่ละคนมีโอกาสเล่นในแบบต่าง ๆ กัน ดังที่ ศรีเรือน  แก้วกังวาล (2545 : 211 – 213) ได้สรุปประเภทของการเล่นไว้ 7 ประเภทดังต่อไปนี้

                     1.  เล่นคนเดียว   เด็กเล่นคนเดียวกับของเล่น  เช่น  เล่นกับตุ๊กตา  เล่นตัดกระดาษ 

เล่นสมมติ  ฯลฯ

                  2.  เล่นสมมติ โลกของการเล่นสมมติเป็นการเล่นที่โดดเด่นมากของเด็กวัยเด็กตอนต้น สำหรับเด็ก การเล่นชนิดนี้เป็นโลกแห่งความจริง เด็กมักลอกเลียนโลกสมมติจากเรื่องราวในชีวิตจริงที่ได้พบเห็น เช่น เป็นครู  นักเรียน  พ่อ  แม่  ทำกับข้าว  ฯลฯ หรือบางครั้งก็ลอกเลียนจากเรื่องราวที่ตนได้ยินได้ฟังจากนิทาน

                    3.  เล่นเชิงสังคม   ได้แก่  การเล่นที่มีเด็กตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  การเล่นเชิงสังคมอาจรวม

การเล่นประเภทอื่น ๆ ด้วย (ยกเว้นการเล่นคนเดียว)  เช่น  เล่นกระโดดเชือก  เล่นซ่อนหา  เล่นอีตัก  เล่นมอญซ่อนผ้า ฯลฯ

                      4.  เล่น-ดูผู้อื่นเล่น  เด็กดูผู้อื่นเล่น โดยไม่ร่วมเล่นด้วยแต่อาจจะถามคำถาม ให้คำแนะนำ ฯลฯ การดูผู้อื่นเล่นไม่ค่อยปรากฏบ่อยนักในวัยนี้

                      5.  เล่นอย่างเดียวกันในที่เดียวกันแต่ไม่เล่นด้วยกัน (ต่างคนต่างเล่น) (Pararell Play)  เช่น เด็ก 2 คน ต่างนั่งเล่นตุ๊กตาของตัว พูดกับตุ๊กตา แต่ไม่ร่วมเล่นตุ๊กตาตัวเดียวกัน

                       6.   เล่นร่วมกัน (Associative Play)  เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะชอบเล่นร่วมกับเพื่อนมากกว่าเล่นคนเดียว หรือเล่นด้วยกันแต่ต่างคนต่างเล่น เด็กยังยอมรับกติกาการเล่นร่วมกันไม่ค่อยได้ จึงมักจะทะเลาะกันค่อนข้างบ่อยเมื่อเล่นร่วมกัน แต่การทะเลาะของเด็กเป็นลักษณะชั่วครู่ชั่วยาม

                       7.  เล่นแบบร่วมมือกัน (Co-operative Play)  เด็กจะรู้จักเล่นด้วยกันอย่างมีกฎเกณฑ์

การเล่นที่ไม่ซับซ้อน เมื่ออายุประมาณ 5 – 6 ขวบ

สุชา  จันทน์เอม (2543 : 85 – 86) ได้กล่าวไว้ในจิตวิทยาเด็กว่า เด็กจะเล่นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับอายุของเด็กเป็นส่วนใหญ่ คือ เด็กที่มีอายุแตกต่างกันจะเล่นแตกต่างกันออกไป ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

                       1.  การเล่นที่เป็นไปตามธรรมชาติและเป็นอิสระ  การเล่นดังกล่าวจัดเป็นการเล่นที่ไม่มีกฎเกณฑ์ไม่เล่นประจำ และเป็นการเล่นคนเดียวมากกว่าที่จะเล่นกับเพื่อน ๆ และจะเป็นการเล่นในลักษณะของการสำรวจ เช่น การเล่นตุ๊กตา เด็กจะถอดออก แล้วทดลองประกอบใหม่  การเล่นจะเริ่มซับซ้อนและมีกฎเกณฑ์มากขึ้นในช่วงปลายปีที่ 2

                       2.  การเล่นแบบสมมติ  การเล่นชนิดนี้เป็นการเล่นกับวัตถุ หรือสถานการณ์อย่างใด

อย่างหนึ่ง  โดยสมมติสิ่งที่เด็กชอบ  จัดเป็นการเล่นที่ต้องใช้ภาษาและแสดงพฤติกรรมต่าง  ๆ   ออกมา  ซึ่งการเล่นสมมตินี้เด็กคนใดที่มีความคับข้องใจมาก ก็จะยิ่งชอบการเล่นแบบนี้มาก

                      3.  การเล่นแบบสร้างสรรค์  การเล่นแบบสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเล่นของเด็ก เมื่อเด็กมีอายุ   5  &n

หมายเลขบันทึก: 466792เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2011 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท