Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สถานการณ์ที่เกี่ยวกับชาวเขาหรือบุคคลบนพื้นที่สูง : เก็บความจากหนังสือของกองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์


อ.แหววกำลังอ่านหนังสือของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่อง ๔๐ ปี กองสงเคราะห์ชาวเขา, กทม., หจก.นันทกานต์กราฟฟิค/การพิมพ์, ๒๕๔๕ ก็เลยเก็บความมาเรียงเอาไว้ เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ต่อไป และให้ท่านอื่นที่ได้ใช้ด้วยค่ะ ขอให้สังเกตการตีความของแต่ละเหตุการณ์โดยกรมประชาสงเคราะห์ อาทิ การกล่าวถึงไร่เลื่อนลอยแทนที่จะพูดถึงไร่หมุนเวียน และการยังคงดื้อเรียกชาวอาข่าว่า "อีก้อ" สรุปก็คือ เป็นมุมมองภาคราชการไทยต่อชาวเขาหรือบุคคลบนพื้นที่สูง
  1. การจัดตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคมโดยรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๔
  2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒ เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม เป็น “คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา เพื่อทำหน้าที่วางนโยบายชาวเขาที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม (การทำลายป่าต้นไม้ต้นน้ำลำธาร การทำไร่เลื่อนลอย การปลูกฝิ่นปัญหาความมั่นคงชายแดน) อันนำไปสู่การจัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาในพื้นที่ที่มีชาวเขาอยู่อย่างหนาแน่น ๔ แห่ง (๔๐๐,๐๐๐ ไร่)
  3. การจัดตั้งนิยมสร้างตนเอง ณ ดอยเชียงดาวในจังหวัดเชียงใหม่ และดอยมูเซอในจังหวัดตาก ใน พ.ศ.๒๕๐๓
  4. การจัดตั้งนิยมสร้างตนเอง ณ ดอยภูลมโลในเขตติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์
    พิษณุโลก และเลย และดอยม่อนแสนใจในจังหวัดเชียงราย ใน พ.ศ.๒๕๐๕
  5. การจัดตั้งกองสงเคราะห์ชาวเขา ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๕ โดย พระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ.๒๕๐๕
  6. การจัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาตามมติคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขาที่จังหวัดตากใน พ.ศ.๒๕๐๖
  7. การจัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาตามมติคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขาที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอนใน พ.ศ.๒๕๐๗
  8. การจัดตั้งศูนย์วิจัยชาวเขาในบริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยกรมประชาสงเคราะห์ ใน พ.ศ.๒๕๐๘ (ปัจจุบัน ก็คือ สถาบันวิจัยชาวเขา)
  9. ใน พ.ศ.๒๕๑๙ รัฐบาลไทยประกาศใช้นโยบายรวมพวก (Policy of Integration) และการพัฒนาแบบเขตพื้นที่โดยระบบสมบูรณ์แบบ (Zonal
    Integrated Development) เน้นการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแนวลาดชันในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและหยุดยั้งการทำไร่เลื่อนลอยเปลี่ยนมาเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบถาวร
  10. โครงการสำรวจข้อมูลประชากรชาวเขาของรัฐบาลไทยใน พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๓๑ เพื่อสำรวจข้อมูลชาวเขาในพื้นที่ ๒๐ จังหวัด พบประชากรชาวเขา ๙
    เผ่า จำนวน ๕๕๔,๑๗๒ คน ๓๕๕๓ หมู่บ้าน อันนำไปสู่ “ทะเบียนบัญชีสำรวจบุคคลในบ้าน หรือ ทร.ชข.”
  11. ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ๒๐ จังหวัดในประเทศไทย พ.ศ.๒๕๓๘ โดยกองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสังเคราะห์
  12. ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง ๒๐ จังหวัดในประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๐ โดยกองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสังเคราะห์
  13. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ เพื่อเห็นชอบนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด
  14. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ เพื่อเห็นชอบในแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูงฉบับที่ ๑ (๒๕๓๕ – ๒๕๓๙)
  15. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๐ เพื่อเห็นชอบในแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูงฉบับที่ ๒ (๒๕๔๐ – ๒๕๔๔)
หมายเลขบันทึก: 464486เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2011 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท