๓๑ ตุลา ๒๕๕๔ ครบรอบ ๑ ปี วาตภัยถล่มแผ่นดินบก


โซนบก ๔ อำเภอบนคาบสมุทรสทิงพระ เจอวาตภัยที่รุนแรงเกินกว่าพายุดีเพรสชั่น และร้ายแรงเป็นครั้งแรกในรอบร้อยปี ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ พายุถล่ม บ้านเรือนพังเสียหาย ต้นไม้โค่นล้มเต็มพื้นที่ ชาวบ้านเจอสภาพบ้านเรือนพังเสียหายทั้งหลัง หลังคาเปิดโล่งทั้งหลัง จนถึงบางเบาเล็กน้อย หลังคารั่วไม่มีที่ซุกหัวนอนยามฝนตกตอนกลางคืน ขณะนี้ชาวบ้านที่ยากจน และลำบากอยู่แล้ว หลายสิบครัวเรือน(หรือนับร้อยครัวเรือนหากสำรวจกันให้จริงจัง)ที่ยังต้องอาศัยนอนในวัด บ้านญาติ หรือบ้านเพื่อนบ้าน คอกเลี้ยงสัตว์เสียหาย เรือนข้าวพัง-หลังคารั่ว

๓๑ ตุลา ๒๕๕๔ ครบรอบ ๑ ปี วาตภัยถล่มแผ่นดินบก

         วันนี้ปีที่แล้วพื้อนที่โซนบก ๔ อำเภอบนคาบสมุทรสทิงพระ เจอวาตภัยที่รุนแรงเกินกว่าพายุดีเพรสชั่น และร้ายแรงเป็นครั้งแรกในรอบร้อยปี ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ พายุถล่ม บ้านเรือนพังเสียหาย ต้นไม้โค่นล้มเต็มพื้นที่ ชาวบ้านเจอสภาพบ้านเรือนพังเสียหายทั้งหลัง หลังคาเปิดโล่งทั้งหลัง จนถึงบางเบาเล็กน้อย หลังคารั่วไม่มีที่ซุกหัวนอนยามฝนตกตอนกลางคืน ขณะนี้ชาวบ้านที่ยากจน และลำบากอยู่แล้ว หลายสิบครัวเรือน(หรือนับร้อยครัวเรือนหากสำรวจกันให้จริงจัง)ที่ยังต้องอาศัยนอนในวัด บ้านญาติ หรือบ้านเพื่อนบ้าน คอกเลี้ยงสัตว์เสียหาย เรือนข้าวพัง-หลังคารั่ว สภาพหมู่ชุมชนยังฟื้นคืนที่ยังไม่ครบเต็มร้อยทางกายภาพด้านที่อยู่อาศัย ดังเห็นได้จากบ้านเรือนของชาวบ้านที่คาราคาซัง..ซ่อมยังไม่แล้วเสร็จอีกหลายสิบหลัง..ที่แล้วเสร็จเพียงพออยู่ได้ก็หลายสิบหลัง..ที่ยังไม่ได้ซ่อมก้ออีกหลายสิบหลัง..ส่วนสภาพจิตใจ ทุกครั้งที่ครึ้มฝน..ผู้คนจะผวา เกร็ง เครียด เกรงจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำสอง นี่เป็นความบอบช้ำที่ยังหลงเหลืออยู่จากเหตุภัยพิบัติของวาตภัยในปีที่ผ่านมา ยังไม่นับรวมถึงความรู้สึกที่คาใจอยู่กับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง,นักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่นบางคนนอกจากไม่เอาใจใส่ดูแลต่อทุกข์และปัญหา  ยังถือโอกาสหาเสียงด้วยเงินงบประมาณมาแอบช่วยหัวคะแนน,อมเงินงบประมาณที่รัฐบาลอนุมัติช่วยผู้ประสพภัยแบบฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงทำให้ชุมชนอ่อนแอ ประเทศชาติวุ่นวาย

   จากเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับจังหวัดสงขลาในช่วงปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านทั้ง ๒ โซน ๒ ทุกข์ภัย โซนเหนือ และเมืองหาดใหญ่ เจอสภาพปัญหาฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมพื้นที่น้ำป่าไหลหลากอย่างรวดเร็ว ดินถล่ม น้ำท่วมเมืองหาดใหญ่สูงมากถึง ๔ เมตร สูงกว่า ปี ๒๕๑๘ ๒๕๓๑,๒๕๔๓ และปี ๒๕๔๘ ทั้งๆที่มีคลองระบายน้ำถึง ๔ สาย โซนบก ๔ อำเภอบนคาบสมุทรสทิงพระ เจอวาตภัยที่รุนแรงเกินกว่าพายุดีเพรสชั่น และร้ายแรงเป็นครั้งแรกในรอบร้อยปี ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ พายุถล่ม บ้านเรือนพังเสียหาย ต้นไม้โค่นล้มเต็มพื้นที่ ชาวบ้านเจอสภาพบ้านเรือนพังเสียหายทั้งหลัง หลังคาเปิดโล่งทั้งหลัง จนถึงบางเบาเล็กน้อย หลังคารั่วไม่มีที่ซุกหัวนอนยามฝนตกตอนกลางคืน ขณะนี้ชาวบ้านที่ยากจน และลำบากอยู่แล้ว หลายสิบครัวเรือน(หรือนับร้อยครัวเรือนหากสำรวจกันให้จริงจัง)ที่ยังต้องอาศัยนอนในวัด บ้านญาติ หรือบ้านเพื่อนบ้าน คอกเลี้ยงสัตว์เสียหาย เรือนข้าวพัง-หลังคารั่ว

 ปัญหาและอุทาหรณ์ที่ได้พบในยามวิกฤติครั้งนี้

  • ส่วนราชการมีจุดอ่อนตรงที่ อ่อนแอ ล่าช้า ไม่กล้าตัดสินใจ รอนโยบาย ไม่มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
  • ภาคท้องถิ่น เกิดความขัดแย้ง แสวงหาผลประโยชน์ โทษมึง ไม่โทษกู
  • สื่อ ส่วนใหญ่ยังทำงานแบบขาดจิตวิญญาณ ไม่เป็นมืออาชีพ (โดยเฉพาะสื่อของรัฐ) ก่อนๆประชาชนเบื่อสื่อธุรกิจที่มอมเมาสังคม และเยาวชน ช่วงวิกฤติ เกิดสื่ออสรพิษ(งูเห่า)ปล่อยให้ชาวบ้านทางบ้านโทร.ฟ้อง ร้องเรียน ด่า ประจาน โจมตี ผ่านรายการด้านเดียวโดยไม่มีกระบวนการกลั่นกรอง
  • ภาคประชาชน (ชมรมบินหลาหาข่าว) จึงต้องออกโรงมามีบทบาท โดยสื่อ "เพื่อชุมชน วิทยุชุมชน เครือข่ายชุมชน" ใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ปี ๒๕๔๓ , สึนามึ ปี ๒๕๔๕ อุทกภัยปี ๒๕๔๘ ใช้ใช้ภูมิปัญญา ปฏิภาณในการแก้ไขปัญหา เพื่อช่วยเหลือประชาชนบนคาบสมุทรสทิงพระ(ที่ถูกลืมเพราะเรื่องน้ำท่วมนครหาดใหญ่เป็นเรื่องใหญ่)อย่างด่วน โดยระยะที่เกิดเหตุการณ์ใหม่รีบบันทึกภาพเหตุการณ์ สำรวจความเสียหาย ประเมินความเดือดร้อน ประสานใจ ประสานแรง แจ้งข่าวผ่านสื่อไปยังเครือข่ายภาคประชาชน ระดมคน ระดมทุน ขอกระเบื้องมุงหลังคาด่วนเป็นอย่างแรก เพื่อแก้ปัญหาหลังคาบ้านที่ประสบวาตภัยในครั้งนี้ของพี่น้องชาวบก เพราะถุงยังชีพ ยังไม่สำคัญเท่า “กระเบื้อง” ในการประเมินของพวกเรา จากนั้นจับมือกับสภาองค์กรชุมชน องค์กรเอกชน(NGO) สมาคม มูลนิธิการกุศลต่างๆ และเพื่อนเครือข่ายจากสถาบันการศึกษาในสงขลา เร่งสำรวจข้อมูล เพื่อเรียงลำลับปัญหาที่เดือดร้อน หาทางบรรเทาเบื้องต้น ระยะกลาง และระยะยาวต่อไป
  • และบัดนี้ปีนี้ชาวบ้านทำนาไม่ได้นาล่มซ้ำสอง ชาวบ้านทำนาได้เพียงส่นน้อยไม่ถึง ๓๐ % ของพื้นที่ เนื่องจากปีที่แล้วหลังวาตภัยน้ำท่วมนา และฝนตกดีตลอดปีนาข้าวหญ้าขึ้นดกรกเรื้อจนไม่นสามารถทำนาได้ส่วนใหญ่

 แนวทางในการแก้ไข เพื่อเยียวยา และฟื้นฟู

  • รัฐ/ราชการ ต้องมีความฉับไวในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนในภาวะวิกฤติให้กับประชาชน โดยใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการกับชีวิตจริง อิงเทคโนโลยี ยกเลิกนิสัย การทำงานแบบ "สาว่า น่าหมัน" นั่งเทียนเขียนแผน คิดแทน ชี้นำ แค่นให้ทำทั้งๆที่ชุมชนไม่ต้องการ เลิกค่านิยม ถูกครับพี่ ดีครับนาย ใช่ครับท่าน หยุด การฉกฉวย ถือโอกาส ฉ้อราษฎร์บังหลวง รีบสำรวจข้อมูล ประมวลปัญหารีบรายงายนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูง หรือรัฐบาลกลางโดยด่วน
  • นักการเมือง ทุกระดับในเขตพื้นที่เกิดเหตุ ต้องรีบลงหาข้อมูล สอบถามความเดือดร้อนของชาวบ้าน อย่างทั่วถึงด้วยตนเองเหมือนตอนที่ลงหาเสียงเลือกตั้งทุกหัวบันไดเรือนด้วยตนเอง อย่าวางใจหัวคะแนนจะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงความจริง รีบนำปัญหา ข้อมูลสภาพความเป็นจริง และแนวทางแก้ไขเสนอต่อสภา หรือนายกฯ เป็นการด่วน ลบล้างความคิดลัทธิประชานิยม
  • ผู้นำศาสนา ต้องนำหลักธรรม ออกมาบอกเล่า–บำบัด–เยียวยา จิตใจให้เข้ากับเหตุกับการณ์
  • สื่อ ต้องฉับไว ใส่จิตวิญญาณ ใช้วิชาชีพให้เกิดคุณค่า เป็นประโยชน์ กับชาวบ้าน,ชุมชนและประเทศชาติ อย่าหลงตนว่าเป็นพระเอกขี่มาขาวเพื่อมาช่วยชาวบ้าน เลิกแสวงหาประโยชน์ให้ตนและพรรคพวก อย่ามีประสงค์แฝงเร้น สื่อที่ดีจะมีประโยชน์มากตามศาสตร์และหลักการ แต่หากสื่อขาดจิตวิญญาณและจรรยาบรรณ ที่สามารถพิทักษ์ประโยชน์ของชุมชน-ชาติ กลับใช้สื่อเพื่อฉกฉวย ขู่เพื่อขอที่ฝรั่งเรียกว่าแบล็คเมล์เพื่อรายได้จะกลายเป็น"สื่องูเห่าสื่ออสรพิษ"ของสังคม  และสื่อของรัฐต้องมีบทบาท มีอิสระในการจัดการเพื่อประโยชน์ชาติ-ประชาชนมากกว่านี้ ในยามวิกฤติผู้บริหารควรมีอำนาจตัดสินใจด้วยอำนาจหน้าที่อย่างมีคุณธรรม อย่ายำเกรงการเมือง
  • ประชาชน ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน และพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น เลิกค่านิยม คิดแต่ขอ รอให้คนอื่นช่วย
  • ประชาชนที่มีสำนึกดีทุกคน ช่วยชาติโดยต้านลัทธิประชานิยมของนักการเมืองทุกระดับ เลิก ลด ละ นิสัยขี้หก ขี้ฉ้อ ขี้โกง ขี้เล่น ขี้เหล้า ขี้ลัก ฯลฯ ปลูกนิสัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ อดออม รื้อฟื้นวัฒนธรรมชุมชนดีมาใช้ เช่น การพึ่งพาตนเอง การพึ่งพากันเอง รวมกลุ่มกันทำดีรวมกลุ่มจัดสวัสดิการชุมชน
  • และทุกภาคส่วนต้องประสานแรง ประสานใจ ในการแก้ไข เยียวยา บำบัด ฟื้นฟู ปัญหาของชุมชนจากวิกฤติครั้งนี้อย่างจริงจังทั้งระยะสั้น และระยะยาว เช่น
    • การอบรมวิชาชีพอย่างง่ายๆที่ชาวบ้านสามารถทำเพื่อกิน เพื่อใช้ กับตนเองและครอบครัวได้ โดยเร็ว
    • สำรวจข้อมูลสภาพปัญหา ความเดือดร้อน และความต้องการของชาวบ้าน/ชุมชน
    • ระดมทุน หางบประมาณ ในการจัดการ ฟื้นฟู อาชีพ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่มีผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทุก เพศ วัย และสาขาอาชีพ
    • ศึกษาหาแนวทาง มาตรการในการป้องกัน เพื่ออนาคต
    • สร้างระบบการสื่อสารกับชุมชนที่เป็นเอกภาพ
    • สร้างเครือข่าย "ชุมชนจัดการตนเอง" 
      • ฯลฯ

                                                                                     ครู’ฑูรย์

หมายเลขบันทึก: 466763เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2011 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูครับ ผมออกไปยกยอมา คืนนี้ปลากุ้งหายหมด คืนก่อนผมไม่ไป เพื่อนได้ปลากด ตัวโลหวา ปลาโสด ปลาแหยง กองเอ

คืนนี้เพื่อนชวนไป ได้แต่ลูกปลาแหยงลูกกุ้งลูกปลาโทง....หลบมนอนดีหวา

ไม่โร่เป็นเท่ดวง..,ช่วงเวลา....,ฝีมือ...,หรือทำเล....ปีนี้น้ำขึ้นหล้า..ปลารอวางไข่อยู่..จริงทุกปีๆช่วงนี้น้ำพองได้เท่แล้ว..อาทิตย์ที่แล้วแถวหัวป่า,เน้อย,ปากประน้ำขึ้น-น้ำแล่นหัวทีปลาขึ้นมาไข่โดยเฉพาะปลาแหยง..ขี้ขม..ดักไซ/วางหลอม..ได้กันคนละมากๆปลดไม่ทันราคาลดลงจากโลละ ๑๐๐ กว่า เหลืออยู่ที่ ๖๐-๗๐ บาท

สวัสดีครับครู วิทยาลัยภูมิปัญญา น้ำท่วมมั้ยครับ..เป็นห่วงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท