เลี้ยงลูกให้เก่งและดีด้วย E.Q


เลี้ยงลูกให้เก่งและดีด้วย E.Q
การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดี  คือ เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุขนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลักคือ
  
1.    สมองและระบบประสาทที่ดี ได้รับสารอาหารเพียงพอ และได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม เพื่อเด็กจะได้เติบโตขึ้นมา มี I.Q. ที่ดี
  
2.    การอบรม เลี้ยงดูที่ดี ช่วยสนับสนุนให้เด็กมี E.Q. ดี
   
3.    การเรียนรู้อย่างมีความสุขซึ่งจะ ช่วยเสริมสร้างทั้ง I.Q. และ E.Q.
องค์ประกอบของ E.Q.
1. รู้และ เข้าใจอารมณ์ของตนเอง (Self awareness, knowing one's emotion) หมายถึงการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองเช่นรู้ว่าขณะนี้ตนเองกำลังโกรธ สูญเสีย การควบคุมตนเอง สามารถประเมินตนเองได ้รู้จุดเด่น จุดด้อย มีความมั่นใจในตัวเอง และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง
(self esteem) ซึ่งมีความสำคัญมาก
2. สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ (Managing emotion or self regulation) เมื่อรู้อารมณ์ของตนเองแล้วก็สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ด้วย (self control) หรือถ้าจะมีอารมณ์ก็แสดงออกอย่างเหมาะสม เช่นในเด็กที่ถูกขัดใจ อาจมีอารมณ์โกรธได้ แต่ควรแสดงออกทางคำพูด ไม่ใช้พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง เช่นตี ทุบคนอื่น หรือขว้างของ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย
  • ความมีระเบียบวินัย (discipline) ย้ำว่าระเบียบวินัยก็เป็นส่วนสำคัญของ E.Q. ด้วยครับ
  • เป็นคนที่น่าไว้ใจได้ (trustworthiness) เช่นเมื่อได้รับมอบหมายงานอะไรมา ก็มีความรับผิดชอบ ตั้งใจทำงานออกมาให้ดีที่สุด หัวหน้าที่สั่งงานออกไปก็จะมั่นใจ ให้ทำงาน คือเป็นคนที่น่าไว้ใจได้ว่ามีความรับผิดชอบนั่นเอง
  • มีคุณธรรม (conscientiousness) ถ้าเป็นคนฉลาด I.Q.สูง แต่ไม่มีคุณธรรม เมื่อโตขึ้นแล้วก็ทุจริต คอร์รัปชั่น หาประโยชน์ใส่ตัว ก็เป็นผลเสียต่อสังคม ดังนั้นเป็นคนเก่งแล้วก็ต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมด้วย
  • ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) เราจะเห็นว่าเด็กบางคนทนกับความอึดอัดใจไม่ได้ ไม่ค่อยมีความอดทน มีแนวโน้มรอให้สภาพแวดล้อมปรับเข้าหาตน ไม่พยายามแก้ปัญหาหรือปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อม ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวก็ เป็นสิ่งดีๆ ที่ควรให้เกิดมีขึ้นในลูกหลานของเรา
  • มีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ (Innovation) ซึ่งข้อนี้เป็นส่วนสำคัญของความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศด้วยครับ ประเทศไหนที่ประชากรมีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ผลิต คิดค้น วิจัยสิ่งใหม่ๆ ได้ ก็จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ดี
3. มีความเข้าใจผู้อื่น (Recognizing emotions in others)
  • มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy) ตรงนี้สำคัญครับ ถ้าหัวหน้างานหรือผู้จัดการไม่มีความเห็นอกเห็นใจพนักงาน สักแต่ใช้ๆ สั่งๆ ลูกน้อง กำลังนั่งทุกข์ใจ เครียดอยู่ อาจมีปัญหาครอบครัว ก็ไม่เคยรู้ ไม่เคยสนใจ ไม่เคยคิดจะไต่ถามแบบนี้ก็จะไม่มีทางเป็นผู้นำที่ดีได้
  • มีจิตใจใฝ่บริการ (service orientation) เป็นลักษณะดีๆที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องให้บริการผู้อื่น
  • แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม นั่นหมายถึงการไม่แสดงอารมณ์อย่างรุนแรง ไร้เหตุผล แต่ก็ไม่ใช่เก็บความรู้สึก เก็บอารมณ์ จนไม่กล้าแสดงออกเลย
4. สามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation one's self)
  • แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (achievement motivation) พบว่ามี เด็กบางคนทำดี โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่ทำดี เพราะพยายามที่จะไปสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ (standard of excellence) ตัวอย่างเช่นเด็กบางคนตั้งใจเรียนหนังสือให้เก่ง เพราะอยากเป็นนัก วิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก ดังนั้นถ้าผลสอบออกมาดี เด็กก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำชม และของรางวัลจากพ่อแม่หรือคุณครู มากนัก เพราะทำดี ตั้งใจเรียนเพื่อมาตรฐานความเป็นเลิศที่ตนเองตั้งไว้ เด็กกลุ่มนี้พบว่ามักจะมาจากครอบครัวที่พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูมาดี เช่นให้ความรัก ความอบอุ่น และสอนให้ลูกรู้กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัย
  • แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (affiliation motive) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์หมายถึงสามารถนำความรู้สึกมาสร้างพลังให้กำลังใจตนเองได้ ล้มแล้วลุก ไม่ท้อ พยายามต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น
  • มองโลกแง่ดี มีความสุขกับชีวิต เวลาเรียนเป็นเรียน เวลาเล่นก็ ควรรู้จักเล่น รู้จักพักเมื่อถึงเวลาพัก เด็กบางคนเรียนเก่ง แต่เคร่งเครียดตลอดเวลา ขี้กังวล ไม่มี ความสุขในชีวิต ถึงเรียนเก่ง ก็ไม่มีความหมาย
  • มีความคิดริเริ่ม ข้อนี้มีความสำคัญมากครับ ต่อการพัฒนาของ เด็ก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากระบบการศึกษาที่สอนให้เด็กคิดเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย
  • จงรักภักดีต่อต่อองค์กร (loyalty)
5. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ (Handling relationship) คือเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั่นเอง คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับว่ามนุษยสัมพันธมีความ์สำคัญอย่างไรต่อความสำเร็จ บางคนเรียนหนังสือเก่ง ฉลาด แต่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่เป็น ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ ไม่ประสานประโยชน์กับผู้ร่วมงาน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์นี้ได้แก่
  • ทักษะทางสังคม (social skills)
  • การสื่อสารที่ดี (communication skills) คือ สามารถสื่อสารด้วยคำพูด และท่าทางอย่างเหมาะสม เข้าใจง่าย
  • สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี (conflict management) ซึ่งข้อนี้ก็เป็นคุณสมบัติของผู้บริหารจัดการที่สำคัญเช่นกันครับ เช่นถ้าลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานขัดแย้งกันก็สามารถไกล่เกลี่ย ลดความขัดแย้ง ทำให้งานสามารถเดินต่อไปได้ ถ้าเป็นเด็กเวลาทำรายงานหรืองานกลุ่มก็จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของเพื่อนๆ ได้ดี
 
คำสำคัญ (Tags): #kmanw2
หมายเลขบันทึก: 465891เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2011 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท