หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a83 : ตะกอน…ตะกอน…ตะกอน…จะทำให้หมดไปได้มั๊ย


ตะกอนจึงเป็นผลงานของจุลินทรีย์กับปริมาณอากาศในน้ำ..... กลิ่นเหม็นเกิดจากออกซิเจนต่ำ

ในวันหนึ่งของปีที่แล้ว มีข้อปรึกษาส่งมาว่าบ่อดักไขมันร้านค้าเอกชนล้นจะทำยังไงดี  ทำให้มีการรื้อบ่อและจัดการกับคราบไขมันที่ก่อน้ำเหม็น ตลอดจนตะกอนดินมากมายที่ก้นบ่อกันไปยกหนึ่ง

เหตุการณ์นั้นทิ้งคำถามว่า “ตะกอนมาได้ยังไง” ค้างไว้ให้ ตะกอนดำที่เห็นในคูก็ฝากคำถามนี้ไว้เช่นกัน ตามหาคำตอบซะหน่อยจะได้เข้าใจภาพที่ปรากฏกับตาซะที

ในหลักการใหญ่ๆของการบำบัดน้ำเสีย 3 ประการ ได้แก่ การรวบรวมน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสีย และการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ มีขั้นตอนบำบัดอยู่ 4 ขั้น ทุกขั้นตอนมีเรื่องเกี่ยวกับตะกอนที่ต่างกันไป

ขั้นเริ่มเป็นการแยกตะกอนขนาดใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำ  3 ขั้นตอนต่อมาจริงจังต่อการใช้ธรรมชาติจัดการตะกอนมากกว่าใช้สารเคมี

ขั้นที่ 2 ใช้แรงโน้มถ่วงทำให้ตะกอนตกอยู่ในที่กัก

ขั้นที่ 3 ให้จุลินทรีย์ที่ใช้อากาศย่อยสลายสารในน้ำ ทำให้เกิดตะกอนใหม่ขนาดใหญ่ก่อน จึงตกตะกอนแยกตัวออกจากน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง

ขั้นสุดท้าย ใช้ธรรมชาติทางกายภาพและเคมีแยกตะกอนออกจากน้ำ เป็นขั้นเสริมประสิทธิภาพของ 3 ขั้นแรก และมีประเด็นเฉพาะของความต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำ เช่น จะนำน้ำไปใช้บริโภค เป็นทางเลือก

การบำบัดน้ำมีทั้งการใช้และไม่ใช้อากาศ  น้ำหลังบำบัดแบบใช้อากาศจะเหลือสารอินทรีย์ซึ่งต้องการออกซิเจน ไม่เกิน 10% ของสารตั้งต้น โดยส่วนใหญ่แปรรูปไปเป็นมวลชีวภาพของจุลินทรีย์  มีตะกอนเกิดมากและเสถียรน้อยกว่าแบบไม่ใช้อากาศ

ตะกอนจึงเป็นผลงานของจุลินทรีย์กับปริมาณอากาศในน้ำ กลิ่นเหม็นเกิดจากออกซิเจนต่ำ

ลำดับเหตุการณ์ของปีที่แล้วใหม่ก็ได้คำตอบที่ค้างว่า ตะกอนก้นบ่อเกิดก่อนที่น้ำในบ่อดักไขมันจะเหม็น กลิ่นเหม็นเป็นผลจากคราบไขมันลงไปลอยที่ผิวน้ำในบ่อจำนวนมาก อากาศลงไปละลายน้ำไม่ได้ ออกซิเจนในน้ำลดลงๆ จนบ่อกลายสภาพเป็นที่อับอากาศ

อืม เห็นภาพแม่ค้าที่กำลังผัดอาหาร เข้าใจฉับพลันว่า ทำไมจึงต้องกักไขมันจากครัวและตักไขมันขึ้นจากน้ำทุกวัน

จำได้ว่าในรายงานผลตรวจน้ำที่ลูกน้องเคยให้ดู มีคำว่า “ของแข็ง” อยู่  ตรงนี้ควรทำความเข้าใจว่าสื่ออะไรเรื่องตะกอนบ้าง

วิชาน้ำเขาระบุว่า “ของแข็ง(Solids)”  หมายถึง สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ที่เหลืออยู่ในรูปตะกอนหลังจากระเหยด้วยไอน้ำแล้วทำให้แห้ง ที่อุณหภูมิ 103-105 องศาเซลเซียส

การตรวจปริมาณของสารนี้ทำได้หลากหลายขึ้นอยู่กับจะนำไปแปลผล น้ำดิบ น้ำประปา น้ำทิ้งจากครัวเรือน และน้ำจากแหล่งอื่นๆ มุมไหน

ที่ตรวจกันอยู่มี 3 ชนิด : ของแข็งตกตะกอน ของแข็งทั้งหมด และของแข็งแขวนลอย

ทั้งหมดบอกถึงความสกปรกของน้ำนั้นๆ และบอกถึงปริมาณออกซิเจนในน้ำที่มีการใช้ไป ยิ่งค่าสูง น้ำนั้นยิ่งสกปรกมาก แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่ต่างกันด้วย

ชนิดแรก ตรวจแล้วช่วยให้ได้ความคิดในการออกแบบถังตะกอน (Sedimemtation Tank) ในระบบบำบัดน้ำเสีย

วิธีตรวจตัวนี้ง่าย แค่ใช้กรวยขนาดใหญ่ซึ่งมีขีดบอกปริมาตรเป็นมิลลิลิตรไว้ ใส่ตัวอย่างน้ำลงไป ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ก็รู้แล้ว หน่วยวัดที่ใช้อยู่ในรูปมิลลิลิตร/ลิตรของของแข็งที่ตกตะกอน กรวยนี้ชื่อว่า Imhoff Cone

ชนิดต่อมา ตรวจแล้วช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของน้ำเสียที่มีผลต่อการตกตะกอน

ชนิดสุดท้าย  ตรวจแล้วบอกถึงสารแขวนลอยในของเหลว และประสิทธิภาพของขั้นตอนบำบัดน้ำเีสียต่างๆ ค่าของมันมีความสำคัญพอๆกับค่า BOD  วัดด้วยเยื่อกรอง

เป็นค่าที่บอกถึงความขุ่นของน้ำ ที่สามารถขัดขวางกระบวนการสังเคราะห์แสงในน้ำได้กลายๆ  ส่วนใหญ่แล้วน้ำที่มีสารแขวนลอยเยอะจะขุ่น

น้ำขุ่นไม่ได้เกิดจากการมีสิ่งแขวนลอยในน้ำเป็นเหตุเท่านั้น เมื่อสารเคมีบางอย่างในน้ำสัมผัสอากาศก็เป็นเหตุได้ เช่น เหล็ก แมงกานีส การเพิ่มจำนวนของแบคทีเีรียบางชนิดก็เป็นต้นเหตุได้

ว้าวววว! ตรงนี้โอเลย สีบอกอายุน้ำเสียได้ด้วย สีเทาปนน้ำตาลอ่อนแปลว่าน้ำเสียนั้นอายุเพียงเอ๊าะๆ สีที่เปลี่ยนโทนไปหาสีเทาแก่ จนเป็นดำ บอกถึงความแก่ของน้ำเสียนั้น

ซัลไฟด์ของโลหะหนักในสีทำให้น้ำเสียเปลี่ยนสีได้เมื่อมีคนเติมสีลงไป  ลิกนินเป็นอีกตัวที่ทำให้น้ำเกิดสี อย่างหลังมาจากสารอินทรีย์ในใบไม้ ใบหญ้า และซากสัตว์ และทำให้น้ำธรรมชาติเกิดสี

15 ตุลาคม 2554

หมายเลขบันทึก: 464930เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thanks again.

The mention of a grease trap ("...บ่อดักไขมัน ร้านค้าเอกชนล้นจะทำยังไงดี ทำให้มีการรื้อบ่อและจัดการกับคราบไขมันที่ก่อน้ำเหม็น ตลอดจนตะกอนดินมากมายที่ก้นบ่อกันไปยกหนึ่ง...") reminds me of our warning bell ringing.

Years ago, we cleaned our grease trap 6 monthly. The grease and waste water was black and smelly. We put EM in the grease trap and in kitchen sinks every week -- that helped. Then one day a bell rang, what went into the grease trap were the left over on our food plates. What about what went through our mouths? Some 90+% of 'grease and oil' in our food went into other grease traps -- our bodies.

Nowadays, we avoid using oil in our food. We use olive oil occasionally. We get some oils from nuts and meats and fish. Our house grease trap is clean and waste water is clear. Our body grease traps has reduced in size ;-)

I somehow feel a strong urge to tell "oily food sellers". if they stop using oil they would stop having grease trap problems. The customers would be living longer and would become their friends -- not just other grease traps.

[Psssh, I was seen in a top restaurant putting a tissue on top my dish (to absorb oil on my ordered salad). A waiter came and asked if things were satisfactory. I answered tongue-in-cheek that "things are OK, they are well oiled". I asked if they have salad without oil dressing. They offered to replace the dish with fresh salad.... One can be extreme at times. ;-) ]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท