การรักษาอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์ในเขตร้อนและเขตหนาว..5 กรกฎาคม 2554


การรักษาอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์ในเขตร้อนและเขตหนาว..5 กรกฎาคม 2554
วันนี้มาถึงโรงเรียน  07.00 น.ลงชื่อลงเวลาปฏิบัติงาน คุมเด็กทำความสะอาดห้องเรียน เช็คซื่อเด็กตอนเข้าแถว

ในตอนเข้าสอนนักเรียนชั้นม.3/2แทนอาจารย์ที่ไม่มา

ในตอนบ่าย สอนนักเรียนชั้น ม.4/1 เรื่อง การรักษาอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์ในเขตร้อนและเขตหนาว โดยยกตัวอย่าง  เมื่ออุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง  จะมีผลต่อคนและสัตว์ชนิดต่างๆ ไม่เหมือนกัน  กล่าวคือ  สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด  เช่น  แมว  คน  มีศูนย์ควบคุมและกลไกการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้ค่อนข้างคงที่  จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ส่วนสัตว์อีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า  สัตว์เลือดเย็น  เช่น  กิ้งก่า  ปลา  กบ  จระเข้  ไม่มีศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
สัตว์บางชนิด  เช่น  สนุขและแมวในเขตร้อน  ส่วนมากมีขนสั้นเกรียน  จึงสามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดี  แต่สุนัขและแมวในเขตหนาวมีขนยาว  หนา  จึงช่วยกั้นไม่ให้สูญเสียความร้อนจากร่างกายออกไป  ในด้านพฤติกรรม  สุนัขในเขตร้อนมักแสดงอาการหอบ  แลบลิ้น  และน้ำลายไหลหยด  จึงเป็นวิธีการระบายความร้อนได้ดี  แมวมีการเลียอุ้งเท้า  ท้อง  บ่อยๆ  การเลียทำให้บริเวณนั้นเปียกน้ำลาย  น้ำลายจะดึงความร้อนออกมาใช้ในการระเหยของน้ำ  จึงช่วยระบายความร้อนจากร่างกายทางหนึ่ง  พฤติกรรมเช่นนี้พบน้อยกว่าในสุนัขและแมวที่อาศัยในเขตหนาว

17.00 น.  ลงชื่อ กลับบ้าน

 

 

หมายเลขบันทึก: 462875เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2011 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท