บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

การทำงานในองค์กรอิสลามสำคัญอย่างไร?


การบริหารและการจัดการองค์กรที่เป็นองค์กรมุสลิม(อิสลาม) ตกอยู่ในสภาพที่ถูกละเลย ได้รับการใส่ใจและมองเห็นความสำคัญเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งๆที่อุดมการณ์ การชี้นำ ทั้งทางสังคมและจิตวิญญาณมีอย่างพรั่งพร้อม การหายไปของความสัมพันธ์ของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญต้องนำเอาอุดมการณ์ (อัลกุรอานและอัลหะดีษ)มาเป็นหลัก และหลักการแห่งความเป็นพี่เป็นน้อง ด้วยการยึดเอาศรัทธาชนเข้าด้วยกัน และเชื่อมร้อยพวกเขาให้เข้ากับการทำงานอิสลามของพวกเขาอย่างมีพลัง แจ่มใส ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องนำหลักวิภาษวิธีมาใช้ คือรู้จักหน้าที่ความเป็นปัจเจกชนของตนเป็นอย่างดี เข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับการทำงานอิสลาม รับรู้ถึงบทบาทของตนในขบวนแถวอิสลามเป็นอย่างดี รู้และเข้าถึงความรับผิดชอบที่ตนมีต่อภาระกิจการงานในหนทางแห่งอัล อิสลามเป็นอย่างดี ชัดเจน ส่วนตนขึ้นกับส่วนรวม ดังนั้นคนที่เป็นมุสลิมผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทั้งหลายจะค้อง เป็นผู้ที่มีสำนึกรับผิดชอบ เป็นผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ การเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลกุรอานและหะดีษ ขณะเดียวกันก็ต้องหมั่นตรวจสอบ กัดเกลาตนเองเสมอเสมอ ด้วยการนาซีฮัต แบบมีส่วนร่วม ขบวนการจึงแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ

 ในการทำงานองค์กรมุสลิมทุกองค์กร ผู้ปฏิบัตงานต้องมีความชัดเจนว่า มุสลิมทุกคนมีหน้าที่สำคัญ นั่นก็คือเป็นตัวแทนประชาชาติที่ดีเลิศ เป็นแบบอย่าง  เชื่อถือและไว้วางใจได้กับคนทุกศาสนิก   โดยเฉพาะการทำงานในองค์กรมุสลิมในขณะที่เป็นนักศึกษา ทุกคนที่ศึกษาเล่าเรียนต่างก็มีความมุ่งหวังสำเร็จการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองให้มีอาชีพการงานที่ดี เป็นที่พึ่งของครอบครัว บ่อยครั้งคนเหล่าขาดสำนึกที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะสังคมมุสลิม  การเป็นนักศึกษาสังกัดในกลุ่มกิจกรรม ชมรม มุสลิมหรืออื่นใดที่เป็นองค์กรมุสลิม เขาจึงต้องพึงระวังอย่ามีสำนึกว่า นี่เป็นองค์กรที่มีความสำคัญ ไม่ใช่องค์กรน้ำเน่าที่จะมาหาคู่ เป็นองค์กรที่ทุกคนต้องถกกันให้ชัดเจนว่าความเป็นปัจเจกของแต่ละคนอยู่ในขอบเขตแค่ไหน เพียงใด น่าห่วงใยเหลือเกินที่ชมรมมุสลิมของเราส่วนใหญ่  ปล่อยปละละเลยเรื่อง  อุดมการณ์อิสลาม ปล่อยเนื้อปล่อยตัว มั่ว เสรีทางเพศ แม้บางองค์กรจะอ้างว่ามีรุ่นพี่คอยดูแล แหละรุ่นพี่นี่แหละตัวดีที่ทำให้สภาพองค์กรไม่ต่างจากสังคมแห่งการหาคู่ ไร้แก่นสาร และละทิ้งบทบาทความระมัดระวังทั้งร่างกายและจิตใจ รุ่นพี่บางคนพูดดี เอาอกเอาใจ แต่จิตสำนึกต่ำ ชั่ว พฤติกรรมเลว  จะน่าห่วงใยสักแค่ไหนที่ บางองค์กรน้องมาจาก 4 จังหวัดชายแดนใต้ ถือว่ามีความรู้ศาสนาดี แต่เมื่อห่างไกลบ้านมากลับปล่อยปละละเลย ไม่รู้จักขอบเขตความรัก และความมีเสรีทางเพศอย่างไม่สร้างสรรค์ องค์กรมุสลิมต่างจากองค์กรทั้งหลายในสถาบันการศึกษา อุดมการณ์เรามี แบบอย่างเรามี แต่เราละทิ้ง นี่จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยอย่างยิ่ง เพราะนอกจากเราจะไม่สามารถขัดเกลาตัวเองได้แล้ว ยังได้แบบอย่างที่ไม่ดีจากรุ่นพี่  ดังนั้นองค์กรมุสลิมทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรในมหาวิทยาลัย จะปล่อยปละละเลย ไม่ขัดเกลา หล่อหลอมตนเองไม่ได้ เบ้าหลอมในมหาวิทยาลัย 4 -5ปีมันน่าจะบ่มเพาะคนทำงานองค์กรมุสลิมได้ดีและเข้มแข็งกว่านี่  องค์กรอิสลมไม่ใช่องค์กรที่มาทำซนากัน ไม่ใช่องค์กรที่มีเสรีทางเพศอย่างไร้ขอบเขต ไม่ใช่องค์กรที่มีรุ่นพี่ที่เป็นแบบอย่างที่เลวร้าย ทั้งนิสัยและจิตสำนึก เอกองค์อัลลอฮ(ซ.บ)ตรัสไว้อย่างชัดแจ้งในคัมภีร์อัลกุรอาน อันจำเริณว่า (91:7-10)  และด้วยชีวิตหนึ่งๆ และด้วยที่พระองค์ทำให้มันสมบูรณ์ และพระองค์ได้ทรงดลใจชีวิตนั้น(ให้รู้)ซึ่งทางชั่วของมันและทางสำรวมของมัน แน่นอนผู้ขัดเกลามันได้บรรลุมรรคผล และแน่นอนผู้หมักหมมนั้นล้มเหลว  ดังนี้องค์กรมุสลิมทั้งหลายจึงต้องตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวให้มาก ที่สำคัญ คุณได้สถาปนาความดีบนหน้าแผ่นดินไปถึงไหน คุณเชิญชวนผู้คนให้มาเป็นชาวสวรรค์ได้มากน้อยเพียงใด คุณขัดเกลาและสร้างแบบอย่างที่ดีตามแบบอย่างศาสดา(ศ๊อล) หรือไม่อย่างไร และที่สำคัญความเข้มแข็งชัดเจนในองค์คุณเป็นอย่างไร ขัดเกลาตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน และการสร้างความเป็นพี่เป็นน้องในอุดมการณ์นี้เป็นอย่างไร ถ้าคุณอ่อนแอ ใช้ชีวิตอย่างไร้สาระ ไม่มีความชัดเจน คุณจะสร้างสังคมที่ดีงามได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 463571เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2011 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท