ห้องสงบอารมณ์ :การเดินทางออกจากการเป็นบ้า หนังสือดีที่น่าอ่าน


เรื่องราวเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตเวช

   มีหนังสือเล่มหนึ่งน่าสนใจมาก เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย ญาติ ผู้สนใจ บุคลากรทีมสุขภาพจิต

เขียนโดย  ลอรี่ ชิลเลอร์

                 อแมนด้า  เบนเน็ตต์

แปลโดย   เครือวัลย์ เที่ยงธรรม

อำนวยการผลิตโดย โครงการรณรงค์ เพื่อความเข้าใจในผู้ป่วยจิตเภท

จัดพิมพ์โดย Bridge Publishing ห้วยขวาง กรุงเทพฯ

จัดจำหน่ายโดยบริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด ราชเทวี กรุงเทพฯ

พิมพ์ที่บริษัทเอส.พี.วี.การพิมพ์จำกัด อ.เมืองจ.นนทบุรี

     เนื้อเรื่องเกี่ยวกับผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งที่มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอนตอนอายุ18ปี มีอาการขณะเข้าค่ายจนถูกนำกลับบ้านก่อนเวลาเธอมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป แปลกไปจนคนสังเกตได้เพราะหูแว่วประสาทหลอนนั่นเอง เธอกลบอาการจนเข้ามหาวิทยาลัย

   เสียงคนวนเวียนมา ดังสลับค่อย เงียบหายและมาใหม่ ตามไปแม้กระทั่งเวลานอน ตามไปในความฝัน  บ่อยครั้งที่นอนไม่หลับ เสียงทำนองมาขู่ก็มาบ่อย สร้างความเครียด หงุดหงิด แก่เธอเป็นอย่างยิ่ง

    เธอพยายามซ่อนเสียงนั้น

   “อีกครั้งหนึ่ง ฉันต้องใช้เวลาและพลังงานมากมายเพื่อซ่อนเสียงพวกนั้น เมื่อเสียงเริ่มกรีดร้องอื้ออึง ฉันหลุบตาลงพื้น บางครั้งก็กลั้นหายใจ หวังว่าโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง จะทนอยู่นิ่งได้จนมันหายไป”

   “ที่สำคัญที่สุด ระวังไม่หันกลับไปดูว่าเสียงมาจากไหน ถ้าถูกจับได้ว่าเหลียวหน้าแลหลังฉันก็พยายามกลบเกลื่อน”

    เธอไม่กล้าสบตาผู้คน กลัวพวกเขาได้ยินเสียง

    เธอเกลียดตัวเอง บ่อยครั้งที่เก็บตัวในห้องในยามอารมณ์หดหู่ โทรไปปรึกษาพ่อแม่ ไปปรึกษานักจิตบำบัด พบจิตแพทย์

    หมอให้ยาคลายกังวล

   เธอเรียนจนจบมหาวิทยาลัย ไปพักกับเพื่อน รับประทานยาเกินขนาดต้องเข้าโรงพยาบาล พ่อของเธอไม่อยากให้เธอถูกตีตราว่าเป็นผู้ป่วยจิตเวชจึงให้ลูกนอนที่ตึกอายุรเวชแทน ครอบครัวยังไม่ยอมรับการเจ็บป่วย

   เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปอยู่อพาร์ตเมนต์อาการไม่สงบ กระวนกระวาย ซึมเศร้า ไม่ไปพบจิตแพทย์อีก ต่อมาก็พยายามทำร้ายตัวเองต้องเข้าโรงพยาบาล บางครั้งคิดว่าตนเองบินได้ต้องคอยระวัง

    เธอเป็นโรคจิตเภทแบบมีความผิดปกติทางอารมณ์ (Schizo-affective disorder)เป็นการผสมผสานกัน ของอาการทางอารมณ์และอาการบางอย่างของโรคจิตเภท(Schophrenia)

   ออกจากโรงพยาบาลพ่อแม่คอยดูแล เธออธิบายว่า

  “ท่านทั้งสองทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยฉันปะติดปะต่อเศษชีวิตเข้าด้วยกันอีกครั้ง”

   บางครั้งเธอจะฟังเพลงเพื่อกลบเสียงดังในหัว “เพลงเป็นธนาคารอารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ เป็นยาแบบหนึ่งของฉัน”

   เธอพยายามหางานทำ

   จนได้เป็นพนักงานเสิร์ฟแต่การเจ็บป่วยก็เป็นอุปสรรคกับงาน เสียงแว่วคอยรบกวน ครอบงำ

   เธอยังคงทำงานต่อแต่หันไปใช้ยาเสพติด ต่อมาได้ไปบำบัดจนเลิกยาได้

   ลองหางานใหม่ในแวดวงสุขภาพจิต เข้าเวรทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวชทำด้านเอกสาร ช่วยเขียนอาการผู้ป่วย ช่วยต่ออุปกรณ์วัดคลื่นหัวใจ มือสั่นไปด้วยจากผลข้างเคียงของยา เธอปลอบผู้ป่วยที่คิดจะทำร้ายตนเองจนเขาเปลี่ยนใจ

   “ฉันพยายามหนักมากที่จะเป็นคนปกติ”

    เธอไปเรียนพยาบาลแต่เธอตั้งสมาธิไม่ได้ นิ่งไม่ได้ เธอมีอาการกำเริบ

     ต่อมาเธอก็ทำร้ายตนเองต้องเข้าโรงพยาบาล มีเสียงสั่งให้เลิกกินยา มาคราวนี้มีก้าวร้าวใส่เจ้าหน้าที่ต้องได้เข้าไปอยู่ห้องสงบอารมณ์ เสียงแว่วมีมากจนควบคุมตนเองไม่ได้จนถูกห่อเปียกเย็น(cold –wet -packed)จนสงบได้ชั่วคราว เธอก้าวร้าวอีก  หนีออกจากโรงพยาบาล ออกมาก็ใช้สารเสพติดอีกต้องเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง เข้าห้องสงบอารมณ์อีกหน

    เมื่อต้นปี1989ยาตัวใหม่เข้ามา เธอได้รับการรักษาด้วยยาตัวนี้ หมอค่อยๆขยับยาเพิ่มปริมาณจนถึงขนาดการรักษา

   เสียงค่อยๆเบาลง เกิดความรู้สึกสงบ นอนได้ มีชีวิตชีวาขึ้น ช่วงอยู่โรงพยาบาลเธอบันทึกเหตุการณ์ทุกวัน จนอาการดีได้ออกจากโรงพยาบาล

   “ฉันรู้ว่าฉันจะคิดถึงเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่บางคนตามดูแลฉันตลอดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ฉันคิดถึงเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ยืนหยัดเคียงข้างฉันและให้กำลังใจ”

   ทุกวันนี้เธอเข้าโรงพยาบาลในฐานะครู ช่วงสุดสัปดาห์ทำงานพิเศษในร้านขายของขวัญทำงานเต็มเวลาในฐานะที่ปรึกษาบ้านกึ่งวิถี

   เข้าร่วมในรายการดูแลผู้ป่วยตอนกลางวันที่นิวยอร์คซึ่งออกแบบเพื่อช่วยอดีตผู้ป่วยในช่วงเปลี่ยนจากโรงพยาบาลสู่ชีวิตจริง เริ่มเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ช้านานก็คุ้นเคยกับชีวิตนอกโรงพยาบาล

“เห็นได้ชัดว่าสิ่งที่ฉันจำเป็นต้องมีคือชีวิต”

   เธอได้งานเป็นคนวางเมนูในบ้านกึ่งวิถี วางแผนใช้ชีวิตได้ดี สร้างสัมพันธภาพกับผู้คนมากขึ้น ได้ใช้เวลาใกล้ชิดกับพ่อแม่มากขึ้น

   เธอเริ่มเรียนรู้ที่จะใชัชีวิตโดยปราศจากเสียงนั้นได้อย่างไร

   เธอเล่าว่าพอเสียงลดลง “ศีรษะของฉันรู้สึกว่างเปล่าเหลือเกินเมื่อปราศจากเสียงพวกนั้น ฉันรู้สึก ว้าเหว่”

   ฉันเริ่มย้อนระลึกถึงเสียงพวกนั้นในความทรงจำ คิดถึงเสียงพวกนั้นอย่างละห้อยหาเหมือนอย่างที่เราอาจจะคิดถึงเพื่อนเก่าผู้ตายจากไป”

    พอเสียงเกือบจะหมดไปเธออยากให้มันกลับมา จ่อความสนใจที่เสียงนั้นแต่ในที่สุดก็คิดได้ ตระหนักว่ากำลังทำอะไรอยู่ ต้องการหายป่วย เธอเริ่มหันออกมาสู่โลกภายนอกมากขึ้น พบที่ปรึกษาทุกสัปดาห์  ช่วยกันเขียนเป้าหมาย 

    เธอพยายามกำหนดกิจกรรม ไม่หมกมุ่น ถ้ามีเสียงมาก็จะต่อสู้พวกมันเช่นฟังวอล์คแมน คุยกับเพื่อน อาบน้ำฝักบัว เดินเล่น ขอความช่วยเหลือ

   เธอฝึกการเข้าสังคม รับผิดชอบจัดระเบียบชีวิตของตนเอง บริหารเวลาเป็น ที่สำคัญเธอไม่ลืมที่จะกินยาตามแพทย์สั่ง

   เธอออกสู่โลกภายนอกมากขึ้น

   เมื่อเริ่มคบแฟนเขาไม่ยอมรับที่เธอป่วยจึงเลิกราจากกัน

   เธอใช้เวลาใกล้ชิดกับพ่อแม่มากขึ้น

   ช่วงเขียนหนังสือเล่มนี้เธอมีอาการกำเริบ ปรึกษาแพทย์ รับประทานยาต่อก็ดีขึ้น มีเสียงมาบ้างในบางครั้งแต่ก็อยู่กับมันได้ ไม่รู้สึกกลัว

เธอส่งท้ายว่า

  “การเขียนหนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันทั้งเจ็บปวดและปลาบปลื้ม เป็นเรื่องเจ็บปวดที่บีบบังคับตัวเองระลึกถึงสิ่งที่อยากจะลืมให้เร็วที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าปลาบปลื้มที่ได้เห็นว่าฉันมาไกลเพียงไหนแล้ว”

    “ฉันได้เขียนหนังสือเล่มนี้โดยหวังว่าเรื่องราวของฉันจะสามารถช่วยคนอื่นๆในลักษณะเดียวกับที่ฉันได้รับความช่วยเหลือ ถ้าชีวิตกับประสบการณ์ของฉันสามารถช่วยคนอื่นให้ค้นพบทางของตนเองจากความมืด ฉันจะรู้ว่า ฉันไม่ได้ทำของขวัญอันยิ่งใหญ่ที่หลายคนมอบให้ฉันต้องเปลืองเปล่าไป ของขวัญนั้นคือโอกาสที่จะเริ่มต้นชีวิตอีกครั้ง” 

 

     อ่านแล้วเห็นความพยายาม เห็นความทุกข์ของผู้ป่วย ครอบครัว คนรอบข้าง และขณะเดียวกันก็เห็นความตั้งใจที่จะต่อสู้ชีวิต ไม่ย่อท้อ จนวันหนึ่งก็ประสบความสำเร็จ สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ น่าชื่นชมมาก 

    การสูญเสียโอกาสบางอย่างในชีวิต ไม่ได้ทำให้สูญเสียหนทางทั้งหมด เป็นกำลังใจให้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 463711เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2011 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะน้องถาวร

  • ขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่แบ่งปันมานะคะ พี่ว่าหนอนหนังสือไม่น่าพลาดค่ะ
  • ขอให้สิ่งดีๆนี้ย้อนกลับมาถึงผู้ให้อีกหลายร้อยเท่านะคะ
  • มีความสุขทุกวันค่ะ

ขอบคุณค่ะ..หากสังคมให้โอกาสดีๆเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปรับสภาพจิตอย่างเป็นขั้นตอน..บทเรียนข้างต้นคือแบบอย่างนะคะ..

การเลี้ยงวัวในไร่เพื่อนบ้าน


อ้าว ว่าจะนำภาพคนเลี้ยงวัวในทุ่งดอกไม้มาฝาก กลับขึ้นมาที่เดียวสองภาพได้อย่างไรกัน

คุณถาวรอ่านแล้วเข้าใจ เข้าถึงดีจังคะ สงสารตรงนี้..

เมื่อเริ่มคบแฟนเขาไม่ยอมรับที่เธอป่วยจึงเลิกราจากกัน

สวัสดีครับพี่ถาวร...

ผมว่า...เป็นหนังสือที่เป็นเรื่องราวของผู้แต่งได้เยี่ยมยอด

เพราะมีความเป็นชีวิต และความเกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว และผู้อื่น

โดยมีเสียงได้ยินในหูตลอดชีวิต

และใช้เสียงที่แปลกปลอมเหล่านั้น...กลับกลายมาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมยาก

เป็นความอดทน ต่อความเลวร้ายของชีวิตผู้แต่ง

แต่ก็มีแง่งามของเสี้ยวจังหวะของชีวิตที่งดงาม

ขอบคุณพี่ถาวร

ที่นำมาเล่าและสรุปได้กินใจเหลือเกินครับ

สวัสดีค่ะพี่คุณยาย

ขอบคุณค่ะ

น่าอานค่ะ อุ้มเองอ่านรอบที่4 ยืมจากหน้องสมุดคณะแพทย์มาเป็นระยะๆค่ะหนังสือเล่มนี้มี333หน้า อ่านครั้งไหนก็ชอบ เข้าใจอารมณ์ จิตใจ ความรู้สึก เข้าใจชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทและครอบครัวมากขึ้น ด้วยความที่โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง การเผชิญกับความเจ็บป่วยที่ยาวนานจึงน่าเห็นใจ ทั้งผลข้างเคียงจากยาต้านอาการทางจิต การเปลี่ยนแปลงทางความคิด อารมณ์ สังคมและพฤติกรรมจากตัวโรคเอง มีผลต่อการเรียน การทำงาน เข้าสังคม การดำเนินชีวิตพอสมควร ต้องอาศัยกำลังใจอย่างมากค่ะที่จะต่อสู้ให้ผ่านพ้นมาเวลาที่โรคกำเริบแต่ละครั้ง การมาพบแพทย์ เกาะติดยา การปรับตัวค่ะ

สบายดีนะค่ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

สุขสันต์วันทำงานเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะน้องอุ้ม

  • แวะมาทักทายนิดนึง
  • ค่อยมาอ่านบันทึกภายหลังนะคะ
  • ช่วงนี้ภารกิจหนาแน่นจัง เด็กกำลังสอบ
  • ปิดเทอมคงได้มีเวลาทักทายกัน  และคงมีเวลามาอ่านบันทึกย้อนหลัง
  • ขอบคุณนะคะ สำหรับกำลังใจที่แวะไปมอบให้พี่ครูอิง
  • วันนี้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ แล้วหล่ะค่ะ มุ่งหน้าไปที่เซ็นทรัลเวิลด์

สวัสดีค่ะพี่นงนาท

ขอบคุณค่ะ ดอกไม้สวยมากค่ะ

การดูแลที่ครอบคลุมทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูเป็นสิ่งสำคัญค่ะ เท่าที่อ่านก็เห็นว่าเขามีระบบที่ดีค่ะ ที่เห็นชัดๆคือการฟื้นฟู ให้โอกาสผู้ป่วยได้ใช้ศักยภาพของตนเองเต็มที่ ทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพที่เข้มแข็งค่ะ ผู้ป่วยมีอิสระ ได้เรียนรู้ทักษะต่างๆดีค่ะ มีโรงพยาบาลกลางวันด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์โสภณ

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอป.

ขอบคุณค่ะ

ย่อจาก333หน้า ความจริงมีจุดที่น่าสนใจมากทีเดียวค่ะ

เมื่อเธอดีขึ้น เริ่มติดต่อเพื่อนเก่าๆ ตอนแรกก็ประหม่า ไม่มั่นใจ พวกเขาล้วนก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในชีวิต มีงานดีๆมีครอบครัวดีๆจนเธอเองรู้สึกด้อยและหกลัวเพื่อนๆจะดูหมิ่นแต่เธอก็ผ่านไปได้ค่ะปรับตัวเข้ากับเพื่อน คุยสนุกๆด้วยกันได้ค่ะ

ในเล่มเธอเล่าว่าสำหรับหญิงโสดอายุ30กว่าๆการมีนัดกับเพื่อนชายไม่ใช่เรื่องง่าย

เธอต้องการแต่งงานและมีลูกแต่คิดถึงยามากมายที่รับประทานก็อยากมีครอบครัวสำเร็จรูปมากกว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องยาที่จะมีผลต่อลูกค่ะ

เมื่อคบผู้ชายคนหนึ่ง เธอเอาบทความที่เธอเขียนเกี่ยวกับประวัติของเธอให้เขาดู เขารับไม่ได้ค่ะ เธอจึงตัดสินใจปลีกตัวออกมาเองค่ะ

สวัสดีค่ะน้องทิมดาบ

ขอบคุณค่ะ

เวลาที่ป่วยใหม่ๆและยังไม่ได้รับการรักษา เสียงแว่วดูรบกวน กดดันเธอมากค่ะ กลัว วิตก ไม่รู้ว่าคนรอบข้างได้ยินด้วยหรือเปล่า จับตาดูสีหน้าเพื่อนๆ เขาจะได้ยินเสียงนั้นหรือเปล่า เฝ้ามองอาจารย์จะไล่เธออกจากห้องหรือไม่ กลัวคนอื่นจะรู้ความลับที่เสียงนั้นเอาเธอมาแฉ มีเสียงหัวเราะเยาะด้วย เหมือนตัวเองเป็นเป้านิ่ง ต้องคอยระวังตัวทุกวัน

พออาการดี ด้วยความที่เสียงเคยมารบกวนจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต พอมันลดลงไปหรือหายไปบางช่วงเธอรู้สึกเหมือนขาดอะไรสักอย่าง

เธอเล่า บรรยายความรู้สึกได้ดีมากค่ะ

เคยเห็นcaseเช่นกันค่ะ ตัวยาต้านอาการทางจิตทำให้เสียงลดลงแม้จะไม่หายก็ไม่รบกวนชีวิต อยู่กับมันได้ แต่ที่หายไปไม่ได้ยินเลยก็มีหลายcaseค่ะ

มีบางcaseที่ได้ยินเสียงคนมาบอกรักจนหมกมุ่นกับสียง การดูแลตนเอง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง พอเสียงหายก็รู้สึกขาดๆอะไรไปค่ะเพราะเป็นเสียงที่พึงพอใจ

วันนี้เวรเช้าก็เลยไม่ได้ไปฟังวิจัยR2R ไม่ได้เจอกัน เดินทางปลอดภัยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อิงจันทร์

ขอบคุณค่ะ เดินทางปลอดภัยค่ะพี่อิงจันทร์ ลุ้นช่วย และเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะท่านวอญ่า

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ tarn-tern

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ชื่นชมในการเขียนบันทึกที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอครับ
  • การได้อ่านเรื่องราว ประสบการณ์ของผู้ที่เคยป่วยทางจิตเวช ทำให้เกิดความเห็นใจ เข้าใจในความทุกข์ยามเจ็บป่วย
  • น้อยคนที่ยอมรับว่าตนเองเจ็บป่วยทางจิต เพราะกลัวถูกตีตราจากสังคมว่า เป็นคนบ้า ดังนั้นจึงมารักษาเวลาที่เป็นมากแล้ว การให้ข้อมูลในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง การรับฟังด้วยท่าทีเห็นใจ เข้าใจ ก็เป็นวิธีช่วยเหลืออีกทางหนึ่งครับ

สวัสดีค่ะน้องชำนาญ

ขอบคุณค่ะ มีเวลาก็ได้เขียนบันทึกมากหน่อยเฉลี่ยกับช่วงที่ไม่ว่างเลยค่ะ เขียนแล้วมีความสุข บันทึกของน้องก็น่าอ่านนะค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นค่ะ"น้อยคนที่ยอมรับว่าตนเองเจ็บป่วยทางจิต เพราะกลัวถูกตีตราจากสังคมว่า เป็นคนบ้า ดังนั้นจึงมารักษาเวลาที่เป็นมากแล้ว การให้ข้อมูลในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง การรับฟังด้วยท่าทีเห็นใจ เข้าใจ ก็เป็นวิธีช่วยเหลืออีกทางหนึ่งครับ"เห็นด้วยว่าคนส่วนหนึ่งยังไม่ยอมรับการเจ็บป่วยทางจิตเวช เราในฐานะทีมสุขภาพจิตต้องทำงานหนักหน่อยในการให้ให้ความรู้ความเข้าใจ บทบาทเชิงรุกก็สำคัญ เราอาจต้องworkในส่วนนี้เพิ่มขึ้น

สภาวะปัจจุบันก็น่าห่วงเรื่องปัญหาสุขภาพจิต คนเครียดกันมากขึ้นจากน้ำท่วมค่ะ

สวัสดีค่ะคุณอักขณิช

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณkorn

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ ที่ห้องสมุดคณะแพทย์มีนะค่ะ เผื่อสนใจอ่านเพิ่ม น่าอ่านมากค่ะ

 การสูญเสียโอกาสบางอย่างในชีวิต ไม่ได้ทำให้สูญเสียหนทางทั้งหมด

 

บางทีคนเรามักจมอยู่กับความสูญเสีย จนบางครั้งลืมโอกาสที่จะเข้ามา

ติกเองก็เป็นนะคะ พี่อุ้ม อยู่กับความเศร้า ความสูญเสีย ความรู้สึกต่างๆ จนไม่เปิดรับหนทางใหม่ๆ ที่จะเข้ามา

 พี่อุ้มสรุปได้ดีจัง

สวัสดีค่ะ

พี่สะดุดกับชื่อบันทึกนี้

แล้วเห็นว่ายามาก

เลยตั้งใจจะอ่านอย่างมีสมาธิ

วันนี้ได้อ่านจนจบก็พบว่า

บันทึกนี้สั้นไปด้วยซ้ำ

มีประโยชน์มากเลยค่ะ

คนที่มีอาการผิดปกติทางจิต

บางครั้งเหมือนกรรมเก่า

และต้องปล่อยให้รับกรรมจนเบาบาง

จึงได้โอกาสเยียวยา และดีขึ้น

เป็นเช่นนี้เอง เป็นความทุกข์ทรมานอย่างหนัก

ขอให้เธอโชคดี นะคะ

ขอบคุณคุณถาวรอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะน้องติกน้ำ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

พี่อุ้มเองก็เช่นเดียวกันกับน้องติกน้ำค่ะ วันนี้พอมองย้อนไปในวันนั้น เราก็ได้อีกความรู้สึกหนึ่งค่ะ วันเวลาทำให้เราเติบโตขึ้น

สบายดีนะค่ะน้องรัก

สวัสดีค่ะพี่รุ่ง ตันติราพันธ์

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

เช่นกันค่ะพี่รุ่ง อ่านแล้วก็นึกขอบคุณผู้เขียน คุณลอรี่ที่เล่าประสบการณ์ตรงให้เราได้เรียนรู้ กว่าที่เธอจะเขียนได้ใช้ความพยายามพอสมควรค่ะ ตามจากคนรอบข้าง บันทึกทางการพยาบาลเพราะช่วงที่มีอาการ บางอย่างเธอรับรู้ไปอีกแบบค่ะ

ในเล่มก็จะมีความรู้สึกของเธอผู้เขียนเอง พ่อ แม่ น้อง เพื่อนและทีมสุขภาพที่เขียนบรรยายไว้พอสมควรค่ะ

พ่อ เคยคาดหวังสูง เชื่อมั่น พอลูกป่วยก็รู้สึกผิดสูญเสียความมั่นใจ

แม่ วัยเด็กเคยขาดรัก เมื่อมีลูกก็มีลูกเติมเต็ม พอลูกป่วยช่วงแรกๆก็ผิดหวัง โทษตัวเองที่ไม่ได้เอะใจกับอาการผิดปกติของลูกตั้งแต่ต้น แต่เธอก็พยายามทำหน้าที่ของแม่ให้ดีที่สุด

น้องๆ เคยมีพี่เป็นต้นแบบ ชื่นชมในความสำเร็จด้านการเรียน การใช้ชีวิตของพี่ ฝันอยากเจริญรอยตามพี่ รับไม่ได้กับการเจ็บป่วย อาย เกิดความกลัวการพลัดพรากเพราะพ่อแม่ทุ่มเวลาในการดูแลพี่ที่ป่วยและกลัวตัวเองจะป่วยเหมือนพี่เพราะโรคนี้กรรมพันธุ์มีส่วน การไปเยี่ยมพี่มองว่าเหมือนการไปดูอนาคตตัวเอง

ในส่วนผู้เขียนเอง เธอมีความพยายามสูงในการต่อสู้กับความทุกข์ทรมาน แม้เวลาดูทีวีพิธีกรในรายการก็เหมือนสื่อสารกับเธอ เอาภาระยิ่งใหญ่มาให้เธอรับผิดชอบ เวลามีเสียงโทรศัพท์ก็กล้าๆกลัวๆที่จะรับ เสียงมาหลอกหลอน อีกหลายๆความรู้สึก เธอได้รับการรักษาทั้งทางยา จิตบำบัด การรักษาด้วยไฟฟ้า(Electroconvulsive therapy)20ครั้ง ทุกข์ทรมานกับการเจ็บป่วยที่ยาวนาน ชื่นชมที่เธอผ่านวิกฤติเหล่านั้นมาได้และขอบคุณที่เธอถ่ายทอดเพื่อเป็นประโยชน์ ทำให้เข้าใจผู้ป่วยจิตเภทมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท