ครูพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ Mr.Natthawut Suriya

หลักการและเทคนิคการดูดเสมหะ


ดูดเสมหะ,หลักการและเทคนิค,เสมหะ,พยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

แผนการสอนในคลินิก 

แผนการสอน       ในคลินิก                                                                             เรื่อง       การดูดเสมหะ (Suction)

รหัสวิชา/ชื่อวิชา                  พย.1204                                                              รายวิชา ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล                         หน่วยกิต 2 (0-8-0)       

 สำหรับ                 นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต   ชั้นปีที่  2                 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม                                      จำนวน 6 คน

วันเวลาที่สอน                     10 กุมภาพันธ์  2553                                            เวลา    11.00-11.40 น. จำนวนชั่วโมงที่สอน   40 นาที   ตึก ศัลยกรรมชาย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ณัฐวุฒิ  สุริยะ                                                                                                                                    

แนวคิดสำคัญ

         การดูดเสมหะให้ผู้ป่วยเป็นการพยาบาลที่ต้องอาศัยทั้งความรู้และทักษะประกอบกัน การดูดเสมหะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว หรือปอดทำหน้าที่ลดลงทำให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมาก ไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้              ดังนั้นพยาบาลจึงควรมีความชำนาญในการดูดเสมหะเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าพยาบาลละเลยหรือปฏิบัติได้ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิตได้

 

วัตถุประสงค์ทั่วไป 

               1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูดเสมหะ      (K)

               2. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการดูดเสมหะ (A)

               3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติการพยาบาลในการดูดเสมหะผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง   (P)

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

1. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์

2. ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาค้นคว้า

3. มีคุณธรรม จริยธรรม (ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีวินัย จิตอาสา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ประหยัด ละเอียดรอบคอบ)

4. มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

5. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

6. มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

สมรรถนะชั้นปีที่ 2

  1. ทำงานเป็นทีม
  2. จัดการและควบคุมอารมณ์ตนเอง
  3. แสดงความคิดอย่างมีระบบ
  4. ติดต่อสื่อสารกับบุคคล ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สอนและให้คำปรึกษาทางสุขภาพ
  6. ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติการพยาบาล
  7. ประเมินภาวะสุขภาพแบบองค์รวมด้วยความเข้าใจเป็นมนุษย์
  8. ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมด้วยความเอื้ออาทรและยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมแก่บุคคลและครอบครัว โดยใช้กระบวนการพยาบาล

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

เนื้อหา

กิจกรรมการเรียนการสอน

สื่อประกอบ            การเรียนการสอน

การประเมินผล

การประเมินผล

ผลการประเมิน

เมื่อสิ้นสุดบทเรียนนี้ ผู้เรียนสามารถ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความหมายของการดูดเสมหะได้

 

 

 

 

 

 

 

บอกข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะได้

 

 

 

 

 

 

 

บอกขั้นตอนการปฏิบัติและปฏิบัติการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเมินและติดตาม ผลหลังการดูดเสมหะได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บอกอาการและอาการแสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดีได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

บอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะได้

 

 

 

 

 

 

 

สรุปสาระสำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการดูดเสมหะ

 

 

 

บทนำ

        การดูดเสมหะให้ผู้ป่วยเป็นการพยาบาลที่ต้องอาศัยทั้งความรู้และทักษะประกอบกัน การดูดเสมหะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว หรือปอดทำหน้าที่ลดลงทำให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมาก ไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้  ดังนั้นพยาบาลจึงควรมีความชำนาญในการดูดเสมหะเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าพยาบาลละเลยหรือปฏิบัติได้ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

ความหมายของการดูดเสมหะ

        การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลม เพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ การดูดเสมหะมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว หรือปอดทำหน้าที่ลดลงทำให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมาก ไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้

ข้อบ่งชี้ของการดูดเสมหะ

จะทำการดูดเสมหะเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

1.หายใจเสียงดัง

2.กระสับกระส่าย

3.อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น

4.มีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

 

 

 

ขั้นตอนการปฏิบัติการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอ

1.ล้างมือให้สะอาดก่อนดูดเสมหะ

2.บอกอธิบายผู้ป่วยให้เข้าใจ เพื่อช่วยลดความกลัวและให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล

3.ใช้เครื่องฟังตรวจ ฟังเสียงการทำงานของปอด สังเกตและบันทึกการหายใจ เพื่อเปรียบเทียบกับภายหลังที่ผู้ป่วยได้รับการดูดเสมหะ

4.เตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้ครบ พร้อมทั้งตรวจสอบเครื่องดูดเสมหะให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้ได้ และการใช้ความดันในการดูดเสมหะควรใช้ให้เหมาะสม คือ ผู้ใหญ่ประมาณ 100-120 มม.ปรอท เด็กประมาณ 70-80  มม.ปรอท เพื่อป้องกันเลือดออก หรือระคายเคืองต่อเยื่อบุและเนื้อเยื้อต่างๆ

5.จัดท่านอนให้ผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยนอนราบหรือศีรษะสูงเล็กน้อยประมาณ 15 องศา

6.ก่อนดูดควรให้ออกซิเจน 100 % หรือประมาณ 10 ลิตร/นาที ประมาณ 2-3 นาที เพื่อป้องกันภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน เพราะการดูดเสมหะนั้นจะดูดอากาศที่มีออกซิเจนออกมาด้วย

7.สวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อและจับสายดูดเสมหะต่อเข้ากับหัวต่อเครื่องดูดเสมหะ มืออีกข้างเปิดเครื่องดูดเสมหะ

8.ใส่สายดูดเสมหะลงไปบริเวณที่มีเสมหะมากและไม่มีข้อห้ามใดๆ อาจดูดเสมหะไปถึงบริเวณที่แยกจากหลอดลมใหญ่

9.ขณะที่ใส่สายดูดเสมหะควรปิดสายดูดเสมหะไว้ก่อน หรือถ้าเป็นหลอดสำหรับต่อรูปตัว Y ก็ยังไม่ใช้นิ้วอุดบริเวณที่ไม่ได้ต่อกับสายจนกว่าสายดูดเสมหะเข้าไปในที่ต้องการจึงเปิดสายดูดเสมหะ หรือใช้นิ้วอุดหลอดรูปตัว Y ส่วนที่ไม่ได้ต่อกับสาย เพื่อป้องกันการดูดอากาศมากเกินไปและระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และหากผู้ป่วยมีอาการไอขณะที่ดูดเสมหะควรดึงสายดูดเสมหะออกก่อนเพื่อป้องกันความดันในหลอดลมเพิ่มขึ้น

10.ขณะดูดเสมหะให้ใช้นิ้วปิดรูตรงหัวข้อต่อ เพื่อให้ภายในสายดูดมีแรงดูดเกิดขึ้นแล้วค่อยๆหมุนสายยางไปรอบๆ และค่อยๆ ดึงสายดูดเสมหะออกมาช้าๆ เพื่อให้รูเปิดของสายดูด ดูดเสมหะภายในท่อทางเดินหายใจโดยรอบ

11.ถ้าเสมหะเหนียวข้นมากให้หยดน้ำเกลือประมาณ 3-5 หยด หรือสารละลายตามแผนการรักษาของแพทย์ลงไปในท่อหลอดลมคอ เพื่อช่วยให้เสมหะอ่อนตัวลงและทำให้การดูดเสมหะได้ง่ายขึ้น โดยต้องปลดเข็มที่ต่อจากกระบอกฉีดยาก่อนป้องกันเข็มฉีดยาหล่นลงไปในท่อหลอดลมซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงชีวิตได้

12.ใช้เวลาในการดูดเสมหะไม่นานเกิน 10-15 วินาที หรือเวลาประมาณเท่ากับการกลั้นหายใจของผู้ดูดเสมหะ

13.จุ่มปลายสายดูดเสมหะลงในขวดน้ำที่สะอาด ดูดน้ำผ่านสายดูดเสมหะเพื่อชะล้างภายในสาย ปิดสวิทซ์เครื่องดูดเสมหะ ปลดปลายสายดูดเสมหะทิ้งและเช็ดปลายสายที่ต่อกับสายดูดเสมหะด้วยสำลีแอลกอฮอล์ 70% และแขวนเข้าที่ให้เรียบร้อย

14.หลังดูดเสมหะควรให้ออกซิเจน 100% หรือประมาณ 10 ลิตร/นาที เพื่อช่วยลดภาวะขาดออกซิเจน

15.ใช้เครื่องฟังตรวจ ฟังเสียงการทำงานของปอดภายหลังการดูดเสมหะ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดูดเสมหะ

การติดตามภายหลังการดูดเสมหะ

       ภายหลังการดูดเสมหะทุกชนิด จะต้องมีการติดตามโดยสังเกตและบันทึกสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงและหาทางช่วยเหลือได้ทันท่วงที

1.สัญญาณชีพ

2.จำนวน สี และความเหนียวเสมหะ

3.การไอ

4.การหายใจติดขัด

5.ความบ่อยครั้งของการดูดเสมหะ

6.การมีเลือดออก

7.การตอบสนองอย่างอื่น หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบ เช่น การกระสับกระส่าย คลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรช้า การติดเชื้อบริเวณที่ได้รับการผ่าหลอดลมระบาย หลอดลมตีบหรือ มีรูทะลุระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร ร่างกายขาดออกซิเจน ความดันโลหิตต่ำ หัวใจหยุดเต้น เป็นต้น

อาการและอาการแสดงที่แสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดี

1.ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ

2.ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอโดยการประเมินจากค่า O2 Satuation

3.ไม่เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ

4.ผิวหนังและเยื่อบุในจมูก ปากและรอบๆหลอดหรือท่อใส่ภายในหลอดลมคอปกติ

5.ไม่มีการทำลายหรือระคายเคืองของหลอดลม

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ

1.มีเสมหะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ

2.ขาดออกซิเจน หัวใจเต้นช้า ปอดแฟบ

3.ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

4.มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ

5.เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ

6.มีรอยแผล หรือ รอยแดงของผิวหนังรอบๆ หลอดหรือท่อที่ใส่ภายในหลอดลมคอ

7.กระทบกระเทือนหลอดลม เช่น มีเนื้อตายหรือทะลุ

สรุป                      

           การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับดูดเสมหะ เป็นการพยาบาลที่ต้องอาศัยทั้งความรู้และทักษะประกอบกัน พยาบาลวิชาชีพที่มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้และความชำนาญในการปฏิบัติเรื่องดังกล่าวจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ยืนยาวได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าพยาบาลละเลยหรือปฏิบัติได้ไม่ถูกต้อง นอกจากจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิตแล้ว ยังอาจไม่ได้ช่วยให้ปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยลดลง

ขั้นนำ

-  ครูทักทาย

-ครูพานักศึกษาไปดูผู้ป่วยที่มี ET tube c bird respirator ที่เตียงผู้ป่วย

- ครูถามนักศึกษาว่าการป้องกันการอุดตันของเสมหะในผู้ป่วยเหล่านี้ต้องทำอย่างไร

- นักศึกษาร่วมกันตอบการป้องกันการอุดตันของเสมหะโดยการดูดเสมหะออก

-ครูสรุปความสำคัญของการดูดเสมหะ

 

 

 

 

 

 

ขั้นสอน

- ครูถามนักศึกษาว่าการดูดเสมหะคืออะไร

-นักศึกษาร่วมกันบอกความหมายของการดูดเสมหะคือการดูดสิ่งคัดหลั่งที่อุดตันทางเดินหายใจออกมา

-ครูอธิบายเพิ่มเติม

-ครูถามนักศึกษาว่าการดูดเสมหะในผู้ป่วยควรทำในกรณีใด

-นักศึกษาร่วมกันบอกว่าการดูดเสมหะควรทำในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจมีเสียงครืดคราด

-ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อบ่งชี้ของการดูดเสมหะควรทำในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง กระสับกระส่าย อัตราชีพจรการหายใจเพิ่มขึ้นและมีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

-ครูถามนักศึกษาว่าเคยเห็นพี่พยาบาลหรือแพทย์ดูดเสมหะผู้ป่วยหรือไม่

-นักศึกษาตอบว่าเคยเห็นการดูดเสมหะ

-ครูถามนักศึกษาว่าการดูดเสมหะต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และมีขั้นตอนในการดูดเสมหะอย่างไร

-นักศึกษา 3-4 คนร่วมกันบอกขั้นตอนการปฏิบัติการดูดเสมหะ

-ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอ

- ครูสาธิตการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอพร้อมกับอธิบายเหตุผลในการปฏิบัติและเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัยพร้อมทั้งอธิบาย

- ครูให้ตัวแทนนักศึกษา  2  คนสาธิตย้อนกลับการดูดเสมหะในผู้ป่วย

-ครูเน้นกิจกรรมที่สำคัญที่นักศึกษาต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การยึดหลัก Sterile technique  การดูดเสมหะนาน 10-15 วินาที การประเมินอาการผู้ป่วยหลังการดูดเสมหะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-ครูซักถามนักศึกษาถึงหลักการประเมินและติดตาม ผลหลังการดูดเสมหะ

-นักศึกษาบอกหลักการประเมินและการติดตามผลหลังการดูดเสมหะได้ 3 ข้อ

-ครูอธิบายเพิ่มเติมหลักการประเมินและติดตาม ผลหลังการดูดเสมหะ

 

 

 

 

 

 

 

 

-ครูซักถามนักศึกษาถึงบอกอาการและอาการแสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดี

-นักศึกษาบอกอาการและอาการแสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดี 3 ข้อ

-ครูอธิบายเพิ่มเติมอาการและอาการแสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดี

 

-ครูซักถามนักศึกษาถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ

-นักศึกษาบอกภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ 3 ข้อ

-ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะ

 

 

 

ขั้นสรุป

- ครูให้นักศึกษาร่วมกันสรุปเรื่องการการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการดูดเสมหะ

 - ครูเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัยพร้อมตอบคำถาม  จากนั้นครูสรุปเพิ่มเติมให้ครอบคลุม

 

 

 

 

- ผู้ป่วยที่ On ET tube c bird respirator

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ผู้ป่วย

- อุปกรณ์การให้ดูดเสมหะ

  • สำลีชุบแอลกอฮอล์
  • สายดูดเสมหะ
  • กระป๋องน้ำสำหรับล้างสายออกซิเจน
  • Stethoscope
  • ถุงมือปราศจากเชื้อ
  • สายออกซิเจน
  • Ambu bag

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-ผู้ป่วย

- Stethoscope

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-ความสนใจในการฟัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษา 3-4  คนบอกความหมายของการดูดเสมหะได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

 

-นักศึกษา 3-4  คนบอกข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะได้อย่างถูกต้องทั้ง 4 ข้อ

 

 

 

-นักศึกษา 3-4  คนบอกขั้นตอนการปฏิบัติการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอได้ถูกต้อง

 

-ตัวแทนนักศึกษาสามารถปฏิบัติการดูดเสมหะในผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมายได้ถูกต้องตามหลักการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษา 3-4  คนบอกหลักการประเมินและติดตาม ผลหลังการดูดเสมหะได้ 4 ข้อ ใน 7 ข้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษา 3-4  คนบอกอาการและอาการแสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดีได้ 3 ข้อ ใน 5 ข้อ

 

-นักศึกษา 3-4  คนบอกภาวะ แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะการดูดเสมหะได้ 4 ข้อ ใน 7 ข้อ

-นักศึกษาทุกคนสรุปถึงการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการดูดเสมหะถูกต้อง

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษามีความสนใจฟังทุกคน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษา 4  คนบอกความหมายของการดูดเสมหะได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

-นักศึกษา 6  คนบอกข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะได้อย่างถูกต้องทั้ง 4 ข้อ

 

 

 

 

-นักศึกษา 6  คนบอกขั้นตอนการปฏิบัติการดูดเสมหะทางท่อหลอดลมคอได้ถูกต้อง

-ตัวแทนนักศึกษาสามารถปฏิบัติการดูดเสมหะในผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมายได้ถูกต้องตามหลักการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษาทุกคนบอกหลักการประเมินและติดตาม ผลหลังการดูดเสมหะได้ ครบทั้ง 7 ข้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-นักศึกษาทุกคนบอกอาการและอาการแสดงถึงการดูดเสมหะได้ผลดีได้ 4 ข้อ ใน 5 ข้อ

 

 

 

 

-นักศึกษาทุกคนบอกภาวะ แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดเสมหะการดูดเสมหะได้ครบทั้ง 7 ข้อ

 

 

 

 

 

-นักศึกษาทุกคนสรุปถึงการพยาบาลที่สำคัญต่อผู้ป่วยที่ได้รับการดูดเสมหะถูกต้อง

 

เอกสารอ้างอิง

สุปราณี เสนาดิสัย, วรรณภา ประไพพานิช บรรณาธิการ.(2547).การพยาบาลพื้นฐาน.พิมพ์ครั้งที่ 11.โรงเรียนรามาธิบดี.กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทองการพิมพ์ จำกัด.

http://student.mahidol.ac.th/~u4909050/page2.htm                สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2553 เวลา 10.30 น.

www.joannabriggs.edu.au/pdf/BPISThai4_4.pdf                    สืบค้นวันที่ 12 มกราคม 2553 เวลา 10.30 น.

 

 

 

 

 

สรุปผลหลังการสอน

  1. 1.               การดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในแผนการสอน

การสอนเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด

  1. 2.               พฤติกรรมของผู้เรียน

พฤติกรรมผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีการแสดงออกในการตอบคำถาม

  1. 3.              ความเหมาะสมของเนื้อหาและระยะเวลา

เนื้อหาการสอนมีปริมาณพอควร ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป        ใช้ระยะเวลาในการสอน 45 นาที

  1. 4.              ความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอนมีการซักถามความรู้และประสบการณ์ในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา มาเชื่อมโยงกับเนื้อหาการสอน มีการให้ลงมือปฏิบัติในการดูดเสมหะให้นักศึกษาดู และให้นักศึกษา 2 คน สาธิตย้อนกลับแก่ผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมาย 1 ราย

  1. 5.              ความเหมาะสมของสื่อ

มีการนำข้อมูลผู้ป่วย ตัวผู้ป่วยมาให้นักศึกษาลองปฏิบัติจริง มีการวิเคราะห์ข้อมูลตามสถานการณ์ของผู้ป่วย

6.  การวัดและประเมินผล

นักศึกษาสามารถบอกได้ ความหมายในการดูดเสมหะ ข้อบ่งชี้ในการดูดเสมหะ ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะ ขั้นตอนการปฏิบัติในการดูดเสมหะ การประเมินผลการดูดเสมหะได้

 

หมายเลขบันทึก: 462792เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท