ทำไมต้องยังคงนมแม่ในภาวะฉุกเฉิน


นมแม่ ภาวะฉุกเฉิน น้ำท่วม

ในยามที่หลายครอบครัวต้องอยู่ในภาวะยากลำบาก เด็ก คนชราและผู้ป่วยเป็นที่ต้องการช่วยเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย ที่พักอาศัย อาหารและน้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็น เด็กเล็กที่กินนมแม่จะได้รับการปกป้องให้อบอุ่นและปลอดภัยจากภาวะท้องร่วง อันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรนถึงแก่ชีวิตได้อย่างง่ายดาย ด้วยความขาดแคลนน้ำสะอาดและอุปกรณ์ในการทำความสะอาดขวดนม จุกนม รวมถึงนมผงที่ต้องใช้ทุกมื้อ ทุกวัน

สิ่งสำคัญคือ

  •  ถ้ากินนมแม่อยู่ให้กินต่อไปอย่าได้หวั่นไหว
  • ถ้ากินมแม่กับนมชงร่วมกันระวัดระวังเรื่องความสะอาด และลองพยายามให้กินแม่ให้มากขึ้นเพราะยังสามารถทำให้มีน้ำนมมากขึ้นได้ไม่ยาก
  •  เด็กที่เป็นห่วงสุดๆในยามน้ำสะอาดหายาก ไม่มีอุปกรณ์ทำความสะอาดขวดนมต้องระวังสุดๆ เพราะที่เป็นอยู่นี้ก็ลำบากมากแล้ว ถ้าต้องมีใครเจ็บป่วยจะหายา หาการรักษาคงยิ่งยากลำบากไปกว่านี้อีก ไม่อยากต้องคิด เป็นห่วงจริงๆ

(เขียนโดย พี่มีนะ สพสมัย)

**
*ทำไม ต้องยังคง นมแม่ **ในภาวะฉุกเฉิน***

ในภาวะฉุกเฉิน ย่อมไม่สามารถ หานม หรืออาหาร ให้ทารกและเด็กเล็กได้โดยสะดวก

ไม่แนะนำให้แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เลิกให้นมแม่
ควรให้คงกินนมแม่ต่อ


· แม่ย่อมให้นมแม่กับลูกได้โดยสะดวก สะอาด และ ทันที

· แม่ที่โอบกอดลูก ให้นมลูก จะรู้สึกผ่อนคลาย
มีพลังใจในการผจญกับภาวะฉุกเฉิน


จะยังคงให้ แม่สามารถให้นมลูกได้นมแม่ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างไร

· ให้แม่ ได้รับอาหารและน้ำ อย่างเพียงพอ
เพื่อให้แม่มีความสมบูรณ์ในการผลิตน้ำนม

· จัดที่พักให้แม่และลูก อยู่ด้วยกัน ในบรรยากาศที่ สงบ เท่าที่เป็นไปได้


· ถ้ามีแม่ที่จะคลอด ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้า โดยเร็วที่สุด
เพื่อให้น้ำนม มาเร็ว

· การรับบริจาค นมผสม ให้รับบริจาค ตามความจำเป็น ไม่นำนมบริจาคมาให้
แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

·



*ข้อเท็จจริง***

* *

*“**ในภาวะฉุกเฉิน แม่อาจขาดอาหาร คงไม่สามารถให้นมแม่ได้**” *

ข้อเท็จจริง: แม่ที่ขาดอาหารยังสามารถให้นมลูกได้
การขาดอาหารไม่มากน้ำนมจะยังคงมีคุณภาพดี

ขณะเดียวกันก็ไม่ควรปล่อยให้แม่ขาดอาหาร ควรบำรุงแม่เพื่อแม่สร้างน้ำนมได้ดี

“ในภาวะฉุกเฉิน *แม่คิดว่า ไม่สามารถ ผลิตนมได้พอที่จะเลี้ยงลูก**” *

ข้อเท็จจริง: แม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ ตราบใดที่ลูกยังคงดูดนมแม่จากเต้า
เพราะการดูดนมของลูกจะเป็นการกระตุ้นให้วงจรสร้างน้ำนม ทำงานได้ดี



*“**ความเครียดทำให้แม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมได้**”*

ข้อเท็จจริง: ความเครียดไม่ได้ทำให้การผลิตน้ำนมไม่ได้
แต่อาจจะมีส่วนทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวกชั่วคราว ควร
สร้างสภาพแวดล้อมที่ลดความเครียดได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับผู้เป็นแม่
เป็นต้นว่าบริเวณที่มีรั้วรอบขอบชิด เต๊นท์สำหรับแม่และทารก



*“**แม่ควรจะหยุดให้นมลูกถ้าหากว่าเด็กท้องเสีย**”*

ข้อเท็จจริง: นมแม่ช่วยให้ลูกหายท้องเสียได้เร็วขึ้น อย่าหยุดให้นมลูกถ้าทารก
มีอาการท้องเสีย



*“**เมื่อหยุดให้นมลูกไปแล้วไม่สามารถที่จะเริ่มต้นให้นมลูกได้อีก**”*

ข้อเท็จจริง: ถ้าแม่หยุดให้นมลูก ก็ยังสามารถเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ
เพียงแต่ต้องการความช่วยเหลือในการที่จะกระตุ้นให้ทารกดูดนม

* ***
ศิราภรณ์ สวัสดิวร
ผอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
รองประธานศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 465013เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท